เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14
  พิมพ์  
อ่าน: 68751 นิราศสุพรรณ
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 28 ส.ค. 07, 02:40

อิอิ  มาโผล่ที่สุพรรณ.......

ไม่มีข้อโต้แย้งครับเรื่องสัมผัสแพรวพราว  ซึ่งหายากใกโคลงทั่วไป  ว่าจะมีมากขนาดนี้  แต่โดยองค์รวมในภาษาสำเนียงความเพราะพริ้ง(โดยรวมนะครับ)  ผมว่ายังไกลกับท่านนรินทร์มากนัก  อันนี้ความเห็นส่วนตัวครับ  ขออำภัยถ้าบังอาจไปวิจารณ์ปรมาจารย์

ว่าแต่ผู้แต่งเป็นพระภิกษุแน่เหรอครับ  อันนี้ยังไม่กล้าฟันธง............... แลบลิ้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 28 ส.ค. 07, 08:46

เพราะไม่เพราะ เห็นจะเรียกได้ว่า "อัตวิสัย" แต่ถ้ามองในด้านภววิสัย   กวีเรื่องนี้เชื่อมือตัวเองว่าไม่ใช่มือใหม่หัดแต่งโคลงแน่นอนค่ะ
โชว์ฝีมือเสียด้วยซ้ำ
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 29 ส.ค. 07, 01:02

ครับผมเห็นด้วยกับท่านอาจารย์เทาชมภู  เป็นกวีที่อหังการ์ด้วยซ้ำ  เป็นโคลงที่มีสำเนียงและรสชาติของตัวเอง  โชว์ลูกเล่นแพรวพราวแบบไม่ใช่ไก่กาจะมาแต่งแบบนี้ได้  แม้จะมีกลบทแทรกบ้าง  แต่เท่าที่สังเกตุติดหูลำบากครับ  แบบที่เรียกว่าถ้ากวีท่านนี้มีผลงานเรื่องนี้เรื่องเดียว  คงดังยากอ่ะครับ  ภาษาวัยสะรุ่นว่าไม่โดน.........อิอิ ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 29 ส.ค. 07, 20:09

ค่อยๆแกะรอยไปเรื่อยๆ  ก็คงจะมีคำตอบได้ค่ะ   ว่ากวีนิราศสุพรรณเป็นพระหรือชาวบ้านธรรมดา
แต่ถ้าเป็นพระ ก็เห็นจะไม่เคร่งเท่าไร
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 30 ส.ค. 07, 01:59

พยายามแกะแล้วก็พบว่า  เป็นหลวงพี่ที่ออกจะโลดโผน(ความคิดและคำพูด)  ไปนิดอ่ะครับ  แต่คงไม่ใช่หลวงตา(พิพัฒน์)แบบที่ท่านอาจารย์เทาชมภูเจอแน่ๆ........อิอิ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 30 ส.ค. 07, 10:01

ชวนคุณ Bana มาอ่านโคลงตั้งแต่บทที่ ๒๙๗ -๓๐๕ เป็นตอนที่คณะเดินทางไปพบชาวกะเหรี่ยง
ในโคลงสะกดว่า "เกรี่ยง"

ไร่เกรี่ยงเสียงหลอดโหร้                 โหร่เสียง
โหว่งโหว่งโรงรายเรียง                    รับพร้อง
หว่างไม้ไก่ขันเคียง                        เสียงเอ่ก อี๋เอ้กเอย
ยามดึกนึกนุชน้อง                          นิ่งเศร้าเปล่าทรวงฯ

ถ้าถามเป็นพระแล้วเขียนอย่างนี้เหมาะไหม ก็ต้องตอบว่าไม่เหมาะแน่ละค่ะ 
แต่ถ้าเป็นกวี  ถือว่า"อันพริกไทยใบผักชีเหมือนสีกา ต้องโรยหน้าเสียหน่อยอร่อยใจ" ก็คงต้องมองๆข้ามไปบ้าง  ถือว่าท่านตั้งใจจะชูรสโคลงเท่านั้น
เหมือนหลวงตาในกระทู้นี่แหละค่ะ   ตัวจริงเรียบร้อย    จะเป็นสมีก็แต่ตอนเข้าเรือนไทยตามรอยสุนทรภู่ แบบเดียวกัน

กลับมาที่นิราศสุพรรณ  ตอนเจอกะเหรี่ยงนี่เอง มีตอนหนึ่งที่กวีหยิบลูกปัดออกมาแจก จากย่าม
๓๐๕  ลูกปัดจัดแจกทั่ว                 ตัวคน
หมดย่ามตามยากจน                     จัดให้
พอจะมีเหตุผลไหมว่า เป็นพระ  ถึงพกย่ามติดตัว?

