เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 56915 นิราศเมืองเพชร
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 12 ก.ค. 07, 20:07

ขุนนางคนที่แต่งนิราศเมืองเพชร ไม่มีเหตุต้องแจวเรือครับ ผู้ดีเขาไม่แจวเรือกัน
ฝีพายเป็นภาระงานชั้นต่ำ ระดับคนต้องโทษ

ท่านใช้คำว่า ถึงสี่แจว ตรงนี้แปลว่ามาเรือใหญ่ สี่พลพาย
คนที่มีฝีพายติดตัวสี่คนนี่ ไม่ธรรมดา
และลูกแกทั้งหมดก็ไม่ต้องพายเรือเช่นกัน เพราะเป็นชนชั้นผู้ดี
การพายเรือเพื่อเดินทางไกลนี้ เป็นงานของผู้เชี่ยวชาญ เป็นงานหนักและอันตราย
เพียงแต่เจอน้ำเชี่ยว เพราะไม่ชำนาญทาง เรือก็ล่มได้ง่ายๆแล้วครับ

ผมยังนึกไม่ออกว่าความตรงใหนที่ชวนให้คิดว่าผู้แต่งเป็นพระ
ขอความกรุณาอย่าเพิ่งหยิบเนื้อความจากเรื่องอื่นมาปน เว้นแต่เอามาสอบยันกัน
อยากให้ชำแหละเฉพาะนิราศนี้เท่านั้น ดูว่า จะพาเราไปได้ไกลสักเพียงใด

อ้อ นิราศนี้แต่งรัชกาลที่สาม แน่นอน เพราะเอ่ยนามวัดราชโอรสก่อนรัชกาลที่สี่มาเปลี่ยนนาม
"ในพระโกศโปรดปรานประทานนาม โอรสราชทารามงามเจริญ"
ความตรงนี้ต่างจากคุณอาชานิดหน่อย ต้องสอบว่าใครผิดด้วย
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 12 ก.ค. 07, 20:13

นิราศเณรกลั่นระบุว่าคุณพ่อเป็นพระอยู่ในขณะนั้น อ้างถึงเป็มมหาเถร
คือยกย่องมาก
และถ้าหนูกลั่นไม่เว่อร์ มหาเถร จะต้องบวชมาแล้วสิบปีครับ
อาจจะเผื่อความลำเอียงบ้าง ก็สรุปได้ว่า ปีมเส็งเพงวันอังคารในนิราศเณรกลั่นนั้น
คุณพ่อสุนทรภู่บวชมานานนักหนาแล้วครับ

หมายความว่า ปี 2375 ที่ครอบครัวท่านภู่ยกกองไปพระแท่น
ก่อนหน้านั้นสามปี มีกวีอีกคนที่เป็นฆราวาส และไม่มีวี่แววว่าจะเพิ่งสึก
แหม...แกยังเกี้ยวสาวค้างอยุ๋เลย ตอนที่มาเมืองเพชรครั้งนี้

ฟันธง(อีกครั้ง) ว่าคนละก๊วนครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 12 ก.ค. 07, 20:19

ขอค้านค่ะ
ถ้าท่านขุนนางกวีนิราศเมืองเพชร เกิดและโตมาจนหนุ่มที่เพชรบุรี  ไปอยู่กรุงเทพ   ไปๆมาๆ ยังหาทางกลับบ้านเดิมไม่ถูก  ต้องวาน "ท่านยายคำ" ให้นำไป  นี่มันไม่ธรรมดานะคะ
ทีบ้านคนอื่นอย่างบ้านขุนแพ่งงี้  บ้านหม่อมบุนนาคงี้   ไม่ใช่บ้านของตัวเองสักหน่อย  แค่เคยไปพัก   ยังไปได้ออกปร๋อ  ไม่เห็นต้องวานใครให้นำไป
มันประหลาดมาก

