เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 12
  พิมพ์  
อ่าน: 55540 สุนทรภู่ไม่ใช่ผู้แต่งนิราศพระบาท
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 21 ส.ค. 07, 13:39

ถ้าหากว่าเป็นเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์  นิราศพระบาทก็แต่งในปลายรัชกาลที่ 4 
คุณพิพัฒน์บอกว่า "เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ประสูติปีฉลู 2396 โสกันต์ปี ฉลู 2408 แล้วบรรพชาปีขาล 2409 สึกปีเถาะ 2410"
นิราศพระบาทก็แต่งในช่วงที่ใกล้สึกแต่ยังไม่ทันสึก

ถ้าเรื่องนี้แต่งโดยมหาดเล็ก พลพาย   ในปลายรัชกาลที่ 4    ลีลาการแต่งกลอนสุภาพแบบสุนทรภู่คงแพร่หลาย เรียกได้ว่าเป็น สกูลสุนทรภู่

เรื่องนี้มีหลักฐานแข็งแกร่งกว่าเรื่องอื่น  ในเรื่องพื้นดาดด้วยเงิน   และพระกลดหักทองขวาง
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 21 ส.ค. 07, 14:55

หลักฐานที่แข็งแกร่งนั้น ผมยังไม่พบเลยสักเรื่อง
ถ้าจะเชื่อพระนิพนธ์สมเด็จ ผมว่าแม้แต่พระองค์ท่าน หากทรงตรวจสอบอีกรอบ ก็คงไม่เชื่อพระองค์เอง
เมื่อมีผู้ท้วง อย่างมีหลักเกณฑ์ก็ทรงอนุมัติตาม เช่นเรื่องหาบุญยัง...เป็นต้น
บุญยัง ยังมาปรากฏในนิราศสุพรรณ "บอกบทบุญยังพยาน พยักหน้า" แล้วจะให้ตความอย่างไร

มาว่ากันที่ไกล้เหตุการณ์ ถ้าอย่างนั้นก็ต้องยกให้ตากุหลาบไกล้สุด....ทำไมไม่เชื่อ
ท่านที่แต่งประวัติสุนทรภู่ก็บอกต้องกันว่าพ่อเป็นคนเมืองแกลง แต่อ้างนิราศเมืองแกลง
ซึ่งเป็นนิราศที่ไม่มีตรงใหนเลย บอกว่าเป็นฝีปากสุนทรภู่ นอกจากลีลากลอน
แต่ผมกลับเห็นว่าลีลาไม่ชัดเจน ชัดเจนกว่าก็คือกวีเป็นคนผิวบาง คนอย่างนี้ทำตัวเหมือนในรำพันพิลาปไม่ได้ดอก

นิราศเมืองเพชร ปีแต่งก็เห็นกันโต้งๆ ว่าผิดจากชีวิตสุนทรภู่ ก็อ้างฝีปากอีก
เป็นหลักฐานที่หากจะมีน้ำหนักก็เสมอด้วยลมพัดผ่านร่องใบไม้ ใบไม้ไม่ไหวติง
เราต้องการมากกว่าฝีปาก จึงจะยืนยันได้ว่าเป็นงานของใคร
เครื่องมือวิเศษที่เรียกว่าฝีปากนี้ ยังเอางานสองชิ้นออกจากชีวิตกวีคู่หนึ่ง
คือนิราศหนูพัด กับนิราศเณรกลั่น บาปกรรมจริงๆ

รำพันพิลาป แต่งหลังจากสึกมาตั้งนาน อาจจะแต่งคราวรัชกาลที่ 4 แล้วด้วยซ้ำ
ก็ยังจะลากเจ้าหญิงพระองค์หนึ่งมากุ๊กกิ๊กกับกวีเฒ่า ทั้งๆที่ไม่มีหลักฐาน"อันแข็งแกร่ง" เลย
คิดดูถี พระองค์ลักขณาลาผนวชเมื่อปี 2372 พอถึง 2375 ก็สิ้นพระชนม์
ในช่วงนั้น ตรงกับวันเวลาในเพลงยาวถวายโอวาท ที่ว่าเริ่มสอน 2372 แล้วเจ้าฟ้ากลางจะต้องโสกันต์ 2374
สุนทรภู่ไม่มีทางแยกร่างหนึ่งไปบอกสักรวาพระองค์ลักขฯ ซึ่งอีกไม่นานก็ทรงประชวรเพราะฝิ่น
แล้วสุนทรภู่ยังต้องห่มผ้าเหลืองเข้าวังหน้าพระลานไปสอนหนังสือ

