เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 12
  พิมพ์  
อ่าน: 55656 สุนทรภู่ไม่ใช่ผู้แต่งนิราศพระบาท
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 16 ส.ค. 07, 12:11

งั้นขอแก้ไขใหม่ค่ะ
เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ประสูติ พ.ศ. 2396   บรรพชาเป็นสามเณร พระชนม์ราวๆ 13 ก็เป็น พ.ศ. 2409
เรื่องนี้แต่งประมาณปี   2409  กวีหนุ่มน่าจะอายุ 20 ต้นๆ  เพราะมีเมีย ครองเรือนกันแล้ว กำลังงอนกันอยู่นานเป็นแรมเดือน
แกก็น่าจะเกิดพ.ศ. 2389 หรือก่อนนั้นไม่กี่ปี  อาจจะ 2385-7

อีกเรื่องหนึ่งที่ยังสงสัย
เจ้าเณรน้อยเสด็จมาดูน่ารัก               พระกลดหักทองขวางกางถวาย

ถ้ากลดระดับหักทองขวาง กางให้เจ้าฟ้า ไม่ใช่พระองค์เจ้า  เจ้าฟ้าพระองค์นี้อาจจะเป็นเจ้าฟ้าพระองค์อื่นในสมัยรัชกาลที่ 1-4

อ่านดูแล้วเหมือนเจ้าฟ้าเณรมีพระชนม์น้อยกว่า 13  หรือไม่ก็พระวรกายเล็ก ดูเด็ก  ถึงใช้คำว่า น่ารัก
อาจจะเป็นเจ้านายที่บวชเมื่อพระชนม์เยาว์กว่า 13

เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงมีพระองค์เจ้าหญิงผ่อง ตั้งแต่พระชนม์เท่าไรคะ 
เมื่อพระชนม์ 13 พระวรกายน่าจะสูง เริ่มเป็นหนุ่มแล้ว   
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 16 ส.ค. 07, 12:29

มีพระรูปทรงเป็นเณรอยู่ 3 ท่า ก็พอจะใช้คำว่าน่ารักได้ครับ
เมื่อสึกมา ท่านจึงได้แตกเนื้อหนุ่ม และมีพระวรกายสูงสง่า ผิดไปจากเดิมมากครับ
อาจจะเป็นเรื่องของฮอร์โมนที่พลิกผันของการเจริญพันธุ์

หลังจากมณฑปพระบาทเขียนผนังลายทอง และปูแผ่นเงินแล้ว
มีเจ้าฟ้าที่น่าจะได้พระกลดหักทองขวางก็เพียงเจ้าฟ้ากลาง(พระมารดาเป็นเจ้าฟ้า)
เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์(พระมารดาเป็นพระนางเธอ)
และเจ้าฟ้าจาตุรน เจ้าฟ้าภาณุรังสี....เท่านั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 16 ส.ค. 07, 18:11

กำลังนึกถึงเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีค่ะ  ส่วนเจ้าฟ้าภาณุรังษีฯยังทรงพระเยาว์มากในปลายรัชกาลที่ ๔ 
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 16 ส.ค. 07, 18:27

เจ้าฟ้าจาตุรน ประสูติปีมเสง 2399 พระชนม์ 13 ในปี 2412 ปีมเสงต่อมเมีย
นับยังไงก็ไม่ตกปีเถาะเคราะห์ร้ายครับ

แล้วปีนั้น เราไม่ใช้ช้างขึ้นพระบาทแล้วมังครับ
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 18 ส.ค. 07, 00:02

ตามความเป็นจริงแล้ว  เป็นสามเณรพระองค์เจ้าวาสุกรี  ไม่ได้เลยเหรอครับ  เพราะสามเณรรูปนี้ก็เป็นระดับพระเจ้าน้องยาเธอเชียวนะครับ  ถึงเป็นพระองค์เจ้าตอนประสูติก็ตาม  แต่ก็ต่อมาก็เป็นสามเณรที่ร่วมพระราชบิดาเดียวกับพระเจ้าอยู่หัว  หรือไม่มีทางที่จะทรงกลดหักทองขวางได้ (แม้เป็นกรณีพิเศษก็ตาม) 

อิอิ  .......อันนี้คิดอยากให้เป็นไปตามกระบวนอ่ะครับ  ท่านพิพัฒน์อย่าเพิ่งดุนา......... แลบลิ้น
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 18 ส.ค. 07, 01:35

ม่ายดุหรอก....ฮึ่ม(เสียงกระแอม)
แล้วจะเอาไงดีกับลายทองที่ผนัง และแผ่นเงินปูพื้นล่ะนั่น
อีกอย่าง พระบาทน่ะ เพิ่งเสร็จปลายรัชกาลที่ 1
เพราะฉะนั้น จะมีการเดินทางไปเที่ยวกันเอิกเกริกอย่างในกลอน ก็กระไรอยู่

