เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 68925 นิราศสุพรรณ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 28 ก.ค. 07, 08:44

กลับไปอ่านแผนที่ของคุณพิพัฒน์อีกครั้ง แล้วลองทำเส้นทางเดินทางของกวีดู
กรุณาทุกท่านช่วยดูกันด้วยว่าถูกหรือไม่
ถ้าหากว่ากวีเริ่มเดินทางจากวัดใดวันหนึ่ง  เข้าคลองลัด ผ่านที่เก็บศพวัดสระเกศ เพื่อไหว้ศพมารดา
แล้วนั่งเรือต่อไปจนออกโคลงโอ่งอ่าง
ก็ต้องเป็นเส้นทางสีแดง ในภาพนี้ ถูกไหมคะ  ไม่ใช่เส้นทางสีเขียวซึ่งเริ่มจากวัดเทพธิดาราม   
ถ้ามาจากวัดเทพธิดาราม ไม่ต้องเข้าคลองลัดวัดสระเกศ เพราะคลองลัดอยู่ห่างออกไปมาก  สามารถพายเรือตรงมาที่ที่เก็บศพได้เลย

เส้นทางในนิราศสุพรรณ คือเริ่มจาก หมายเลข 1 (ต้นทาง)มาที่หมายเลข 3 (คลองลัดวัดสระเกศ) มาที่ 2 (ที่เก็บศพวัดสระเกศ) แล้วไปที่ 4 (คลองโอ่งอ่าง )
ตัวเลขสลับลำดับกันหน่อย เพราะอ้างจากแผนที่ของคุณพพ. แต่คงพอจะเข้าใจกันได้

คำถามก็คือ หมายเลข 1 นั้นน่าจะเป็นศาลาท่าน้ำที่เอ่ยถึงในบทที่ 2     ในแผนที่อ่านได้แต่ว่า วัด....อะไรสักแห่ง
อยากทราบว่าวัดอะไร?


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 28 ก.ค. 07, 10:33

แม่นแล่ว...ครับ อาจารย์
ถ้ายึดตามความในโคลง ก็ตัดวัดเทพธิดารามไปได้เลย
เพราะกวี "ควร" แต่งว่า ออกจากวัด แวะไหว้ศพมารดา แล้วไปคลองโอ่งอ่าง

แต่นิราศสุพรรณ เริ่มต้นด้วยการมองฟ้า มองน้ำ มองสองฝั่ง นี่หมายถึงการกินเวลา คือระยะทางยาวหน่อย
แล้วจึงมาเอ่ยชื่อคลองมหานาค ก็ได้แต่เดาว่ามาจากแถวๆ สยามปาราก้อน
ชื่นฉ่ำอากาศริมคลองมหานาคมาพักหนึ่ง จึงเข้าคลองลัดวัดสระเกษ ซึ่งจะผ่านป่าช้าด้วย
ได้ไหว้ศพแม่ แล้วบ่ายหน้าออกคลองโอ่งอ่าง

อ่านกี่เที่ยวๆ ก็มองไม่เห็นว่าจะไปเกี่ยวอะไรกับวัดเทพธิดารามได้
วัดที่อ่านชื่อไม่ออกคือวัดหมู วัดชิดทารามครับ
เจ้าคุณปริยัติท่านอ้างว่า มีคนลือกันว่าท่านสุนทรภู่เคยอยู่วัดนี้ ผมยังไม่รับรอง
เพราะท่านภู่เป็นกวีไฮโซ จะมาอยู่วัดโลโซอย่างนี้ เห็นว่าไม่น่าเป็นไปได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 28 ก.ค. 07, 10:47

ใกล้ๆวัดชิดทาราม  ถ้านับจากขวามือ(หรือถ้ายืนอยู่ที่วัดหันหน้าออกคลองก็นับเป็นซ้ายมือ) มีวัดอะไรบ้างคะ ที่เป็นวัดใหญ่กว่าวัดนี้
กวีอาจมาจากวัดถัดไปจากวัดหมูก็ได้    ถ้ามีวัดใหญ่อยู่ถัดไปสักวัด  เส้นทางก็สอดคล้องกับคำบรรยายมากที่สุด
ส่วนวัดหมู  ข้อมูลที่พระยาปริยัติธรรมธาดาบันทึกไว้ว่า มีคนบอกว่าสุนทรภู่เคยบวชอยู่วัดนี้   ก็น่าสนใจ 
ถ้าเรายังหาวัดใหญ่ถัดจากวัดหมูไม่ได้   ก็เป็นได้ว่า สุนทรภู่อาจเคยอยู่วัดนี้ชั่วระยะสั้นๆก็เป็นได้   สั้นเสียจนสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ อาจจะไม่ทรงเชื่อ  จึงทรงตัดไป

