เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 68749 นิราศสุพรรณ
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 10 ส.ค. 07, 09:23

ตาม มา อ่าน ครั้ง ที่ หนึ่ง ทึ่ง สะ บัด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 10 ส.ค. 07, 09:24

มาต้อนรับคุณกุ้งแห้งเยอรมันค่ะ  ยิ้มกว้างๆ



บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 10 ส.ค. 07, 10:59

ยินดีต้อนรับคุณกุ้งฯกลับมาอีกครั้งครับ  ยิงฟันยิ้ม

เรื่องสุนทรภู่บวชยาว ๑๘ ปี เข้าใจว่าคุณ pipat จะตีความจากรำพันพิลาปนะครับ

แต่ในรำพันพิลาปเขียนว่า
จะสึกหาลาพระอธิษฐาน            โดยกันดารเดือดร้อนสุดผ่อนผัน
พอพวกพระอภัยมณีศรีสุวรรณ      เธอช่วยกันแก้ร้อนค่อยหย่อนเย็น


ทีนี้ก็ยุ่งล่ะสิครับ เพราะถ้าพระอภัยมณีมาแต่งเอาหลังสมัยร.๔ อย่างน้อยปีขาลสงสารวัดต้องขยับไปอีกหนึ่งรอบ ซึ่งก็ยังไม่ทันบาวริ่งอยู่ดี แต่ใจผมไม่ถึงพอจะขยับไปอีกหนึ่งรอบครับ

เพราะแค่นี้ ขรัวตาภู่ก็ต้องบวชยาวถึง ๓๐ ปีแล้วครับ  ตกใจ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 10 ส.ค. 07, 11:20

สะดุด หยุดกึก

การเอ่ยถึงพระอภัยมณีศรีสุวรรณในรำพันพิลาป  เป็นหมุดเวลาว่าเมื่อแต่งเรื่องรำพันพิลาป   เนื้อเรื่องพระอภัยมณีศรีสุวรรณเกิดขึ้นมาแล้ว 
ไม่ใช่แค่คิดชื่อตัวละครไว้เฉยๆ แล้วอีก ๕-๖ ปีค่อยแต่ง
หรือถ้าจะยืนยันให้ได้ว่า สนามหน้าจักรวรรดิที่หัดพล เป็นฉากสมัยรัชกาลที่ ๔   ก็ต้องถือว่า พระอภัยมณีตอนต้นมากๆ แต่งในรัชกาลที่ ๓    ตั้งแต่พระอภัยไปเรียนวิชาปี่  ถูกพ่อไล่ออกจากเมือง เดินทางมากับน้องชายไม่ทันไรก็ถูกนางผีเสื้อลักตัวไป  กินเนื้อที่ไม่กี่หน้า จบตอนแค่นั้น

แล้วหยุดไปหลายปี 

ก่อนจะมาเริ่มใหม่ ว่าศรีสุวรรณตามหาพี่ชายที่หายตัวไป   เข้ากรุงรมจักรมาเจอกรุงทันสมัยหน้าตาเหมือนกรุงเทพสมัยร. ๔
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 10 ส.ค. 07, 13:10

กวีมาถึงบ้านกระตั้ว   โคลงแถวนี้มีคำว่า "เชา" หลายคำที่ใช้แทน" ชาว" ค่ะคุณอาชา
บทนี้ ฝากคุณ Bana ช่วยอ่านด้วย   ในหนังสือไม่ได้บอกว่าเป็นกลบทชนิดไหน  แต่ลักษณะเป็นโคลงกลบทแน่ 
แต่งยากด้วย เพราะบังคับเอกโทแบบโคลงแล้วยังบังคับเสียงวรรณยุกต์เพิ่มขึ้นมา กับบังคับอักษรด้วย