**การที่กวีต้องถามชาวบ้านเรื่องระยะทาง ก็ส่อว่า เดิมแกไม่เคยต้องรับรู้เรื่องนี้
แปลว่ารวยแน่แหละครับ ไปใหนก็มีบริวารพาไป กลับบ้านมาครั้งนี้ จึงต้องถามทางให้มั่นใจ**
รวยได้ไง    ตัวเองต้องไปอาศัยหม่อมบุนนาคอยู่พักหนึ่ง  บอกว่า "เมื่อยามยากจนมาได้อาศัย"  
 เอาละค่ะ  อาจจะนึกได้ว่ารำพันไปงั้นเอง   ไม่ได้ยากจนจริง ก็ได้
แต่คนรวยหรือจนก็ตาม   ลองเกิดและโตเป็นหนุ่มอยู่ในเมืองเพชร  ต่อให้จากไปอยู่เมืองหลวงเป็นสิบปี  กลับมาบ้านเดิม  ก็น่าจะหลับตาเดินไปได้  ว่าอะไรอยู่ตรงจุดไหน
เพราะว่าบ้านผู้คนที่แกไปเยี่ยม  ก็ล้วนแต่คนคุ้นเคย อยู่บ้านเดิมกันเป็นส่วนใหญ่
อะไรกัน ชาวเมืองเพชรโดยกำเนิดอยู่จนหนุ่ม  ต้องถามทางชาวบ้าน  แล้วกลับไปเยี่ยมญาติยังต้องวานคนนำทางไปอีก

แต่ถ้าเป็นคนเมืองหลวง   มีญาติอยู่เพชรบุรี  เคยไปอยู่ที่นั่นระยะหนึ่งอาจจะปีสองปี   กลับมาเมืองหลวง ไปเยี่ยมบ้างหลายปีหน  สักสามสี่หน    จำทางไม่ค่อยได้ ละก็ถือว่าธรรมดา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 12 ก.ค. 07, 20:21

http://www.pixiart.com/archives/soontornpoo/petch-01.html

ถึงบางหว้าอารามนามจอมทอง           ดูเรืองรองรุ่งโรจน์ที่โบสถ์ราม
สาธุสะพระองค์มาทรงสร้าง                เป็นเยี่ยงอย่างไว้ในภาษาสยาม
ในพระโกศโปรดปรานประทานนาม      โอรสราชอารามงามเจริญ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 12 ก.ค. 07, 20:31

กวีสองคน แต่งนิราศด้วยกลอนตลาดเหมือนกัน  สัมผัสนอกสัมผัสในเป็นคู่ๆแบบเดียวกัน
วิธีการแต่งก็เหมือนกัน    เล่าเรื่องเริ่มที่การเดินทางจากกรุงเทพ  ก่อนชมวัดวา เล่าถึงสถานที่  เล่าถึงความรักความหลัง ฝีมือแต่งก็จัดเจนอย่างคนชำนาญการกวี
ที่สำคัญคือมีลูกชายชื่อหนูพัด เหมือนกัน ติดตามไปด้วย
***
เคารพสามตามกำหนดหมดมลทิน กับหนูนิลหนูพัดเข้ามัสการ
***
กับหนูพัดจัดธูปเทียนดอกไม้ จะขึ้นไหว้พระสัมฤทธิ์พิษฐาน

ผู้ชายชื่อพัด อาจมีซ้ำกันได้ ไม่แปลก  แต่คุณพ่อกวีที่เรียกลูกว่า "หนู" ทั้งๆโตเป็นหนุ่มแล้ว  และลูกชายก็มีชื่อว่า หนูพัด เหมือนกันอีก  อยู่ในยุคเดียวกันด้วย ปีที่แต่งก็ใกล้เคียงกันด้วย
มันบังเอิญเกินไปค่ะ  ไม่เชื่อว่าคนละก๊วนกัน
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 12 ก.ค. 07, 20:46

ขอยกมาอีกทีครับ
ถึงคลองช่องล่องเลียบเงียบสงัด         เห็นเมฆกลัดกลางทะเลบนเวหา
เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา        ลมสลาตันตึงหึ่งหึ่งฮือ
นาวาเหเซหันให้ปั่นป่วน                  ต้องแจวทวนท้ายหันช่วยกันถือ
ถึงสี่แจวแล้วเรือยังเหลือมือ              ลมกระพือพัดโงงดูโคลงเคลง

ถ้าเป็นเรือสี่พลพาย เรือก็ต้องใหญ่ จะมาบ่นว่า ถึงสี่แจวแล้วเรือยังเหลือมือ ก็ดูจะไม่มีประเด็นนะครับ
แต่ถ้าเป็นเรือนั่งกันสี่คน ผลัดกันแจวทีละคนหรือสองคน พอเจอคลื่นลมแรงต้องช่วยกันแจวทั้งสี่คนยังเอาไม่อยู่ อย่างนี้ค่อยน่าบ่นหน่อยครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 12 ก.ค. 07, 21:02

