เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 12
  พิมพ์  
อ่าน: 55630 สุนทรภู่ไม่ใช่ผู้แต่งนิราศพระบาท
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 29 ส.ค. 07, 21:46

แยกมาอีกข้อ เพื่อไม่ให้ปนกัน
แต่ผมเจอบันทึกของนายโหมด บอกว่า ตนเอง มาสานเสื่อเงิน
"ในปลายรัชกาลที่ 3"

ดังนั้น ข้อความของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ จึงถูกค้านโดยคำของคนที่ไปทำงานมาจริงๆ
ผมก็สองจิตสองใจ เลือกเชื่อท่านโหมด เพราะท่านไปทำงานมาจริง
แต่ท่านขำ นั่งรวบรวมเอกสารอยู่ที่บ้าน

ผมไม่เคยกล่าวว่ากวีเห็นเสื่อเป็นแผ่น หรือเห็นแผ่นเป็นผืนเลยครับ

เรื่องเจ้าฟ้าทรงบรรพชาสองครั้งนี่ น๊อคผมปลายคางเลย เกิดมาเพิ่งได้ยิน
ขออ่านข้อมูลแก้มึนหน่อยครับ .....น้องบุ้ง
บันทึกการเข้า
หนอนบุ้ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 113


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 29 ส.ค. 07, 22:17

จาก 120
ขอชี้แจงคุณพี่พิพัฒน์ก่อนค่ะ  ยิ้ม

อัตชีวประวัติท่านโหมดยาว 28 หน้า
ไม่มีตอนไหนเกี่ยวกับเสื่อเงินเลยนี่คะ
แต่ตรงที่มีว่าท่านไปคุมสานเสื่อเงินนั่น คนอื่นเขียนถึงท่าน
ไม่ใช่ท่านเขียนเกี่ยวกับตัวเอง


เดิมพระยากระสาปนกิจโกศล ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ ๓
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น
มหาดเล็กรายงานกำกับราชการกรมสิบหมู่ ช่างทำเรือพระที่นั่ง และเรือกระบวนต่างๆ
แล้วโปรดเกล้าให้ไปกำกับช่างสานเสื่อเงินสำหรับปูลาดในมณฑปพระพุทธบาท
ที่จังหวัดสระบุรี
(๓๓๑ ปี สกุลอมาตย์ และ ๗๓ ปี แห่งการพระราชทานนามสกุล อมาตยกุล ๒๕๒๙ หน้า ๔๕)

ทีนี้ท่านโหมด เกิด ๒๓๖๒
แต่งงาน ๒๓๘๐
ถึงตอนนี้ ร. ๔ ก็เป็นใหญ่ซะแล้ว
จะสานเสื่อปีไหนละเนี่ย
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 29 ส.ค. 07, 22:37

ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๒๕ เรื่องสถานที่แลวัดถุซึ่งสร้างในรัชกาลที่ ๔ มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธบาทดังนี้

พระตำหนักที่พระพุทธบาท
  เมื่อปีมะเสง พ.ศ.๒๔๐๐ ทรงปฏิสังขรณ์พระมณฑปพระพุทธบาทจึงโปรดให้สร้างพระตำหนักในบริเวณพระราชวังเก่าที่ท้ายพิกุลซึ่งเปนที่ร้าง ว่างอยู่  ให้มีที่ประทับแลเรือนข้างในข้างน่าหลายหลัง
  ( พระตำหนักแลเรือนในบริเวณวังที่พระพุทธบาท ในรัชกาลที่  ๕   ได้เสด็จไปประทับ   ๒   ครั้ง  ต่อมาชำรุดหักพังจะปลูกพลับพลาใหม่จึงรื้อหมด    ไม่มีอไรเหลืออยู่  )