กวีเอกของเรา บวชอยู่  ๗  วัด !!!
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 28 ก.ค. 07, 10:54

ย้อนกลับไปสอบเทียบกับวัดทั้งหกวัดที่เล่ากันมาว่าสุนทรภู่เคยบวช  พบว่าไม่ตรงกับวัดต้นทางในนิราศสุพรรณสักวัดเดียว
๑)วัด ราชบูรณะ (หรือวัดเลียบ) เอ่ยถึงในโคลงบทที่ ๘  หมายความว่าเดินทางผ่านไปจากต้นทางแล้ว  เป็นอันว่าไม่ใช่เริ่มต้นเดินทางจากวัดนี้
๒) วัดอรุณอยู่ทางฝั่งธนบุรี ติดแม่น้ำเจ้าพระยา    ไม่มีสาเหตุอะไรจะต้องข้ามมาฝั่งกรุงเทพไปคลองมหานาคแล้วย้อนไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาอีก
๓) วัดพระเชตุพน ก็เหมือนกัน   ออกแม่น้ำเจ้าพระยาได้เลย
๔) วัดเทพธิดาราม คุณพพ.บอกว่าคนละทางกับคลองลัดวัดสระเกศ
๕) วัดสระเกศ  ศพแม่เก็บไว้ที่นี่   เป็นที่แวะ ก็หมายความว่าไม่ใช่ต้นทาง
๖) วัดมหาธาตุ ออกแม่น้ำเจ้าพระยาได้เลย   ไม่เกี่ยวกับคลองมหานาค
รวมแล้ว ๖ วัด   ไม่น่าใช่สักวัด
เหลือวัดหมูอีกวัดเดียว   ก็ถูกมองว่าเป็นวัดเล็กโลโซไปแล้ว  เกินกว่าสุนทรภู่ผู้เคยได้ชื่อว่าอยู่แต่วัดใหญ่ๆมาตลอด จะไปอยู่ที่นี่
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 28 ก.ค. 07, 12:03

ไกล้ที่สุดก็วัดพระยายัง ซึ่งปีนั้นไม่รู้ว่าสร้างหรือยัง ถัดไปอีกนานก็วัดใหม่บรมนิวาสของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4
อันที่จริง ในช่วงแรกนี้ ทำหมายเหตุไว้ก่อนว่า วินิจฉัยดั้งเดิมนั้น ไม่สอดคลองกับความในโคลงก็น่าจะพอ
ขืนไปหาวัดให้ท่านสุนทรภู่ เกิดท่านไม่ได้แต่งนิราศสุพรรณขึ้นมา จะเสียเวลาเปล่า

การบ้านที่ผมยังขบไม่แตกก็คือหมุดเวลา
นิราศสุพรรณนี้ นับว่าแปลกจากงานของสุนทรภู่เรื่องอื่นๆ คือไม่ได้บอกเวลาที่แน่ชัดไว้เลย
แม้แต่พระอภัยมณี ท่านยังใส่ปีไว้หลายครั้ง ทั้งๆที่ไม่มีเหตุต้องทำอย่างนั้น

หมุดเวลาดอกหนึ่งที่น่าสอบต่อก็คือ การพรรณาความครึกครื้นแถบปากคลองโอ่งอ่าง
หากเป็นครั้งรัชกาลที่ 3 ก็ออกจะขัดกับพระราชนิยมอยู่
และข้อสำคัญ บริเวณนั้นไม่มีวังเจ้านาย จะมีผู้หลักผู้ใหญ่อยู่ก็ก๊กเจ้าพระยาบดินทร์ฯ เท่านั้น
อีกหมุดก็คือเรื่องละคอนคณะนายบุญยัง
คงจำได้ว่านายบุญยังนี้ มีชื่อในนิราศพระบาท ซึ่งวางอายุไว้ถึงปลายรัชกาลที่ 1
แต่ผมไม่แน่ใจว่าวัดละคอนทำของท่าน จะตกรัชกาลที่ 5 เอาน่ะนา
แล้วนิราศพระบาทนั่น ผมก็เปลี่ยนอายุมาเป็นปลายรัชกาลที่ 4 เสียแล้ว
ตำนานละคอนบุญยังจึงยังแขวนอยู่ต่องแต่ง