บทใกล้ๆกันนี้ กะเหรี่ยงจัดหาอาหารมาเลี้ยง(พระ ?)    ท่านกวีก็รังเกียจ กินไม่ลง
๓๐๒  รุ่งเช้าเข้าบ้านเกรี่ยง             เลี้ยงเหลือ
แกงฟักผักพริกมะเขือ                    ค่างปิ้ง
อึ่งแย้แช่เค็มเกลือ                         เกลียดขยั้น  กลั้นแฮ
เด็กบ่ชอบลอบทิ้ง                         ถ้วยคว่ำซ้ำแสยง

นิสัยนี้ช่างเหมือนกวีนิราศเมืองแกลงเสียเหลือเกิน   เห็นอาหารป่าแล้วขยะแขยงกลืนไม่ลง แทนที่จะนึกสนุกว่าได้กินอะไรแปลกๆ เป็นกำไรชีวิต
ปกติคนออกหัวเมืองลุยป่าฝ่าดงอย่างท่านกวี  น่าจะเป็นคนกินง่ายนอนง่าย  แต่กวีในนิราศทั้งสองนี้เหมือนกันคือออกหัวเมืองแล้วต้องบ่น   โดยเฉพาะเจออาหารบ้านป่าแล้วอี๊อ๊าทนไม่ได้เอาเลย
กวีนิราศเมืองแกลงยังหนุ่ม  มีแฟนแต่ยังไม่ได้แต่งงาน  ส่วนกวีนิราศสุพรรณอยู่ในวัยกลางคน มีลูกโตเป็นหนุ่มแล้ว
แต่นิสัยเลือกอาหาร เหมือนกันยังกะแกะ

ทั้งแย้บึ้งอึ่งอ่างเนื้อค่างคั่ว               เขาทำครัวครั้นไปปะขยะแขยง
ต้องอดสิ้นกินแต่ข้าวกับเต้าแตง        จนเรี่ยวแรงโรยไปมิใคร่มี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 09 ก.ย. 07, 21:53

เหตุการณ์ตอนกวีและหนุ่มๆลูกหลานลูกศิษย์ลูกหาไปเจอกะเหรี่ยง จนได้เข้าไปพักในหมู่บ้าน เป็นภาพที่บรรยายไว้แจ่มชัด  ราวกับบันทึกด้วยกล้องถ่ายวิดีโอย้อนเวลา
การเล่าเรื่องแบบมีตัวละคร มีบทสนทนา มีฉาก มีเหตุการณ์ และรายละเอียดประกอบ แบบนี้ ถ้าเทียบกับนิราศเรื่องอื่นๆในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ไม่ว่าจะเป็นพระราชนิพนธ์นิราศรบพม่าท่าดินแดง     นิราศนรินทร์   นิราศพระยาตรัง  จะเห็นว่านิราศสุพรรณ แหวกออกมาจากทั้งหมด
แต่แค่นี้ ยังไม่ถึงกับสรุปว่าสุนทรภู่ไม่ได้แต่งนะคะ   คนละเรื่อง เป็นแต่ข้อสังเกต
ขอหยุดแค่นี้ก่อน แล้วจะมาขยายความค่ะ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 09 ก.ย. 07, 22:37

ผมนึกว่าอาจารย์จะชี้ว่าสุนทรภู่แต่งซะอีก   ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 12 ก.ย. 07, 21:24

อยากบอกเหมือนกันว่าสุนทรภู่แต่ง  นอกจากกลัวไม้เท้าพระเจ้าตาแล้ว ยังมีอะไรบางอย่างที่สะดุดใจเข้า เลยต้องยั้งปากไว้ก่อนค่ะ
ขออภัยที่จะไม่ลงโคลงตอนพบกะเหรี่ยงเอาไว้  เพราะหาในเน็ตไม่เจอ ถ้าลงต้องพิมพ์เอง  ยาวมากค่ะพิมพ์ไม่ไหว
เล่าย่อๆว่ากวีเจ้าของนิราศเรื่องนี้ไปถึงไร่กะเหรี่ยง ผูกมิตรมอบลูกปัดให้  กะเหรี่ยงก็ดีใจเอาลูกปัดใส่ข้อมือ   ต้อนรับให้ค้างคืน ตื่นขึ้นมาเลี้ยงดูปูเสื่อ หาอึ่งหาแย้มาให้กิน
ต่อจากนั้นก็ตามกะเหรี่ยงนำทาง ไปขุดหาสมุนไพร     ผ่านป่าดงสมุนไพร บรรยายแบบกวีท่านรู้เรื่องสมุนไพรดีเอาการทีเดียว   เป็นศิษย์มีครูสอนเรื่องนี้มาก่อน
จากนั้น กะเหรี่ยงพาเข้าหมู่บ้านละว้า  ไปค้างแรมทำกับข้าวกับปลากินกันกับพวกละว้า  พวกนี้ก็ต้อนรับขับสู้เต็มอกเต็มใจ
ได้ตาลวด เป็นละว้านำทางไปหาเหล็กไหล   พบพระไปเสาะหาเล่นแร่ ถูกแร่กินตาย เหลือแต่ผ้าพาดบาตรอยู่ ก็เลยเก็บกระดูกเผาให้    บรรยายละเอียดถึงขนาดนี้
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 13 ก.ย. 07, 00:14