พระพุทธบาท
  ที่พระพุทธบาทนั้นได้ทรงบุรณปฏิสังขรณ์หลายอย่าง คือ
  พระมณฑปเล็กที่สวมรอยพระพุทธบาทองค์ที่สร้างเมื่อรัชกาลที่ ๒ ไฟไหม้ม่านแล้วเลยไหม้พระมณฑปนั้นยับเยินไปแต่เมื่อรัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๔ จึงโปรดให้พระยาราชสงครามเปนนายงานสร้างเปลี่ยนใหม่
  พระมณฑปใหญ่เครื่องเดิมชำรุด โปรด ฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติเปนแม่กอง รื้อเครื่องบนซ่อมแซมตัวไม้ใหม่
  ข้างในพระมณฑปเดิมคาดด้วยแผ่นเงินชำรุดไป โปรด ฯ ให้กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ เปนนายงานสานสื่อเงินปูใหม่
  พระวิหารหลวง พระอุโบสถ ศาลาโรงธรรม คลังเครื่องพุทธบูชา แลกุฎีสงฆ์ ที่ชำรุดก็โปรดให้ปฏิสังขรณ์ทั่วทุกแห่ง
  แลโปรดให้สร้างพระตำหนักที่ประทับในพระราชวังเดิมที่ท้ายพิกุลด้วย ในการที่ทรงบุรณปฏิสังขรณ์พระพุทธบาทครั้งนั้น เจ้านายแลข้าราชการผู้ใหญ่มีศรัทธาสร้างสถานต่างๆ โดยเสด็จในการพระราชกุศลด้วยก็หลายอย่าง คือ
  กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ทรงบุรณปฏิสังขรณ์ตึกเก่าที่น่าวัดพระพุทธบาท หลัง ๑
  กรมหลวงมเหศวรศิววิลาศ  ทรงซ่อมแซมสระสามเส้นที่ขังน้ำสำหรับสัปรุษอาไศรยแห่ง ๑
  สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ สร้างศาลาที่พักของสัปรุษที่ท่าเรือ เปนเครื่องก่ออิฐถือปูน ๓ หลัง ขุดบ่อน้ำทำศาลาเครื่องไม้ในระยะทางขึ้นพระบาท  ตั้งแต่บางโขมดจนถึงเขาตกหลายแห่ง สร้างกุฎีสงฆ์ที่วัดท้ายพิกุล ๗  หลัง ในบริเวณพระพุทธบาทสร้างโรงธรรมหลัง ๑ ศาลา ๙ ห้อง หลัง ๑
  เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ที่สมุหกลาโหม บุรณตึกเก่าที่ริมบ่อโพงหลัง ๑   
  เจ้าพระยาทิพากรวงศ์บุรณโรงเครื่องริมประตูยักษ์หลัง ๑ สร้าง กุฎีสงฆ์ที่วัดท้ายพิกุลหลัง ๑
  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนิรขึ้นไปยกยอดพระมณฑปเมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๔๐๓

บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 30 ส.ค. 07, 00:53

คุณบุ้งกะผมอ่านคนละฉบับครับ
ผมยังไม่ได้อ่านฉบับหมอพูนพิศ อ่านแต่ฉบับที่นายตรี อมาตยกุลพิมพ์

ส่วนข้อความในปชพ.24 เพี้ยนครับ
"พระมณฑปเล็กที่สวมรอยพระพุทธบาทองค์ที่สร้างเมื่อรัชกาลที่ ๒
ไฟไหม้ม่านแล้วเลยไหม้พระมณฑปนั้นยับเยินไปแต่เมื่อรัชกาลที่ ๓
ถึงรัชกาลที่ ๔ จึงโปรดให้พระยาราชสงครามเปนนายงานสร้างเปลี่ยนใหม่"


1 เรื่องมณฑปน้อย ท่านขำจดว่า กรมพระราชวังบวรสร้างแต่รัชกาลที่ 1
2 เรื่องไฟไหม้ อ่านแล้วเหมือนว่ารัชกาลที่ 3 จะมิได้ทำอะไร ปล่อยไว้อย่างนั้น
ท่านขำจดไว้ในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 3 ว่า
"พระพุทธบาทที่เมืองปรันตะปะนั้น พระมณฑปชั้นในไฟไหม้ โปรดให้พระยาพิชัยสงคราม(เพชร์) ขึ้นไปทำใหม่
ทั้งมณฑปชั้นนอกซ่อมแซมด้วย สถาปนาให้งามดีดังเก่า"

แล้วท่านมาเติมรายละเอียดไว้ในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 4 (ซึ่งก็คือต้นเดิมของข้อความที่สมเด็จตอนไปใช้)
เฉพาะเรื่องพื้น ขอลอกมาดังนี้
"พื้นในพระมณฑปเดิมปูแผ่นเงิน กาลนานมาแผ่นที่เชื่อมกันเข้าไว้หลุดออกจากกัน ก็เปนแง่เหลี่ยมเกี่ยวผ้านุ่งสัตบุรุษขาดไป
ฤดูหนึ่งก็หลายสิบคน จะเชื่อมเสียใหม่ก็เห็นจะไม่ติด จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ เปนแม่กองเอาแผ่นเงินเดิมมาหลอมชักเปนลวดเส้นแบบสานเปนเสื่อเงินขึ้น....."


