เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 9054 กบฎ ร.ศ. ๑๓๐ : สำหรับผู้อ่านเรือนไทยค่ะ
CrazyHOrse
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 19 ธ.ค. 00, 12:03

แนวคิดแบบเพลโต้ที่คุณ นกข.ยกมามีประเด็นที่น่าสนใจครับ ว่ายกเว้น ผู้หญิงและทาส เมื่อเปรียบเทียบกับประชาธิปไตยของอเมริกาในยุคแรกที่ผู้หญิงและทาสก็ไม่มีสิทธิ์เหมือนกัน คงต้องยอมรับว่าเป็นภูมิปัญญาของปราชญ์ในสมัยนั้น ประเด็นไม่ได้อยู่ที่เรื่องของสิทธิมนุษยชน แต่อยู่ที่คุณภาพของคน ในยุคแรก ผู้หญิงไม่ใคร่จะมีโอกาสได้เรียนหนังสือ ส่วนทาสไม่ต้องพูดถึง ประชาธิปไตยเป็นระบบแบบพวกมากลากไป ถ้าคนที่ลากทีคุณภาพดี สภาพโดยรวมก็จะดีขึ้น ถ้าคนที่ลากคุณภาพต่ำก็จะกลายเป็นวงจรอุบาทว์ สิทธิ์ของคนในอเมริกาถูกปรับให้เท่ากันอย่างช้าๆ ตามกระแสการพัฒนาคน แตกต่างกับประเทศด้อยพัฒนาที่ถูกบีบบังคับโดยการกดดันของมหาอำนาจ ซึ่งไม่ให้โอกาสในการปรับปรุงคนกับประเทศด้อยพัฒนา ไม่ว่าจะโดยจงใจหรือไม่ก็ตาม...
.. ความยุติธรรมมักจะถูกแลกกับประสิทธิภาพอยู่เสมอ...
   ระบอบประชาธิปไตย ความจริงน่าจะเรียกว่าระบบพวกมากลากไป เนื่องจากไม่มีทางทำให้คนทุกคนพอใจได้พร้อมกัน ส่วนระบบที่เราใช้อยู่แม้แต่จะเรียกว่าประชาธิปไตยก็ยังไม่ได้ เรากำลังรณรงค์ให้คนไม่รับเงินซื้อเสียง และคิดว่าเป็นประเด็นที่ทำให้การเมืองดีขึ้น แต่ความเป็นจริงแล้ว คนที่รับเงินมีใครเคยไปถามไหมว่าถ้าไม่มีคนมาซื้อเสียงแล้วจะเลือกใคร ตอนนี้ผู้ปกครองประเทศไทยคือ นักการเมืองรุ่นเก่า(รวมถึงพวกที่บอกว่าตัวเองใหม่)ที่กุมอำนาจบริหารอยู่ในมือ+activist และ สื่อมวลชนที่กุมอำนาจการหันซ้ายหันขวาของมวลชนเพื่อกดดันรัฐบาล ปัญหาคือคุณภาพของคนกลุ่มนี้เป็นอย่างไร ก็อย่างที่เห็น คงไม่ต้องพูดกันมาก(ผมหมายถึงคุณภาพโดยเฉลี่ย) พื้นฐานจริงๆของประชาธิปไตยไม่มีใครสร้าง การศึกษาไงครับ ไม่ได้หมายถึงปริมาณแบบภาดบังคับ 9 ปี หรือ 12 ปี หรือการวัดผลแบบผิดๆที่ว่าใช้คอมพิวเตอร์เป็นพูดอังกฤษได้ แปลว่าเป็นคนมีคุณภาพ แต่หมายถึงพื้นฐานความคิด การรู้จักใช้เหตุผล การแก้ปัญหา สำนึกต่อส่วนรวม และจริยธรรมที่ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับศาสนาแต่ประการใด ฝากไว้ถึงผู้เป็นครูอยู่ และผู้ที่จะเป็นครูในอนาคตด้วยครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 13 ต.ค. 07, 15:12

