เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
อ่าน: 41858 ร้อยกรองวันแม่
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 12 ส.ค. 20, 10:31

พระราชธรรมนิเทศ ที่เว็บ สถาบันพระปกเกล้า

http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=พระราชธรรมนิเทศ

              ในบรรดาผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรของไทยที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางภาษาไทยแล้วมีจำนวนไม่มากนัก
และ“นายเพียร ราชธรรมนิเทศ” หรือ “พระราชธรรมนิเทศ” คือหนึ่งในจำนวนนั้น และถือว่าเป็นปราชญ์ภาษาไทยแห่งยุคสมัยเชื่อ
ผู้นำชาติพ้นภัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม อย่างแท้จริง

              เพียร ราชธรรมนิเทศ เข้ารับการศึกษาที่วัดทรงธรรม พระอารามหลวงแห่งจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นวัดที่ให้การเรียน
การสอนแก่ภิกษุ สามเณรเป็นหลักจึงสอนด้วยภาษาบาลี แต่หากจะทำการสอนแก่บุตรหลานในชุมชนจะใช้บริเวณใต้ถุนกุฏิพระครู
เจ้าอาวาสเป็นห้องเรียน นักเรียนแห่งสำนักวัดทรงธรรมเมื่อจบการศึกษาออกไปจึงซึมซับภาษาบาลีออกไปด้วย

              จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยขึ้นเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2485 ประกอบด้วย
กรรมการ จำนวน 26 คน ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีชื่อเสียง มีบทบาทหน้าที่สำคัญในทางวัฒนธรรมทั้งสิ้น โดยตนเองเป็น
ประธานกรรมการ และในจำนวนนี้นายเพียร ราชธรรมนิเทศ ได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานกรรมการด้วย

              ในการปรับปรุงภาษาไทยครั้งนี้ ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากเพราะบางคำ หรือบางประโยคในหลักภาษาไทย
เมื่อเปลี่ยนตัวสะกดย่อมทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไปได้
              แต่หากพิจารณาบนพื้นฐานข้อมูลและบริบทรอบด้านแห่งยุคสมัยแล้ว ควรให้ความเป็นธรรมแก่คณะกรรมการชุดนี้ เพราะ
คงไม่มีใครอยากเปลี่ยนแปลงวิถีแห่งวัฒนธรรมทางภาษาที่เป็นอัตลักษณ์ของชนชาวสยามที่มีมาอย่างยาวนานเป็นแน่ หากไม่ได้รับ
แรงกดดัน และ ที่สำคัญใช้เวลาเพียง 2 สัปดาห์เพื่อความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
              สาเหตุที่ต้องเร่งรีบและปรับเปลี่ยนอย่างฉับพลัน เพราะเหตุว่าญี่ปุ่นได้เข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทยเพื่อทำสงคราม
ปลดปล่อยชนผิวเหลืองในสงคราม มหาเอเชียบูรพา และแจ้งแก่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีว่าภาษาไทยเรียนยาก
เพราะมีพยัญชนะและสระมากมายเหลือเกิน จึงเห็นสมควรให้ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาราชการแทน
              หลังจากที่ญี่ปุ่นยอมรับความพ่ายแพ้และหมดอิทธิพลในภูมิภาคอุษาคเนย์ คณะรัฐมนตรีหลังสงครามโลกได้ยกเลิกประกาศ
ฉบับนี้ การใช้ภาษาไทยแบบเดิมได้รับการนำกลับมาใช้ใหม่

เพิ่มเติม 4 ปุโรหิต : ยง เถียร เพียร นวล : โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ ที่

https://www.matichon.co.th/columnists/news_724312


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 12 ส.ค. 20, 10:36

              เมื่อสงครามยุติลงประเทศไทยตกอยู่ในสถานะประเทศผู้แพ้สงคราม มหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงคราม
จึงบีบบังคับให้หาตัวผู้กระทำการดังกล่าวมาลงโทษในฐานะอาชญากรสงคราม ด้วยเหตุนี้จอมพล ป. พิบูลสงคราม พระราช
ธรรมนิเทศ และนายสังข์ พัฒโนทัย จึงถูกตั้งข้อหาตามพระราชบัญญัติอาญากรสงคราม พุทธศักราช 2488

              ศาลฎีกาโดยพระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ ผู้ซึ่งเป็นทั้งประธานศาลฏีกาและเป็นเจ้าของสำนวน ร่วมวินิจฉัยกับองค์คณะ
ประกอบด้วยพระยาเลขวณิชธรรมวิทักษ์ พระยาธรรมบัณฑิตสิทธิศฤงคาร และพระชัยประชา ได้ชี้ขาดว่าพระราชบัญญัติอาชญากร
สงคราม พ.ศ. 2488 เฉพาะที่บัญญัติย้อนหลังว่าการกระทำก่อนวันประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้ คือวันที่ 11 ตุลาคม 2488 เป็น
ความผิดด้วยนั้น ขัดกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 และเป็นโมฆะ อันจะทำให้ลงโทษจำเลยทั้ง 3 ไม่ได้
จึงต้องปล่อยจำเลยให้พ้นข้อหาไป นายเพียร ราชธรรมนิเทศ จึงพ้นบ่วงกรรมที่ประเทศมหาอำนาจพันธมิตรหยิบยื่นให้

              วันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 “คณะผู้บริหารประเทศชั่วคราว” ซึ่งมีพลโท ผิน ชุณหะวัณ เป็นผู้นำกระทำการยึดอำนาจ
การปกครองจากรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์

              ปี พ.ศ. 2491 ได้จัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นเพื่อทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 40 คน
โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดโครงสร้างการทำงานออกเป็นคณะ กรรมาธิการ 5 คณะ หนึ่งในนั้นคือ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ประกอบด้วยกรรมาธิการ 9 คน มีเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศร์ ประธานวุฒิสภา เป็นประธาน มีนายหยุด แสงอุทัย เป็นเลขานุการ และ
นายเพียร ราชธรรมนิเทศ เป็นหนึ่งในคณะกรรมาธิการนี้ด้วย

              อีกครั้งหนึ่งที่นายเพียร ราชธรรมนิเทศ เข้าไปมีบทบาทในการจัดทำรัฐธรรมนูญ คือ เมื่อจอมพล ผิน ชุณหะวัณ กระทำ
การยึดอำนาจ (อีกครั้ง) ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2494 เพื่อจัดระบบการเมืองเสียใหม่ตามที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้นำตัวจริง
ต้องการ คือ ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 โดยการนำเอารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2475 กลับมาใช้ใหม่ แต่ได้แก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับภาวการณ์ของบ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป และนายเพียร
ราชธรรมนิเทศ ได้เข้าไปมีบทบาทในการแก้ไขเพิ่มเติมครั้งนี้ด้วย
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 12 ส.ค. 20, 10:42

               การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 6 วันที่ 29 มกราคม 2491 ตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 นายเพียร ราชธรรมนิเทศ ลงสมัครรับเลือกตั้งและได้รับเลือกเป็นสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปทุมธานี

                ในคราวประชุมสภาผู้แทน (ไม่มีคำว่า “ราษฎร” ต่อท้าย) ครั้งที่ 1/2492 สมัยสามัญ วันพุธ ที่ 15 มิถุนายน 2492
หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ผู้ซึ่งมีอายุสูงสุดเป็นประธานการประชุมชั่วคราว เพื่อทำหน้าที่เลือกประธานและรองประธานสภาผู้แทน
นายเพียร ราชธรรมนิเทศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี ได้รับการเลือกเป็นประธานสภาผู้แทน

                 ช่วงเวลาที่นายเพียร ราชธรรมนิเทศ เป็นประธานสภาผู้แทนนั้น มีเหตุการณ์ที่ควรบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ว่า
เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2492 ที่เมืองโลซานน์
สวิสเซอร์แลนด์ เมื่อความทราบมายังประเทศไทย นายเพียร ราชธรรมนิเทศ ได้มีโทรเลขถวายพระพรในนามสภาผู้แทนราษฎร
                 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสรงมุรธาภิเษกแล้วทรงเครื่องต้นเสด็จออกประทับเหนือ
พระที่นั่งอิฐทิศภายใต้ศตปฏลเศวตฉัตร (ฉัตร 7 ชั้น) พราหมณ์ทำพิธีถวายน้ำเทพมนต์เวียนครบ 8 ทิศ แล้ว เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ
ประธานวุฒิสภา ถวายพระพรเป็นภาษมคธ และนายเพียร ราชธรรมนิเทศ ประธานสภาผู้แทน ถวายพระพรเป็นภาษาไทย
                 นายเพียร ราชธรรมนิเทศ เมื่อพ้นจากหน้าที่ประธานสภาผู้แทนแล้ว ยังคงได้รับความไว้วางใจจาก “ท่านผู้นำ” เสนอชื่อ
แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 และได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกเลือกเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร อีกถึง
สองสมัยเพื่อใช้ประสบการณ์ช่วยเหลือและสนับสนุนงานพระยามานวราชเสวี ประธานสภาผู้แทนราษฎร คนต่อมา

รูปภาพที่ค้นพบยังเป็นรูปเดิม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 12 ส.ค. 23, 09:35

Only One Mother  

สุขสันต์วันแม่อีกครา

ถึงร้อยมุกร้อยดาวพราวพรายแสง
ร้อยแมลงภู่วิหคผกถลา
ร้อยความงามธรรมชาติสะอาดตา
มิเทียบค่าเท่าหนึ่ง "แม่" แน่แท้เทียว



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 20 คำสั่ง