เสียงซออออ่ออ้อ                            เอื่อยเพลง
จับปี่เตร๋งเต้งเตง                             เต่งต้อง
คลุยตรุ๋ยตรุ่ยตรุ้ยเหนง                      เหน่งเน่ง ระนาดแฮ
ฆ้องหน่องหนองน่องหน้อง                ผรึ่งพรึ้งพรึ่งตะโพนฯ
 
นิราศสุพรรณ มีโคลงกลบทแทรกอยู่ทั่วไป   โคลงกลบทพวกนี้ พอจะบอกร่องรอยอะไรเราได้บ้าง
๑) คนแต่งนิราศสุพรรณ ไม่ใช่กวีหัดใหม่ เริ่มริอ่านแต่งโคลง
มือใหม่แต่งโคลง  แค่เอกเจ็ดโทสี่ก็นับวรรณยุกต์เหนื่อยพอแล้ว    ไม่หาญไปแต่งกลบทให้เหนื่อยยากหนักขึ้นอีก   
๒) คนที่แต่งโคลงกลบท  คือคนที่ช่ำชองกับพื้นฐานการแต่งโคลง  จนเกิดความมั่นใจจะแสดงฝีมือ   พลิกแพลงแต่งสิ่งที่ยากขึ้นอีก  เพื่อให้เหนือกว่านิราศโคลงธรรมดาทั่วไป
๓)  คนที่มีคุณสมบัติสองอย่างข้างบนนี้ น่าจะเป็นครูอยู่ด้วย   นอกเหนือจากนักเลงกลอน หรือนักเลงโคลง
แต่งเพื่อให้ลูกศิษย์เห็นฝีมือ    เพราะโคลงกลบทหลายบท มีลักษณะเหมือนแบบอย่างการสอนวิธีแต่ง  อย่างโคลงข้างบนนี้ 
๔) กวีท่านนี้ น่าจะมี"หู" ที่ไวต่อมโหรีปี่พาทย์   สามารถเอาเสียงเครื่องดนตรีมาเล่นวรรณยุกต์ไล่เป็นเสียงคำประพันธ์ได้เก๋มาก  ข้อนี้อาจจะสะท้อนไปถึงสภาพแวดล้อมและอดีตของท่านด้วย
จำได้ไหมคะ ในนิราศเมืองเพชร  สิ่งที่กวีจำได้เกี่ยวกับขุนแพ่งคนเก่าหรืออะไร? คือวงปี่พาทย์ที่ไปฟังที่บ้านขุนแพ่ง     ไม่ยักจำอย่างอื่นอย่างที่คนทั่วไปอาจจะจำกันได้มากกว่า  เช่นจำเรื่องข้าวปลาอาหาร  จำความสุขสบายของที่พัก   หรือจำคนใหญ่คนโตที่ไปมาหาสู่
ถ้าเป็นสมัยนี้ท่านคงมีห้องฟังเพลง เป็นส่วนตัว 
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 10 ส.ค. 07, 15:00

ผมปักหมุดช่วงออกแม่น้ำท่าจีนไปได้เกิน 90% แล้วครับ ยังติดอยู่หลายชื่อเหมือนกัน เพราะดูเหมือนจะหายสาบสูญเหมือนบางหมาบ้า

บ้านกระตั้วนี่ก็เป็นชื่อหนึ่งที่ไม่รู้ตำแหน่งแน่นอนครับ

ตอนปักหมุดนี่เจออะไรแปลกๆบางจุด เพราะมีการเอ่ยชื่อสถานที่สลับกัน เป็นไปได้ ๒ อย่างคือ
- คัดลอกมาไม่ถูกต้อง หรือ
- กวีจำผิดเพราะไม่ได้เขียนในระหว่างการเดินทาง

หรืออาจจะทั้งสองอย่างประกอบกันครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 10 ส.ค. 07, 15:13