เจอพายุแรงนะคะ คุณอาชา เรียกว่าสลาตันเลยเชียว   
ถ้าเป็นเรือเล็กคงทานไม่ไหว  เรือขนาด ๘ คนสู้ไหว ไม่ล่ม แค่ปั่นป่วนซวนเซไปเท่านั้นเอง
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 12 ก.ค. 07, 21:39

เรื่องลมแรงนั้น แรงเบาแค่ไหนเราไม่มีทางรู้ได้ครับ แต่ความตรงนี้
ต้องแจวทวนท้ายหันช่วยกันถือ
ความบอกไว้ชัดว่าต้องช่วยกันครับ เรือจะใหญ่หรือเล็กแค่ไหนไม่รู้ แต่สี่แจวนี่คือลงไปช่วยกันแล้ว แสดงว่ายามปกติไม่ถึงสี่แจวครับ

แต่ก็อาจเป็นได้ว่ากวีและลูกๆปกติไม่ได้พายเองครับ

ถึงบ้านใหม่ไถ่ถามตามสงสัย           ว่ายังไกลอยู่หรือบ้านท่านขุนแขวง
ไม่บอกก่อนย้อนถามเป็นความแคลง   จะพายแรงหรือว่านายจะพายเบา

จู่ๆจะถามหาบ้านขุนแขวงทำไม? ตรงนี้น่าสนใจ จะว่ามีธุระต้องหาขุนแขวงก็ไม่ได้พูดถึงตอนแวะ หรือได้ข่าวว่ามีขุนแขวงคนใหม่บ้านอยู่แถวนี้ก็เลยถามหา

กวีไปมาเมืองเพชรหลายครั้งแน่นอน ที่อ่านได้อย่างน้อยต้องมี ๓ ครั้ง หรืออาจถึง ๔ ครั้งหากมาครั้งพระวังหลังครรไลครั้งหนึ่ง แต่ตอนไปบางกอกปีระกาเป็นปี ๒๓๖๘ และอย่างน้อยต้องมีครั้งหนึ่งที่มาอยู่นานเป็นปีหรือหลายปี ดังนั้นจึงคุ้นเคยกับเมืองเพชรดีครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 12 ก.ค. 07, 22:56

ผมจะลองย้อนศรดูนะครับ
กวีคนนี้เป็นสุนทรภู่มิได้เป็นอันขาด

ปี 2372 สุนทรภู่บวชอยู่ ได้มีวาสนาสอนหนังสือเจ้าฟ้าสองพระองค์ .........จากเพลงยาวถวายโอวาท
สอนมาถึงปีหนึ่ง ต้องหยุด และขอลาไปบอกว่าจะออกหัวเมือง ................จากเพลงยาวถวายโอวาท
หลังจากนั้นอีกสามปี แก็ยังบวชอยู่ เพราะเณรหนูกลั่นอ้างไว้ดังนั้น ............จากนิราศเณรกลั่น
เณรหนูกลั่นยังเรียกพ่อเลี้ยงเป็นมหาเถร ..............................................จากนิราศเณรกลั่น
แปลว่าบวชนาน ปกติต้องสิบปีเราจึงยกย่องได้ แต่นับปีแล้ว ถ้าสุนทรภู่บวชทันทีที่เปลี่ยนแผ่นดิน
แกก็เพิ่งบวชได้เพียงแปดปี
เพราะแกบอกเองว่า"แต่ปีวอกออกขาดราชกิจ บรรพชิตพิศวาสพระศาสนา".......จากรำพันพิลาป
เรียงปีได้ดังนี้
2367 ออกบวช
2372 สอนเจ้าฟ้า
2375 ไปพระแท่นดงรัง

