เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 12
  พิมพ์  
อ่าน: 55549 สุนทรภู่ไม่ใช่ผู้แต่งนิราศพระบาท
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 29 ส.ค. 07, 18:45

เขียนจากความจำก่อนนะครับ ไม่มีเวลาตรวจสอบ

พระองค์เจ้าวาสุกรีบรรพชาราว ๒๓๔๕ ครับ ถึงปี ๒๓๕๐ ตามพระวินิจฉัยสมเด็จดำรง ก็บรรพชามา ๕ ปี

ผมยังคิดว่ายากครับที่จะทรงพระกรุณาขนาดนี้ ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าระดับสมเด็จพระสังฆราชมีสิทธิ์ใช้เครื่องสูงหักทองขวางหรือเปล่า ถ้าสามเณรเจ้าฟ้าวาสุกรีได้ใช้ก็เท่ากันหรือไม่ก็เกินสมเด็จพระสังฆราชเลยนะครับ

แถมปีนั้นพระองค์เจ้าวาสุกรีพระชนม์ตั้ง ๑๗ เข้าไปแล้ว ไม่มีทางน่ารักแน่ๆครับ

ความเห็นส่วนตัวผม โอกาสที่สามเณรเจ้าจะเป็นพระองค์เจ้าวาสุกรีแทบจะเป็นศูนย์

หลักฐานที่มีตอนนี้ ขัดข้องเกือบทุกพระองค์ เหลือที่พอเป็นไปได้คือ
- เจ้าฟ้ามงกุฎ แต่ต้องให้พงศาวดารผิดเรื่องระยะเวลาที่ทรงบรรพชา และ/หรือปีที่บรรพชา
- เจ้าฟ้ากลาง ปีเลยไปปีหนึ่ง และดูเหมือน ร.๓ จะไม่ทรงโปรดขนาดจะพระราชทานพระกลดหักทองขวาง (ประกาศ ร.๔ มีความว่าพิธีโสกันต์ทำแบบสังเขป จนคนเอาไปซุบซิบกันว่าเป็นเพราะ "ไม่มีเจ้าของ") แถมเป็นช่วงหลังศึกเจ้าอนุวงศ์ จะไปรบเวียดนามต่อ ไม่อยู่ในบรรยากาศผ่อนคลาย
- เจ้าฟ้าเหม็น ไม่มีหลักฐานสนับสนุน แต่ก็ไม่มีหลักฐานขัดแย้ง
ทั้งนี้ยกเรื่องแผ่นเงินเสื่อเงินออกไปก่อน ไม่อย่างนั้นก็ไปต่อไม่ได้ครับ ผิดทุกข้อ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 29 ส.ค. 07, 19:05

เรื่องพื้นปูแผ่นเงินในรัชกาลที่ 1 ไม่มีหลักฐานรองรับ ท่านก็จะเอาความสันนิษฐานมาเป็นพยานให้ได้ ....ผมละกลุ้ม
ความเชื่อที่ว่า ในเมื่อท่านซ่อมท่านก็น่าจะทำให้ดี แต่ท่านจะทำดีแค่ใหนเราไม่มีหลักฐาน
จึงใช้วิธี"เชื่อ"ไว้ก่อน ว่าท่านต้องทำดีแน่ๆ ละน่า
ตีความอย่างนี้ ผมไม่เห็นด้วย

สวช.มาตีขลุมว่าพระราชวงศ์จักรีทรงดูแลศาสนสถานแห่งนี้อย่างดี
ผมไม่อยากจะเถียง
แต่อยากจะถามว่า ที่ว่าดีนั้น ดีอย่างไร ในเมื่อเอกสารที่ผมเข้าถึงได้ บอกเพียงว่า
ผนังเขียนลายชาด คือเป็นสีแดง อันเป็นการตกแต่งที่ดีที่สุดในยุคนั้นแล้วนะครับ

ท่านอาจจะไม่ทราบว่า
ผนังพระอุโบสถวัดพระแก้วครั้งรัชกาลที่ 1 ก็เป็นผนังเขียนลายชาด เหมือนกัน
ความหรูหราอย่างที่เห็น(และอย่างที่ไปปรากฏที่พระพุทธบาท) ทำเมื่อในรัชกาลที่ 3

