เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 12
  พิมพ์  
อ่าน: 55544 สุนทรภู่ไม่ใช่ผู้แต่งนิราศพระบาท
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 25 ส.ค. 07, 02:48

ง่ะ  นักเรียนรอบดึก(สงัด)รายงานตัว

นิทานกับนิราศ  คนละแนวครับ  นิราศเป็นแนวบรรยายและพรรณนาโวหาร  บรรยายและพรรณนาถึงสถานที่  ซึ่งเมื่อเผยแพร่ไปแล้วต้องมีจริงเห็นจริง  แม้เปรียบเปรยในลักษณะอุปมาอุปไมยบ้าง  ก็แค่เสริมตามฉันทลักษณ์  หรือให้มีความวิจิตรตามจินตนาการของกวี  และที่สำคัญโดยมากมักเปรียบกับสตรีอันเป็นที่รัก  ส่วนนิทานไม่จำเป็นต้องมีความจริงเข้ามาปะปนก็ได้  เป็นเรื่องจินตนาการล้วนๆ

นิราศพระบาท  ในความเห็นนี้มีบุคคลที่เราอยากทราบว่าคือใคร  หรือน่าจะเป็นใคร  ในความเป็นไปได้มากที่สุด  สองท่านคือ 
1. ผู้ที่กวีตามเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาท
2. เจ้านายที่เป็นเณรน้อย  ที่กวีเกือบชนเข้ากับขบวนเสด็จ

เพื่อที่จะตอบปัญหาเรื่องผู้แต่งว่าเป็นใครหรือควรเป็นใคร or no name

ก็พยายามหากันโดยแกะตามเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่แทรกในเรื่อง  โดยท่านอาจารย์เทาชมภู  ท่านทำหน้าที่ได้ยอดเยี่ยมสุดๆ  และท่านพิพัฒน์ก็แสดงเหตุผลที่ชัดเจนน่าฟังจนผมเคลิ้มคล้อยตามท่านไปหลายครั้ง..อิอิ

ท่าน CH ก็พยายามค้นคว้าเรื่องราวต่างๆมาเสริม  ทำให้ผมได้รับความรู้เพิ่มเติมอีกมากมาย  ผมเองก็มีเวลาน้อยเนื่องจากงานแต่ก็พยายามหาเหมือนกันไม่ได้อะไรมาก  หาไปทีไรเจอแต่พระวินิจฉัย  หรือเรื่องของพระยาปริยัติ(แพ) ในคำสัมภาษณ์ต่างๆ

เดี๋ยวนี้ที่เจอบ้างก็  เรื่องของวัดธรรมาราม  ในทะเบียนประวัติ ของกรมศิลปากร  กล่าวมาตั้งแต่การส่งคณะสงฆ์สยามวงศ์ไปลังกา  แล้วมีท่านหนึ่งมาอยู่ที่วัดนี้  เรื่องการบูรณะแต่ครั้งกรุงศรี  และการบูรณะของกรมพระราชวังหลัง

เรื่องวัดระฆัง เป็นวัดที่กรมพระราชวังหลังให้ความอุปถัมภ์  และเป็นวัดที่เจ้านายในพระราชวังหลังทุกพระองค์ทรงผนวชที่นี่  หรือผนวชแล้วมาประทับที่นี่

ในนิราศกล่าวถึงวัดธรรมาราม และ วัดระฆัง  อย่างน่าวิเคราะห์ว่ากวีน่าจะเกี่ยวข้องบ้าง  แบบเห็นวัดนี้แล้วนึกถึงเจ้านาย

หรืออย่างกลอนที่พี่บุ้งยกมา  " เมื่อไรจะคืนอารามวัดระฆัง"
แปลว่ามีความเป็นไปได้มากว่าตามเสด็จเจ้านายที่บวช  และเป็นเจ้านายในพระราชวังหลัง  เพราะพำนักวัดระฆัง  แต่ไม่กล้าฟันธง  เกรงท่านพิพัฒน์ดุเอา  เพราะหลักฐานยังไม่ชัด  แม้แต่พระยาพระคลัง(จีนกุน)  ก็หาดูเรื่องละครใน รัชกาลที่ 1-2 ไม่เจอครับที่ยืนยันโดยละเอียดในเรื่องท่านมีละครดังในสังกัด  เจอแต่เรื่องของเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี  ที่เก่งเรื่องรำละครและมีตัวละครเก่งๆในสังกัดเยอะ  ส่วนเรื่องบุญยังยิ่งไม่พบเลยครับถ้าพบก็มีแต่เกี่ยวกับสุนทรภู่