คราวนี้ผมจะเอานิราศเมืองเพชรเข้าเทียบละครับ
ก่อนปีระกา กวีสร้างเรื่องมากมายที่เมืองเพชร กับขุนรองน้องขุนแพ่ง
ในช่วงนี้เอง มีผู้รักใคร่ จะหาเมียให้ ตรงนี้น่าจะเดาอายุได้พอประมาณ
ปีระกานิราร้าง กวีจากเมืองเพชรมาบางกอก ยังไม่กล้ายืนยันว่าตรงพ.ศ.อะไร
2369-2371 เป็นช่วงที่เกิดศึกลาว ขุนแพ่งตาย
กวีมาเยี่ยมศพที่เมืองเพชร
2373-75 น่าจะเป็นช่วงนี้ ที่กวีรับอาสา"เสด็จ" ผู้เป็นเจ้านาย มาทำธุระที่เมืองเพชร

สองกวีไม่ใช่คนเดียวกัน เพราะ
สุนทรภู่เป็นอาลักษณ์ แล้วออกขาดราชกิจคือ ออกบวช และบวชจนถึง 2375 เป็นอย่างน้อย
กวีเมืองเพชร ไม่มีตรงใหนที่บอกว่าบวช ได้มาเยี่ยมศพขุนแพ่ง ตอนนั้นสุนทรภู่บวชอยู่
กวีเมืองเพชร มีคดีกับสาวๆ มากหน้า ในช่วงก่อนและหลังงานศพขุนแพ่ง ตอนนั้นสุนทรภู่บวชอยู่เช่นกัน
กวีเมืองเพชร รับอาสาเจ้านายมาเมืองเพชร ปีนั้น สุนทรภู่เป็นข้าเจ้าฟ้ากุณฑลสอนหนังสือเจ้าฟ้ากลางเจ้าฟ้าปิ๋วอยู่

ท่านจะต้องยันหลักฐานของกระผมให้ตกน้ำป๋อมแป๋ม ผมจึงจะยอมเปลี่ยนความเห็น
เรื่องสุนทรภู่มิได้แต่นิราศเมืองเพชรครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 13 ก.ค. 07, 08:30

ถ้าหากว่านิราศเมืองเพชรแต่งเมื่อหน้าหนาว พ.ศ. ๒๔๗๕ 
เมื่อสุนทรภู่สึกตอนออกพรรษาแล้วล่ะคะ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 13 ก.ค. 07, 10:50

เห็นได้ชัดว่าติดปัญหาเรื่องพระไม่พระนี่แหละครับ

ผมอ่านนิราศเมืองเพชรตามตัวอักษร วางเรื่องอื่นลงไปให้หมด มีข้อสังเกตดังนี้
- กวี "น่าจะ" เป็นฆราวาสแวะเยี่ยนเยียนเพื่อนฝูงเยอะไปหมด แทนคุณโดยของฝาก(ผ้าแพร)
- กวีเป็นครู มาเมืองเพชรหลายครั้ง ครั้งก่อนหน้าคืองานศพขุนแพ่ง ก่อนหน้านั้นไม่นานนักต้องเคยมาอยู่นานพอที่จะสอนหนังสือใครต่อใครมากหน้าหลายตา
- กลอนไม่มีลายเซ็น "สุนทร" หรือ "ภู่"

แต่ถ้าจะสรุปว่านิราศเมืองเพชรกับนิราศพระแท่นเป็นคนละก๊วนกัน ต้องหาคำตอบของเรื่องเหล่านี้ให้ได้
- เรื่อง หนูพัด ที่อ.เทาชมพูยกขึ้นมาก่อนหน้านี้
- อ.ล้อมตั้งข้อสังเกตว่า กลอนในนิราศเมืองเพชรกับนิราศพระแท่น มีหลายตอนมากที่เหมือนกันขนาดที่ว่าไม่ใช่เรื่องบังเอิญ (และผมเห็นด้วย) ไม่ใครก็ใครต้องลอกกันอย่างแน่นอน ถ้าเณรกลั่นแต่งนิราศพระแท่นลอกนิราศเมืองเพชรที่แต่งโดยใครก็ไม่รู้ เห็นทีจะไม่พ้นไม้เรียวคุณพ่อ นี่ยังไม่ได้คิดเรื่องที่อ.ล้อมว่าสุนทรภู่แต่งนิราศพระแท่นนะครับ แต่ถ้านิราศเมืองเพชรลอกนิราศพระแท่น(โดยที่กวีนิราศเมืองเพชรไม่ใช่สุนทรภู่) นิราศเมืองเพชรก็ต้องแต่งหลัง ๒๓๗๕ ออกไปอีกพอสมควร ผมเองยังไม่ได้อ่านนิราศพระแท่น แต่อ่านนิราศเมืองเพชรแล้วต้องยอมรับว่านี่คือกลอนของกวียอดฝีมือ ฝีมือระดับนี้ถ้าจะลอกเณรมือใหม่หัดแต่ง มันก็พิลึกเกินครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 13 ก.ค. 07, 14:15