จะเห็นว่า สมเด็จทรงแปลงท่านขำหลายคำ จะไม่สนใจก็ได้
แต่ในงานช่างนั้น แม่กองสั่งนายงานนะครับ
และข้อมูลใหม่ว่า พระมณฑปน้อยสร้างครั้งรัชกาลที่ 2 นี่ ก็แปลกจากเดิม มากๆๆๆๆๆๆ
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 30 ส.ค. 07, 01:55

อิอิ  รอบดึกยังมาเจอท่านพิพัฒน์  ไปค้นเรื่องแผ่นเงินเสื่อเงิน  พี่หนอนบุ้งเล่นเอาข้อมูลใหม่ๆมาแสดง  ตั้งตัวเกือบไม่ทัน.......ดูแล้วยังก้ำกึ่งครับหลักฐานต้องชัดกว่านี้เรื่องการบูรณะ
ส่วนผมขอติดใจแต่เรื่อง เครื่องสูง ที่เจ้าเณรน้อยทรงนั้น  กวีท่านกล่าวว่าถือพระกลดหักทองขวาง  เป็นไปได้ไม๊ครับ  เป็นเพียงกลดที่ปักดิ้นหักทองขวาง  ไม่ใช่ฉัตร ๗ ชั้น ๕ ชั้น หรือฉัตรชุมสาย  พวก พระอภิรุมชุมสาย ที่เป็นเครื่องสูงสำหรับพระเจ้าแผ่นดินอ่ะครับ  เหมือนลายธงสามชายที่นำขบวน เหมือนเถรขวาดในขุนช้างขุนแผน  หรือที่ถวายกับพระบางรูปอย่างในครั้งรัชกาลที่ ๒ ถวายแก่พระที่รักษาพระทันตธาตุ

ถวายเครื่องยศอย่างสังฆราช             ตลกบาตรตาลิปัตรพัดย่าม
ล้วนปักหักทองขวางสำอางงาม          ขี่เรือม่านคานหามกั้นสัปทน

เมื่อจัดพระได้พร้อมแล้ว ถึงเดือน ๒ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ป็จอ ฉศก พ.ศ. ๒๓๗๕ โปรดให้นิมนต์พระสงฆ์สมณทูตเข้าไปรับผ้าไตรแลเครื่องบริขารต่อพระหัตถ์ แลโปรดให้จัดต้นไม้เงินทอง ๑๖ สำรับเทียนใหญ่ธูปใหญ่ ๓๐๐ คู่ เป็นของทรงพระราชอุทิศส่งไปบูชาพระทันตธาตุ และพระเจดียฐานในลังกาทวีป แลโปรดให้จัดเครื่องสมณบริขาร ๓ สำรับ คือ บาตร ฝาแลเซิงประดับมุก ถลกบาตรสักหลาดแดง ไตรแพรปักสี ย่ามหักทองขวางเป็นของพระราชทานพระสังฆนายก พระอนุนายก แลพระเถระซึ่งรักษาพระทันตธาตุ ณ เมืองสิงขัณฑศิริวัฒนบุรี  แลมีสมณสาสน์ของสมเด็จพระสังฆราช ไปถึงพระสังฆนายกด้วยฉบับหนึ่ง โปรดให้หมื่นไกร กรมการเมืองนครศรีธรรมราช เป็นไวยาวัจกรสมณทูต แลคุมต้นไม้เงินทองสิ่งของพระราชทานไปด้วย

ถ้าเป็นเพียงกลดแล้วเป็นของที่พระราชทานแก่พระหรือเณรที่ทรงโปรดได้  จะสิ้นข้อกังขาเรื่องเจ้าเณรที่เป็นพระองค์เจ้า  แต่ถือกลดปักดิ้นหักทองขวางที่รับพระราชทานมา  แต่ไม่ใช่ฉัตรที่เป็น อภิรม

