pipat
|
ความคิดเห็นที่ 150 เมื่อ 17 ส.ค. 07, 19:17
|
|
ถามไปทางตุ๊ดตู่ เขาก้อตอบมาว่า กระซาบ (กลอน) ก. พูดเบา ๆ เช่น ค่อยกระซาบคําเกลี้ยง. (ลอ), นิยมใช้ เข้าคู่กับคํา กระซิบ เป็น กระซิบกระซาบ.
กวีคนนี้หรูมาก ใช้คำในพระลอเชียวแฮะ เอ้า ไม่ใช่เหรียญกษาปณ์ก็ถือว่ารอดตัวไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 151 เมื่อ 17 ส.ค. 07, 20:44
|
|
ขอแถมว่า ในพระลอ สะกดว่า กระซาบ ไม่ใช่ กระสาบ ถ้าหากว่าสมัยโบราณสะกดทั้งสองคำ ท่านจะใส่ไว้ในพจนานุกรมว่า ...กระสาบ ก็ว่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 152 เมื่อ 17 ส.ค. 07, 21:04
|
|
อ้าว...ตายหง เป็นงั้นไป
นี่เป็นกวีอาไร ใช้คำว่ากระซิบกระสาบ รึว่าเป็นกระษาปณ์
เอ...คุณครูครับ มันยุ่งทั้งสองทางนา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 153 เมื่อ 17 ส.ค. 07, 21:14
|
|
กระสาบหรือกระซาบผมก็ไม่กระทราบ เอ๊ย ไม่ทราบ
แต่ ว่าซื้อหรือจ๋า อันนี้ผมไม่เชื่อว่าจะเป็น จ๋า ไปได้
ตามฉันทลักษณ์ของโคลง ตำแหน่งนี้ไม่ได้บังคับ แต่คนเล่นโคลง "ทุกคน" ต้องรู้ว่าตำแหน่งนี้เขาจะใช้คำสุภาพ (ไม่มีรูปวรรณยุกต์)
ถึงแม้จะมีบางคนที่รู้ทั้งรู้ แต่ก็แอบเล่นวรรณยุกต์จัตวาตรงนี้บ้าง เพราะตีความเอาว่าสมัยที่เกิดฉันทลักษณ์โคลงยังไม่มีวรรณยุกต์จัตวาใช้
แต่... กวีนิราศสุพรรณ ไม่ทำอย่างนั้นครับ
ถึงจะสร้างทางโคลงใหม่ขึ้นมา แต่เห็นได้ชัดว่ารัดกุมมาก ไม่ยอมให้ใครมาตราหน้าได้ว่าแต่งโคลงไม่เป็น โคลงแบบนิราศสุพรรณนี้จึงเป็นโคลงที่ไม่ขัดกับฉันทลักษณ์แบบเก่าเลยแม้แต่น้อย
และไม่ปรากฏการใช้วรรณยุกต์ในที่บังคับให้ใช้คำสุภาพที่อื่นใดอีกด้วย
สรุปว่า หรือจำ ไม่ใช่ หรือจ๋า อย่างแน่นอนครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 154 เมื่อ 17 ส.ค. 07, 22:18
|
|
ยกให้กรมสาบละกันนะครับ
เรียนถามคุณเครซี่หน่อยว่า โคลงระดับนิราศสุพรรณนี่ ประมาณการว่า แต่งนานมะกั๊บ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 155 เมื่อ 17 ส.ค. 07, 22:34
|
|
โอ... แล้วผมจะไปรู้ได้ยังไงล่ะคร้าบพ่อหมอ  โคลงแบบนี้ สัมผัสในเพียบ ถ้าไม่คุ้นเคยกับการใช้สัมผัสในเยอะๆอย่างนี้มาก่อน ก็คิดคำกันหัวบวมล่ะครับ อย่าว่าเร็วหรือช้าเลย แค่เขียนออกมาให้ได้อย่างนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายแล้ว แต่ให้คิด ถ้าเป็นงานท่านสุนทรจริง ความเร็วคงไม่ต่างจากเขียนกลอนมากนัก เขียนได้ไม่กี่บทก็คงลื่นไหลเพราะเข้าจังหวะแล้ว ดังนั้นจึงขอส่งการบ้านว่า "เมื่อเร็วพอๆกับเขียนกลอน ก็คงใช้เวลานานพอๆกับแต่งกลอนนั้นแล" 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