ส่วนพระมณฑปน้อยก็แค่ปิดทองเท่านั้นเอง หาได้ประดับกระจกไม่
รัชกาลที่ 1 จะเคยเสด็จพระบาทหรือไม่ หลักฐานก็ยังไม่มี
แต่ท่านก็การันตีละว่า สร้างเสร็จยี่สิบปี ต้องร่มรื่นแน่ๆ
อีกท่านหนึ่งบอกว่าต้องไปเห็นมาก่อนยี่สิบปี เพราะนานขนาดนั้น ควรจะหมองแล้ว

ผมคงต้องไปพระบาท แล้วทำรีคอนสตรั๊คมาให้เห็นว่า
พระบาทครั้งรัชกาลที่ 1 นั้นเงียบเหงาเพียงใดเสียละกระมัง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 29 ส.ค. 07, 20:07

เข้ามายืนกรานว่าแผ่นเงินที่ปู ตามคำของกวี  ไม่ใช่เสื่อค่ะ
อ่านแต่ละตอน   กวีคนนี้ยังหนุ่มแน่น แข็งแรง บันทึกอะไรต่อมิอะไรละเอียดลออ  มองไกลๆก็ยังเห็นรายละเอียด
ขนาดนั่งเรือ ท่านยังมองฝั่งเห็นต้นหมากรากไม้  เห็นกระทั่งแมงภู่บินตอมลูกจันทน์

พฤกษาสวนล้วนได้ฤดูดอก              ตระหง่านงอกริมกระแสแลสล้าง
กล้วยระกำอัมพาพฤกษาปราง          ต้องน้ำค้างช่อชุ่มเป็นพุ่มพวง
เห็นจันทน์สุกลูกเหลืองตลบกลิ่น      แมงภู่บินร่อนร้องประคองหวง
พฤกษาพ้องต้องนามกานดาดวง       พี่ยลพวงผลจันทน์ให้หวั่นใจ

แสดงว่าสายตาไม่สั้น
เชื่อว่ามองออกถึงความแตกต่างระหว่างเสื่อเงินกับแผ่นเงิน
เสื่อเงินสานสมัยรัชกาลที่ ๔ แต่แผ่นเงิน ปูก่อนค่ะ  ไม่เชื่อว่าเป็นรัชกาลที่ ๑ ก็ไม่ว่ากัน  ยังเหลืออีกตั้ง ๒ รัชกาล
บันทึกการเข้า
หนอนบุ้ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 113


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 29 ส.ค. 07, 20:08

หนูนำพระนิพนธ์ของกรมพระยาดำรงฯ มาฝาก

มาจนถึงรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
จึงโปรดฯ ให้สมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท
เสด็จขึ้นไปทรงอำนวยการปฏิสังขรณ์พระมณฑปพระพุทธบาท เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๐
ให้พระยาราชสงครามเป็นนายช่างปรุงเครื่องบนพระมณฑปขนขึ้นไปจากกรุงเทพฯ

ครั้งนั้นกรมพระราชวังบวรฯ ทรงพระราชศรัทธารับแบกตัวลำยองเครื่องบนตัว ๑
ทรงพระราชดำเนินตั้งแต่ท่าเรือขึ้นไป จนถึงพระพุทธบาท ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่
ข้าราชการทั้งนายไพร่ที่ขึ้นไปทำการปฏิสังขรณ์ครั้งนั้น บานมุข ๘ บาน

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ก็โปรดฯ ให้สร้างขึ้นใหม่ตามแบบอย่างที่พระเจ้าบรมโกศ
ได้ทรงสร้างไว้ ยังปรากฏอยู่จนทุกบัดนี้ แต่ฝาผนังข้างใน (พระมงคลทิพมุนีว่า
เมื่อกะเทาะปูนฝาผนังออก เห็นรอยถือปูนผนังเป็น ๓ ชั้น ชั้นแรกถือปูนแล้วทาสีแดง

ชั้นที่ ๒ ปิดทองทึบ ชั้นที่ ๓ เขียนลายทอง เขียนลายทองนั้นทราบได้แน่ว่า
เขียนในรัชกาลที่ ๕ เนื่องต่อการที่เสด็จไปสักการบูชาครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔

จึงสันนิษฐานว่า ครั้งปฏิสังขรณ์ครั้งรัชกาลที่ ๑ เห็นจะเป็นแต่ล่องชาด
ไม่ได้คาดแผ่นกระจกเงาดังแต่ก่อนอีกต่อมา นอกจากพระมณฑป
สิ่งอื่นที่ชำรุดทรุดโทรมก็ได้โปรดฯให้ซ่อมแซมในรัชกาลที่ ๑ ทั่วไป

เพราะฉะนั้นในรัชกาลที่ ๒ ของที่ทรงบูรณะในรัชกาลที่ ๑ ยังบริบูรณ์อยู่
จึงไม่ปรากฏว่าได้มีการปฏิสังขรณ์อย่างใดอีก
บันทึกการเข้า
หนอนบุ้ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 113


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 29 ส.ค. 07, 20:09

ในรัชกาลที่ ๓ ปรากฏว่าได้ทรงปฏิสังขรณ์เครื่องพระมณฑปใหญ่
และมีเหตุไฟเทียนบูชาไหม้ม่านแล้วเลยไหม้พระมณฑปน้อย
ที่สวมรอยพระพุทธบาท ต้องทำใหม่ และบางทีจะปิดทองฝาผนังในคราวนี้

นอกจากนี้หาได้ทรงสร้างสิ่งใดไม่ กล่าวกันว่าเป็นเพราะพระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเลื่อมใส ดำรัสว่าพระพุทธเจ้าได้ประทาน
พระธรรมเทศนาในหัตถิปโทปมสูตร สํยุตตนิกาย มหาวรรค (พระไตรปิฎก
ฉบับพิมพ์ในรัชกาลที่ ๕ หน้า ๕๔) ว่าขนาดรอยเท้าสัตว์ทั้งหลาย
ย่อมอยู่ในรอยเท้าช้างฉันใด เหมือนกับธรรมทั้งหลายก็ย่อมอยู่
ในอัปมาทธรรมดังนี้

ถ้าพระพุทธองค์ได้ทรงเหยียบรอยพระพุทธบาทไว้จริงไซร้ ก็จะทรงอุปมาว่ารอยเท้าสัตว์ทั้งหลาย
ย่อมอยู่ในรอยเท้าของพระตถาคต เพราะรอยพระพุทธบาทใหญ่โตกว่า ๒ เท่ารอยเท้าช้าง

เล่ากันมาดังนี้ แต่กรมพระราชวังบวรฯ ในรัชกาลที่ ๓ นั้นทรงเลื่อมใส
พระพุทธบาทมาก เมื่อเสด็จกลับจากปราบขบถเวียงจันทน์
ทรงอุทิศถวายเครื่องสูงที่แห่เสด็จในการสงครามคราวนั้นไว้เป็นพุทธบูชา
และทรงสร้างพระเจดีย์ตามแบบพระธาตุพนมไว้ด้วยองค์ ๑
บันทึกการเข้า
หนอนบุ้ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 113


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 29 ส.ค. 07, 20:12

ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า
ถึงข้อเท็จจริงในเรื่องตำนานพระพุทธบาทจะเป็นอย่างไรก็ตาม พระพุทธบาท
เป็นมหาเจดียสถานอันประชาชนเลื่อมใสศรัทธามากมาแต่โบราณ แม้เป็นอุเทสิก
เจดีย์ก็ควรทำนุบำรุง จึงทรงบูรณปฏิสังขรณ์

สิ่งที่ทรงสร้างใหม่ก็มีหลายสิ่ง คือพระมงกุฎภัณฑเจดีย์ที่อยู่ใกล้พระมณฑปองค์ ๑
และโปรดฯ ให้สร้างเครื่องบนพระมณฑปใหญ่และสร้างพระมณฑปน้อย
เปลี่ยนของซึ่งสร้างครั้งรัชกาลที่ ๓ ให้งดงามมั่นคงกว่าเก่า
ทั้งให้เปลี่ยนแผ่นเงินปูพื้นพระมณฑปเป็นเสื่อเงิน
แลทรงสร้างเทวรูปศิลาที่เขาตกด้วย

ในรัชกาลที่ ๔ นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จไปทรงนมัสการพระพุทธบาท
และทรงยกยอดพระมณฑปและบรรจุพระบรมธาตุที่พระมงกุฎภัณฑเจดีย์
เมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๔๐๓
บันทึกการเข้า
หนอนบุ้ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 113