อิอิ.........อยากให้หาอ่ะครับ  แล้วความน่าจะเป็นที่สุดของบุคคลทั้งสอง  คือเจ้านายพระที่กวีตามเสด็จ และ เจ้าเณรน้อย  น่าจะเป็นใครที่สุด  ถ้าได้ตรงนี้ทุกอย่างน่าจะแจ่มขึ้นบ้างล่ะครับ .......... ฮืม

พอเห็นท่าน UP มายืนยันว่าทรงกลดหักทองขวางเป็นเจ้าฟ้าพอรับได้  ค่อยยังชั่ว  ความน่าจะเป็นเยอะเลยคราวนี้
บันทึกการเข้า
หนอนบุ้ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 113


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 25 ส.ค. 07, 16:09

บรรพบุรุษคุณบุ้งคงมิใช่พวกเจ๊กเลว ที่คุมพวกออกปล้นฆ่าซ้ำเติมประเทศที่ตัวเองได้หนีภัยเข้ามาอาศัยเป็นที่ค้มภัยดอกครับ

ถ้าหมายถึงช่วงกรุงแตก เห็นทีจะไม่ใช่แน่ๆ เพราะบรรพบุรุษของหนูเพิ่งเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารเมื่อไม่ถึงร้อยปีนี่เองค่ะ

กลับเข้ามาที่บทเรียนกันต่อ

กำลังจะเข้ากลดหักทองขวางค่ะ
หนูขออนุญาตนำเสนอข้อเท็จจริงตามพงศาวดารอีกครั้งหนึ่ง

เมื่อปี พ. ศ ๒๓๓๑ หลังสร้างกรุงฯ ได้ เพียง ๖ ปี
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (ทรงศักดินา ๔๐,๐๐๐)
พระชนมายุครบ ๒๑ พระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงพระราชศรัทธา จะให้ทรงผนวชถวายพระราชกุศล พร้อมกับพระเจ้าหลานเธอ ๒ พระองค์ คือ เจ้าฟ้า กรมหลวงนรินทรนเรศร์ และเจ้าฟ้า กรมหลวงเทพหริรักษ์ (ทรงศักดินา ๑๕,๐๐๐)
ปรากฏว่าแม้ธรรมเนียมโบราณให้ผู้มีศักดินาสูงกว่าเป็นนาคเอก

แต่ครั้งนั้นการกลับกลายเป็นว่าพระเจ้าหลานเธอ ทั้งสองพระองค์ ทรงเป็นนาคเอกและนาครอง
เพราะมีพระชนม์แก่กว่าพระเจ้าลูกยาเธอ
ดังนั้น หลังสร้างกรุงฯ ระเบียบแบบแผนยังไม่ลงตัว
อะไรที่ผิดแผกแหวกธรรมเนียม แต่หาก ธ ประสงค์ใด
ก็ทรงดลบันดาลให้เป็นไปตามพระราชหฤทัยได้

กลับมาถึง “กลดหักทองขวาง”
หนูยังเชื่อว่า “เจ้าเณรน้อย” คือ “พระองค์เจ้าวาสุกรี”
และการที่ “เจ้าเณรน้อย” ได้รับเกียรติสูงส่ง เพราะเป็น “พระองค์เจ้า”
ที่เป็นพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระมหากษัตริย์ขณะนั้น ซึ่งจะได้รับเกียรติสูงกว่า “พระองค์เจ้า”
ที่เป็นพระหน่อของ “วังหน้า” และ “วังหลัง”

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ (กรมพระวังหลัง) ก็เป็นที่โปรดปรานของ ร. ๑ มาก
ตอนพระองค์ทรงผนวชในปี พ.ศ. ๒๓๔๕ ที่วัดพระศรีสรรพเพชญดาราม (วัดพระแก้ว)
“พระองค์เจ้าวาสุกรี” ขณะนั้นมีพระชนม์ ๑๒ พรรษา ก็ทรงผนวชเป็นหางนาคของกรมพระวังหลัง
ภายหลังที่กรมพระวังหลังทรงลาสิกขาแล้ว แต่เจ้าเณรยังทรงผนวชต่อ
ยังความปลาบปลื้มแก่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เป็นอันมาก
เพราะเป็นครั้งแรกที่เจ้านาย เสด็จอยู่ในร่มกาสาวพัตร์เป็นเวลานาน
เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงพอพระทัย ก็น่าจะทรงพระราชทาน “กลดหักทองขวาง” ได้
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 25 ส.ค. 07, 16:20