Bana
|
ความคิดเห็นที่ 156 เมื่อ 17 ส.ค. 07, 23:10
|
|
สวัสดีคืนวันศุกร์ครับ........ง่ะ เข้ามาก็เจอกระซิบกระซาบอะไรกัน.อิอิ ผมรู้แต่ว่าบ้านผมก็มีนะ เรียกผักสาบ มันจะกระสาบหรือเปล่าไม่ทราบ อีกอย่างก็ใบสาบเสือ ใช้ห้ามเลือด แต่ที่ผมดูตามศัพท์ กษาปน์ หรือ กหาปน เป็นเงินในครั้งก่อนที่ใช้พวกโลหะทำ ก็ถ้าสืบไปก็คงมีตั้งแต่ครั้งพุทธกาลโน่นล่ะครับ แล้วเงินราง เงินพดด้วง หรืออะไรก็ตามที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฏหมาย ในครั้งปลายอยุธยา ธนบุรี หรือต้นรัตนโกสินทร์ เป็นไปได้ไม๊ครับที่เค้าเรียกกันว่า กษาปน์ คือเป็นอีกคำที่ใช้เรียกกัน เป็นเงินกษาปน์ 2 อัฐ 2 บาท อะไรทำนองนี้อ่ะครับ ก็ต้องวานท่าน พิพาท เอ๊ย ท่านพิพัฒน์ ช่วยจารไนให้ผมหน่อยครับ ถ้าเป็นตามผมคิดจริงๆ ก็สมเหตุครับในบทกวี ......... 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 157 เมื่อ 17 ส.ค. 07, 23:37
|
|
ตอบเหมือนไม่ได้ตอบ แต่ก็ยังตอบ(ละวะ)...55555 ครือว่า อยากให้สังเกตเรื่องความเร็วของกลอนน่ะครับ เปรียบเหมือนนักเขียนดังๆ ที่เขียนไปแก้ไป แต่บางคนก็ทำงานเหมือนเครื่องปั่นมูลิเน็ก พรวดๆๆๆ บรื๋อออๆๆๆๆ....เสร็จแระ
ส่วนคำว่ากษาปณ์นั้น ผมสนใจที่คำศัพท์อ่ะครับ ตัวเงินเหรียญกลมๆ แบนๆ นั้น เจอมาแต่พันกว่าปีโน่น ศรีทวารวตี ศวรปุณย เจอที่ภาคกลาง หลายเหรียญเชียว
แต่คำเรียกนั้นสิ ยังไม่เจอในชีวิตประจำวันจนกว่าจะถึงรัชกาลที่ 4 ทำให้งงอยู่ คงต้องขอพาราคุณบานามาแก้เวียนหัวหน่อยละ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Bana
|
ความคิดเห็นที่ 158 เมื่อ 17 ส.ค. 07, 23:55
|
|
ถ้าเป็นความคิดผมนะครับ ผมว่าไม่เร็วเท่ากลอน เพราะนิราศสุพรรณคำโคลง ใช้เวลาในเรื่องราวพอสมควรและคนแต่งก็รู้สึกว่าไม่ได้ทำอะไรนอกจากแต่งนิราศไปตามทาง แต่ที่เร็วจนน่าฉงนคือ นิราศพระบาทครับ ทั้งพายเรือไปจนล้าแล้วล้าอีก ทั้งต้องมาแต่งกลอนงามๆไปด้วย (ไม่รู้เอาเวลาไหนมาแต่งหรือพัก...อิอิ) เวลาที่ใช้ในเรื่องก็ไม่กี่วัน อันนี้ยิ่งกว่ามูลิเน็กซ์อีกท่าน ............... 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 159 เมื่อ 27 ส.ค. 07, 16:54
|
|
(สรล้วน) (๒๘๖) ๏ เขาเขียวโขดคุ่มขึ้น เคียงเคียง ร่มรื่นรุกข์รังเรียง เรียบร้อย โหมหัดหิ่งหายเหียง หัดหาด แห้วแฮ ยางใหญ่ยอดยื่นย้อย โยกโย้โยนเยนฯ