ตอบคุณเครซี่ว่า ท่านแต่งรำพันพิลาป หลังแต่งพระอภัยมณีเสียอีก

มุมมองของอาจารย์ ทำให้ผมตาสว่าง มองเห็นไปว่า
กวีคนนี้ เก่งโคลงมาก่อน เก่งมากๆ ด้วย คราวนี้ ลองเล่นโคลงแบบมีสัมผัสในของเพื่อนกวี ที่ชื่อสุนทรภู่
มิใช่สุนทรภู่ เอากลอนแปด ไปแต่งเป็นโคลง
กระทำให้ตาสว่างขึ้นเป็นอันมาก

เรื่องหนูพัดนั้น ผมไม่คิดครับ เพราะเชื่อว่าเป็นคนละคน
พัด-นิล นี่ลูกบ้านหนึ่ง
พัด-ตาบ นี่อีกครอกหนึ่ง

ใครมีนิราศนายตาบบ้างเอ่ย ถึงเวลาต้องหยิบมาใช้แล้วครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 10 ส.ค. 07, 15:33

คุณพิพัฒน์คะ
โคลงที่มีสัมผัสในแบบกลอน  เป็นโคลงกลบทชนิดหนึ่งค่ะ   แต่ดิฉันจำไม่ได้ว่าชื่ออะไร
เป็นได้ว่าโคลงนิราศสุพรรณ มีโคลงกลบทชนิดนี้ยืนพื้น     และกวีเสริมกลบทชนิดอื่นๆที่ยากกว่านี้  แทรกเป็นระยะ
แสดงฝีมือของผู้ที่น่าจะรู้จักโคลงเป็นอย่างดี

แม้แต่การใส่เอกโทษโทโทษเต็มไปหมด  ก็อาจเป็นความจงใจของผู้แต่งได้เหมือนกัน    ไม่ใช่ว่าหาคำไม่ได้
เพราะคนที่เก่งกระทั่งโคลงกลบท    ไม่น่าจะจนปัญญาเรื่องหาคำมาใส่ให้ถูกวรรณยุกต์
ความยาวของนิราศสุพรรณ ถึง ๔๖๒ บทโคลง  เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เชื่อว่า กวีผู้แต่งไม่ได้จนถ้อยคำในการแต่งโคลง
คนเรา ไม่ว่าแต่งคำประพันธ์ประเภทไหนก็ตาม  ถ้าหากว่าหัดแต่ง กึกๆกักๆ ลำบากใจเพราะไม่ถนัดละก็    จะแต่งยาวไม่ได้
แต่งได้ไม่เท่าไร  ก็รวบรัดจบแล้ว  ความไม่ถนัดทำให้สร้างใหญ่ไม่ได้   มือไม่ถึง

ลองนึกถึงศิลปินในสาขาอื่นๆ   ถ้าเริ่มลงมือทำอะไรใหม่เป็นครั้งแรก  มีหรือจะกล้าขึงเฟรมใหญ่เท่าผนังโบสถ์    กล้าแต่งมหาอุปรากร   เพราะงานศิลปะใหญ่เท่าไร ก็ยิ่งลำบากในการสร้างสรรค์  และมีช่องทางให้เห็นรอยตำหนิชัดขึ้นเท่านั้น
ท่านกวีของเราไม่ได้กลัวเรื่องนี้เลย   อยากแต่งกลบทก็แต่ง  อยากเล่าอะไรก็เล่า บรรยายเรื่องก็สารพัดอย่าง ระหว่างเดินทาง ไม่ได้จนเรื่องที่จะเล่า หรือจนคำที่จะเอามาแต่ง  รวมเข้าไปถึง ๔๖๒ บท
สรุปว่าดิฉันเชื่อว่านิราศสุพรรณ ไม่ใช่มือใหม่หัดแต่งแน่นอน   
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 10 ส.ค. 07, 15:49

ผมอ่านโคลงนิราศสุพรรณแล้วลงความเห็นว่า

เป็นโคลง "ทาง" ใหม่ที่สร้างโดยกวีที่ชื่นชมกลอนแปดแบบสุนทรภู่ (จะเป็นคนเดียวกัยหรือไม่ก็ไม่ทราบ)