ขัดแย้งกันถึงเพียงนี้ ท่านยังจะเชื่อทั้งสองเรื่องหรือ และต้องเชื่อเรื่องไปพึ่งพระองค์ลักขฯ เท่านั้น
ความโรมานส์เรื่องอาจเอื้อมรักเจ้าหญิง ที่ท่านโปรดปรานจึงจะเกิด

แต่ผมเห็นว่าไม่มีวันเกิดได้ เพราะครูพระท่าน เช้าขึ้นก็เดินมาวังหน้าพระลาน สอนหนังสือจนลูกศิษย์ต้องโสกันต์
แกจึงถวายบังคมลาไปหาสมบัติ นี่ผมว่าตามหลักฐานที่ผมเห็นว่า"แข็งแกร่ง" เท่าที่จะสอบจากถ้อยคำกวีออกมาได้
ท่านจะแย้ง ก็ต้องเอาหลักฐานที่เทียบเท่ามาสู้ ขออย่าอ้างคำจากคนที่สันนิษฐานผิดบ่อยๆเลยครับ อย่างไรก็หักล้างมิได้

เมื่อไม่อาจเกี่ยวข้องกับพระองค์ลักขณานุคุณ ซึ่งรวมไปถึงพระองค์เจ้าหญิงวิลาสด้วย
ประวัติกวีตอนตกยาก ก็กลายเป็นไม่ตกยากไปฉิบ นอกจากไม่ตกยาก ยังอู่ฟู่ด้วย
เพราะเป็นข้าเจ้าฟ้า จะมากจะน้อยก็ต้องเหนือกว่าลอยเรือจ้างรับเขียนเพลงยาว
ก็แล้วถ้าตกยาก ท่านเอาเงินที่ใหนไปลุยหัวเมือง

ผมอ่านนิทานเรื่องสุนทรภู่ที่เชื่อตามกันมาแล้วรู้สึกเหลือเชื่อว่า การสอบข้อมูลนั้น ทำไมเขาไม่ทำกัน
เขียนประวัติกวีออกมาเป็นร้อยๆ ท่าน กลัวสุนัขจนเดินตามผู้ใหญ่กันหมด

โฮ่ง โฮ่ง โฮ่ง
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 21 ส.ค. 07, 22:39

บรู๊ววววววว .........
เอาล่ะท่าน  ถ้าจะให้ใกล้เคียงที่สุด น่าจะต้องเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ  และนิราศเรื่องนี้แต่งโดยฝีพายมหัศจรรย์  ที่ทั้งเป็นพลพายเหนื่อยจนสายตัวแทบขาด  และยังมีเวลามาแต่งนิราศเพราะๆอีกด้วย  ในเวลาสามสี่วันที่เดินทาง  แล้วเซ่อซ่าเกือบเดินไปชนกับเจ้าสามเณร

และอีกท่านก็เป็นครูพระ  ที่เป็นครูต้องระดับ ผช.  รศ.  หรืออาจเป็น ศจ. ด้วยซ้ำ  ที่มีวัยวุฒิ (เป็นผู้ใหญ่พอ)  คุณวุฒิ (เป็นผู้ที่อย่างน้อยต้องเคยสอนคนระดับลูกขุนนางหรือลูกพระองค์เจ้ามานักต่อนัก)  ชาติวุฒิ (เป็นที่เคารพนับถือ มีที่มาที่ไป มีชาติตระกูลพอสมควร)  ถึงจะได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยสอนเจ้าฟ้าพระองค์น้อยสองพระองค์  ที่เรียกว่าอยู่ในข่าย แคนดิเดท ที่อาจได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินด้วย

แต่ไม่มีประวัติที่บ่งบอกว่าเป็นพระราชาคณะหรือเปล่า (เพราะเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ก็ระดับสมเด็จโต)  หรือเป็นผู้ที่มีผลงานก่อนหน้าที่จะมาถวายการสอน หรือเคยเป็นขุนนางระดับแนวหน้าในฝ่ายบุ๋น  แล้วผลงานชั้นหลังหรืออาจจะชั้นแรก  ประเภท พระอภัยมณี 94 เล่ม  และอื่นๆอีก  จะเอาเวลาตอนไหนมาแต่งมิต้องลามมาถึงสมัย รัชกาลพระพุทธเจ้าหลวงดอกหรือ