ยังมาติดที่สมัยพระองค์เจ้าวาสุกีนั้น
ไม่มีลายทองที่ผนังและแผ่นเงินปูพื้น
และปีเถาะ 2350 พระชนม์ 17 ย่าง 18 เกินคำว่าเฌรน้อยน่ารักไปแล้วกระมัง
อีกทั้งนางในสมัยรัชกาลที่ 1 ไม่น่าจะปล่อยเนื้อปล่อยตัวอย่างในกลอน

พ่อผมก็จีนอพยพตรับ
บันทึกการเข้า
หนอนบุ้ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 113


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 25 ส.ค. 07, 20:39

หนูอยากเห็นเป็นบุญตาสักหน่อยเถอะค่ะ
ว่าเป็นประโยคไหน จากเอกสารอ้างอิงที่ไหน ที่ทำให้คุณพี่พิพัฒน์มั่นอกมั่นใจว่า
ไม่มีลายทองที่ผนังและแผ่นเงินปูพื้นที่พระพุทธบาท
รบกวนคุณพี่คัดมาให้ชมหน่อยสักสี่สาห้าบรรทัดจะได้มั้ยค่ะ 
จะเป็นพระคุณล้นหลามเชียว นึกเสียว่าเอาบุญค่ะ

เหตุผลของหนูคือ วัดสมัยอยุธยาหลายแห่ง
ผนังและเพดานเป็นลายทองถมเถไป
การสานเสื่อเงินก็มีตั้งแต่ดึกดำบรรพ์โน่นแล้ว
บันทึกการเข้า
หนอนบุ้ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 113


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 25 ส.ค. 07, 20:47

คำว่า “เจ้าเณรน้อย” ในชันษาสิบเจ็ด อาจจะดูน่ารักก็ได้สำหรับผู้ใหญ่ในยุคนั้น
คงไม่เหมือนสมัยนี้ ที่เด็กอายุสิบสาม ก็แก่กร้านโลกกันเสียมาก
และเมื่อถูกปลงพระมัสสุ และพระเกศา จนล้านเลี่ยน
เกลี้ยงเกลาขาวสะอาด สงบเสงี่ยมสำรวม ใต้ผ้าเหลือง
เป็นเณรมาหลายพรรษา วันๆ ขีดๆ เขียนๆ ไม่ได้ไปกระโดดโลดเต้นที่ไหน
จะได้ล่ำบึก กล้ามขึ้นเป็นมัดๆ อาการเช่นนี้ เป็นไปได้มั้ยว่าท่านผู้เขียนเห็นแล้วว่าน่ารักน่าชม


ส่วนกิริยาวาจาของนางใน ที่กวีบรรยายนั้น
เป็นตอนที่กำลังขึ้นช้าง หนุ่มๆ ต้องดัน ต้องฉุด เป็นธรรมดา
คิดว่าเป็นกรณียกเว้น รวมความว่า
ความสำรวมที่ใช้ในวัง เมื่อมาถึงกลางป่าพนาลัย
อาจหย่อนหลวมนิดหน่อยก็เป็นได้มังคะ
จะขึ้นช้างทั้งที จะทำกิริยาสำรวมพับเพียบเช่นในวัง เห็นทีจะลำบากแย่

ทั้งนี้ ทั้งนั้น การเขียนบอกเล่าเรื่องราว หากจะเขียนแบบราบเรียบเฉยเมย
ท่านผู้อ่านรุ่นหลังๆ ก็คงไม่หยิบขึ้นมาสัมมนากันเช่นเวลานี้มังคะคุณพี่
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 25 ส.ค. 07, 22:31

หนูบุ้งต้องไปหาหนังสือสามเล่มนี้อ่าน ห้องสมุดคงมี
ประวัติบรรพบุรุษและตระกูลอมาตยกุล ล่าสุดคุณหมอพูนพิศพิมพ์ฉบับเต็มไว้แล้ว
พระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 3 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์
ตำนานพระพุทธบาท สระบุรี กรมศิลปากรรวบรวมจัดพิมพ์
อ้อ คำให้การขุนโขลน ก็น่าอ่านนะครับ