อ่านด้วยความรู้ทางกลอนระดับช่างรับเหมา
ผมเห็นว่านิราศเณรกลั่นดีไม่แพ้นิราศเมืองเพชร ระดับนี้ใครแต่งก็เก่งทั้งนั้น

ผมไม่เอาปีในเรื่องมาเป็นปีแต่ง เพราะกวีอาจจะแต่งหลังเหตุการณ์ได้หลายๆปี
เณรกลั่นเอาอย่างนิราศเมืองเพชร ก็ไม่ได้หมายความว่านิราศเมืองเพชรแต่งโดยสุนทรภู่
หมายความได้เพียงว่าเป็นก๊วนเดียวกัน
ก็ท่านสุนทรมีลูกศิษย์เต็มเมือง กลอนแบบท่านย่อมมีเกลื่อนกล่น
และในวันที่ท่านสุนทรภู่ยังมีชีวิตอยู่ ท่านจะมีชื่อเสียงเลื่องลือมากกว่าใครๆหรือไม่ เราก็ไม่รู้ได้
เรามายกย่องท่านเอาในสมัยหลังมากๆ แต่พระพุทธเจ้าหลวงนั้น เรียกแกว่า"ตาภู่"เฉยๆ เสียด้วยซ้ำ

ตั้งแต่รัชกาลที่ 2 ลงมา เราควรจะมีกวีเอกเป็นร้อย แค่ที่ถูกเกณฑ์ไปแต่งจารึกวัดโพธิ์ก็หลายสิบแล้ว
กรุงรัตนโกสินทร์จึงไม่ได้ถูกผูกขาดกลอนดีไว้กับท่านสุนทรคนเดียว
อย่างน้อยผมก็เห็นว่านิราศสามสี่เรื่อง ไม่น่าจะเป็นของท่าน เพราะเงื่อนไขแวดล้อมไม่อุมัติ เช่นนิราศเมืองเพชรนี้ เป็นอาทิ
1 สุนทรภู่เป็นคนเมืองเพชรจริงหรือไม่ เราไม่มีหลักฐาน แต่คนแต่งนิราศเมืองเพชรนี่ผูกพันกับเมืองเพชรอย่างแนบแน่น
2 ในช่วง 2367 มาจนถึงปีแต่งรำพันพิลาป รวม 18 ปี สุนทรภู่เป็นพระ นี่อ้างตามคำของท่านเอง
ส่วนใครที่ทราบแน่ว่าแกสึกเมื่อไร กี่หน นั่นต้องเอาหลักฐานมายันกับรำพันพิลาปให้อยู่ ผมไม่เกี่ยว
3 ดังนั้น ตั้งแต่ศึกลาว มาจนถึงไปทำธุระให้"เสด็จ" ที่เมืองเพชร เที่ยวเอาผ้าแพรไปไล่จีบสาว รวมเวลาสัก 5-6 ปี
ตก 2369-2375 จะเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ท่านภู่ บวช สอนหนังสือเจ้าฟ้า และแต่งเพลงยาวถวายโอวาทพอดีเป๊ะๆ ไม่ขาดไม่เกิน
จึงเท่ากับท่านเป็นกวีสองร่าง
4 นอกจากสองร่างแล้ว ยังสองนายอีก เพราะปี 2374-75 รับใช้เสด็จพระองค์หนึ่ง
แต่ 2372-2374 โดยประมาณ เป็นข้าในเจ้าฟ้าสี่พระองค์ด้วย ข้อนี้พิลึกและน่าจะเสียหัว
จะมาผูกเรื่องว่า ออกจากวังนี้ไปอยู่วังโน้นคนเดียวได้พึ่งสามสี่ห้าวัง กระผมรับประทานมิลงขอรับ