หาอายุบุญบังได้ ก็หาอายุนิราศสุพรรณได้....กระมัง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 28 ก.ค. 07, 12:30

ดิฉันลองหาหมุดเวลาอยู่เหมือนกัน    เท่าที่อ่าน ได้ความรู้สึกว่าเป็นเหตุการณ์สมัยรัชกาลที่ ๓  เดี๋ยวจะค่อยๆไล่เลียงดูหลักฐานอีกทีว่าทำไมเชื่อเช่นนั้น
ก่อนอื่น ย้อนกลับมาพูดถึงเสียงต่างๆในเมือง ตามบทนี้ก่อน
  แซ่เสียงเวียงราชก้อง                   กังสดาล
เหง่งหงั่งระฆังขาน                      แข่งฆ้อง
สังข์แตรแซ่เสียงประสาน               สังคีต  ดีดเอย
ยามดึกครึกครื้นก้อง                      ปี่แก้วแจ้วเสียงฯ
เสียงพวกนี้ กวีบอกว่าเป็นเสียงของ "เมืองหลวง"  (เวียงราช  เวียง=เมือง ราช= หลวง) หาใช่เสียงจากวังเจ้านายหรือบ้านคนใหญ่คนโตที่ใดที่หนึ่งไม่
เสียงสังคีตนั้นอาจหมายถึงมโหรีตามบ้านขุนนาง  ริมคลองโอ่งอ่างเห็นจะมีขุนนางคหบดีกันมากมายหลายบ้าน    เพราะเป็นแหล่งชุมชนใหญ่

มโหรีปี่พาทย์ ไม่ใช่ว่าจะต้องมีแต่ตามวัง  หรือบ้านเจ้าพระยา   ในนิราศเมืองเพชร  ขุนนางชั้นผู้น้อยแค่ "ขุน" คือขุนแพ่ง แกก็ยังมีวงปี่พาทย์ประจำอยู่ในบ้านแกได้เลย
ที่รู้แน่ว่าเป็นปี่พาทย์ประจำบ้าน  ไม่ใช่ไปจ้างมาในโอกาสพิเศษ ก็เพราะเล่นกันตั้งแต่เช้า(เพรางาย= เวลาเช้า)ตามคำสั่งเจ้าของบ้าน เพื่อนบ้านก็มาหาหัวบันไดไม่แห้งตั้งแต่เช้า    แสดงว่าบ้านนี้เจ้าของบ้านคงครึกครื้นใจกว้างต้อนรับไม่อั้น

โอ้อกเอ๋ยเคยสำราญอยู่บ้านนี้         ได้ฟังปี่พาทย์เพราะเสนาะเสียง
ทั้งหญิงชายฝ่ายเพื่อนริมเรือนเรียง   เคยพร้อมเพรียงเพรางายสบายใจ

ดังนั้นถ้าเรือล่องมาเรื่อยๆตามคลองโอ่งอ่าง ได้ยินเสียงดนตรีในเมืองตอนดึก   ดิฉันนึกถึงสมัยรัชกาลที่ ๓  ที่พระองค์ท่านไม่โปรดละครใน   หรือความครึกครื้นอื่นๆในวังหลวง  ตอนดึกเป็นเวลาว่าราชการ ออกจะเคร่งขรึมเป็นงานเป็นการ
ละครและดนตรีก็ย้ายมาครึกครื้นกันข้างนอก  เพราะไม่ทรงห้ามที่ขุนนางจะฝึกคนให้เล่นดนตรีทำละครกันอยู่ตามบ้าน 

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 28 ก.ค. 07, 13:14

ถ้าหากว่าปักหมุดเวลาจากเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งไม่ได้   ไม่เหมือน "ศึกลาว"ในนิราศเมืองเพชร
ก็ต้องลองปักจากสิ่งก่อสร้าง  เผื่อจะบอกเวลาได้บ้าง

