เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11]
  พิมพ์  
อ่าน: 56933 นิราศเมืองเพชร
นิรนารี
อสุรผัด
*
ตอบ: 37

Niranaree


ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 24 ก.ค. 07, 21:53

เคยไปมาล่าเรื่องคนเมืองเพรช
น้ำตาลเด็ดเพรชบุรี....เขามีชื่อ
วัดถ้ำเก่าเล่านาน...เขานานลือ
เมืองเพชรคือถิ่นสุนทรฯนักลอนไทยฯ

ว่าด้วยเนื่องเรื่องราวสาวคู่หมอน
แขนสุนทรนอนบ่อยเป็นรอยไซร้
ถ้ำที่เคยเอ่ยพรอดได้กอดใคร
ฝากรอยไว้ให้ลือคนฮือฮาฯ
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 27 ก.ค. 07, 01:25

อิอิ.....เมื่ออ่านทั้งหมดแล้วทบทวนเรื่องนิราศเมืองเพชรตอนนี้ผมคติที่จะต้องคิดตาม 2 อย่าง  3 ลักษณะ

2 อย่างคือ
1. นิราศเมืองเพชรแต่โดยท่านมหากวี สุนทรภู่ (อ.เทาชมภู ,พระวินิจฉัยกรมพระยาดำรงฯ,อ.ล้อม)
2. นิราศเมืองเพชรแต่งโดยใครไม่ทราบ  แต่ไม่ใช่ท่านมหากวีแน่นอน (คุณพิพัฒน์)

ถ้าเป็นท่านมหากวีแต่งก็เป็นไปถึง 3 ลักษณะ
1. เป็นนิราศเรื่องสุดท้ายเรื่องที่ 9 ของท่านมหากวี  แต่งตอนปลายรัชกาลที่ 3 ตอนไปพึ่งใบบุญ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศฯ  ประมาณปีพ.ศ. 2392  ทรงโปรดใช้ให้ท่านมหากวีไปทำธุระส่วนพระองค์ที่เมืองพริบพรี (จากพระวินิจฉัย)
2. เป็นนิราศของท่านมหากวี  แต่น่าจะแต่งประมาณ พ.ศ. 2475  หลังจากท่านลาสิกขาบท  รับอาสาเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งแต่ไม่ใช่ระดับเจ้าฟ้า (จากความเห็นท่านอาจารย์เทาชมภู)
3. เป็นนิราศของท่านมหากวี  ปีพ.ศ.น่าจะใกล้เคียงกับอาจารย์เทาชมภูวิเคราะห์  แต่ท่านมหากวีน่าจะคุ้นเคยมากๆกับเมืองเพชรเกือบจะเรียกได้ว่าเป็นคนเมืองเพชรคนหนึ่ง  หรือมีญาติพี่น้องอยู่เมืองเพชร  และที่สำคัญท่านแต่งตอนที่ดำรงสมณเพศ (อ.ล้อม)

ในฐานะผู้สนใจศึกษาด้วยแต่ไม่สันทัด  ดูข้อวิเคราะห์และเหตุผลน่าเชื่อพอพอกันครับ  ในพระวินิจฉัย  ท่านเป็นบิดาของวิชาประวัติศาสตร์  ท่านมีพระชนม์ชีพอยู่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์มากกว่าเราๆเยอะ  ไม่ว่าจะจากคำบอกเล่า  หรือหลักฐานต่างๆที่พระองค์ทรงทราบแต่เราไม่ทราบ  จากข้อคิดเห็นของนักปราชญ์ที่แวดล้อมพระองค์  ผมต้องขออนุญาตคล้อยตามท่านมากที่สุดครับ  ในตอนนี้

ในข้อคิดเห็นของท่านอาจารย์ล้อม  ท่านน่าจะเป็นผู้ที่รู้เรื่องเมืองเพชรมากๆท่านหนึ่ง  ท่านจึงสามารถเปรียบเทียบหรือหลับตาก็มองภาพการเดินทางได้ชัด  และสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์-ประวัติศาสตร์  นำมาเทียบกับบทประพันธ์ท่านคงจะลึกซึ้งไม่น้อย