และถึงแม้ของเก่าจะมีโคลงกลบทแบบนี้อยู่แล้ว แต่ลงรายละเอียดแล้วก็ยังไม่ใช่อยู่ดีครับ นี่ไม่ใช่โคลงในอุดมคติที่เขียนกันมาแต่ก่อนเก่าครับ มีเอกเจ็ดโทสี่เหมือนกัน บังคับคำสุภาพเหมือนกัน ใช้คำสร้อยตามตำราเป๊ะ แต่เสียงโคลงไม่เหมือนเดิมครับ

โคลงนิราศสุพรรณคือโคลงที่เขียนตามอุดมคติที่ออกแบบไว้อย่างดี เช่นเดียวกับกลอนแปดแบบสุนทรภู่ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 10 ส.ค. 07, 18:38

บทนี้ คุณอาชาผยองเห็นว่าเป็นกลบทไหมคะ

๒๕๐) ๏ บ่วงผูกลูกรักแล้ว               แร้วราย
ดักพ่อท้อที่กาย                              แก่แล้ว
ห่อนอยู่สู้สมรหมาย                         มัติโมฆ โอขเอย
แต่เหล่าเจ้าลูกแก้ว                         ก่อร้อนสอนแสลงฯ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 10 ส.ค. 07, 22:36

หากยึดตามตำราเก่า ดูเฉพาะบทนี้เป็นกลบทซ้อนกันอยู่
๑.กลบทสีหติกำกาม (XX คือคู่สัมผัสสระ)
OXXOO  OO
OXXOO  OO
OXXOO  OO
OXXOO  OOOO
ซึ่งบทนี้ขยายของเดิมออกเป็น
OXXOO  OO
OXXOO  OO
OXXOO  OX XO
OXXOO  OXXO

๒.กลบทโตเล่นหาง (XX คือคู่สัมผัสอักษร)
OOOOX  XO
OOOOX  XO
OOOOX  XO
OOOOX  XOOO
โคลงบทที่อาจารย์ยกมาตกเกณฑ์กลบทนี้เฉพาะที่บาทแรก ใช้สัมผัสสระแทนสัมผัสอักษร และนี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ หรือตกแบบ

เพราะโคลงบทนี้เป็นตัวอย่างที่ดีมาก คือโคลงแบบอุดมคติของนิราศสุพรรณครับ เห็นได้ชัดเจนว่ากวีแต่งโดยยึดแบบแผนนี้ไว้เป็นหลัก น่าจะเกินครึ่งที่สามารถยึดแบบแผนเดียวกับโคลงบทนี้ได้แบบเป๊ะๆ

เป็นไปไม่ได้เลยว่าจะเป็นความบังเอิญ ต้องมีการกำหนดแบบแผนก่อนแต่งอย่างแน่นอน โตเล่นหางนั้นไม่แปลก ถ้าจะแปลกเล็กน้อยก็ตรงสัมผัสสระบาทแรกอย่างที่ผมตั้งข้อสังเกตไว้แล้ว แต่สีหติกำกามนั้นไม่ได้เป็นรูปแบบที่นิยมของนักโคลง ไม่ค่อยมีใครเล่นกันเพราะจำกัดเสียงโคลงให้เป็น 2-3-2 ทุกบาท ดิ้นไม่ได้ แถมยังไปเล่นตรงวรรคท้ายบาทสามสี่เพิ่มเข้าไปอีก ในสายตากวีผู้รจนานิราศสุพรรณ นี่คงเป็นความสมบูรณ์แบบ เป็นความงามที่ต้องใจแล้ว

สาระสำคัญของฉันทลักษณ์ที่ีใช้ในโคลงนิราศสุพรรณนี้ ตรงกันเป๊ะกับแบบกลอนสุนทรภู่ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 10 ส.ค. 07, 23:43