ผมว่ารำพันพิลาป  น่าจะเป็นคำตอบที่ดีอีกเรื่องหนึ่ง  เพราะนอกจากเรื่องปลวก  ก็กล่าวถึงสถานที่ที่เกี่ยวพันกับนิราศหลายเรื่อง..... อายจัง
บันทึกการเข้า
หนอนบุ้ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 113


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 22 ส.ค. 07, 21:43

สวัสดีคะพี่ๆ ทุกท่าน ขออนุญาตเสนอความคิดเห็นนิดหน่อยคะ

คือว่า

หนูขอเสนอมุมมองตามพงศาวดาร
ซึ่งอาจแย้งกับข้อมูลของพี่ๆ ดังนี้ค่ะ
เจ้าเณรจุฬาลงกรณ์ ทรงผนวชนาน 6 เดือน
ที่ว่าพระองค์ทรงผนวชปีขาล ๒๔๐๙ แล้วไปลาผนวชปีเถาะ ๒๔๑๐ อาจไม่เป็นจริง
เพราะถ้าจะเป็นได้ ก็คือต้องผนวชในเดือนสิบเอ็ดหรือสิบสอง
แต่ว่าคนโบราณไม่มีใครบวชระหว่างพรรษา หรือหลังตักบาตรเทโว
มีแต่บวชก่อนเข้าพรรษาเท่านั้น

หนูหยิบพงศาวดาร ร.5 มาให้ดูกันค่ะ

ถึงปีขาล พ.ศ. ๒๔๐๙ เป็นกำหนดซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงผนวช
เป็นสามเณรตามราชประเพณี พระบาทสมเด็จฯพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดฯให้จัดการตามแบบเจ้าฟ้าทรงผนวช เหมือนอย่างครั้งพระองค์ทรงผนวช
เป็นสามเณรในรัชกาลที่ ๒ คือ เมื่อวันพุธ เดือน ๘ ขึ้น๖ ค่ำ….
บันทึกการเข้า
หนอนบุ้ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 113


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 22 ส.ค. 07, 21:46

พระบาทสมเด็จฯพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือถึงเมืองพิษณุโลก
โปรดฯให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อยังทรงผนวชเป็นสามเณรโดยเสด็จไปในเรือพระที่นั่ง
อรรคราชวรเดชด้วยเสด็จออกจากกรุงเทพฯ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ แรมค่ำ ๑
ในสมัยนั้นลำแม่น้ำทางเมืองเหนือยังกว้าง เมื่อขาขึ้นเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชจักร
ข้าง ๒ ปล่องเป็นเรือไฟขนาดยาว ๓๐ วา ยังเข้าปากน้ำเกยไชยขึ้นทางลำน้ำเมืองพิจิตรเก่า
ได้ถึงเมืองพิษณุโลก แต่ขากลับน้ำลดต้องล่องทางคลองเรียงที่เป็นลำน้ำเมืองพิจิตรทุกวันนี้
และเมื่อขาเสด็จขึ้นไปนั้น เสด็จประทับทอดพระเนตรวัดโพธิประทับช้างในลำน้ำเมืองพิจิตรเก่า
ซึ่งเป็นของพระเจ้าเสือทรงสร้างไว้แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา กล่าวกันว่าเพราะเสด็จสมภพที่นั่น
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นประพาสวัดโพธิประทับช้าง

อาศัยเหตุที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นสามเณรทรงผ้ากาสาวพัตร จึงมีรับสั่งให้ทรงพระราชยานต่างพระองค์
และโปรดฯให้ข้าราชการแห่นำตามเสด็จเหมือนกระบวนเสด็จพระราชดำเนิน ส่วนพระองค์เองนั้น
ทรงพระราชดำเนินตามไปโดยลำพังทั้งขาขึ้นขาลง