ข้อนี้ต้องอาศัยท่าน UP อีกแล้วล่ะครับ  คือพยายามคิดหาทางออกน่ะครับ  ขอบพระคุณ........ อายจัง

บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 30 ส.ค. 07, 02:26

ต้องมาเฝ้าจอ เดี๋ยวหนอนบุ้งเอาอะไรแปลกๆ มาใส่อีก

จำได้คลับคล้ายคลับคราว่าที่พระที่นั่งทรงผนวช
มีพระรูปสามเณรเจ้าฟ้าเสด็จมาเทศน์ที่วัดพระแก้ว ดูเหมือนมีกลดกั้นกางถวาย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 30 ส.ค. 07, 10:06

ข้อมูลไหลมาเทมา จนงง  ขยิบตา

ในนิราศพระบาท บอกว่าสิ่งที่กางให้เจ้าเณรน้อยที่เป็นเจ้านาย คือ" พระกลด"
เจ้าเณรน้อยเสด็จมาดูน่ารัก               พระกลดหักทองขวางกางถวาย
คุณ Bana หมายความว่าพระกลดปักหักทองขวางที่ว่านี้ ทำนองเดียวกับย่ามปักทองขวาง ที่พระราชทานพระเถระชั้นผู้ใหญ่ งั้นหรือคะ
งั้นเจ้านายระดับพระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้า ถ้าผนวชก็มีกลดนี้ได้
คนละอย่างกับเครื่องสูงปักหักทองขวางสำหรับเจ้าฟ้า?

บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 30 ส.ค. 07, 11:57

แอ่นแอ๊นนน...

เอาแล้วล่ะครับ เกิดมหกรรมครั้งใหญ่ที่ทุกท่านจะต้องตกตะลึงพรึงเพริด

ผมขอถอนคำพูด (บางส่วน) เรื่องพระกลดหักทองขวางครับ

แต่ก่อนอื่น ขอบอกก่อนว่าเครื่องยศอันเป็นสมณบริขาร เช่น ถลกบาตร ย่าม ฯลฯ สามารถใช้ผ้าปักหักทองขวางได้ แม้ปัจจุบัน พระราชาคณะชั้นสามัญก็ยังได้รับพระราชทานพัดยศปักหักทองขวาง ฉะนั้น "เครื่องยศ" หักทองขวางนั้นไม่ต้องเป็นเจ้าก็ใช้ได้ แต่ "กลด" ไม่ใช่เครื่องยศ แต่เป็น "เครื่องสูง" ฉะนั้น เป็นคนละระบบกัน เอามาเทียบกันไม่ได้ครับ

สิ่งที่จะบอกให้ทุกท่านมึนคือ พระองค์เจ้า (อาจ) ทรงพระกลดหักทองขวางได้

พระกลดหักทองขวางในสำรับพระอภิรุมของพระมหากษัตริย์ และเจ้าฟ้าผู้ทรงสัปตปฏลเศวตฉัตรนั้น แน่นอนครับ หักทองขวางทั้งหมด ตั้งแต่ฉัตร ๗ ฉัตร ๕ ฉัตรชุมสาย บังแทรก บังสูรย์ และพระกลด

แล้วสำหรับเจ้านายลำดับรองจากนี้ล่ะ ทรงเครื่องสูงสำรับ "พระอภิรุม" หักทองขวางได้มั้ย

ตอบว่า ไม่ได้

แล้วทรง "พระกลดหักทองขวาง" ได้มั้ย

ตอบว่า....(อาจ) ได้ ครับ!!!

เจ้าฟ้าทั่วๆ ไปนั้นทรง "เครื่องสูงทองแผ่ลวด" ก็จริง แต่พระกลดนั้นทรงใช้ของแตกสำรับ คือทรง "พระกลดหักทองขวาง" อันนี้เป็นปกติ

ส่วนพระองค์เจ้าลูกหลวงทั่วๆ ไปนั้นทรง "เครื่องสูงทองแผ่ลวด" ก็จริง แต่พระกลดนั้นทรงใช้ของแตกสำรับ คือทรง "พระกลดขาวลายทอง" อันนี้ปกติ

แต่...