เอาเถอะ....เราจะว่ากันด้วยพิรุธใหญ่
เรื่องลายทองแผ่นเงิน นั่นคงใหญ่พอ
แล้วที่กวีเป็นพลพายกับพลช้างล่ะท่าน ท่านจะแก้ตัวว่ายังไง
กรมอาลักษณ์บ้านใหนละที่ต้องมาพายเรือในกระบวน มาด้วยน่ากลัวยังไม่ได้เลย

แล้วกระบวนยิ่งใหญ่ขนาดนั้น ท่านอ่านว่าเป็นกระบวนของพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ได้ละหรือ

ฮึ่มมม...ไม่ดุครับ ไม่ดุ
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 06:51

เรื่องพระกลดหักทองขวาง

ผมคิดว่าไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะเป็นพระกลดทรงของพระองค์เจ้าครับ และไม่คิดด้วยว่าพระเจ้าแผ่นดินจะทรงอวยพระยศพระเกียรติให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้า ให้มากมายขนาดนั้น โบราณท่านถือนะครับเรื่องสูงต่ำ ถ้าอวยพระเกียรติให้สูงเกินศักดิ์แล้ว ไม่ใช่ว่าจะเป็นเรื่องดีเรื่องมงคลนะครับ ท่านถือว่าเป็นอัปมงคล...ขอประทานโทษ ขออนุญาตพูดด้วยคำเก่าๆ ที่ฟังอาจหยาบคือ เป็น 'จัญไร' แก่เจ้านายผู้ทรงได้รับพระเกียรติยศนั้นด้วยซ้ำ ผมเชื่อว่าพระเจ้าอยู่หัวท่านคงไม่ให้พระองค์เจ้าวาสุกรีทรงพระกลดชั้นสูงขนาดนั้นหรอก ท่านคงจะทรงเป็นห่วงสวัสดิภาพของพระองค์เจ้าพระองค์นั้นอยู่บ้าง

จริงๆ แล้ว เจ้าฟ้าธรรมดาๆ ยังทรงพระกลดหักทองขวางไม่ได้เลยนะครับ ต้องเป็นพระมหากษัตริย์ กรมสมเด็จพระ (หรือต่อมาคือ สมเด็จพระ) หรือเจ้าฟ้าชั้นพิเศษผู้ทรงสัปตปฎลเศวตฉัตรเท่านั้น แต่เอาเถิด ถ้าเจ้าฟ้าธรรมดาๆ ที่พระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณามากๆ ก็อาจจะพระราชทานให้ทรงได้

ปกติเจ้าฟ้าทรงได้เฉพาะเครื่องสูงทองแผ่ลวดครับ (ขนาด "พระบรมสารีริกธาตุ" ยังทรงเครื่องสูงได้แค่ทองแผ่ลวดเลยครับ)

ฉะนั้น พระองค์เจ้า กับหักทองขวางนี่ ...อย่าหวัง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 10:43

ฮึ่ม ระดับคุณ UP มาตีความเรื่องพระกลดหักทองขวาง..แตกกระจายจริงๆ  ดิฉันไม่หาญไปเถียง
ในรัชกาลที่ ๑ ถึง ๕ เจ้าฟ้าชั้นพิเศษผู้ทรงสัปตปฎลเศวตฉัตร  เกิดมาเป็นเจ้าฟ้า ไม่ใช่เลื่อนขึ้นเป็น  และยังพระชนม์น้อยขนาดเพิ่งบรรพชาเป็นสามเณร   ในแผ่นดินของสมเด็จพระราชบิดา
มี ๓ พระองค์   ถูกไหมคะ 

เจ้าฟ้ามงกุฎ
เจ้าฟ้าจุฑามณี
และ
เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กับเจ้าฟ้าภาณุรังษีไม่เข้าข่าย
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 11:34

ต้องนับครอกเจ้าฟ้ากุณฑลด้วย
สุนทรภู่แต่งเพลงยาวถวายโอวาทถวาย มีนัยยะว่า ทรงอยู่ในลำดับครองแผ่นดินด้วยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 12:39

ทำหนังสือราชสกุลวงศ์ หาย ยังหาไม่เจอว่าเก็บไว้ตู้ไหน  เลยติดขัดไปหมดเวลาจะตรวจสอบหลักฐาน
เจ้าฟ้าอีก ๓ พระองค์  เจ้าฟ้าอาภรณ์ เจ้าฟ้ากลาง เจ้าฟ้าปิ๋ว
พระองค์ไหน พระชนม์พอจะบรรพชาในปีเถาะ คะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 13:50