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 29 ส.ค. 07, 20:20

ถึงรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปนมัสการพระพุทธบาท ๔ ครั้ง
เสด็จชั้นก่อนมีรถไฟเมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๔๑๕ ครั้ง ๑

เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๒๕ ครั้ง ๑ เมื่อทำทางรถไฟแล้วเสด็จพระราชดำเนินอีก ๒ ครั้ง

ในรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงปฏิสังขรณ์พระวิหารหลวง และซ่อมผนังข้างในพระมณฑป
ให้เขียนเป็นลายทอง และบันไดนาคทางขึ้นพระมณฑปนั้นเดิมเป็นบันได ๒ สาย

โปรดฯ ให้สร้างเติมอีกสาย ๑ เป็น ๓ สาย และหล่อศีรษะนาคด้วยทองสัมฤทธิ์ที่เชิงบันได
เติมของครั้งรัชกาลที่ ๑ ด้วย ต่อมาถึงปลายรัชกาล เครื่องพระมณฑปชำรุดมาก

โปรดฯ ให้หล่อใหม่ ให้พระพุฒาจารย์ (มา) วัดจักรวรรดิราชาวาส
เมื่อยังเป็นที่พระมงคลทิพมุนี ตำแหน่งผู้รักษาพระพุทธบาท เป็นนายงานทำการจนสำเร็จ
ยังแต่จะยกพระจุลมงกุฎเหนือพุ่มข้าวบิณฑ์พระมณฑป สิ้นรัชกาลเสียก่อน

ถึงรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จขึ้นไปยกยอดพระมณฑปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖
และโปรดฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ต่อมาจนสำเร็จ เรื่องตำนานพระพุทธบาทมีดังแสดงมา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 29 ส.ค. 07, 20:24

"เปลี่ยนของซึ่งสร้างครั้งรัชกาลที่ ๓ ให้งดงามมั่นคงกว่าเก่า
ทั้งให้เปลี่ยนแผ่นเงินปูพื้นพระมณฑปเป็นเสื่อเงิน "
ขอบคุณค่ะคุณหนอนบุ้ง  
เห็นด้วยไหมคะ ว่ากวีหนุ่มคนนี้มาเห็นแผ่นเงินปูพื้นพระมณฑปในรัชกาลที่ ๓

ตอนนี้กำลังย้ายไปปักหมุดเวลาที่อื่นค่ะ

พี่เร่งเตือนเพื่อนชายพายกระโชก ถึงสามโคกต้องแดดยิ่งแผดแสง
ให้รุ่มร้อนอ่อนจิตระอิดแรง         เห็นมอญแต่งตัวเดินมาตามทาง
ตาโถงถุงนุ่งอ้อมลงกรอมส้น       เป็นแยบยลเมื่อยกขยับอย่าง
เห็นขาขาววาวแวบอยู่หว่างกลาง ใครยลนางก็เป็นน่าจะปรานี

มอญสามโคกมาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์    ไม่ใช่มอญใหม่    เลยปักหมุดไม่ได้
พยายามปักอีกตอน ตรงสาวมอญที่กวีเห็น นุ่งผ้าถุงทอแบบที่เรียกว่า "ตาโถง" (กรุณาดูรูปประกอบ)
มีใครเชี่ยวชาญเรื่องผ้าพอจะบอกได้ไหมคะว่า ผ้าตาโถง มีมาแต่สมัยไหน  
หรือสาวมอญนุ่งผ้าตาโถงกันสมัยรัชกาลไหน



บันทึกการเข้า
หนอนบุ้ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 113


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 29 ส.ค. 07, 20:30

นี่สะท้อนว่า ครั้งรัชกาลที่ 1 บทกวีเที่ยวเล่นอย่างนิราศเมืองแกลง หรือนิราศพระบาท
ที่อ้างถึงพระคลังแก้บน ละคอนนายบุญยัง....ฯลฯ

เกิดมะด้ายครับ


เอ หนูกลับคิดว่า ๑๕ ปี ในสมัยกรุงธนบุรี เป็นช่วงหน้าสิ่วหน้าขวาน
ครั้นถึง ร.๑ บ้านเมืองเริ่มตั้งลำได้ ฝ่ายบู๊ก็บู๊กันไป ฝ่ายบุ๋นก็ผลิตวรรณคดีหลายเรื่อง
เช่น กากีคำกลอน ร่ายยาวมหาชาติ ลิลิต ๒ เรื่อง สมบัติอมรินทร์
และแปลสามก๊กจากพงศาวดารจีน ราชาธิราชจากพงศาวดารมอญ
นอกจากนี้ ร. ๑ ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด แม้ยังไม่เสร็จก็ตาม