และเมื่อสมโภชพระพุทธชินราช ณ เมืองพิษณุโลกนั้น โปรดฯให้ทรงกำกับทหารมหาดเล็ก ซึ่งเป็นพนักงานการมหรสพด้วย(๒) และครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชศรัทธาสร้างวิหารพระเหลือ(หลังใหญ่) ที่ในวัดพระศรีมหาธาตุ และโปรดฯให้ทำศิลาจารึกติดไว้ที่วิหารนั้นยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้
พระบาทสมเด็จฯพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสหัวเมืองเหนือครั้งนั้น
เสด็จกลับมาถึงกรุงเทพฯเมื่อ ณ วันอาทิตย์ เดือน ๑๑ แรม ๑๑ ค่ำ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง
ผนวชเป็นสามเณรอยู่ ๖ เดือน ถึงเดือนยี่ ปีขาลนั้นจึงได้ลาผนวช


[สรุปว่าผนวชปีขาล ลาผนวชปีขาล เเละเจ้าเณรจุฬาลงกรณ์ไม่ได้เสด็จพระบาท ]

บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 22 ส.ค. 07, 22:15

ขอบคุณพี่บุ้งมากๆ  ที่ให้ความกระจ่างในเรื่องเจ้าเณร 

ดังนั้นเอาเกณฑ์ท่าน UP มาวินิจฉัย  ก็ต้องเหลือเจ้านายเพียงสองพระองค์  คือเจ้าฟ้ามงกุฏฯ และเจ้าฟ้าน้อย

ทูลกระหม่อมฟ้าใหญ่ทรงผนวชเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. 2361  บรพพชาที่วัดพระแก้ว  แล้วประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุฯ  ออกพรรษาก็ลาผนวช  ไม่ปรากฏว่าได้เดินทางไปไหน  แม้แต่ที่พระพุทธบาท

ทูลกระหม่อมฟ้าน้อย  ไม่เจอประวัติว่าทรงผนวชเป็นสามเณรมีแต่เข้ารับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระเชษฐา  เมื่อมีพระชนมายุ 16 พรรษา

ยาพาราแกล้มกาแฟ  แล้วพยายามคิดเลยไปถึง  พระบรมฯเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ  เพราะมองไม่เห็นพระองค์ใดจริงๆครับท่านพิพัฒน์....... ฮืม
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 23 ส.ค. 07, 00:20

ผมสอบพระราชกิจจานุเบกษาเจอดีเข้าให้

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2439/040/477_1.PDF

วันที่ ๒๘ ธันวาคม เวลาเช้า ๓ โมงเศษ เสด็จขึ้นนมัสการพระพุทธบาทแล้ว ทรงพระดำเนินไปตามทางบนเขา เฃตรพระพุทธบาท ทรงสลักพระนาม จ,ป,ร, ในศิลาน่าผาตามทางแห่งหนึ่ง และรัตนโกสินทร์ศก ๗๙ . ๙๑ . ๑๐๒ . ๑๑๕ . เปนที่หมายคราวที่เสด็จพระราชดำเนิน มานมัสการพระพุทธบาท

ตรงกับพุทธศักราช ๒๔๐๓, ๒๔๑๕, ๒๔๒๖, ๒๔๓๙ ตามลำดับ

เป็นอันสรุปได้ว่าไม่ใช่สามเณรเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์อย่างแน่นอนครับ

หน้าค้นพระราชกิจจาฯนี้มีประโยชน์มากครับ
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/RKJ/announce/search.jsp
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 23 ส.ค. 07, 02:03

เจอพี่บุ้ง และ ท่าน CH นับว่าได้ของดีและได้ความกระจ่าง

ได้คำยืนยันของสองท่านในเรื่องเจ้าเณรน้อยเสด็จมาดูน่ารัก  ว่าไม่ใช่เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ แน่นอน

และยังได้เวปราชกิจจานุเบกษาไว้ให้ค้นหาอีกด้วย

เงื่อนไขเริ่มงวดลงแต่ก็ยังไม่สามารถจะทราบได้ว่าเจ้าเณร พระองค์นี้เป็นใคร  แต่น่าค้นหา..... ฮืม

ขออนุญาตดูบอลก่อน  อิอิ.   Eng  VS   Ger
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 23 ส.ค. 07, 09:02