อิอิ......อ่านแล้วครับชอบมาก  แต่โคลงสามบทที่ท่านอาจารย์ยกมา  ได้ถามผู้พอรู้ที่นอนข้างๆผมได้อธิบายว่าโคลงของท่านกวีมีลักษณะพิเศษไม่เหมือนใคร  จะเอาให้ตรงกลบทใดเป๊ะๆยากครับ  มีบ้างบางบท
ครับอย่างที่คุณ CH ว่าไว้ใช้สัมผัสสระแทนสัมผัสอักษรในบาทแรก  แล้วโดยรวมก็สัมผัสระหว่างวรรคคล้ายสินธุมาลี  แบบคล้ายโคลงโบราณบ้างประเภทไม่ยึดติดแบบแผนแบบโคลงในชั้นหลังๆ  สัมผัสอักษรก็คล้ายสิงโตเล่นหาง  เอาเป็นว่าน่าจะเรียกว่าเป็นกลบทแบบท่านโดยเฉพาะ   เรื่องสัมผัสในแพรวพราวมากกว่าโคลงไหนๆของใคร

แล้วบทนี้ล่ะครับ  กลบทอะไร

บูราณท่านว่าน้ำ                   สำคัน
ป่าต้นคนสุพรรณ                  ผ่องแผ้ว
แดนดินถิ่นที่สูพรรณ             ธรรมชาด มาศเอย
ผิวจึ่งเกลี้ยงเสียงแจ้ว            แจ่มน้ำคำสนองฯ

(ช้าง)ป่าต้นคนสุพรรณ          ผ่องแผ้ว  ............. ยิ้ม


 
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 10 ส.ค. 07, 23:57

โคลงนิราศสุพรรณ พื้นฐานคือโคลงสี่สุภาพหรือมหาสินธุมาลีนั่นเอง ถ้าเป็นสินธุมาลีก็ตัดสองคำท้ายบาทสุดท้ายออกเท่านั้นเอง

โคลงบทที่คุณบานะยกมา ถ้ายึดตามตำรา ก็ไม่เข้าเกณฑ์กลบทใดเลย

ถ้าพิจารณาโดยยึดรูปแบบโคลงอุดมคตินิราศสุพรรณอย่างที่ผมยกมาไว้ข้างต้น จะมีที่หลุดกรอบไปดังนี้ครับ
- ตกสัมผัสอักษรระหว่างวรรคบาทสาม
- สัมผัสอักษรคำที่สอง-สามบาทสี่ขยับไปอยู่คำที่สาม-สี่ครับ
นอกนั้นตรงเป๊ะ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 11 ส.ค. 07, 08:30

ดิฉันคิดไว้ ๒ ทาง
๑)บางทีกวีผู้แต่ง อาจจะมีแบบแผนกลบทชื่อต่างๆที่เราคนรุ่นหลังไม่รู้จัก เป็นแนวทางการแต่ง    อย่างในบทที่ดิฉันยกมา   
๒) สร้างกลบทขึ้นมาเองตามใจรัก    ไม่ได้เข้าลักษณะกลบทแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ
คือมีกลบทบางอย่างยืนพื้นอยู่ แล้วแต่งเติมเพิ่มคำบังคับเข้าไปเอง   เป็นการเล่นฝีมือ