อ่านพบพระราชปรารภในรัชกาลที่ ๗  เมื่อพ.ศ. ๒๔๖๙ มีข้อความที่น่าสนใจ จึงขอลอกมาให้อ่านตอนหนึ่งค่ะ
" ในรัชสมัยที่เพิ่งสิ้นสุด(รัชกาลที่ ๖) หลายสิ่งหลายอย่างได้ทวีความเลวร้ายลงไปมาก   เนื่องจากเหตุหลายประการ....พระเจ้าแผ่นดินกลายเป็นผู้ที่ตกอยู่ใต้อิทธิพลของข้าราชบริพารคนโปรด   ข้าราชการทุกคนถูกเพ่งเล็งบ้างมากบ้างน้อยในด้านฉ้อราษฎร์บังหลวงหรือเล่นพรรคเล่นพวก   ยังนับเป็นโชคที่พระบรมวงศานุวงศ์ยังเป็นที่เคารพยกย่องว่าซื่อสัตย์    สิ่งที่เป็นที่น่าเสียใจยิ่งคือ  พระราชสำนักของพระองค์เป็นที่เกลียดชังอย่างรุนแรง   และในตอนรัชสมัยก็ถูกล้อเลียนเยาะเย้ย  กำเนิดของหนังสือพิมพ์ ฟรีเพรส ทำให้สถานการณ์ในขณะนั้น ขยายตัวเลวร้ายมากขึ้น   ฐานะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นสิ่งหนึ่งที่ตกอยู่ในสภาวะลำบาก    ความเคลื่อนไหวทางความคิดในประเทศแสดงให้เห็นอย่างแจ้งชัดว่า ระยะเวลาของระบบเอกาธิปไตยเหลือน้อยลงเต็มที"   
อีก ๖ ปีต่อจากนั้น ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕

อ่านพระราชปรารภในชกาลที่ ๗ ที่อาจารย์เทาชมพู ยกขึ้นมาอ้างโดยเฉพาะที่ว่า "...ยังนับเป็นโชคที่พระบรมวงศานุวงศ์ยังเป็นที่เคารพยกย่องว่าซื่อสัตย์..." ผมกลับรู้สึกว่าล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๗ ทรงตามแรวพระราชเนิในรัชกาลที่ ๖ ไม่ทัน  อีกประการในช่วงรัชกาลที่ ๖ นั้น  บรรดาเจ้านายถูกลดบทบาทและอำนาจลงไปมาก  จึงสะท้อนออกมาในพระราชปรารภดังกล่าว  หากได้ศึกษาพระจริยวัตรของเจ้านายบางพระองค์ในรัชกาลที่ ๗ นั้น  ผมว่า การปฏิวัติ ๒๔๗๕ นั้น  ก็มีสาเหตุมาจากการกระทำของเจ้านายบางพระองค์ด้วย

เรื่องแนวพระราชดำริทางการเมืองในรัชกาลที่ ๖ โดยเฉพาะเรื่องประชาธิปไตยนั้น  ต่าจะพิสูจน์ได้แล้วว่า ที่ทรงพระราชบันทึกไว้ในสมุดจดหมายเหตุรายวันว่า  ประชาธิปไตยนั้นถ้าคนมีเงินหรือิทธิพลใช้อำนาจเงินหรือิทธิพลที่มีอยู่ก็อาจจะเข้าไปมีอำนาจในการบริหารบ้านเมืองได้  เมื่อเข้าไปมีอำนาจในรัฐบาลก็ย่อมจะไปถอนทุนคืน เรื่องนี้ก็พิสูจน์แล้วว่า แนวพระราชดำริที่ทรงคาดการณ์ไว้ไม่เคยผิดเพี้ยนเลย

เรื่องประชาธิปไตยนั้นเท่าที่ทราบมา  ทรงมีพระราชดำริที่จะพระราชทานประชาธอไตยอก่ปวงชนชาวไทยแน่นอน  แต่จะทรงเริ่มปูฐานจากระดับหญ้าขึ้นสู่ระดับประเทศ  เริ่มจากโปรดให้จัดตั้งสุขาภิบาลขึ้นในหัวเมือง  ทรงจัดให้มีการศึกษาประชาบาลซึ่งคนในพื้นที่ช่วยกันจัด  เมื่อการวางรากฐานให้ประชาชนในระดับรากหญ้ามีความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยแล้ว  การพัฒนาประชาธิปไตยในระดับตำบล  อำเภอ  จังหวัด  และระดับชาติ ก็จะพัฒนาไปได้  ประเทศชาติก็คงจะไม่ประสบปัญหาแตกแยกเป็นฝักฝ่ายเช่นทุกวันนี้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 19 คำสั่ง