เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 22033 อยากทราบว่า พระยศพระวรวงศ์เธอ กับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ มีความแตกต่างกับอย่างไรครับ
รักไทย
อสุรผัด
*
ตอบ: 29

มรภ.จันทรเกษม


 เมื่อ 21 ก.ค. 07, 14:36

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 22 ก.ค. 07, 20:42

ทั้งพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า (โดยพระสกุลยศ) เป็นพระอิสริยยศสำหรับเจ้านายชั้นพระราชนัดดา (หลานปู่) ของพระมหากษัตริย์ครับ

แต่

๑. พระเจ้าวรวงศ์เธอ นั้น มี พระบิดาเป็น "เจ้าฟ้า" และพระมารดาเป็น "พระองค์เจ้า" หรือ "หม่อมเจ้า" เช่น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระโอรสใน สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตมงคล

๒. พระวรวงศ์เธอ นั้น

๒.๑ มี พระบิดาเป็น "เจ้าฟ้า" และพระมารดาเป็น "สามัญชน" แต่กรณีนี้ไม่ใช่กรณีทั่วไป (กรณีทั่วไป พระโอรสธิดาของเจ้าฟ้ากับสามัญชน ต้องเป็น "หม่อมเจ้า") หากแต่เป็นกรณีที่มีพระบรมราชโองการประกาศยกไว้เป็นการเฉพาะ เช่น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ พระโอรสใน สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับหม่อมสมพันธ์ บริพัตร ณ อยุธยา

หรือ

๒.๒ มี พระบิดาเป็น "พระองค์เจ้าชั้นพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์" และพระมารดาเป็น "พระองค์เจ้า" เช่น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร พระธิดาใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน กับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธินฤมล

บันทึกการเข้า
pg.pong
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 11 ก.ย. 07, 14:02

พระราชประวัติของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาล ปัจจุบัน กับรัชกาลที่ 8
รัชกาลที่ 8 ทรงพระเยาว์  มีฐานัดรศักดิ์ หม่อมเจ้า ทรงเลื่อนเป็น พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า
รัชกาลที่ 9 ทรงพระเยาว์ มีฐานันดรศักดิ์ พระวงศ์เธอพระองค์เจ้า เพราะทรงประสูต หลังมีพระบรมราชโองกาลแต่งตั้ง  เป็น พระองค์เจ้า ข้าราชบริพารเรียกว่า พระองค์เจ้าตั้ง เพราะทรงได้รับแต่งตั้ง ครับ
 
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 11 ก.ย. 07, 17:18

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ว่า

"อิสริยยศชั้นรองต่างกรมลงมาเป็นพระองค์เจ้าเรียกกันว่า 'พระองค์เจ้าตั้ง'  คือทรงสถาปนาหม่อมเจ้าขึ้นเป็นพระองค์เจ้า  และอาจเลื่อนขึ้นเป็นกรมหมื่น กรมขุน และกรมหลวงเป็นที่สุด"

และทรงระบุไว้ด้วยว่า "พระองค์เจ้าตั้งจึงนับเป็นอิสริยยศ"

คือเจ้านายประสูติมามี "สกุลยศ" เป็น "หม่อมเจ้า" อยู่แต่แรก แล้วก็ทรงสถาปนา "อิสริยยศ" ให้เป็น "พระองค์เจ้า"

แต่มีบางกรณีที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ  ให้ยกตลอดสายไว้เป็นการล่วงหน้า เรียกกันโดยลำลองว่าเป็น "พระองค์เจ้ายก"

พระบรมราชโองการในรัชกาลที่ ๗ ที่ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระโอรสธิดาในสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ เป็นพระองค์เจ้านั้น มีขึ้นภายหลังหม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา และหม่อมเจ้าอานันทมหิดล ประสูติ แต่ว่าก่อนพระโอรสพระองค์เล็กจะประสูติ