๑)วัดแจ้งแต่งตึกตั้ง            เตียงนอน
เคยปกนกน้อยคอน            คู่พร้อง
เคยลอบตอบสารสมร          สมานสมัคร รักเอย
จำจากพรากนุชน้อง            นกน้อยลอยลมฯ
 
สถานที่ก่อสร้างในบทโคลงนี้ เรียกว่า "ตึก"  มีไว้อยู่อาศัย  เพราะในนั้นบอกว่ามี" เตียงนอน"
น่าจะเป็นตึกแบบจีนและเตียงแบบจีน  ไม่ใช่ตึกฝรั่งและเตียงฝรั่ง  ซึ่งเกินฐานะคนธรรมดาจะอยู่   
ในนี้ก็บอกเสียด้วยว่า ผู้หญิงที่ส่งสารโต้ตอบกันนั้นต้องทำกันอย่างลอบเร้น
จะเป็นหนุ่มสาวลอบรักกัน หรือหลวงพี่กับสีกาอีกล่ะนี่?

หมุดเวลา - วัดแจ้งมีตึกที่สร้างก่ออิฐถือปูนตั้งแต่รัชกาลไหน      เป็นส่วนหนึ่งของวัด หรือเป็นอาคารที่อยู่ติดกัน?
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 28 ก.ค. 07, 13:56

ประโยควัดแจ้งนี่ละครับ เรื่องแปลก
รัชกาลที่ 3 ทรงแปลงเขตสังฆาวาสที่เป็นกุฎีไม้ เป็นตึกทั้งหมด
จัดเป็นคณะอย่างงดงาม โดยใช้แบบอย่าง court house ของจีนมาปรับให้เข้ากับพระบาลี

แต่ใครจะเอานกไปกกในหมู่กุฎีตึกเหล่านี้ได้
ยิ่งถ้านก หมายถึงสาวสักนางและจากตึกนี้เอง ที่กวี
"เคยลอบตอบสารสมร สมานสมัคร รักเอย"

ต้องเดาเอาว่า เป็นตึกไกล้ๆ วัดแจ้ง ซึ่งจะตามหาง่าย เพราะมีหลายหลังตรงริมกำแพงวัด ด้านที่ติดกับวังเดิม
แต่.....
เป็นอาคารของวังเดิม มิใช่ของวัดแจ้ง
ประโยคนี้ทำผมไม่อยากชำระนิราศเรื่องนี้ต่อทีเดียวครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 28 ก.ค. 07, 16:01

วัดแจ้งแต่งตึกตั้ง            เตียงนอน
เคยปกนกน้อยคอน            คู่พร้อง
เคยลอบตอบสารสมร          สมานสมัคร รักเอย
จำจากพรากนุชน้อง            นกน้อยลอยลมฯ
ถ้าหมายถึงว่าเคยเลี้ยงนกคู่หนึ่ง อยู่ในห้องนอนที่ตึกหลังใดหลังหนึ่งในนี้   กับเคยแอบส่งเพลงยาวกับสาวเจ้า ล่ะคะ
มันก็พอปักหมุดเวลาได้ว่า เป็นรัชกาลที่ ๓ ปีใดปีหนึ่ง หลังจากปีที่โปรดเกล้าฯให้สร้างหมู่ตึกในเขตสังฆาวาสเสร็จแล้ว

ก่อนจะปักหมุดเวลาอันที่สองเรื่องวังหลัง  มีข้อตะขิดตะขวงใจว่า กวีที่แต่งนิราศสุพรรณ ถ้าเป็นพระ ก็ไม่สำรวมเรื่องความหลังเสียเลย
เคยวุ่นวายกับผู้หญิงอยู่ตามวัดต่างๆ  ตั้งหลายวัด  วันนี้ก็เล่นซักส้าวกับสาว  วัดนั้นก็ยื้ดยุดฉุดสไบกัน  วันโน้นก็พูดถึงเตียงนอนในวัด ลอบส่งเพลงยาวกับหญิงสาว
เขียนให้คนอื่นๆได้อ่าน น่าจะอาบัติ  แม้ว่าเป็นเรื่องความหลัง ก็ถือว่าไม่เหมาะกับพระสงฆ์จะมา"แฉ" ตัวเอง
บางตอนก็กำกวมเสียด้วย ว่าทำขณะยังเป็นพระอยู่หรือไร
อย่างตอนอยู่ในตึกวัดแจ้ง
แต่ถ้าหากว่าไม่ได้บวช   ก็พูดถึงเรื่องพวกนี้ได้ไม่เป็นไร
เลยสงสัยว่าสุนทรภู่แต่งเรื่องนี้ขณะบวช จริงหรือ