ปีเถาะต้องสงสัย ประกอบด้วย
2350
2362
2374
2386
2398
2410

เจ้าฟ้าอาภรณ์(น่าจะ)โสกันต์ปลายรัชกาลที่ 2 หรือไม่ก้อ ปีแรกของรัชกาลที่ 3 2367-8 พระบาทยังไม่ปูแผ่นเงิน
เจ้าฟ้ากลาง ประสูติปีเถาะ 2362 จึงควรจะโสกันต์ปีมโรง 2375 บรรพชาปีรุ่งขึ้น มเสง
เจ้าฟ้าปิ๋วประสูติปีมะแม 2365 ควรโสกันต์ ปีวอก 2378  บรรพชาปีรุ่งขึ้น ระกา

เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ประสูติปีฉลู 2396 โสกันต์ปี ฉลู 2408 แล้วบรรพชาปีขาล 2409 สึกปีเถาะ 2410
จะเห็นว่าเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ทรงโสกันต์ตอนพระชนม์ 12 เต็ม ปกติ จะโสกันต์ 13
และแม้ว่าเจ้าฟ้ากลางโสกันต์ 12 บ้าง ก็ยังไม่บรรพชาในปีเถาะครับ

อย่างไรก้อดี
แม้จะเป็นเจ้าฟ้ากลางจริงๆ ที่บังเอิญโสกันต์-บรรพชาเร็ว
บังเอิญได้รับพระราชทานพระกลดหักทองขวางจากรัชกาลที่ 3
(หักหน้าเจ้าฟ้ามงกุฏและเจ้าฟ้าน้อย และพระเชษฐาคือฟ้าอาภรณ์ต้องสงสัยว่าเป็นขบถด้วย)

นิราศนี้ ก็ยังแต่งโดยพลพายกองระวังหน้า
ไม่ใช่ท่านภู่ ซึ่งในปีนั้น 2374-5 เป็นครูพระที่เพิ่งแต่งเพลงยาวอำลาอาลัยลูกศิษย์
อ้าว...เผลอแผล็บเดียว ถอดจีวรไปพายเรือซะแล่ว
และนายมุ่ย ซึ่งจะต้องเป็นคนไปทำแผ่นเงินอะไรนั่น ก็ยังบวชเณรอยู่ เพราะสหชาติกับฟ้ากลาง
ต้องรีบสึกไปตีเงินด้วยวัยเพียง 12 โอ้....คิดแล้วกุ้มมมมม์ขนาด

นี่เขาอ่านกวีนิพนธ์กันด้วยสมองข้างใหนหนอ
แล้วคนที่อ่านกลอนได้อย่างนั้น จะให้ผมเชื่อวินิจฉัยท่านๆ อีกสามกระบุงโกยที่ตามต่อกันมา...
สืบเชื้อสายมารุ่นต่อรุ่น มาถึงปีนี้ก็กว่าห้าสิบปีแล้ว
อาจารย์กะคุณเครซี่ อ่านมาแค่สองอาทิตย์ สร้างข้อสงสัยในพิรุธได้เพียบ
เฮ้ออออ เวงกัม......

บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 19 ส.ค. 07, 14:30

ถ้าจะว่าตามตรง ..."เจ้าฟ้าชาย" ในช่วงต้นๆ กรุงนั้น ไม่มีพระองค์ไหนที่มีพระเกียรติยศพิเศษถึงระดับ "ทูลกระหม่อม" แต่ "แรกประสูติ" เลยครับ

ที่สำคัญ เจ้าฟ้าสมัยโน้นไม่มีพระองค์ไหนได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นพิเศษถึงขึ้นสัปตปฎลเศวตฉัตร (ฉัตรขาว ๗ ชั้น) ฉะนั้น เจ้าฟ้าที่ทรงพระกลดหักทองขวางได้ ก็คงเข้าข่ายพระมหากรุณาพิเศษ ไม่ใช่ได้โดยพระเกียรติยศจริงๆ

เจ้าฟ้าชั้นเอก ชั้นทูลกระหม่อม พระองค์แรกแต่แรกประสูติที่เป็นทางการจริงๆ นั้น ก็ได้แก่ เจ้าฟ้ามงกุฎ และเจ้าฟ้าจุฑามณี เป็นรุ่นแรก