ฉะนั้น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช จึงมีพระนามเป็นพระองค์เจ้าติดพระองค์มานับแต่แรกประสูติ หาได้ทรงเป็นหม่อมเจ้า แล้วค่อยมาตั้งอิสริยยศเป็นพระองค์เจ้ากันภายหลัง ฉะนั้น เราจึงไม่อาจกล่าวได้อย่างเต็มที่ว่าพระองค์เจ้าภูมิพลฯ ทรงเป็นพระองค์เจ้าตั้งครับ
บันทึกการเข้า
เอ้อระเหย
อสุรผัด
*
ตอบ: 32

เอกเขนก


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 28 เม.ย. 08, 16:30

ขอเพิ่มเติมว่า เจ้านายที่ดำรงพระยศพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า(รวมถึงพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า) และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าที่ยังดำรงพระชนอยู่มีพระนามดังนี้
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา
บันทึกการเข้า
เอ้อระเหย
อสุรผัด
*
ตอบ: 32

เอกเขนก


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 30 เม.ย. 08, 11:22

ขอเพิ่มอีกอย่างหนึ่ง
เนื่องจากว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา
ได้กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งเพื่อการสมรส
ดังนั้นจึงมิได้ดำรงพระยศพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแล้ว
เป็นเพียงนางอินทุรัตนา สารสาส
แต่คนทั่วไปก็ยังคงเรียกว่า เสด็จพระองค์หญิงหรือ ท่านหญิง
บันทึกการเข้า
Anteros
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 11 เม.ย. 09, 07:17

     ในกรณีพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน  อาจารย์ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เคยอธิบายไว้    ผมยังจำสำนวนของท่านได้    "....ก็ถือว่าเป็นพระองค์เจ้าตั้ง  ชั่วแต่ว่ามีพระบรมราชโองการตั้งไว้ก่อนประสูติ"
บันทึกการเข้า
จิรัฏฐ์
อสุรผัด
*
ตอบ: 17


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 01 ก.ค. 09, 21:05

ผมเคยได้ยินมาว่า  พระเจ้าวรวงศ์เธอเป็นพระยศที่สูงกว่าพระวรวงศ์เธอหนึ่งขั้น  พระเจ้าวรวงศ์เธอใช้กับพระองค์เจ้าตั้งที่สืบเชื้อสายมาจากพระมหากษัตริย์ ส่วนพระวรวงศ์เธอใช้กับพระองค์เจ้าตั้งที่มาจากสามัญชน  ส่วนจะมีการพระราชทานพระยศให้เรียกว่าอย่างไรก็สุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
บันทึกการเข้า
เอ้อระเหย
อสุรผัด
*
ตอบ: 32

เอกเขนก


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 16 ต.ค. 09, 18:21

เรื่องที่เกี่ยวกับพระอิสสริยยศ"พระองค์เจ้า"
"...ราชสกุลยศรองแต่เจ้าฟ้าลงมาเป็น “พระองค์เจ้า” พระองค์เจ้ามี ๓ ชั้น ชั้นที่ ๑ คือ พระราชบุตรพระราชธิดาอันเกิดด้วยพระสนม ตรงกับที่เรียกในกฎมณเฑียรบาลว่าพระเยาวราช ชั้นที่ ๒ รองลงมา คือราชนัดดา ซึ่งพระบิดาเป็นเจ้าฟ้าและพระมารดาเป็นเจ้า๑ พระโอรสธิดาของพระมหาอุปราช (ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้) ก็นับในพระองค์เจ้าชั้นที่ ๒ พระองค์เจ้าชั้นที่ ๓ คือพระราชนัดดา ซึ่งพระบิดาและพระมารดาเป็นพระองค์เจ้าด้วยกัน หรือพระบิดาเป็นเจ้าฟ้าชั้นที่ ๑ แต่มารดามิได้เป็นเจ้า..."
   คัดมาจากหนังสือเฉลิมพระยศเจ้านาย ฉะบับมีพระรูป เล่ม ๑ เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 19 คำสั่ง