พระนิพนธ์ตำนานละครอิเหนา ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
กล่าวว่าละครนอกที่เล่นกันนอกวังและใช้ผู้ชายเป็นตัวแสดง
ตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า มีฉบับอยู่ในหอพระสมุด ด้วยกัน ๑๙ เรื่อง
แต่ไม่จบสักเรื่องเดียว คือ
๑. เรื่องการเกษ (หรือการะเกด)...... ๒. คาวี
๓. ไชยทัต................................ ๔. พิกุลทอง
๕. พิมพ์สวรรค์........................... ๖. พิณสุริวงศ์
๗. นางมโนราห์.......................... ๘. โม่งป่า
๙. มณีพิไชย............................. ๑๐. สังข์ทอง
๑๑. สังข์ศิลป์ไชย....................... ๑๒. สุวรรณศิลป์
๑๓. สุวรรณหงส์..........................๑๔. โสวัต
๑๕. ไกรทอง.............................. ๑๖. โคบุตร
๑๗. ไชยเชษฐ์............................. ๑๘. พระรถ
๑๙. เรืองศิลป์สุริวงศ์

ใน ร. ๒ พระองค์เจ้าทับ ทรงนิพนธ์สังข์ศิลป์ไชย
ใน ร. ๓ พระองค์เจ้าทินกร ทรงนิพนธ์มณีพิไชย (ยอพระกลิ่นกินแมว)
สุวรรณหงส์ แก้วหน้าม้า และนางกุลา
บันทึกการเข้า
หนอนบุ้ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 113


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 29 ส.ค. 07, 20:37

กรณีเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์หลักฐานแย้งชัดเจน เพราะพระองค์บรรพชา ๒๔๐๙ แต่ไม่เคยเสด็จพระบาทในปีนั้น ในขณะที่เมื่อเสด็จในปี ๒๔๐๓ เพิ่ง ๗ ชันษา ยังไม่บรรพชา ไม่ต้องพิจารณาประเด็นอื่นต่อเลย

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงผนวชเป็นสามเณร ๒ ครั้ง

ครั้งเเรก ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๐๔
ครั้งที่สอง ๒๔๐๙
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 29 ส.ค. 07, 20:49

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงผนวชเป็นสามเณร ๒ ครั้ง

ครั้งเเรก ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๐๔
ครั้งที่สอง ๒๔๐๙ 
ข้อความเมื่อ: วันนี้ เวลา 20:30ข้อความโดย: หนอนบุ้ง 
  ตกใจ ตกใจ ตกใจ ตกใจ ตกใจ

ถ้าหากว่าเจอพระองค์จริงของ"เจ้าเณรน้อย" แล้วละก็   
เจ้านายของกวีที่ผนวชอยู่วัดระฆังและเป็น "พระหน่อสุริย์วงศ์พระวังหลัง" จะเป็นใครล่ะคะ ในปลายรัชกาลที่ ๔?
ในปลายรัชกาลที่ ๔ เชื้อสายวังหลัง เหลือหม่อมเจ้าเป็นอย่างสูง 
บันทึกการเข้า
หนอนบุ้ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 113


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 29 ส.ค. 07, 20:59

"เปลี่ยนของซึ่งสร้างครั้งรัชกาลที่ ๓ ให้งดงามมั่นคงกว่าเก่า
ทั้งให้เปลี่ยนแผ่นเงินปูพื้นพระมณฑปเป็นเสื่อเงิน "


หนูคิดว่า "เปลี่ยนแผ่นเงินปูพื้น" แผ่นเงินอาจจะเป็นของตกทอดมาตั้งเเต่ครั้ง ร. ๑ ก็ได้
ไม่มีตรงไหนเจาะจงว่า แผ่นเงินมาจาก ร.๓ ลองอ่านดูดีๆ สิคะ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 29 ส.ค. 07, 21:04