หมุดเวลา อันที่สอง คือ วังหลัง
วังหลังครั้งหนุ่มเหน้า                เจ้าเอย
เคยอยู่ชูชื่นเชย                       ค่ำเช้า
ยามนี้ที่เคยเลย                        ลืมพักตร์ พี่แฮ
ต่างชื่นอื่นแอบเคล้า                   คลาดแคล้วแล้วหนอฯ
และ
สวนหลวงแลสล่างล้วน                   พฤกษา
เคยเสด็จวังหลังมา                         เมื่อน้อย
ข้าหลวงเล่นปิดตา                          ต้องอยู่ โยงเอย
เห็นแต่พลับกับสร้อย                       ซ่อนซุ้มคลุมโปงฯ
ตอนนี้กวีคงยังเด็กอยู่มาก ถึงปะปนอยู่ในหมู่ข้าหลวงสาวๆ ไปเล่นปิดตากับพวกเธอได้   ถ้าเป็นหนุ่มก็ต้องแยกกันอยู่คนละส่วนแล้ว

ผู้ชายที่เคยอยู่ในวัยหนุ่ม สมัยวังหลัง  ต้องเป็นหนุ่มก่อนพ.ศ. ๒๓๔๙  ซึ่งเป็นปีที่กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทิวงคต  หลังจากนั้นก็ไม่มีวังหลังอีก
พระโอรส ๓ องค์ ทรงมีวังของตนเอง   ผู้ที่อยู่ในบริเวณวังหลังก็เป็นเจ้านายฝ่ายหญิงเสียส่วนใหญ่ 
จนถึงรัชกาลที่ ๓เจ้านายวังหลังก็แยกย้ายกันไป  เหลือแต่วังร้างสงัดเงียบตามที่นายมีบรรยายไว้ในนิราศพระแท่นดงรัง 

ถ้ากวีเป็นหนุ่มวังหลังมาก่อน   สมมุติว่าอายุไม่เกิน ๒๐  พอมาถึงพ.ศ. ๒๓๘๔  กวีคนนี้อายุประมาณ ๕๕ ปี   ถ้ามีคู่ตั้งแต่อายุ ๒๐ ลูกชายก็น่าจะอายุ ๓๕ แล้ว
แต่ถ้านิราศสุพรรณแต่งเมื่อพ.ศ. ๒๓๗๔    ลูกชายยังหนุ่มอายุยี่สิบกว่า ๆก็เป็นได้ว่ายังไม่มีสะใภ้   
เรื่องลูกชาย นำไปสู่หมุดเวลาอันที่ ๓
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 28 ก.ค. 07, 18:56

ประโยคที่ยกมานั้น คิดอย่างไม่บัดสีก็น่าจะปาราชิกแล้วละครับ
ถ้าเป็นตึกของวัดแจ้ง ผู้อยู่อาศัย ย่อมเป็นพระ เว้นแต่เป็นข้าพระ
แต่ข้าพระ ก็ไม่น่าจะเก่งกาจถึงแต่งโคลงได้ระดับนี้
ควรจะเป็นคนชั้นสูง ไม่ใช่ระดับคนรับใช้พระ ซึ่งในสมัยนั้น มีฐานะเสมอทาส

เป็นอันว่า กวีเป็นคนมีศักดิ์ที่ได้อยู่ตึกวัดแจ้ง
แล้วกวีก็ลอบส่งสารรักไปหาสาว ...ทั้งในผ้าเหลือง กระนั้นหรือ
แล้วนักปราชญ์ทั้งหลาย ที่อ่านข้อความนี้ ท่านไม่เกิดข้อกังขาหรือ
หรือว่าเห็นเป็นปกติที่ทำได้ จึงไม่มีใครตำหนิอลัชชีที่แต่งนิราศนรกเรื่องนี้
ยกย่องกันอยู่ได้ว่ายอดอย่างโน้นอย่างนี้ มันก็กลอนครูแจ้ง ที่มากลีลาขึ้นมา เท่านั้นเอง
ไม่ใช่งานที่สมควรจะยัดใส่ฝีปากกวีอย่างสุนทรภู่เลย ...ให้ตายเหอะ