ลายทองที่ผนัง ไม่ใช่ว่า นึกอยากมีก็มีได้ เป็นของสูงและแพงจ้ะ
แพงทั้งทอง แพงทั้งรัก และแพงทั้งช่าง
สมัยรัชกาลที่ 1 นั้น ทรงทำให้ผนังภายนอกของวัดพระแก้วเป็นลายทองบนพื้นชาด ได้เพียงเท่านั้นทั้งพระราชอาณาจักร
ต้องรอถึงรัชกาลที่สาม จึงเปลี่ยนผนังนี้ เป็นลายกระแหนะปูน ปิดทองประดับกระจก
ซึ่งเป็นเทคนิคตกแต่งที่แพงที่สุดที่เราจะทำถวายพระศาสนาได้ แพงกว่าปิดทองร่องชาดขึ้นไปอีก

สมัยรัชกาลที่ 1 จึงมีตำนานเพียงว่า พระมณฑปนั้นประดับภายในด้วยการเขียนลายชาด
ส่วนการอ้างว่าเสื่อเงินมีทำมานานนมแล้ว ยังมองไม่เห็นว่าจะเกี่ยวอะไรกับที่ถกกัน
จะบอกว่ามีมาแต่อยุธยา ผมก็บอกแล้วว่า พวกจีน คุมกันเป็นกองโจร บุกปล้น รื้อไปขายหมดแล้ว
พระพุทธบาทนั้น แทบว่าจะกลายเป็นทราก จนถึงกับต้องทรงสร้างใหม่
รูปทรงที่เห็นเป็นงานช่างครั้งรัชกาลที่ 1 ที่งามที่สุดนอกพระนคร

แต่อยากจะให้ใช้จินตนาการระดับเดียวกับที่ใช้ในเรื่องดันก้นนางในว่า ปีเถาะ 2350 นั้น
พระบาทเพิ่งสร้างเสร็จใหม่ๆ จะร่มรื่นงดงามอย่างที่พรรณาในกลอนหรือ

หรือว่ากวีคนนี้ เห็นอะไรก็เล่าเป็นอย่างอื่นได้หมด
จงใจล่อเราให้หลง
แม้กระทั่งเด็กหนุ่มกำยำวัยสิบเจ็ดเอินมาก็ร้องว่าน่ารัก
วัยเท่านี้ มีลูกได้หลายคนแล้วนะครับ ถ้าเป็นผู้ดี

ไม่เหลาะแหละเหมือนเด็กยี่สิบห้าทุกวันนี้ดอก
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 25 ส.ค. 07, 22:41

อยากให้คุณหนอนบุ้งลองอ่านช่วงต้นๆของกระทู้นี้ดูนะครับ เพราะคุณ UP ชี้แจงไว้พอสมควรเกี่ยวกับระดับของเครื่องสูง

ต่างจากเรื่องลำดับนาคอยู่มากนะครับ เกินกว่าจะเอามาเทียบกันได้

แค่เจ้าฟ้าที่พิจารณากันอยู่ ๔ พระองค์นี้ บางพระองค์ก็ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะใช้เครื่องสูงหักทองขวางได้อยู่แล้วครับ พระองค์เจ้าวาสุกรีอยู่ไกลเกินกว่าที่จะเป็นไปได้จริงๆ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 25 ส.ค. 07, 23:22

เพียงแต่นายโหมดซึ่งได้ถวายตัวเป็น มหาดเล็กในรัชกาลที่ ๓ และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เป็นมหาดเล็กรายงานกำกับ ราชการกรมช่างสิบหมู่, ช่างทำเรือพระที่นั่งและเรือกระบวนต่างๆ แล้วให้ไปกำกับช่างสานเสื่อเงินสำหรับปูลาดในมณฑปพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี
บรรณานุกรม , กำธร เลี้ยงสัจจธรรม ,กรณีริบหนังสือกฏหมาย , ๙ กรกฎาคม ๒๕๒๗ ,หนังสือศิลปวัฒนธรรม

ง่ะ....ปูสมัยรัชกาลที่ ๓  งั้นต้นรัชกาลที่ ๔ โดยประมาณ  เป็นเวลาที่มหาดเล็ดยอดฝีพายจอมกวีตามเสด็จ(ใครล่ะ)  แล้วไปเจอเณรน้อย(องค์ไหนล่ะ)  แล้วเจ้าฟ้าหน่อพระวังหน้า(พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า) มีสิทธิ์ได้รับพระราชทานกลดหักทองขวางได้ไม๊ครับ  ท่าน UP กรุณายืนยันหน่อยครับ

แต่ที่พี่บุ้งว่ามาก็ไม่อาจจะละเลยนะครับ ขยิบตา
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 26 ส.ค. 07, 01:19

คนละไม้ละมือ
ขอบคุณคร๊าบบบ......