เจ้าฟ้าอาภรณ์ เจ้าฟ้ามหามาลา และเจ้าฟ้าปิ๋ว พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๒ ที่ประสูติแต่เจ้าฟ้ากุณฑล นั้นถึงโดยพฤตินัยจะเป็นทูลกระหม่อม แต่ก็ "ติด" อยู่ที่ไม่ทรงอวยพระเกียรติให้เสมอทูลกระหม่อม เพราะสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ทรงขอพรไว้ ฉะนั้น ก็เรียกกันเพียง "สมเด็จ" ผมเชื่อว่าพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ คงไม่ทรงกล้ายกย่องเจ้าฟ้า ๓ พระองค์นี้อย่างใหญ่โตออกหน้านักแน่ๆ ต่อมา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ก็ทรงออกพระนามเจ้าฟ้ามหามาลาเพียง "สมเด็จปู่" ไม่ใช่ทูลกระหม่อม

ส่วนเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เจ้าฟ้าจาตุรนตรัศมี และเจ้าฟ้าภาณุรังษีฯ โดยพระกำเนิดนั้นทรงเป็นเจ้าฟ้าชั้น "สมเด็จ" เท่านั้นเองนะครับ พระจอมเกล้าฯ ท่านยังรับสั่งไว้เองว่า "แม่เพยนี้ถึงในกรุงเทพฯ ท่านทั้งปวงว่าเป็นเจ้าเล็กเจ้าน้อย..."

เรื่องเจ้าฟ้าที่ประสูติแต่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ทรงเป็น "สมเด็จ" มาแต่เมื่อแรกประสูตินั้น ยืนยันได้จากการที่เราเรียกเจ้าฟ้าภาณุรังษีว่า "สมเด็จวังบูรพา" หรือ "สมเด็จชาย" ไม่อย่างนั้นเราก็เรียกทูลกระหม่อมไปแล้วล่ะครับ

สรุป เจ้าฟ้าผู้มีพระเกียรติยศยิ่งใหญ่ทั้งโดยนิตินัยและพฤตินัยนับแต่แรกประสูติพระองค์แรกๆ นั้น คือ เจ้าฟ้ามงกุฎ และเจ้าฟ้าจุฑามณี ครับ
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 21 ส.ค. 07, 03:06

ขอบพระคุณท่าน UP ที่ให้ความกระจ่างคราวนี้จะได้วิเคราะห์ด้วยความมั่นใจซะที

แบบนี้แปลว่า  เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์  ไม่อยู่ในข่ายแน่นอน  มีในข่ายแค่สองพระองค์  คือเจ้าฟ้ามงกุฏฯกับเจ้าฟ้าน้อย

มาถึงตอนนี้ก็ต้องจิบกาแฟแล้วหยิบพาราฯมาอีกสองเม็ด  เพราะในวัยที่เจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์นี้  เป็น  เณรน้อยเสด็จมาดูน่ารัก   ไม่สามารถจะตอบท่านพิพัฒน์ได้ในเรื่องเงื่อนไขสำคัญที่เป็นปมที่แก้ไม่ตก  เรื่อง ลายทองที่ผนัง และแผ่นเงินปูพื้น

ท่านพิพัฒน์ขอรับทำไงดี  เณรน้อยพระองค์นี้กล้าฟันธงไม๊ขอรับ  ว่าเป็นพระองค์ใด

ขออนุญาตให้การบ้าน ..................อิอิ  ฮืม
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 21 ส.ค. 07, 09:56

ผมฟันขาดวิ่นไปแล้วนี่ท่าน
เจ้าฟ้าที่น่าจะเป็น ตามราชประเพณีมีสองพระองค์ดังทั่นอั๊บยกมาแสดง
แต่เจ้าฟ้าที่เป็นจริงๆ ตามกลอน ก็คือเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์

พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ย่อมจะทรงพระกรุณาฯ เป็นกรณีพิเศษได้
และได้ทรงพระกรุณา


บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 21 ส.ค. 07, 13:15

ถึงเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ จะเป็นเจ้าฟ้าชั้น "สมเด็จ" แต่ก็ถือว่าทรงเป็น "หัวแถว" ของบรรดาเจ้าฟ้าทั้งปวงครับ เพราะในเวลานั้น พระจอมเกล้าฯ ไม่ทรงมีเจ้าฟ้าชั้นเอก คือชั้น "ทูลกระหม่อม"

เจ้าฟ้าโสมนัส ซึ่งประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ก็สิ้นพระชนม์ตั้งแต่แรกประสูติ

พระจอมเกล้าฯ ทรงยกย่องพระเกียรติยศของสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์เป็นพิเศษกว่าเจ้าฟ้าทั่วๆ ไปแน่นอน แต่จะถึงขนาดพระราชทานเครื่องสูงหักทองขวางให้หรือไม่ ไม่ขอยืนยันครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 19 คำสั่ง