แล้วก็ขอพูดให้เสร็จความเลยว่า สุนทรภู่ หากจะเป็นข้าเจ้าฟ้าสี่พระองค์ ท่านก็เป็นข้าของเจ้าฟ้ากุณฑล พระมเหสีในรัชกาลที่ 2
แต่ทำไมชอบเอาไปมั่วว่าท่านเป็นข้าของเจ้าฟ้ากลางกันจัง นั่นน่ะลูกศิษย์ท่านภู่ ท่านสอนหนังสือตอนพระชนม์เพียงสิบขวบจนถึงโสกันตร์
วันนั้นท่านภู่จึงต้องเป็นข้าของพระราชมารดา

ส่วนการที่ได้สอนหนังสือเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ 3 ก็แปลว่า ทำโดยพระบรมราชานุญาต
เพราะรัชกาลที่สามต้องทรงอภิบาลเจ้าฟ้าของพระราชบิดา เป็นหน้าที่ ท่านภู่จึงน่าจะกินเงินเดือนหลวงเสียด้วยซ้ำ
การมีเจ้าฟ้าในแผ่นดินนั้น เป็นยิ่งกว่ามีช้างเผือกคู่แผ่นดิน ท่านจึงต้องยกย่องและดูแล
ข้อกล่าวหาที่ว่ารัชกาลที่สามกริ้วกวีคนนี้จึงน่าจะยกเมฆกลางวันแสกๆ

และเมื่อไม่เชื่อเรื่องถูกกริ้วเช่นนี้แล้ว ก็ขอแถมว่า ไม่เชื่อเรื่องแกเป็นกวีขี้เมาอะไรเทือกนั้นด้วย

หลักบานครับ หลักฐาน ขอดูหลักฐานที่แน่นหนาหน่อย
ประเภทฟังเขาเล่ามาผมก็เล่าได้
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 13 ก.ค. 07, 14:56

อิอิ.........ไม่ได้มีเวลามาดู คห. นี้ซะนาน  ไปกันถึงเชียงตุงเชียงรุ้งกันแล้ว  ดีครับได้แลกเปลี่ยนความเห็นกัน  ขอย้ำว่าเป็นความเห็นนะครับ  และผมก็มีความเห็นนึงมาฝากให้พิจารณา  เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับวัดพลับ(วัดพลับพลาชัย)  และจากความเห็นนี้เชื่อว่าท่านมหากวีแต่งนิราศเมืองเพชรครับ  จากสำนวนและจากชื่อหนูพัด,หนูนิล  ในนิราศเชื่อได้ว่าเป็นท่านมหากวีเป็นคนแต่งแน่นอน  และท่านก็แต่งไม่เกินปี ๒๓๗๘

                         เดือนสี่ปีระกานิราร้าง . . . . . ไปอยู่บางกอกไกลกับใจหาย
เป็นตอนหนึ่งใน นิราศเมืองเพชร ที่สุนทรภู่รำพึงถึงหญิงคนรักผู้คุ้นเคยกันในปีระกา พ.ศ. ๒๓๕๖ เข้าใจว่าเป็นช่วงเหตุการณ์เดียวกับที่อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ นำไปเขียนไว้ใน อสท. (ส.ค. ๔๒) ว่า ถ้ำเขาหลวง สถานที่ที่สุนทรภู่ กวีเอกเคยพาสาวงามมาพักอยู่เงียบๆ สุนทรภู่แต่งนิราศเมืองเพชรในปี ๒๓๗๔ ซึ่งเป็น 18 ปีแห่งความหลังของท่าน แต่คงมิใช่ไม่เคยไป-มาหาสู่เลย เข้าใจว่าระหว่าง พ.ศ. ๒๓๕๖–๒๓๗๔ ท่านคงไปๆ มาๆ หาสู่มิตรสหายญาติผู้คุ้นเคยเป็นครั้งคราว
ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๖๗–๒๓๗๔ สุนทรภู่บวชอีกครั้งหนึ่ง และมาจำพรรษาอยู่ ณ วัดใดวัดหนึ่ง อาจเป็นวัดกุฎีทอง หรือวัดบันไดทองก็ได้ และน่าเชื่อว่า สุนทรภู่แต่ง กาพย์พระไชยสุริยา ไว้สอนศิษย์ที่เมืองเพชรก่อนที่จะสอนศิษย์ที่ในกรุงด้วย เช่น ท่านแต่งว่า
. . . . . . . . . . . . . . . . . . ขึ้นกดบทอัศจรรย์ . . . . . . . . . . เสียงครื้นครั่นลั่นเขาหลวง
. . . . . . . . . . . . . . นกหกตกรังรวง. . . . . . . . . . . . . . . . สัตว์ทั้งปวงง่วงงุนงง
ทำไมจึงน่าเชื่อเช่นนั้น ขอตอบว่า เพราะท่านแต่งขึ้นตามความรู้สึก และประสบการณ์ในชีวิตจริงของท่านในเมืองเพชรนั่นเอง