บรรยายให้ละเอียดกว่านี้อีกนิดเถอะครับ
โคลงน่ะ ผมมีอยู่กับตัว
แต่คำแปลไม่ได้มากะตัว มันไปหล่นอยู่ชาติที่แล้วครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 13 ก.ย. 07, 09:13

นิราศสุพรรณ มีลักษณะบางอย่างเหมือนนิราศเมืองเพชร
๑ คนแต่งเป็นชายวัยกลางคน  เดินทางไปพร้อมกับลูกชายและลูกศิษย์ลูกหา
๒ มีความรักที่ไม่สมหวัง    ชอบรำพึงถึงผู้หญิงในอดีต
๓ มีตำแหน่งการงานเป็นขุนนางมาก่อน  แต่รู้สึกว่าในปัจจุบันตัวเองตกต่ำลงไปกว่าก่อน
๔ เอ่ยชื่อบุคคลที่ตนเองพบระหว่างทาง  เจาะจงเป็นตัวตนออกมาเลยทีเดียว

รายละเอียด ไม่รู้คุณพพ.จะให้อธิบายขนาดไหน  ถ้าหากว่าบทต่อบท คงอีกหลายปีกว่าจะจบ  ขอเป็นแบบนี้ก็แล้วกันนะคะ  คือเล่าความไปเรื่อยๆ
ถ้าไปเปิดหนังสือ   สงสัยบทไหนก็ค่อยกลับมาถามก็ได้

ต่อค่ะ
กะเหรี่ยงชื่อนายกวั่ง นำทางคณะ National Geographic แห่งสยามเมื่อเกือบสองร้อยปีก่อน มาถึงหมู่บ้านละว้า  พักที่นี่หนึ่งคืน พวกละว้าก็เป็นมิตรดี   โดยเฉพาะสาวๆละว้าตาคมผิวนวล มาทักทายเล่นหัวกอดรัดกับหนุ่มๆราวกับพี่น้อง
จุดมุ่งหมายของการเดินทาง มาเปิดเผยเมื่อมาถึงหมู่บ้านละว้า    ว่าจะไปหาเหล็กไหล  มีละว้าชื่อนายลวด  รู้จักเจดีย์บนภูเขา ในเรื่องบอกว่าชื่อ"เขาเขียว" แต่ไปถึง พูดถึง "เขาโพรง" ไม่รู้ชื่ออะไรแน่
ข้างเจดีย์มีถ้ำที่อยู่ของเหล็กไหล    เดินกันตั้งแต่เช้าถึงเย็น จึงไปถึงเจดีย์

ลักษณะเจดีย์ ท่านอธิบายไว้สั้นๆ แต่คุณพพ.คงนึกภาพออก อยู่ในบทที่ ๓๗๒
เป็นเจดีย์โบราณ  ทรงกลม สูงประมาณหกศอก  ประตูทางเข้ามีดาลใส่ไว้ให้ปิดสนิท  สร้างด้วยปูนเพชร ใช้เป็นที่เก็บใบลาน
น่าจะเป็นเจดีย์สมัยอยุธยาตอนปลาย   เห็นว่าประตูยังอยู่ในสภาพดี ปิดเปิดได้  ในเจดีย์ กวีบอกว่าเป็นที่อยู่ของ "ท่านผู้วิเศษ" ไม่รู้ว่าหมายถึงใคร     อาจจะหมายถึงพวกที่สำเร็จปรอท  หรือปู่เจ้าเขาไพรที่สิงสถิตย์อยู่แถบนั้น    เป็นการคาดเดาของกวีเองเมื่อเห็นว่ามีห้องอยู่ในเจดีย์   
ความเชื่อเรื่องนี้ได้รับการย้ำอีกทีเมื่อเข้าไปในถ้ำข้างเจดีย์ มีผู้สร้างแท่นปูนไว้ในถ้ำ  กวีก็เชื่อว่าเป็นแท่นของผู้วิเศษอีก

คืนนั้นกลุ่มนี้ค้างกันอยู่ในถ้ำ  กะเหรี่ยงชื่อกวั่งและตาลวดสุมไฟ เล่านิทานรอบกองไฟ บรรยากาศราวกับ"เพชรพระอุมา"
เขาตรงนี้ เรียกว่า "เขาโพรง"  ปู่เจ้ามีโขลงช้างเป็นบริวาร  เช้าเย็นช้างเดินเที่ยวกันเต็มไปหมด
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 13 ก.ย. 07, 09:58