กวีที่แต่งเพลงยาวสอนเจ้าฟ้า จะมาว่ากลอนมักมากอย่างนี้
ผมรับประทานมิลงจริงๆ ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 28 ก.ค. 07, 19:35

บรรดาผู้ที่ยกย่องสุนทรภู่  และเชื่อว่านิราศสุพรรณแต่งโดยสุนทรภู่  อ่านค.ห.คุณพิพัฒน์แล้วแห่กันมาพร้อมด้วยไม้หน้าสาม    ดิฉันเห็นจะต้องตัวใครตัวมัน

ย้อนมาอ่านโคลงบทนี้อีกที     ดิฉันตีความว่า "เคยปกนกน้อยคอน  คู่พร้อง" หมายถึงเคยครอบครองนกจริงๆคู่หนึ่ง เลี้ยงไว้บนคอน 
เป็นการตีความแบบเอาใจช่วยกวี   มิฉะนั้นก็ต้องหมายถึงแม่สาวชื่ออะไรที่แปลว่านก   ซึ่งตอนท้ายบินหนีฝ่ายชายไปเสียแล้ว ไม่ได้อยู่กินกันยืนยาว
ทั้งที่ ถ้าหากว่าทำข้อสอบ   จะต้องตีความว่า นก ในนี้หมายถึงผู้หญิง ตอนท้ายหล่อนก็ลอยลมไป   
ซ้ำยังมีคำว่า เตียงนอน มาส่อนัยยะถึงการครองคู่กัน   

วัดแจ้งแต่งตึกตั้ง               เตียงนอน
เคยปกนกน้อยคอน            คู่พร้อง
เคยลอบตอบสารสมร          สมานสมัคร รักเอย
จำจากพรากนุชน้อง            นกน้อยลอยลมฯ

แต่เรื่องลอบเขียนเพลงยาวโต้ตอบเกี้ยวสาว  แปลเป็นอย่างอื่นไม่ได้   
ถ้ากวียังอยู่ในผ้าเหลืองเมื่อกระทำการเช่นนี้   ก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องผิดชนิดเอามาบันทึกให้คนอ่านไม่ได้เลยเชียว
ไม่เชื่อว่ากวีท่านจะทำเช่นนี้
ถ้าทำได้   มีทางเดียว  ตอนมีแฟน  ยังเป็นหนุ่มชาวบ้าน ไม่ใช่พระ  อาศัยอยู่ในวัดเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อหลวงลุง  เล่าเรียนเขียนอ่านอยู่
แล้วแอบกุ๊กกิ๊กกับสาว

ที่ว่าอยู่ในวัด  เพราะมีคำยืนยันให้เห็น
วัดแจ้งแต่งตึกตั้ง...แต่งในที่นี้แปลว่า"ตั้ง" เป็นคำซ้อน      ความหมายเดียวกัน  ปัจจุบันยังเหลือร่องรอยในคำว่า "แต่งตั้ง"
 พูดอีกทีคือวัดแจ้งนั้นตั้งตึกและตั้งเตียงนอน   กล่าวคือทั้งตึกและเตียงอยู่ในวัดแจ้งอย่างไม่มีข้อสงสัย  ไม่ใช่ตึกอื่นๆข้างวัด
แค่โคลงบทเดียว  ดิฉันหลงวนอยู่ในเขาวงกตเป็นนาน      ใครนึกหาคำตอบดีกว่านี้ได้ ก็มาช่วยกันหน่อยนะคะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 28 ก.ค. 07, 20:14

ผมเองเมื่ออ่านงานของสุนทรภู่ ทำได้แค่อ่านเอาเรื่อง อ่านเอารสมิเป็น
เดี๋ยวนี้อ่านหาเรื่อง ทั้งหาเรื่องคนแต่ง และหาเรื่องคนอ่าน