เห็นจะมีแต่คุณพิพัฒน์ที่จะแถลงไขปัญหาได้ละค่ะ
อ่านข้างล่าง พูดถึงสมเด็จพระจอมเกล้าเสด็จเรือกลไฟ  แล้วกลับมาเทียบกับบรรยากาศในนิราศพระบาท
พายเรือไป    กลางคืนล้อมวงรอบที่ประทับ    มีนางในนั่งในขบวนช้าง...
บรรยากาศย้อนไปคล้ายสมัยเจ้าฟ้ากุ้งมากๆค่ะ    ก็ต้องต้นรัตนโกสินทร์นั่นแหละที่ยังสืบสายวัฒนธรรมอยุธยาเหมือนถอดพิมพ์กันมา

ขอตอบแบบกำปั้นทุบดินว่า ถ้าเราหาเจ้าฟ้าสมัยรัชกาลที่ ๑-๓ ที่บรรพชาปีเถาะไม่ได้   ก็แปลว่ากลดหักทองขวางในสมัยนั้นอนุโลมให้ใช้กับพระองค์เจ้าได้
แต่คุณ UP คงจะค้อนเอาแน่ๆ

จากข้อมูลที่คุณหนอนบุ้งไปหามาให้     บรรยากาศตอนปลายรัชกาลที่ ๔ นั้นทันสมัยขึ้นมากแล้ว   
ถ้างั้นอย่างเร็วที่สุดนิราศพระบาทแต่งสมัยต้นรัชกาลที่ ๔ เมื่อยังพายเรือกันอยู่
ถ้าท่านกวีนิราศพระบาท มีโอกาสเห็นพระเจ้าอยู่หัวเสด็จโดยเรือกลไฟ ก็น่าจะเอ่ยถึง

บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 23 ส.ค. 07, 10:19

อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องแผ่นเงินปูพื้น ที่เป็นตัวจำกัดอายุ

ผมสงสัยมานานแล้วว่าแผ่นเงินนั้นอาจมีอยู่ก่อนแล้ว เพียงแต่มาปูใหม่หรือซ่อมแซม เพียงแต่ยังหาหลักฐานไม่ได้

บัดนี้... เจอแล้วครับท่าน อยู่ในบุณโณวาทคำฉันท์ ที่พระมหานาคแต่งไว้ช่วงปลายอยุธยา (น่าจะแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) ดังนี้ครับ

 ฉลักมุกทุกทวาร        อัษฐบานบเพี้ยนกัน
ล้วนแล้วณเครือพรร-    ณรายพรายลลายตา
 พื้นในหิรัญลาด         ก็สอาดอลังการ์
ราบรอบพระบาทา       ทศพลวิมลมี
 มณฎปเยาวในนั้น       คณพรรณมณีดี
พวงกลิ่นสุมาลี           รยาบย้อยอร่ามเรือง


พื้นปูแผ่นเงินอยู่แล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา ดังนั้นเรื่องเวลาเก่าไปนั้นคงไม่ต้องกังวลแล้ว คงเหลือประเด็นพระกลดหักทองขวางอย่างเดียว

หากเชื่อตามพงศาวดารว่า เจ้าฟ้ามงกุฎทรงบรรพชาอยู่เพียง ๗ เดือน ก็เป็นอันว่าไม่ใช่เจ้าฟ้ามงกุฎไปอีกหนึ่ง

เหลืออยู่แต่เจ้าฟ้าจุฑามณีที่ยังหาหลักฐานไม่ได้ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 23 ส.ค. 07, 12:31

ขออนุญาตค้อนหนึ่งขวับ แล้วจึงบ่นอุบอิบในทำนองที่เคยบ่นไปแล้วว่า จะเป็นไปได้หรือไม่ที่กวีท่านแต่งเพลินไป เห็นอะไรทองๆ ก็เรียกหักทองขวาง นึกว่าคนนอกๆ วังคงไม่รู้หรอกว่ามันต่างกันอย่างไร เหมือนกับเวลาชาวบ้านเห็นชุดปกติขาว ก็บอกว่า "แต่งขาวซะเต็มยศ" ซึ่งจริงๆ แล้ว "ปกติขาว" กับ "เต็มยศ" มันคนละแบบกันเลย

ยังไงๆ ผมก็ไม่สมัครจะคิดว่าพระองค์เจ้า (แถมยังทรงพระเยาว์ ไม่ได้ทำราชการอะไรจนมีความดีความชอบพิเศษสุด) สามาถทรงพระกลดหักทองขวางได้จริงๆ ครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 23 ส.ค. 07, 15:39