ราว พ.ศ. ๒๔๗๔ สุนทรภู่กลับไปเพชรบุรีอีกครั้ง ก่อนที่จะเขียน นิราศเพชรบุรี ที่แสดงว่าสุนทรภู่รู้ความเป็นมาของวัดพลับพลาชัยในอดีตเป็นอย่างดี
. . . . . . . . . . . . ถึงคุ้งเคี้ยวเลี้ยวลดชื่อคดอ้อย . . . . . . . . . ตะวันคล้อยคล้ำฟ้าในราศี
. . . . . . . . ค่อยคล่องแคล่วแจวรีบถึงพริบพรี . . . . . . . . . . ประทับที่หน้าท่าพลับพลาชัย
. . . . . . . . ด้วยวัดนี้ที่สำหรับประทับร้อน . . . . . . . . . . . . . นรินทรท้าวพระยามาอาศัย
. . . . . . . . ขอเดชะอานุภาพช่วยปราบภัย. . . . . . . . . . . . . ให้มีชัยเหมือนนามอารามเมือง
. . . . . . . . ดูเรือแพแซ่ซร้องทั้งสองฟาก. . . . . . . . . . . . . . . บ้างขายหมากขายพลูหนวกหูเหือง
. . . . . . . . นอนค้างคืนตื่นเช้าเห็นชาวเมือง. . . . . . . . . . . . ดูนองเนืองนาวาบ้างมาไป
ครั้งนี้ สุนทรภู่อาสาเสด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ ในสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ มาหา ขุนแพ่ง (สุนทรภู่เคยไปมาหาสู่พักอยู่ด้วยกันกับเพื่อนคนนี้ ที่บ้านเดิม คือ บ้านโพธิ์ ทางตะวันออกของเขาหลวง ตั้งแต่ครั้งยังเป็น ขุนรองแพ่ง) ต่อมาเป็น “แพ่ง” แทนขุนแพ่งผู้พี่ มามีบ้านอยู่ไม่ห่างบ้านภริยาขุนแพ่งผู้พี่ ใกล้ตลาดน้ำกลางใจเมือง และใกล้วัดพลับพลาชัย หลังเสร็จธุระที่อาสามาแล้ว ท่านถือโอกาสแวะไปเยี่ยมภริยาขุนแพ่งผู้พี่ ที่สูญเสียสามีในศึกกบฏเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทร์
. . . . . . . . . . . . . . ได้เยี่ยมเยือนเรือนบ้านท่านขุนแพ่ง . . . . . . มาปลูกแปลงแปลกกว่าเมื่ออาศัย
. . . . . . . . . . ด้วยศึกลาวคราวนั้นเธอบรรลัย . . . . . . . . . . . . . ไม่มีใครครอบครองจึงหมองมัว
สุนทรภู่มาค้างคืนที่วัดพลับพลาชัย (ตอนนั้นเป็นพระภิกษุ) ตื่นเช้าจึงได้ไปเยี่ยมบ้านขุนแพ่งตำแหน่งใหม่ ธุระที่ท่านอาสาเจ้านายพระองค์นั้นมาต้องเป็นเรื่องสำคัญ ท่านจึงบนบานศาลกล่าวเจ้าพ่อวัดเขาตะเคราไว้ด้วย ธุระที่ว่านั้นน่าจะเป็นการทาบทามหมั้นหรือสู่ขอกุลสตรีสาวนางหนึ่ง ซึ่งน่าจะเป็นบุตรีของเจ้าเมือง หรือปลัดเมือง หรือไม่ก็ยกกระบัตร ซึ่งขุนแพ่งคุ้นเคยพอจะพูดทาบทามให้ได้ เมื่อขุนแพ่งรับปากว่าจะช่วยเจรจาธุระสำคัญให้แล้ว สุนทรภู่ก็โล่งใจดังท่านเขียนไว้ว่า
. . . . . . . . . . . . แล้วไปชวนท่านแพ่งตำแหน่งใหม่ . . . . . .ยังรักใครครองจิตรสนิทสนม
. . . . . . . . ที่ธุระจะใคร่ได้ใจนิยม . . . . . . . . . . . . . . . . . . เขารับสมปรารถนาสวามิภักดิ์
แต่อย่างไรก็ตาม เรามิอาจทราบได้ว่า ในที่สุดพระองค์เจ้าลักขณานุคุณจะได้เศกสมรส หรือได้กุลสตรีชาวเมืองเพชรผู้นั้น ไปเป็นหม่อมห้ามหรือไม่ เราทราบแต่เพียงว่า พระองค์เจ้าลักษณานุคุณสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. ๒๓๗๘ เมื่อพระชนม์มายุ ๒๓ พรรษา และทรงมีธิดา (จากสตรีใดไม่ทราบ) พระองค์หนึ่ง ซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔.
................ ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 13 ก.ค. 07, 15:16