ขอขยายความข้อ  ๒
กวีท่านนี้ เริ่มแต่งโดยใช้โคลงสี่สุภาพเป็นฐานยืนพื้น    โคลงสี่สุภาพเราก็ทราบกันว่าเป็นพระราชนิยมในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ตั้งแต่อยุธยาตอนปลายมาก่อน   ท่านทรงแต่งโคลงสี่สุภาพอย่างผู้ชำนาญทีเดียว
นายนรินทร์ธิเบศร์ ซึ่งเป็นคนร่วมสมัยกับกวีผู้นี้ หรือถ้ายุคก่อนก็ไม่มากนัก   อาจจะยังทันเห็นกันก็ได้      ก็แต่งโคลงสี่สุภาพได้ไพเราะมาก
แต่นายนรินทร์ธิเบศร์ไม่เล่นกลบทในนิราศนรินทร์    เล่นแต่ถ้อยคำสง่างามโอฬาร บอกบ่งความเป็นชาวราชสำนัก
นิราศนรินทร์น่าจะเป็นที่รู้กันในหมู่กวีร่วมสมัย เพราะนายนรินทร์ฯท่านไม่ได้แต่งเก็บไว้เฉยๆ  แต่แต่งให้บรรดากวีและผู้รู้หนังสือได้อ่านกันในวงกว้าง    ท้าเสียด้วยว่าให้วิจารณ์ได้ 
ฝีปากของนายนรินทร์ธิเบศร์นั้น เหนือพระยาตรัง   ผู้ซึ่งเป็นกวีฝีมือดีคนหนึ่ง  แต่บังเอิญเป็นเสือที่มายุคใกล้ๆราชสีห์  เลยอับแสงลงไป   ต่อให้พระยาตรังไม่ไปเลือกโคลงดั้นซึ่งเสียงห้วนและสัมผัสน้อย ไม่กลมกลื่นรื่นหู  แต่แต่งโคลงสี่สุภาพแบบเดียวกัน  ฝีปากพระยาตรังก็ยังสู้นายนรินทร์ธิเบศร์ไม่ได้อยู่ดี
ถ้าหากว่ามีกวีอีกสักคนที่ทะนงตนว่า ฉันก็หนึ่งในแผ่นดินเหมือนกัน   จะเลือกแต่งโคลงนิราศ  จะไม่คิด "ลีลา" (หรือที่คุณอาชาฯเรียกว่า"ทาง") ของตัวเองขึ้นมาบ้างเลยละหรือ
ดีกว่าไปแต่งตามรอยนายนรินทร์ธิเบศร์  ซึ่งเอารอยของศรีปราชญ์มาสร้าง"ทาง" ตัวเองจนยอดเยี่ยมถึงที่สุดแล้ว
ดังนั้น อะไรที่ไม่มีในนิราศนรินทร์  นิราศสุพรรณก็มี   เพื่อแสดงฝีมือกวีแบบเป็นตัวของตัวเอง
อย่างกลบท  คือคำตอบ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 11 ส.ค. 07, 08:46

กวีนิราศสุพรรณ เอาโคลงสี่สุภาพเป็นหลักยืนพื้น  นี่ของตายอยู่แล้วเพราะสมัยรัตนโกสินทร์ โคลงดั้นกลายเป็นของเก่าเกินกาลเวลา   ไม่ไพเราะไปแล้วสำหรับหูที่ชื่นชมโคลงสี่สุภาพ

จากโคลงสี่สุภาพ กวีเจ้าของนิราศ ชินกับการใช้สัมผัสใน  คิดได้คล่องแทบว่าจะเป็นลมหายใจอัตโนมัติ   โคลงสี่แต่ละบท จึงกลายเป็นโคลง"กลบทสีหติกำกาม"  อย่างไม่ยากเย็น
จากโคลง"กลบทสีหติกำกาม"   เพิ่มสัมผัส เพิ่มลูกเล่นพลิกแพลงเข้าไปในบางบทที่อยากแต่งแทรกขึ้นมา
ก็กลายเป็นกลบทอีกแบบหนึ่ง อาจจะมีแบบแผนมาก่อน หรือว่าท่านคิดผสมสองสามอย่างขึ้นมาเอง ก็เป็นได้
เพราะคนชำนาญเสียอย่าง วิธีการจะเกิดขึ้นในสมองเองเมื่อแต่งไปหลายๆบทเข้า  แต่คนที่คิดยังงี้ได้ ไม่ใช่หัดแต่งโคลงแน่นอน  ต้องแต่งเป็นและแต่งเก่งมาแล้ว