เวลาผิดไปเดือนเดียว ผมไม่ถือเป็นสำคํญครับ
กวีท่านบ่นว่าสาวเจ้างอนแต่เดือนสามจนเดือนสี่ แล้วปิดท้ายว่านิราศนี้ปีเถาะ เคราะห์ร้าย
ตรงนี้ ต้องปักหมุดไว้หนึ่งดอกก่อน

หมุดดอกที่สอง ก็คือ จะเชื่อกวีคนนี้หรือไม่ หรือจะเชื่อเอกสารราชการ ซึ่งผมไม่เคยไว้ใจในความถูกต้องเท่าใดนัก
แม้แต่ราชกิจจาก็ตาม ยิ่งในสมัยที่ไม่มีการมานั่งจับผิดอย่างพวกเราทุกวันนี้ ยิ่งต้องใส่ใจ
เอาล่ะ กวีบอกว่าอะไร
บอกว่าฉันเป็นหนุ่มฉกรรจ์ แข็งแรง เพิ่งจะเริ่มติดพันสาว มีความรู้ดี คารมดี และเป็นข้าในราชสำนักที่มีหน้ามีตาไม่เบา
ฉันตามเสด็จเจ้านายชั้นสูง ไปพระบาท กระบวนเสด็จนั้นโอ่อ่า เต็มยศ นางในเป็นฝูง
ฉันไปเห็นพระบาทในสภาพที่มีแผ่นเงินปูพื้น ผนังเขียนลายทอง และเจ้านายน้อยพระองค์หนึ่ง
เป็นเณรมีพระกลดหักทองขวางเป็นเครื่องยศ

ทั้งหมดข้างต้น เกิดเมื่อปีเถาะ 2350 หรือ 2362 หรือ 2374 หรือ 2386 หรือ 2398 หรือ 2410
ปี พ.ศ. ที่ว่า ความจริงต้องเปลี่ยนเป็นจุลศักราช ลงท้ายด้วยปีเอกศก โทศก ไปตามที่เป็นจริง แต่จะเหนื่อยพวกท่าน ผมจึงละไว้
ทำให้เพี้ยนได้นะครับ

คราวนี้จะไขข้อสงสัย
แผ่นเงินสมัยบ้านเมืองดีน่ะ เจ๊กบ้ามันมาขนไปหมดแล้วครับ แล้วตัวมณฑปก็ถูกเผาราบไปแล้ว
รัชกาลที่ 1 ทรงสร้างใหม่ โดยใช้แบบจากพระมณฑปวัดพระแก้ว และกรมพระราชวังบวร ทรงพระราชศรัทธา
ถึงกับแบกเครื่องลำยองขึ้นเขาด้วยพระองค์เอง เครื่องลำยองก็อยู่บนหลังคา ที่เป็นตัวนาคเลื้อยบนหลังคา
ในที่นี้ผมเดาว่าคงเป็นซุ้มรังไก่ที่ประดับยอดพระมณฑป ซึ่งขนาดย่อมกว่าลำยองปกติที่ยาวเป็นวา
แม้กระนั้น ชิ้นหนึ่งก็หลายสิบกิโลอยู่ ....ผมยังเชื่อด้วยว่า ในสมัยรัชกาลที่ 1 ประเพณีไหว้พระบาท คงยังไม่รื้อฟื้นเต็มที่ ต้องรัชกาลที่ 2 จึงจะครึกครื้น
จึงทรงแต่งกาพย์ห่อโคลงแข่งเจ้าฟ้ากุ้ง
เอาละ ตกลงว่าแผ่นเงินในปุณโณวาทนี่ ยกออกนะครับ

เรื่องหักทองขวาง ผมไม่ค้อนอย่างคุณอั๊บนะครับ ผมโวยเลย
เป็นการแก้ตัวที่ไม่เข้าท่า เพราะถ้าเป็นอย่างนั้น เท่ากับกวีคนนี้มั่ว  เรื่องอื่นๆก็คงมั่วด้วย มันจะไปกันใหญ่
ความจริงยังมีเครื่องช่วยกวีที่ทุกท่านแกล้งเมิน ทำไมท่านต้องโดดหลบขบวนเณรน้อยเล่า
โดดหลบก็เพราะมีตำรวจนำไง ถามว่าพระองค์เจ้าเมืองใหนเสด็จโดยมีเกียรติยศอย่างนี้
ท่านอาจจะบอกว่า รัชกาลที่ 4 เสด็จไปใหนก็อย่างลำลอง ผมก็ขอตอบว่าลำลองแค่ใหน ราชประเพณีก็ไม่เลิก เพียงแต่ลดความเข้มงวด
ทีนี้เสด็จกลางป่า จะตามสะบายเหมือนเดินท่าเตียน เป็นไปไม่ได้
และแม้แต่เสด็จตามสะบาย กวีของเราเองก็เพลินจนแทบจะตัดหน้าฉาน ใครๆก็ต้องหลบ
ทั้งหมดสรุปว่า เณรน้อนท่านบิ๊กครับ