อย่างที่ผมบอก นายโหมดแกอายุ 13 เมื่อปี 2374 เพราะฉะนั้น เสื่อเงินจะต้องสานตอนแกสักยี่สิบกว่าๆ
คือสัก 2374+10 + อีกสัก 5 เพราะงานที่รับ ไม่ใช่สะเล็กสะน่อย เป็นหัวหน้าช่างและ

สานสำเร็จ ใช้ๆ ไป พอถึงปลายรัชกาลที่ 4 เสื่อเงินก็สู้บาทาศรัทธาทั้งหลายไม่ไหว
แหลกหมด รัชกาลที่ 4 จึงต้องเปลี่ยนเป็นแผ่นเงิน
นี่ว่าตามที่หลักฐานเขาอนุญาต

แต่หลักฐานไม่อนุญาตพระกลดไปถึงโอรสวังหน้าครับ คุณบานา(รอบดึก)
ต้องหาเจ้าฟ้าสามเณร(วังหลวง)ให้ได้ ในปี 2390 ลงมา จึงจะได้เห็นแผ่นเงิน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 26 ส.ค. 07, 10:10

เมื่อม.ร.ว. คึกฤทธิ์แต่งสี่แผ่นดิน   สิ่งสมมุติคือตัวละคร แต่ฉาก รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีค่านิยมทั้งหลายในวังเมื่อรัชกาลที่ ๕   ท่านยึดถือไว้ตรงตามจริง
สี่แผ่นดินเป็นวรรณกรรมที่"อิง" บรรยากาศเป็นจริง  เป็นการแหวกขนบการแต่งแต่ก่อนที่คุณหลวงวิจิตรวาทการและนักเขียนก่อนหน้า เช่น "ลพบุรี" เขียนไว้ คืออ้างตัวละครจริง แต่ฉากนั้นสมมุติขึ้นมา
ดังนั้นความเคร่งครัดของนางใน สมัยรัชกาลที่ ๕ ที่จะไม่ให้ชายใดเข้าใกล้ถึงแตะเนื้อต้องตัว จึงเชื่อได้ว่าจริง
ผิดกับนางในพระบาท  ไอ้หนุ่มโอบเอวอุ้มขึ้นหลังช้าง หน้าตาเฉย  เป็นอะไรกันที่ไหน ถึงทำกันได้ง่ายขนาดนั้น   ก็เลยแปลกใจค่ะ
อย่าว่าแต่นางในสมัยโน้น  ที่เรายังบอกไม่ถูกว่ารัชกาลไหนเลย  แม้แต่ยุคนี้ก็เถอะ คุณบุ้งไปเที่ยวอยุธยา จะให้ควาญช้างแปลกหน้า ไม่ใช่เพื่อน ไม่ใช่แฟน โอบเอวอุ้มคุณขึ้นช้างหน้าตาเฉยละหรือ 
นางในวัง รวมพวกข้าหลวงอย่างแม่พลอย   ถือว่าเป็นสตรีอยู่ในข่ายนางราชภัฏกษัตรีย์     เพราะว่าจะทรงพระกรุณาเลื่อนขึ้นเป็นเจ้าจอมเมื่อใดก็ได้   ดังนั้นผู้ชายอย่าว่าจะแตะเนื้อต้องตัวตามสบายเลย  จะมาเยี่ยมถึงที่อยู่ก็ยังทำไม่ได้  มีญาติมาเยี่ยมก็ต้องออกไปพบข้างนอก
เรื่องนี้ก็ยังไม่มีคำตอบว่าทำไมสาวๆในนี้ฟรีกันถึงในนั้น

ส่วนแผ่นเงิน  คิดนอกหลักฐานว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ โปรดให้สร้างขึ้นใหม่ แทนของเก่าที่ถูกเผาราบไปนั้น
ของเก่ามีแผ่นเงินปู  ตามที่พระมหานาคพรรณนาไว้
จำลองของงามเป็นพุทธบูชา  เป็นปูชนียสถานสำคัญ   ท่านก็คงไม่ปล่อยพื้นไว้ลุ่นๆ อาจจะมีแผ่นเงินปูไว้  ตามรอยอยุธยา  ปูมากน้อยแค่ไหนแล้วแต่
ผ่านมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึง ๕ ปาเข้าไปหลายสิบปี      แผ่นเงินเดิมอาจชำรุดหมดแล้ว  เจ้าคุณโหมดเลยต้องมาสานเสื่อเงินแทนที่


บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 26 ส.ค. 07, 10:49

เจ้าฟ้าวังหน้า เช่น เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ นั้นถือเป็นเจ้าฟ้าชั้นตรีครับ พระเกียรติยศต่ำกว่าเจ้าฟ้าชั้นเอกและชั้นโทเสียอีก ขนาดเจ้าฟ้าชั้นเอกและชั้นโทอย่างธรรมดาสามัญยังแทบจะทรงเครื่องสูงหักทองขวางไม่ได้แล้ว ถ้าไม่ทรงพระมหากรุณาเป็นพิเศษ ฉะนั้น ผมไม่คิดว่าเจ้าฟ้าชั้นตรีจะทรงเครื่องสูงหักทองขวางได้ครับ

เครื่องสูงวังหน้ากับเครื่องสูงวังหลวงมีลักษณะแตกต่างกันมาก เรียกได้ว่าแทบจะเป็นคนละระบบ วังหน้ามีเครื่องสูงเป็นสำรับเฉพาะสำหรับวังหน้า หักทองขวางใช้ได้อย่างมากก็เพียงพระองค์ของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์เดียวเท่านั้น
บันทึกการเข้า
หนอนบุ้ง
อสุรผัด
*
ตอบ: 113


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 26 ส.ค. 07, 15:12

ก่อนอื่นต้องขอกล่าวขอบพระคุณพี่ๆ ทุกท่านที่กรุณาหนอนบุ้งค่ะ

อย่าคิดเป็นอื่นเลยนะคะ หนอนบุ้งก็อยากรู้อยากเห็น อยากแสดงออกนิดหน่อยตามที่สงสัยอยู่ คุยกันต่อเลยดีกว่า

ขอบคุณ คุณพี่พิพัฒน์ ค่ะ ที่ได้แนะนำหนังสือ
หนูไปพลิกอ่านพงศาวดาร ร 3 จนหมดเล่ม ไม่เห็นมีตอนใดเลยที่กล่าวถึงพระบาท
มีตอนเดียวที่กรมหมื่นรักษ์รณเรศ อิ๊บเงินค่าขึ้นพระบาทเข้ากระเป๋าตัวเอง
แล้วถูกถอดเป็นหม่อมไกรสรค่ะ

ส่วนในพระราชหัตถเลขา ร. 4 ที่มีถึงกรมหมื่นฯ พระราชโอรส
พระองค์ท่านทรงตรัสถึงพระบาท ว่าต่างๆ นาๆ เช่น เมียชอบอ้อนให้ผัวพาไปพระบาท
เลยฟังดูว่าเหมือนตอนคุณเปรมถามแม่พลอยเรื่องไปพระบาท
คงโก้เหมือนผัวชวนเมียไปชอปปิ้งปารีสอะไรมังคะ

อีกเล่มหนึ่งที่คุณพี่แนะนำให้หนูอ่านของ น.พ. พูนพิศ อมาตยกุล
หนูเปิดตู้หนังสือของคุณแม่ เจอเล่มนี้ แทบช้อค
331 ปี สกุลอมาตยกุล (พ.ศ. 2529 )ที่ในนี้มีอัตชีวประวัติ ยาว 28 หน้า
ของท่านโหมด อมาตยกุล

ท่านโหมด เล่าอะไรไว้หลายอย่าง (แต่เรื่องสานเสื่อเงินคงอยู่ส่วนอื่น)
เช่น คืนสวรรคต กรมหลวงรักษณ์รณเรศ ค้นพระวรกายของเจ้าฟ้า พ
จนพระ…..ไหลนอง
แค่ 28 หน้านี้ สามารถทำให้หนังสือประวัติศาสตร์ทั้งหมด ต้องเปลี่ยนโฉม
ท่อนหลังนี้อ่านแล้วโปรดลบของหนูได้เลย เพราะหนูกลัวเหมือนกัน

**อ้อ…ถามพี่ๆอีกข้อค่ะ กรมดำรงในฐานะอุปนายกวชิรญาณ จะไม่รู้จัก
กลดหักทองขวางเชียวหรือคะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 26 ส.ค. 07, 16:11