ผมเห็นความผิดแผกดังนี้
เพลงยาวถวายโอวาท แต่งเมื่อ 2374
รำพันพิลาป แต่งเมื่อหลัง 2385
นิราศพระประธม และนิราศภูเขาทอง เชื่อว่าแต่งเมื่อปลายอายุ
ทั้งสี่เรื่องนี้ เนื้อหาเลาความสะอาดหมดจด จะมีเรื่องสาวเรื่องส่อนัยยะทางกุ๊กกิ๊ก ก็เปี่ยมรสนิยม

นิราศสุพรรณนี้ของใครไม่รู้ แต่ทราม ทั้งเรื่องอวดแต่ว่า ฉันผ่านผู้หญิงมาเท่าไร
นิราศเมืองเพชร ไม่ถึงกับทราม แต่รสนิยมค่อนไปทางผู้ชายมักมาก
นิราศเมืองแกลงและนิราศพระบาทนั้น ผมตัดออกจากชีวิตท่านสุนทรไปเลย ไม่ใช่งานของท่าน
แต่ก็ยังสะอาด ไม่ทราม

เนื้อความของสี่เรื่องข้างต้น ลุ่มลึก มีสำเนียงที่จำเพาะ ใช้คำที่แสดงความหมายใหญ่โตโอฬารทั้งสิ้น
ไม่ได้ใช้คำสะคันสะเล็กสะน้อยน่ารำคาญ

ฝีปากสุนทรภู่ ท่อนนี้เหมือนราชสีห์สั่งถ้ำ สมกับเป็นกวีหลวง
โอ้อาวาสราชบุรณะพระวิหาร     แต่นี้นานนับทิวาจะมาเห็น
เหลือรำลึกนึกน่าน้ำตากระเด็น    เพราะขุกเข็ญคนพาลมารานทาง
จะยกหยิบธิบดีเป็นที่ตั้ง          ก็ใช้ถังแทนสัดเห็นขัดขวาง
จึ่งจำลาอาวาสนิราศร้าง        มาอ้างว้างวิญญาณ์ในสาครฯ(นิราศภูเขาทอง)

ท่อนนี้เนื้อความเข้มข้น แม้จะเป็นคำรัก
ในอากาศกลาดเกลื่อนด้วยเดือนดาว     เป็นลมว่าวเฉื่อยฉิวหวิวหวัวใจ
โอ้บางกอกกอกเลือดให้เหือดโรค        แต่ความโศกนี้จะกอกออกที่ไหน
แม้นได้แก้วแววตามายาใจ              แล้วก็ไม่พักกอกดอกจริงจริง(นิราศพระประธม)

ท่อนนี้บอกลาเจ้านาย โอ่อ่าห้าวหาญ
พระมีคุณอุ่นอกเมื่อตกยาก              ถึงตัวจากแต่จิตสนิทสนอม
จะจำไปไพรพนมด้วยตรมตรอม       ทูลกระหม่อมเหมือนแก้วแววนัยนา
พระองค์น้อยเนตรซ้ายไม่หมายร้าง  พระองค์กลางอยู่เกศเหมือนเนตรขวา
ความรักใคร่ไม่ลืมปลื้มวิญญาณ์       ได้พึ่งพาพบเห็นค่อยเย็นทรวง (เพลงยาวฯ)

พระอภัยมณียังไม่ได้อ่านครับ

เห็นว่า ความที่ยกมา ใหญ่โตเกินกว่ากวีกะป๊อกล๊อกที่แต่งนิราศสุพรรณจะแต่งได้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ก.ค. 07, 20:48 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 28 ก.ค. 07, 20:37

กวีกะป๊อกล๊อกที่คุณพิพัฒน์เรียก  มิใช่กวีเล็กน้อย  แต่เป็นกวีหลวง  ลองอ่านตรงนี้ดูซิคะ

ยลฉนวนหวนนึกน้ำ                  เนตรนอง
พระธินั่งบัลลังก์ทอง                  ที่เฝ้า
ชำระพระนิพนธ์สนอง                เสด็จสนิท ชิดเอย
สิ้นแผ่นดินปกเกล้า                   กลับร้างห่างฉนวนฯ
 
(๑๓) ๏ แบ่งบุญสุนทรเชื้อ          ชินวงศ์
สืบสร้างทางพุทธพงศ์                ผ่องแผ้ว
ถวายพระหริรักษ์ทรง                  สารพิเศษ เศวตเอย
ลุโลกโมฆเมืองแก้ว                   กิจร้ายหายสูญฯ
 