ส่วนเรื่องเรือกลไฟอะไรนั่น ขอบอกว่าคลองที่ไปพระบาท ติชื้นครับ เรือเข้าไม่ได้ เรือนั้นน่ะฝีจักรข้างนะครับ
อีกประการหนึ่ง การเสด็จพระบาท เป็นราชประเพณี พระจุลจอมเกล้ายังต้องรำง้าวก่อนเสด็จขึ้นเลย ขนาดบ้านเมืองทันสมัยแล้วก็ตาม....

ผมอ่านแบบเหมารวม อาจจะขาดส่วนละเอียดไปบ้าง
ขอขอบคุณที่ทักท้วง
แต่ยังดื้อ ไม่เปลี่ยนความเห็นครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 23 ส.ค. 07, 17:14

เรื่องราชกิจจานุเบกษาผิดได้นั้นผมเห็นด้วยครับ (ถึงแม้จะคิดว่าโอกาสผิดจะน้อยกว่าพลพายนิรนาม รูดซิบปาก)

แต่ดูเรื่องนี้แล้วมันก็ไม่น่าผิดง่ายๆเพราะเป็นเรื่องที่รัชกาลที่ ๕ ทรงสลักเอง และปีที่สลักไว้ ๗๙, ๙๑ ดูแล้วนึกไม่ออกว่าจะผิดยังไงให้ไปลงที่ ๘๖ (๒๔๑๐) ได้

เพื่อความมั่นใจผมเลยไปหาข้อมูลแหล่งอื่นมายืนยัน ก็ได้จดหมายเหตุโหรของจมื่นก่งศิลป์ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๘ มาดังนี้ครับ

ปีวอก จ.ศ.๑๒๒๒ ณ วันอาทิตย์ ขึ้นแปดค่ำ เดือน ๔ เสด็จพระพุทธบาท
เป็นเหตุการณ์ในรัชกาลที่ ๔ ตรงกับ ร.ศ. ๗๙ (๒๔๐๓) เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์คงจะโดยเสด็จพระราชบิดาในครั้งนี้

ปีวอก จ.ศ.๑๒๓๔ ณ วันอาทิตย์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๓ เพลาเช้าโมงเศษเสด็จลงเรือพระที่นั่งกลไฟไปพระพุทธบาท
ตรงกับ ร.ศ. ๙๑ (๒๔๑๕) คราวนี้เป็นรัชกาลที่ ๕ แล้ว

ตรงกับราชกิจจานุเบกษาพอดี ไม่มีปัญหา

ดังนั้นขอยืนยันอีกครั้งว่า เจ้าเณรน้อยไม่มีทางเป็นเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ไปได้ครับ

แต่เรื่องพระกลดหักทองขวาง ผมยังคิดว่ากวีไม่น่ามั่ว น่าจะมีคำอธิบายที่ดีกว่านี้ นอกจากนี้พิจารณาจากปีประสูติเจ้าฟ้าจุฑามณี(๒๓๕๑) ก็ยากครับที่จะทรงเป็นเณรน้อยเสด็จไปพระบาทในปี ๒๓๖๒ ได้ แต่ก็ยังไม่ปิดประตูเสียทีเดียวครับ

เรื่องแผ่นเงิน ถ้าคุณ pipat ว่าเช่นนั้น ผมก็ไม่มีอะไรมายันครับ แต่ยังอดคิดไม่ได้ว่า สมัยร.๑ ท่านจะไม่ทรงให้ปูแผ่นเงินตามอย่างสมัยอยุธยาเชียวหรือ  ลังเล
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 23 ส.ค. 07, 17:30