ให้พระมาเป็นเถ้าแก่เห็นจะไม่ใช่ละมังครับ  ฮืม
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 13 ก.ค. 07, 16:11

"เดือนสี่ปีระกานิราร้าง ไปอยู่บางกอกไกลกับใจหาย"

ปีระกาที่ว่า จะเป็นปีใด น่าสงสัย
ถ้า 2356 ก็จะห่างศึกลาวถึง 14 ปี
เวลานานขนาดนี้ และต้องไปอยู่บางกอก
คงไม่สามารถมามีลูกศิษย์ที่กรูเกรียวมาต้อนรับที่วัดพลับพลาไชยได้
และไม่สามารถสร้างคดีรักร้างกับสาวอีกเพียบได้

ผมเชื่อว่า กวีท่านนี้ จากไปบางกอกในปีระกา 2368 ปีที่สองในรัชกาลที่ 3
จากไปแป๊ปเดียว ขุนแพ่งก็บรรลัย น้องได้เป็นขุนแพ่งแทน แกก็มาเยี่ยมศพ ระหว่างนั้นก็ไปๆมาๆ ไม่ได้ห่างหายไปนานนัก
การจากไปบางกอกนี้ จะมีเรื่องอะไรก็ไม่ทราบ แต่งานที่ค้างอยู่ในเมืองพริบพรีนั้น ยังสดๆ ร้อนๆ เช่น
หมู่ศิษย์มารับกันกรูเกรียว ที่วัดพลับพลาไชย
ตรงนี้บ่งบอกว่าต้องจากไปไม่นาน เหล่าศิษย์จึงยังเล่าเรียนที่วัดพลับฯ พออาจารย์กลับมา ก็เลยอยู่พร้อมหน้า

แวะเยี่ยมสาวหลายนาง นางหนึ่งถึงสะบัดหน้าหนี นี่ก็ต้องไม่นาน สาวอะไรจะงอนข้ามทศวรรษ
ยังมีอีกหลายเกร็ด ขอมิบเอาไว้ใช้วันหลังครับ

สรุปคือ ผมเชื่อว่ากวีเพิ่งจากไปบางกอกเพียงห้าหกปีเท่านั้น
ตอนจากไปก็คงมีลูกน้อยแล้ว จะชื่ออะไรก็ช่างเถิด แต่ต้องไม่โตขนาดเป็นหนุ่ม น่าจะสักก่อนโกนจุก
เพราะกวียังให้ลูกนับคลองสามสิบสองคตอยู่เลย

การไปบางกอก ก็คงไปได้ดิบได้ดี เพราะแกเล่าว่าเพื่อนซี้ คือขุนรอง มีเรื่องกับเจ้าเมือง
ระดับมีเรื่องกับเจ้าเมืองได้นั้น ต้องมีศักดิ์ฐานะพอตัว
แกจะอ้างว่าจนก็อย่าไปเชื่อ
มาคราวนี้ ขนผ้ามาราวกะจะเปิดร้าน ไม่รวยทำไม่ได้แน่

สรุปอีกทีคือกวีไม่ใช่สุนทรภู่ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 19 คำสั่ง