ขอบคุณคุณหนอนบุ้งที่คัดมาให้อ่านกันครับ น่าสนใจมากครับ

พระหน่อสุริย์วงศ์พระวังหลังในนิราศบอกแค่ว่าเป็นคนสร้างวัดธารมาใหม่ครับ ที่อื่นๆในนิราศเป็นเพียงแต่ พระหน่อสุริย์วงศ์ ไม่มีพระวังหลังตามหลังครับ ดูจากลักษณะการกล่าวถึงแล้ว น่าจะเป็นคนละพระองค์กันครับ ดังนั้นเรื่องนี้ไม่ขัดข้อง

ปัญหาคือบรรพชาครั้งแรก เป็น ๒๔๐๔ หรือครับ? ใกล้เคียงกับ ๒๔๐๓ ที่เสด็จพระพุทธบาทครั้งแรกนะครับ (ร.๕ เสด็จพระบาทรวม ๕ ครั้ง ครั้งแรกตามเสด็จ ร.๔ ปี ๒๔๐๓)

น่าจะลองตรวจสอบดู น่าสนใจๆ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 29 ส.ค. 07, 21:16

เรื่องการตกแต่งภายในมณฑป ขอเรียบเรียงเรื่องราวอีกครั้งนะครับ

จะมีสองประเด็น คือ พื้น กับ ผนัง

- นิราศพระบาทว่า พื้นเป็นแผ่นเงิน ผนังปิดทอง

พระวินิจฉัยสมเด็จดำรงที่คุณหนอนบุ้งยกมาเรียบเรียงได้ดังนี้

- ร.๑ พื้นไม่ทราบ ผนังเขียนลายชาด
- ร.๓ พื้นปูแผ่นเงิน ผนังเขียนลายชาด
- ร.๔ พื้นเสื่อเงิน ผนังปิดทอง
- ร.๕ พื้นเสื่อเงิน ผนังเขียนลายทอง

ข้อมูลจากคุณ pipat ว่านายโหมด อมาตยกุลว่าตนไปสานเสื่อเงินตั้งแต่สมัย ร.๓ หมายความว่า
- ปลาย ร.๓ พื้นเสื่อเงิน ผนังเขียนลายชาด

เอาข้อมูลจากนิราศพระบาทมาใส่ หาที่ลงไม่ได้  ฮืม

แต่ถ้าลองตัดข้อมูลจากนายโหมดทิ้งไป พอจะหาช่องว่างได้ว่า
นิราศพระบาทเขียนสมัย ร.๔ เมื่อผนังปิดทองแล้ว แต่พื้นยังไม่เป็นเสื่อเงิน ซึ่งถ้าเป็นไปได้ก็ต้องราวปี ๒๔๐๓ นี่แหละ

ถ้า ร.๕ บรรพชาปี ๒๔๐๓ ก็เป็นไปได้นะครับว่าเจ้าเณรน้อยคือพระองค์ !!!
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 29 ส.ค. 07, 21:42

ไม่เคยทราบว่าทรงบรรพชาสองครั้ง ขอหลักฐานด้วยครับ
เรื่องเสื่อเงินและแผ่นเงินกลายเป็นความสับสนที่ผมสร้างขึ้นเสียแล้ว
ผมมิได้เขียนว่ากวีมาเห็น"เสื่อ"เงินนะครับ คำกลอนก็ชัดเจนอยู่
แต่ผมตั้งข้อสังเกตว่า กวีมาเห็นแผ่นเงินน่ะ มันเป็นช่วงเวลาใหน
เพราะ

ตามเอกสาร รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้ยุบแผ่นเงินสมัยรัชกาลที่ 3 ที่ลิเกี่ยวผ้านุ่งคนมาไหว้
ทำเป็นลวดเพื่อสานเป็นเสื่อ
ข้อความนี้อยู่ในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 4 และเป็นข้อยืนยันว่าในรัชกาลที่ 3
พื้นข้างในปูแผ่นเงิน
(ส่วนท่านจะเหมาให้เป็นของรัชกาลที่ 1 ให้ได้ ต้องไปเถียงเจ้าพระยาทิพากรวงศ์เอาเอง)

นี่คือหลักฐานประโยคแรก
ซึ่งถ้าเชื่อ กวีก็มาเห็นพระบาทในรัชกาลที่ 3 หรือ 4 ก่อนยุบแผ่นเงิน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 20 คำสั่ง