(๑๔) ๏ อีกองค์มงกุฎเกล้า         เชากรุง
สืบกษัตรย์ขัตติย์บำรุง                รอบแคว้น
ถวายพระอนิสงส์ผดุง                 พระเดชเฟื่อง กระเดื่องเอย
สิ่งโศกโรคเรื่องแค้น                   ขจัดพ่ายวายเขนฯ

กวีนิราศสุพรรณ เคยใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดิน   ไม่แพ้กวีนิราศภูเขาทองเชียวนะคะ  จะว่ากิ๊กก๊อกได้ยังไง

ถึงหน้าแพแลเห็นเรือที่นั่ง            คิดถึงครั้งก่อนมาน้ำตาไหล
เคยหมอบรับกับพระจมื่นไวย        แล้วลงในเรือที่นั่งบัลลังก์ทอง
เคยทรงแต่งแปลงบทพจนารถ      เคยรับราชโองการอ่านฉลอง
จนกฐินสิ้นแม่น้ำแลลำคลอง         มิได้ข้องเคืองขัดหัทยา
เคยหมอบใกล้ได้กลิ่นสุคนธ์ตลบ    ละอองอบรสรื่นชื่นนาสา
สิ้นแผ่นดินสิ้นรสสุคนธา               วาสนาเราก็สิ้นเหมือนกลิ่นสุคนธ์ฯ

คำรำพันสอดคล้องไปทางเดียวกันเลย คือเคยใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อนที่โปรดกวีนิพนธ์  ขนาดตัวเองเคยไปช่วยอ่านช่วยชำระบทกวี
แต่พอสิ้นแผ่นดิน  วาสนาทางด้านนี้ก็หมดไป
ถ้าเป็นคนละคนละก็...นับว่าบังเอิญมาก  เหมือนกันจริงๆในด้านอาชีพการทำงาน ชะตาตกเมื่อสิ้นแผ่นดินเหมือนกันด้วย
ถ้าจะบอกว่านิราศสุพรรณแต่งไม่เพราะอย่างนิราศกลอน   ก็มีเหตุผลอย่างสมเด็จกรมดำรงฯ วิจารณ์ไว้ว่า สุนทรภู่แต่งโคลงไม่เก่งเท่ากลอน
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 28 ก.ค. 07, 21:26

แปลตรงนี้ไม่ออกครับ
๏ อีกองค์มงกุฎเกล้า         เขากรุง
สืบกษัตรย์ขัตติย์บำรุง        รอบแคว้น
มีกษัตริย์ที่มิใช่เชากรุงด้วยหรือ...แล้วเขาเอามายกย่องกันด้วยหรือ
แล้วสุนทรภู่ต้องแต่งโคลงเลียนแบบตัวเองด้วยหรือ

กลัวจะเป็นกวีอิหลุกขุกขุย อ่านนิราศภูเขาทองแล้วปลอมความอ่ะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 28 ก.ค. 07, 22:07

อีกองค์มงกุฎเกล้า              เชากรุง
สืบกษัตรย์ขัตติย์บำรุง        รอบแคว้น
 
หมายถึงพระเจ้าอยู่หัวของชาวกรุง(เทพ) ค่ะ  คล้ายๆเราพูดว่า ในหลวงของชาวไทย

ก็ถ้าสุนทรภู่เท้าความถึงประวัติของตัวเอง เวลาผ่านสถานที่ที่เตือนใจ   คนเดียว  ประวัติมีอยู่ประวัติเดียว  ก็ต้องเอ่ยเหมือนกันทุกครั้งสิคะ

สุนทรภู่เคยเอ่ยถึงพระเจ้าแผ่นดินที่ท่านจงรักภักดีมาก คือรัชกาลที่ ๒ ในรำพันพิลาปว่า
สุนทราอาลักษณ์เจ้าจักรพาฬ        พระทรงสารศรีเศวตเกศกุญชร
ในนิราศสุพรรณ ก็ใช้คำนี้เหมือนกัน คือพระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงมีช้างเผือก ในรัชกาลที่ ๒ มีช้างเผือกถึง ๓ ช้าง   ถือเป็นคู่บุญที่ใช้สรรเสริญพระเกียรติยศ
ถวายพระหริรักษ์ทรง                  สารพิเศษ เศวตเอย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 19 คำสั่ง