"ถึงบางซื่อชื่อบางนี้สุจริต เหมือนซื่อจิตที่พี่ตรงจำนงสมร
มิตรจิตขอให้มิตรใจจร ใจสมรขอให้ซื่อเหมือนชื่อบาง"
“ เจ้าของตาลรักหวานขึ้นปีนต้น ระวังตนตีนมือระมัดมั่น
เหมือนคบคนคำหวานรำคราญครัน ถ้าพลั้งพลันเจ็บอกเหมือนตกตาล ”
“ โอ้กระแสแดวเดียวทีเดียวหนอ มาเกิดก่อเกาะถนัดสะกัดหน้า
ต้องแยกคลองออกเป็นสองทางคงคา นี้หรือคนจะมิน่าเป็นสองใจ “
“ อนิจจาธานินทร์สิ้นกษัตริย์ เหงาสงัดเงียบไปดังไพรสนฑ์
แม้กรุงยังพรั่งพร้อมประชาชน จะสับสนแซ่เสียงทั้งเวียงวัง “
“ ถึงแม่ลาเมื่อเรามาก็ลาแม่ แม่จะแลแลหาไม่เห็นหาย
จะถามข่าวเช้าเย็นไม่เว้นวาย แต่เจ้าสายสุดใจมิได้มา “
อืม... คุณ CH ครับ แต่ผมว่ากลอนที่ผมยกมานี่ ทางสุนทรภู่ทั้งนั้นเลยนะครับ เหมือนฟังเพลงคาราบาว แต่งสไตล์ใดก็เป็นคาราบาวครับ การเล่นคำเล่นอักษรเล่นสัมผัส อย่าบอกอีกนะครับว่าเป็นคนในสำนักท่านอีก ....

ถึงพบเพื่อนที่รู้จักเคยรักใคร่ ก็เฉยไปเสียมิได้จะทักถาม
แต่คอยฟังเทวราชประภาษความ เมื่อไรจะคืนอารามวัดระฆัง
ท่านกวีคนนี้เกี่ยวกับวัดระฆังแน่ๆ
ได้วันครึ่งถึงเวียงประทับวัด โทมนัสอาดูรค่อยสูญหาย
นิราศนี้ปีเถาะเป็นเคราะห์ร้าย เราจดหมายตามมีมาชี้แจง
นิราศนี้ผมคิดว่าปีเถาะครับ คงไม่ใช่ปีขาล แต่เป็นปีเถาะที่ พ.ศ.เท่าไหร่อันนี้คงต้องคิดต่อ พอเห็นความเห็นคุณพิพัฒน์ทีไรผมเขวทุกที เพราะเหตุผลคุณพิพัฒน์น่าคิดทุกที ทำให้คิดว่ากลอนลักษณะประมาณนี้ ใครๆก็แต่งในสมัยก่อนแบบถ้าเป็นสมัยนี้ ก็เป็นแนวเพลงที่แพร่หลายอ่ะครับ ก็ต้องขออ่านตามและแทรกบ้างนะครับ ขอบพระคุณมากๆ ทำให้ผมได้คิดเยอะเลย เพราะแต่ก่อนเพียงแต่อ่านแล้วก็เชื่อไปตามที่ศึกษาจากครูบาอาจารย์.........