พอดีว่าค้นเจอเอกสารจดหมายเหตุงานพระศพ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ ๖ ค้นๆ ดูเลยได้ความกระจ่างว่า


มีบางกรณี สำหรับพระองค์เจ้าหรือเจ้านายที่ทรงพระอิสริยยศเสมอด้วยพระองค์เจ้า (เช่น พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี) แต่ทรงได้รับพระราชทานพระมหากรุณาเป็นพิเศษ ทรงพระกลดหักทองขวางได้ครับ!

อรรถาธิบายก่อนๆ มานั้นผมไม่ถี่ถ้วนพอ เลยทำให้ทุกท่านอลหม่านไป ขออภัย

พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ทรงได้รับพระราชทานเครื่องประกอบพระเกียรติยศเสมอด้วย "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" แต่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนชั้นพระโกศขึ้นเป็นพระโกศทองน้อยเสมอ "สมเด็จเจ้าฟ้า"

ในการพระศพนั้น หมายรับสั่งระบุว่า

"จัดเครื่องสูงทองแผ่ลวด ๑ สำรับพร้อมด้วยฐานปักไปตั้งแต่ง"

และ

"จัดพระกลดหักทองขวางไปกั้นพระศพที่พระที่นั่งทรงธรรม"

ฉะนั้น ผมขอเรียนให้ทุกท่านทราบว่า ...เจ้านายชั้นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ซึ่งเป็นพระองค์เจ้าชั้นลูกหลวง นั้น หากว่าทรงพระมหากรุณาเป็นกรณีพิเศษ สามารถทรงพระกลดหักทองขวางได้ครับ

ทีนี้ก็เป็นหน้าที่ของท่านทั้งหลายแล้วว่าจะวินิจฉัยเป็นประการใด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 30 ส.ค. 07, 12:06

อ่านของคุณ UP แล้วต้องขอยาดมส้มโอมือ ผลิตภัณฑ์โอทอปของปทุมธานี มาดมหน่อยให้เข้ากับบรรยากาศ
งั้นก็เป็นไปได้ว่า พระองค์เจ้าลูกหลวงอย่าง พระองค์เจ้าวาสุกรี ทรงมีสิทธิ์ใช้กลดหักทองขวางได้ งั้นหรือคะคุณ UP
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 30 ส.ค. 07, 12:24

ไม่ได้บอกว่าทรงมีสิทธิ์

แต่บอกว่า "อาจ" เป็นไปได้ครับ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 30 ส.ค. 07, 12:32

พระองค์เป็นๆ เห็นจะมิได้
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 พระราชทานเลื่อนพระเกียรติยศสำหรับในพระโกศนะครับ

พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ทรงได้รับพระราชทานเครื่องประกอบพระเกียรติยศเสมอด้วย
"พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า"
แต่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนชั้นพระโกศขึ้นเป็นพระโกศทองน้อยเสมอ
"สมเด็จเจ้าฟ้า"
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 30 ส.ค. 07, 12:45

พระองค์ผู้ทรงเลื่อนเกียรติยศพระโกศของพระนางเจ้าสุวัทนาฯ คือ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ครับผม

พระนางเจ้าสุวัทนาฯ สิ้นพระชนม์เมื่อ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๒๘

แต่สิ่งที่คุณ พพ.พูดนั้นก็ไม่ผิดครับ

เครื่องประกอบพระเกียรติยศของเจ้านายนั้น ถ้าไม่ใช่พระมหากษัตริย์ที่มีการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค หรือสถลมารค แล้ว เจ้านายนั้นๆ มักจะไม่ได้ทรงเครื่องสูงตามพระเกียรติยศหรอกครับ จะได้ก็ต่อเมื่อหาพระองค์ไม่แล้ว เว้นแต่จะเสด็จในกระบวนพยุหยาตรา หรือกระบวนแห่อย่างใหญ่ อย่างเช่นโสกันต์ ส่วนถ้าเป็นการใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างที่เรียกว่า everyday use จะไม่ทรงนำพระกลดตามพระเกียรติยศออกทรงเลย เช่น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ตลอดพระชนมชีพไม่เคยได้ทรงพระกลดหักทองขวาง เวลาทรงพระดำเนินไปไหนมาไหนหรอกครับ ก็ทรงพระกลดแพรธรรมดาๆ (พระกลดยอดเจดีย์) นี่แหละ ต่อเมื่อสวรรคตแล้ว พระกลดที่กั้นพระโกศพระบรมศพ และพระโกศพระบรมอัฐิ จึงเป็นหักทองขวาง
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 30 ส.ค. 07, 14:38