ขอโทษด้วยน้องรัก....แหนะ ตีหนิท
บอกผิดรัชกาล พระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 4 ครับ
ส่วนเม็มหมั่วร์ของพระยากษาปณ์ ลองดูที่เล่มเล็ก บางๆ งานศพท่านผู้ใดจำมิได้ จะเป็นพระยาปฏิภาณวิเศษหรือไม่หนอ
แต่อาจารย์ตรี อมาตยกุลเป็นผู้จัดพิมพ์แน่ๆ

ที่น้องบุ้งสงสัยเรื่องสมเด็จฯดำรง ไม่ทราบเรื่องพระกลดหักทองขวางนั้น
ตอบว่ารู้จักแน่นอน แต่ในการเรียบเรียงงานประพันธ์นั้น บางครั้งก็ทรงไว้ใจผู้ช่วย อาจจะทรงเห็นว่าเป็นเรื่องปลีกย่อย
ผมเชื่อด้วยซ้ำ ว่าจะมิได้ทรงอ่านเรื่องของสุนทรภู่ละเอียดทุกหน้า

หากว่าทรงอ่าน จะต้องวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น ผมเชื่อเช่นนั้น
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 28 ส.ค. 07, 03:03

สองบทที่เป็นข้อกังขา

ผนังในกุฎีทั้งสี่ด้าน                         โอฬาร์ฬารทองทาฝาผนัง
จำเพาะมีสี่ด้านทวารบัง                     ที่พื้นนั่งดาดด้วยแผ่นเงินงาม


ในเนื้อความชัดเจนในความงามและสมบูรณ์ของสถานที่  ถ้านับการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อครั้งปลาย รัชกาลที่ ๓  ช่วงเวลาต้องเปลี่ยน และเจ้าเณรกับเจ้านายที่กวีตามเสด็จก็ต้องคิดกันใหม่

พี่เข้าเคียงเบื้องขวาฝ่าพระบาท            อภิวาทหัตถ์ประนังขึ้นทั้งสอง
กราบกราบแล้วก็ตรึกรำลึกปอง             เดชะกองกุศลที่ตนทำ


สับสนบ้างล่ะครับ  ในกลอนบอกว่าตัวเองเหนื่อยล้า  พายเรือมาทั้งวัน  แปลว่าเป็นแค่พลพายธรรมดา  แต่ท่อนนี้ เข้าเคียงเบื้องขวา เจ้านาย  ไม่ธรรมดาครับการเข้าเบื้อขวาเจ้านายขณะเข้านมัสการก็ตาม  มหาดเล็กพลพายธรรมดาเข้าไม่ถึงแน่ๆ  แล้วเป็นคนระดับไหนกันแน่  ท่านอาจารย์เทาชมภู  ช่วยแก้ข้อกังขาหน่อยครับ .......................... ขยิบตา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 28 ส.ค. 07, 08:38

ตอบคุณ Bana และคุณพิพัฒน์ด้วยค่ะ
ไปเจอเว็บนี้
http://www.heritage.thaigov.net/religion/prabat/index1.htm

พระมหากษัตริย์ในพระราชจักรีวงศ์ทุกพระองค์  ต่อมาก็ได้ทรงทำนุบำรุงปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุต่าง ๆ ของพระพุทธบาท  ให้อยู่ในสภาพที่ดีเลิศอยู่ตลอดมา  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระมกุฏภัณฑเจดีย์ที่อยู่ใกล้พระมณฑปองค์หนึ่ง  และสร้างเครื่องบนพระมณฑปใหญ่ กับสร้างพระมณฑปน้อย  ทั้งให้เปลี่ยนแผ่นเงินปูพื้นพระมณฑป เป็นเสื่อเงินและได้ทรงยกยอดพระมณฑป  พร้อมทั้งบรรจุพระบรมธาตุ  ที่พระมกุฏภัณฑเจดีย์  เมื่อปี พ.ศ. 2403

ถ้าเป็นความจริงก็แปลว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ  ปฏิสังขรณ์พระพุทธบาทขึ้นมาใหม่  ทรงจำลองตามแบบของเดิมรวมทั้ง แผ่นเงินปูพื้น ด้วย
ส่วนเสื่อเงินเพิ่งมาสานกันในรัชกาลที่ ๔
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.148 วินาที กับ 19 คำสั่ง