เราคนอ่าน ก็ตามรอยได้แค่มองเห็นการต่อเติมวิธีแต่งอย่างมีขั้นตอน
เหมือนการผูกลายพื้นฐาน แล้วค่อยๆเติมลายเข้าไป จากแกะสลักชั้นเดียว ก็ลึกเข้าไปเป็นสองชั้นสามชั้น
เหมือนการขยายเพลงไทยเดิม จากชั้นเดียว เป็นสองชั้น แล้วก็สามชั้น
แต่ยังไงเสียคนนั้นต้องเก่งแกะสลัก หรือเก่งในการแต่งเพลงไทยเดิม มาก่อน

เพราะฉะนั้น กราบบังคมขอประทานอภัย  สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ  ที่จะต้องมองแตกต่างกันจากท่าน ที่ทรงสันนิษฐานไว้ว่า
"โคลงของสุนทรภู่มีปรากฏอยู่เรื่องเดียวเท่านั้น   ทำนองเมื่อบวชอยู่วัดพระเชตุพน จะถูกปรามาทว่าแต่งเป็นแต่กลอนเพลงยาว 
จึงแต่งกาพย์คำเทียบเรื่องพระไชยสุริยา  และแต่งโคลงนิราศสุพรรณ  พิสูจน์ให้ผู้อื่นเห็นว่าถ้าจะแต่งโคลงกาพย์ก็แต่งได้   แต่ที่แท้นั้นสุนทรภู่รู้ตัวทีเดียวว่า  ถึงแต่งก็ไม่ถนัดเหมือนกลอนเพลงยาว"

ข้อนี้ขอค้านว่า กวีนิราศสุพรรณ(ไม่ว่าจะเป็นสุนทรภู่หรือไม่ก็ตาม) เป็นผู้แต่งโคลงอย่างตั้งใจจะบอกทีเดียวว่า ฉันชำนาญการแต่ง  และสนุกในการพลิกแพลงแต่งหลายๆแบบด้วย
แต่ถ้าถามว่า ถ้าแต่งเก่ง  แล้วทำไมไม่แต่งโคลงหลายๆเรื่อง  แต่งทำไมเรื่องเดียว
คำตอบนั้น สันนิษฐานลูกเดียว เพราะไม่มีหลักฐานให้ยืนยัน
๑) จนทุกวันนี้  อย่าว่าแต่สุนทรภู่เลย    เราเองก็ยังไม่รู้อะไรหลายๆอย่างเกี่ยวกับกวีเมื่อ ๒๐๐ ปีก่อนอีกหลายคน  เช่นทำไมนายนรินทร์ธิเบศร์แต่งนิราศอยู่เรื่องเดียว  ทั้งๆยอดเยี่ยมออกปานนั้น   
งานของท่านอาจจะหายสูญไป  ไม่มีใครเก็บไว้  หรือตายไปเสียก่อนแต่ยังหนุ่ม   มีคำถามสารพัดที่ไม่มีคำตอบ

๒) จนทุกวันนี้  เรายังหาหลักฐานผลงานของสุนทรภู่ไม่ครบเลยค่ะ  รู้ว่ามีอยู่เรื่องหนึ่งที่หายสาบสูญไป เพราะเจ้าตัวระบุชื่อไว้  แต่ที่ไม่ระบุไว้มีนิราศอีกกี่เรื่องก็ไม่ทราบ

๓) เป็นไปได้อีกข้อ คือกลอนของสุนทรภู่เป็นที่นิยมมากกว่า  ตอนหลังๆเมื่อท่านแต่งพระอภัยมณี ก็โด่งดังมีคนนิยมมาก รวมทั้งเจ้านาย
ที่ว่า เขมรลาวลือเลื่องถึงเมืองนคร  คือเหตุผลข้อนี้    เบสเซลเลอร์ของท่านคือกลอน
การแต่งโคลงซึ่งเอามาแต่งนิทานไม่ได้ หรือได้ก็ขลุกขลักเพราะถ้อยคำจำกัดมาก  ก็เลยถูกวางไปโดยปริยาย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.083 วินาที กับ 19 คำสั่ง