นั่งหลังตรงรออ่านค่ะ คุณครูขา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 13 ก.ย. 07, 22:11

มีนักเรียนแสนดีอยู่คนนั่งรออยู่   อายจัง
นักเรียนโค่งคนอื่น ไม่ไหว  ดุจริงๆ  พกระเบิดขวดมาเรียนหรือเปล่าก็ไม่รู้

ตาลวดแกคุยว่าเคยหนีโขลงช้างขึ้นต้นไม้   ไปเจอปล่องโพรง   ลอดไปได้ยังไงไม่รู้ ทะลุออกไปได้ถึงเจดีย์  ก็เลยรู้จักเจดีย์แห่งนี้
คณะของท่านกวี  เริ่มทำพิธีบวงสรวงปู่เจ้าเขาโพรง  ตั้งจอกแก้วบรรจุน้ำผึ้งเรียกปรอทมาให้กิน เพื่อจะเอาเหล็กไหล

วิธีเรียกทำไงไม่ค่อยเข้าใจนัก  คล้ายๆจะสวดมนตร์อาราธนา ทำพิธีเรียกปรอทมากินน้ำผึ้ง จุดเทียนเอาไว้ขณะทำพิธี
ปรากฏว่าปรอทมากินน้ำผึ้งจริงๆ  เสียงฟอดๆในน้ำผึ้ง   มองเห็นปรอท(หรือเหล็กไหล) แต่ว่าหยิบไม่ติด  ลักษณะเป็นเมล็ดเหมือนเมล็ดฝ้าย  แต่พอหยิบก็ลื่นหลุดมือไป
ปรอทคืนเข้ากระบอกหายไป   เทียนที่จุดทำพิธีก็หมดแท่ง เทียนดับ  น้ำผึ้งก็ถูกปรอทกินไปแล้ว  เป็นอันว่าคว้าน้ำเหลว  ตอนตีสามเห็นปรอทบินแวบๆ หายลับไปตามเหลี่ยมเขา
ใกล้รุ่ง  ฝูงช้างแห่กันมารุมล้อมรอบเจดีย์ร้องแปร๋แปร้นสนั่น    กะเหรี่ยงเป่าหลอดไม้ ขับไล่ช้าง ช้างเงียบไปเดี๋ยวเดียวก็ส่งเสียงคำรณขึ้นมาอีก
คราวนี้ คนก็หนีลูกเดียวสิคะ   ป่ายปีนเขาหนีขึ้นที่สูงชัน  ช้างจะได้ตามขึ้นมาไม่ได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 13 ก.ย. 07, 23:00

เหตุการณ์ในตอนนี้ สีสันไม่แพ้ "เพชรพระอุมา" ตอน "ไพรมหากาฬ"
กลุ่มกวีนิราศสุพรรณ กลายเป็นคณะของรพินทร์ ไพรวัลย์ หนีโขลงไอ้แหว่ง   ขึ้นไปบนหน้าผา
ช้างตามขึ้นไปไม่ได้  หนุ่มๆเอาหินขว้างช้าง  ช้างก็เลยคลั่ง  ระดมพลกันมาไม่รู้ว่ากี่โขลงจนป่าข้างล่างดำมืดไปหมด
ช้างพวกนี้ดุ  มีจ่าโขลงตัวหนึ่งท่าทางบ้าเลือดกว่าเพื่อน   เอางาแทงต้นไม้จนถึงเสา  งาฉีก มันก็ยังแทงอีก 
ช้างป่านี่ดุ  กวีท่านเล่าไว้เห็นภาพ  ไม่ใช่ภาพนิ่งแต่เป็นภาพเคลื่อนไหว   มันไล่ตามมนุษย์ขึ้นไปไม่ถึง ก็แทงและงัดไม้ใหญ่ยับเยินไปทั้งป่า    ล้อมอยู่จนเที่ยง ถึงเวลามันหิว อยากกลับไปหากิน ก็เลยยกพวกถอยกลับไป
ส่วนท่านกวีรพินทร์ของเราหนีขึ้นเขาไปได้แล้วก็ถือโอกาสเดินชมป่าชมเขาอยู่บนโน้น  รอให้ช้างกลับไปเสียก่อน  จนเย็นค่ำถึงกลับมาที่เจดีย์อีกครั้ง

ถ้าหากว่าถ่ายวิดีโอย้อนกาลเวลาได้   National Geo ก็เถอะ    ท่านกวีของเรากินขาด
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 13 ก.ย. 07, 23:11

โอ้ว...มันพะย่ะม่ะค่ะ
ถอดระเบิดไว้ข้างรั้ว ย่องเข้ามาแอบฟังต่อ
แหม....

ใต้ถุนเรือนนี่ยุงชุมชะมัด
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 19 คำสั่ง