เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 5806 จตุรเสนาสมาคม
Bharni
อสุรผัด
*
ตอบ: 17


 เมื่อ 30 ก.ค. 07, 20:06

ได้เข็มกลัดมาอันหนึ่ง  ด้านหน้าเป็นพระรูปสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี  ด้านหลังเป็นพระรูปรัชกาลที่ 7
ที่กล่องเขียนว่า จตุรเสนาสมาคม

จตุรเสนาสมาคม คืออะไร มีใครรู้บ้าง
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 18 ก.ย. 07, 23:27

เดาไม่ถูกเลยครับ

แต่ จตุรงคเสนา นั้นมีมาแต่โบราณ ก่อนรัชกาลที่ 7 แปลว่า ทหาร (โบราณ) สี่เหล่า เสนาเดิมแปลว่าทหารครับ ถ้าผมจำไม่ผิด ตำรายุทธศาสตร์อินเดียโบราณแบ่งไว้ ทหารสี่จำพวก คือ ทหารราบ ทหารม้า ทหารช้าง ทหารรถ(ม้า)

แต่จะเกี่ยวอะไรกับเข้ฒกลัดนั้นก็จนด้วยเกล้า - สมัย ร. 7 เป็นสมัยใหม่แล้วไม่ใช่อินเดียโบราณ ถ้าในการจัดกำลังสมัยใหม่ในเมืองไทบเรา สี่เหล่าก็คือ ทัพบก เรือ อากาศ และตำรวจ

ทัพบกและเรือมีมานานแล้ว ตำรวจก็มีมาก่อนรัชกาลที่ 7 เหลือแต่ทัพฟ้า ซึ่งผมไม่มั่นใจว่าแยกออกมาเป็นกองทัพอากาศสมัยไหน เดิม ทอ. สืบประวัติย้อนไปได้ถึงสมัยเป็นกองการบินทหารบกใน ร. 6 ครับ

ถ้า ทอ.ตั้งมาในสมัย ร. 7 มีแล้ว ก็เป็นได้ว่าจตุรเสนาสมาคมนั้น ตรงกับที่เรียกว่า สามัคคีสี่เหล่า ในยุคหลังต่อมาครับ คืองานอะไรสักอย่างที่เป็นการชุมนุมของคนใส่เครื่องแบบถืออาวุธสี่พวก

ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีรูปปั้น 5 รูป ผมเข้าใจว่าจะเป็น ทบ/ทร/ทอ/ตร และข้าราชการ คือข้าราชการพลเรือน ใช่หรือไม่ไม่แน่ใจครับ อันนั้นสร้างสมัยหลังลงมาจากรัชสมัย ร. 7 อีก คือยุคจอมพล ป. เป็นนายกฯ แล้ว ในรัชกาลที่ 8

นักรัฐศาสตร์บางคนตั้งคำถามวา เดิมเมืองไทยคิดผิดจัดผิดหรือเปล่าที่เอาตำรวจ ซึ่งมีหน้าที่พิทักษ์สันติราษฎร์ ไปจัดรูปวางกำลังเลียนอย่างทหาร ซึ่งมีหน้าที่ไล่ล้าล้างอริราชศัตรู กลายเป็นเหล่าทัพที่ 4? เรื่องนี้ก็แล้วแต่จะถกเถียงกันนะครับ ซึ่งว่าไปตำรวจไทยก็ถูกปรับปรุงเปลี่ยนระบบมาแล้วหลายครั้งนะครับ และยังได้ข่าวว่าจะมีการปฏิรูปต่อไปอีก แต่เรื่องนี้นอกประเด็นกระทู้นี้
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 19 ก.ย. 07, 02:27

17. คำพิพากษาฎีกาที่ 2104/2540
         โจทก์และจำเลยที่ 1 มีรายได้จากการจัดทำพระรูปปั้นจำลองออกจำหน่ายเหมือนกัน โจทก์ใช้ชื่อ "จตุรเสนาสมาคม" มาก่อน จำเลยที่ 2เคยเป็นกรรมการสมาคมของโจทก์มาก่อน โดยเป็นเหรัญญิก แล้วจึงมาเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 มีส่วนรู้เห็นในการตั้งชื่อสมาคมโจทก์มาก่อน และจำเลยที่ 2 ทราบดีว่าโจทก์หารายได้จากไหนมา หลังจากจำเลยที่ 2 ลาออกจากสมาคมโจทก์แล้วจึงมาตั้งสมาคมจำเลยที่ 1 ขึ้นมาใหม่ โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อจากธรรมโชคเป็นจตุระสมาคม การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายกสมาคมจำเลยที่ 1 รู้ถึงการใช้ชื่อและการดำเนินการของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว และจำเลยที่ 2 ได้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อจำเลยที่ 1จากเดิมมาเป็นจตุระสมาคมและดำเนินการขายพระรูปปั้นจำลองเช่นเดียวกับโจทก์แม้ชื่อโจทก์จะมี 7 พยางค์ และจำเลยที่ 1 มี 5 พยางค์ และตัวสระแตกต่างกันแต่คำนำหน้าเหมือนกันและอ่านออกเสียงเหมือนกัน ประชาชนทั่วไปอาจเกิดความสับสนได้ การที่จำเลยที่ 1 กระทำเห็นเจตนาได้ว่าจำเลยที่ 1 เปลี่ยนชื่อของตนโดยจงใจเลียนชื่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อดังกล่าวได้
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 19 ก.ย. 07, 06:28

เคยได้ยินชื่อสมาคมนี้มานานแล้ว เดาว่าน่าจะเป็นสมาคมเกี่ยวกับทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจ แต่ก็ไม่ทราบรายละเอียดมากไปกว่านั้น

ที่ทราบแน่ๆ คือตั้งแต่ผมจำความได้ จะเห็นเด็กในชุดนักเรียนน่าสงสารบ้างไม่น่าสงสารบ้าง นำเหรียญพระบรมรูปและพระรูปเจ้านายพระองค์สำคัญต่างๆ ซึ่งส่วนมากจะเป็นพระบรมฉายาลักษณ์หรือพระฉายาลักษณ์อัดพลาสติกพร้อมห่วงห้อย หรือไม่ก็อัดลงบนเข็มวัสดุผสม มาเดินเร่จำหน่ายในราคาไม่กี่สตางค์ สมัยผมเด็กๆ ก็องค์ละ ๒๐ บาท สมัยนี้เท่าไหร่แล้วก็ไม่ทราบ มือข้างหนึ่งถือเหรียญในซองพลาสติกสอดกระดาษการ์ดพิมพ์ตราสัญลักษณ์สมาคมและชื่อสมาคม อีกมือหนึ่งถือจดหมายยืนยันว่าสมาคมนี้เป็นนิติบุคคลมีตัวตนจริงตามกฎหมาย

เมื่อเปิดกล่องพระที่บ้านของผมก็จะพบว่ามีทั้งเหรียญรูปพระสยามเทวาธิราช พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระปิยมหาราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ฯลฯ และพระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ฯลฯ แสดงว่ากิจการจำหน่ายเหรียญและเข็มเหล่านี้มานานพอสมควรแล้ว แต่ก็คงไม่เก่าแก่นักเพราะวัสดุที่ใช้ทำเหรียญจากสมาคมนี้ ส่วนมากจะเป็นพลาสติกหรือเรซิน

ส่วนเงินรายได้นำไปทำอะไร ผมไม่ทราบ แล้วก็อยากทราบเหมือนกันครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 19 คำสั่ง