 :)แค่หักทองขวางนะคะ เขียนให้อ่านได้กันเป็นหน้าๆเลย.. ติดตามอ่านอยู่ค่ะท่านทั้งหลาย
บันทึกการเข้า
หนอนบุ้ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 113


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 30 ส.ค. 07, 20:38

เรื่องเจ้าฟ้าทรงบรรพชาสองครั้งนี่ น๊อคผมปลายคางเลย เกิดมาเพิ่งได้ยิน
ขออ่านข้อมูลแก้มึนหน่อยครับ .....น้องบุ้ง

ฮี่ๆๆๆ หนูไม่ได้มั่วค่ะคุณพี่พิพัฒน์
หนูอ่านพบ 2 ครั้ง แล้วที่ว่า ร. 5 ทรงผนวชเป็นเณร 2 ครั้งแล้ว ก่อนเสด็จเถลิงราชสมบัติ
เจ้ากรรมที่พระราชพงศาวดาร ร. 5 ของคุณแม่ ขาดไปครึ่งเล่มแรก ยังไม่มีกะตังซื้อใหม่ค่ะ
เสียใจที่ไม่ได้เช็คด้วยมือตัวเอง แต่ดูรายละเอียดอย่างอื่นก็ตรงหมดค่ะ
ดูที่นี่ไปพลางๆ ก่อนดีมั้ยค่ะ
http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/pastevent/past_ram42.htm
ข้อความจากเว็บที่ยกมา
๑๙ กรกฎาคม ๒๔๐๔
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ครั้งยังไม่ขึ้นครองราชย์ ทรงบรรพชาเป็นสามเณร

(อ้อ..เว็บนี้เป็นเว็บทหาร เครือเดียวกับเว็บที่คุณเทาชมพูให้ลิ้งค์มาใน คคห 89 ค่าเรตติ้งความน่าเชื่อมันต้องเซม เซม)
ตอบคุณ Bana และคุณพิพัฒน์ด้วยค่ะ
ไปเจอเว็บนี้
http://www.heritage.thaigov.net/religion/prabat/index1.htm
บันทึกการเข้า
หนอนบุ้ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 113


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 30 ส.ค. 07, 20:59

พี่หนอนบุ้งเล่นเอาข้อมูลใหม่ๆมาแสดง  ตั้งตัวเกือบไม่ทัน.......ดูแล้วยังก้ำกึ่งครับหลักฐานต้องชัดกว่านี้เรื่องการบูรณะ


หนูนำพระนิพนธ์ของกรมพระยาดำรงฯ มาฝาก

คุณBana อยากให้คุณดูอีกทีตามที่อ้างนำก่อนเนื้อหาว่า "...กรมพระดำรงฯ..."
ไม่ได้นั่งเทียนเขียนเอง ไม่ทราบคุณได้อ่านละเอียดพอมั้ย ว่าเนื้อหาเป็นเรื่องของการบูรณะ
ทำให้เราอยากคิดว่าคุณน่าจะไม่ได้อ่านให้ละเอียดเสียก่อน จึงวิจารณ์ว่าก้ำกึ่ง หมายว่าหลักฐานไม่ชัดเจน

อืมม์ 
สิ่งที่เรายกมาคือพระนิพนธ์ของกรมพระยาดำรงฯ
เชิญสอบเทียบดูเสียก่อนดีมั้ย ก่อนที่มาบอกว่า "ก้ำกึ่ง" ว่าที่ยกมานั้นตรงกันกับต้นฉบับของท่านมากน้อยเพียงใด


ปล. ขอโทษเถอะนะ คุณ Bana....ชื่อของคุณเทาชมพู ใช้พยัญชนะ "พ"
ไม่ทราบว่าทำไมคุณจึงเรียกคุณเทาชมพู ด้วยพยัญชนะ "ภ" "เทาชมภู"
สงสัยเหลือกำลัง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 20 คำสั่ง