พ.ศ. 2403 เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระชนม์  7 ขวบครับ ประสูติ 2396
แผ่นเงินนั้น ตามพงศาวดารก็บอกว่าทำในรัชกาลที่ 3 ยังมียันได้อีกข้อคือ พงศาวดารจดละเอียดว่า
ลายผนังครั้งรัชกาลที่ 1 เขียนเป็นลายชาด พอได้ซ่อมใหญ่ ท่านก็เลยปิดทองไปเสียด้วย
ทีนี้ ดูจากคำพรรณาสถานที่ สังเกตว่าทำได้สมบูรณ์งดงามมากแล้ว ผมเห็นว่าไม่ใช่สภาพครั้งแรกปฏิสังขรณ์
โดยเฉพาะที่ระบุต้นลั่นทมร่มรื่น

จะเล่าเรื่องความน่าสงสัยของพระราชพงศาวดาร เรื่องแผ่นเงินนี่แหละ
นายโหมดเล่าไว้ในประวัติตนเองว่า ได้ไปสานเสื่อเงินที่นี่ ครั้งรัชกาลที่ 3
แต่เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ท่านจดว่า สมัยรัชกาลที่ 3 ปูแผ่นเงิน แล้วลิขาด เกี่ยวผ้านุ่งคนมาไหว้
พระจอมเกล้าจึงโปรดให้กรมพระเทเวศร์อำนวยการแปลงให้เป็นเสื่อเงิน

แบบนี้ ท่านจะเชื่อใครครับ ระหว่าคนไปทำกับมือ หรือคนที่มารวบรวมตอนปลายชีวิต และตาบอดแล้วด้วย
เอกสารราชการสมัยก่อน มักจะเพี้ยน เพราะหมายออกไปอย่างหนึ่ง ทำจริงเป็นอีกอย่างหนึ่ง
ต้องหากรณีแวดล้อมมาช่วยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 23 ส.ค. 07, 18:46

ไม่มีความรู้เรื่องพ.ศ. เรื่องแผ่นเงิน และผนังทอง   จึงหันไปแกะรอยอีกทางหนึ่ง
ดูว่าเจ้านายของกวีนิราศพระบาท เป็นใคร   แกะรอยจากตัวบทกวีล้วนๆ ไม่นำพระวินิจฉัยของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ มาประกอบ

ก็มีคำระบุชัดเจนพอสมควร
๑) เจ้านายพระองค์นี้ ไม่ใช่พระเจ้าแผ่นดิน  แต่เป็นเชื้อสาย"สุริยะ"

จนพระหน่อสุริย์วงศ์ทรงพระนาม
พระนามแปลว่าเชื้อสายสุริยะ
๒) เจ้านายพระองค์นี้ กำลังบวชอยู่ในขณะนั้น
จากอารามแรมร้างทางกันดาร

จอมนรินทร์เทวราชประภาษสั่ง     จะกลับยังอาวาสเกษมสันต์
และ
ฝ่ายพระหน่อสุริย์วงศ์ทรงสิกขา ขึ้นศาลาโสรจสรงวารีศรี

คำว่า"หน่อสุริย์วงศ์" ที่ใช้ซ้ำกันหลายๆครั้ง ไม่ใช่พระนาม  เพราะโบราณคนสามัญไม่เรียกพระนามเจ้านายหรือแม้แต่ขุนนางใหญ่โตกันตรงๆ ถือเป็นการไม่เคารพ
แต่ใช้คำนี้เพื่ออธิบายว่าเจ้านายองค์นี้ทรงเป็นเทือกเถาเหล่ากอใคร
คำตอบ = หน่อ คือลูก  สุริย์วงศ์= เชื้อสายสุริยะ
กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข   พระนามเดิม  พระยาสุริยอภัย ในสมัยธนบุรี

๓) เป็นเจ้านายวังหลัง
ถึงวัดธารมาใหม่ใจระย่อ      ของพระหน่อสุริย์วงศ์พระวังหลัง 
๔) เจ้านายที่กำลังผนวชพระองค์นี้ บรรทมในเรือระหว่างเดินทาง
                                           พงศ์นารายณ์นรินทร์วงศ์ที่ทรงญาณ
บรรทมเรือพระที่นั่งบังวิสูตร        เขารวบรูดรอบดีทั้งสี่ด้าน
ครั้นรุ่งเช้าราวโมงหนึ่งนานนาน   จัดแจงม่านให้เคลื่อนนาวาคลาฯ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.195 วินาที กับ 20 คำสั่ง