จำได้ว่ากลบทแบบนี้อยู่ในพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์เมื่อปลายอยุธยา แล้วก็ยังมีอีกบทหนึ่ง (ราชสีห์เทียมรถ) (๒๙๒) ๏ ยลโศกยามเศร้ายิ่ง ทรวงเย็น คิดสุดขัดแสนเข็ญ โศกไข้ หวนหนาวหากนึกเห็น หน้าแห่ง น้องแฮ ดวงจิตเด็จจากได้ จึ่งดิ้นจำโดยฯ
ส่วนบทนี้ เห็นจะพูดว่าคนแต่งไม่ถนัดเรื่องโคลงไม่ได้
(สกัดแคร่) (๒๙๖) ๏ หนาวลมห่มผ้าห่อน หายหนาว ฟ้าพร่ำน้ำค้างพราว พร่างฟ้า เด่นเดือนเกลื่อนกลาดดาว ดวงเด่น ใจเปล่าเศร้าซบหน้า นึกน้องหมองใจฯ
ทั้งสามบท รวมกลอนกลบทอื่นๆที่แทรกไว้เป็นระยะ ยืนยันได้อีกครั้งว่าคนแต่งนิราศสุพรรณไม่ใช่มือใหม่แต่งโคลง ที่จริงแล้วมีอีกหลายบททีเดียวที่คล้ายกลบท แต่ไม่ได้บอกชื่อไว้ ผู้แต่งเป็นใครก็ตาม แต่เป็นคนที่ช่ำชองกับภาษา ชอบเล่นสัมผัสสระ สัมผัสอักษร ให้แปลกไปจากโคลงสี่สุภาพธรรมดา และอาจจะต้องการแสดงฝีมือให้ประจักษ์กันด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 160 เมื่อ 27 ส.ค. 07, 19:31
|
|
มต่อในทันที ว่า แล้วสุนทรภู่ ท่านชอบสัมผัสทั้งสอง มากมายเพียงใดครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
agree
ชมพูพาน
  
ตอบ: 114
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี
|
ความคิดเห็นที่ 161 เมื่อ 27 ส.ค. 07, 19:32
|
|
ประวัติศาสตร์ไทยยังมีเรื่องที่คนเราต้องการรู้อีกมาก 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
Some dream of worthy accomplishments, while others stay awake and do them. บางคนฝันที่จะประสบความสำเร็จอย่างสวยหรู ในขณะที่บางคนกำลังลงมือกระทำ
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 162 เมื่อ 27 ส.ค. 07, 20:11
|
|
กลอนของสุนทรภู่ หนักไปทางด้านสัมผัสสระ ค่ะ มีทุกบาท สัมผัสอักษรมีน้อยกว่า ไม่จำเป็นว่าต้องมีทุกบาท แต่จะว่าไม่มีก็ไม่ใช่ มีเหมือนกัน สีแดง สัมผัสสระ สีเขียว สัมผัสอักษร
ถึงบางพรหมพรหมมีอยู่สี่พักตร์ คนประ จักษ์แจ้งจิตทุกทิศา ทุกวัน นี้มี ม นุษย์อยุธ ยา เป็นร้อยหน้าพันหน้ายิ่งกว่าพรหม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 163 เมื่อ 27 ส.ค. 07, 23:27
|
|
ม่ายมีฟามรู้ อะธิบายม่ายถูก..... เสียงโคลงเป็นปลายปิด เสียงกลอนเป็นปลายเปิด เสียงโคลงไม่โอ่อ่า เสียงกลอนผ่าเผย เสียงโคลงงุดๆ เสียงกลอนผ่างๆ
ม่ายรู้จะเปรียบยังงาย ขออำไพกั๊บ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 164 เมื่อ 27 ส.ค. 07, 23:44
|
|
เพิ่งจะอ่านฉบับเต็มจบไปครับ อ่านฉบับออนไลน์ ๓๐๐ บทมานาน 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
|