ในข้อคิดเห็นของท่านอาจารย์เทาชมภู  ละเอียดรอบคอบไม่ให้ผ่านแม้เรื่องเล็กน้อย  แม้แต่ความรู้สึกทำให้ผมคล้อยไปกับความนึกคิด  แบบหลับตานึกไปตามคำวิเคราะห์ของท่านอาจารย์เทาชมภูแล้วมีความสุขครับ  เหมือนเราได้ร่วมขบวนไปกับกวี

ของคุณพิพัฒน์  ชัดเจนครับ  ถ้าเรื่องการบวชของท่านมหากวีและการถวายงานเจ้านายของท่าน  เป็นจริงตาม พ.ศ.  คือระยะเวลาที่ท่านบวชและระยะเวลาที่ท่านสอนหนังสือเจ้านายเป็นจริงทุกประการ  ต้องไม่ใช่ท่านสุนทรภู่แต่งแน่ๆ

ขอบพระคุณมากครับผมได้คิดตามเยอะเลยยังไม่หยุดนะครับว่างๆ  ผมจะมาศึกษาต่อ............... ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 27 ก.ค. 07, 08:47

คุณ Bana สะกดชื่อดิฉันเหมือนคนโบราณสะกด   เทาชมภู  ยิ้มเท่ห์

พระวินิจฉัยของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เป็นที่ยึดถือกันมานานมาก ร่วมร้อยปี    แม้แต่นักวิชาการดังๆอย่างอ.นิธิ หรืออ.สมบัติ วิเคราะห์เรื่องสุนทรภู่ ก็ไม่ได้ตั้งข้อสงสัยเรื่องประวัติแต่อย่างใด 
แต่ว่าคุณพิพัฒน์อ่านพระนิพนธ์ของ"สมเด็จครู" สมเด็จกรมพระยานริศราฯ  จึงพบว่ามีหลายตอนที่สมเด็จครูฯท่านทรงแย้งสมเด็จกรมฯ ดำรงฯ
และก็ยังมีการสอบเทียบหลักฐานอีกหลายอย่าง ที่ทำให้เกิดความเคลือบแคลง
ส่วนนี้นักวิชาการทางประวัติศาสตร์หลายคน อาจจะไม่ได้มอง
จึงเกิดแรงบันดาลใจจะหยิบประวัติสุนทรภู่ขึ้นมาชำระอีกที
ถึงขั้นเชื่อว่านิราศเมืองเพชร ไม่ได้แต่งโดยสุนทรภู่

นอกจากนี้ยังมีนิราศเมืองแกลง นิราศพระบาท และนิราศสุพรรณ ที่คุณพพ.เชื่อว่าไม่ได้แต่งโดยสุนทรภู่
ใน ๓ เรื่องที่ว่านี้นิราศสุพรรณอ่านยากที่สุด    ข้อความค่อนข้างกำกวมอยู่หลายตอน
อาจจะเป็นด้วยฉันทลักษณ์บังคับให้ใช้คำน้อยที่สุด  ขยายความไม่ได้มากอย่างกลอน    และผู้แต่งยังใช้กลบทแทรกอยู่หลายบท   เอกโทษโทโทษก็แยะ
เนื้อความก็เลยจมหายอยู่ข้างใต้รูปแบบ  ขุดขึ้นมาอ่านได้ยาก

ถ้าหากว่ามีสมาชิกเรือนไทยช่วยแจมด้วย  ดิฉันจะลองขุดกรุนิราศสุพรรณขึ้นมาตามรอยอีกครั้ง
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 27 ก.ค. 07, 10:24

ขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพู ที่แนะนำครับ

คำท้วงของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ จะหาอ่านได้จากสาส์นสมเด็จ ปี 2465
ซึ่งเป็นช่วงที่สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ กำลังทรงชำระประวัติสุนทรภู่อยู่
ทรงท้วงเรื่อง"ชายหนึ่งผูกศอ อรไท..." ตอนหนุมาณแก้เชือกผูกคอนางสีดา
เนื้อหาที่ผิดพลาดเป็นอย่างไร เราไม่ทราบ เพราะไม่พบต้นฉบับของสมเด็จฯดำรง
พบแต่ลายพระหัตถ์สมเด็จครูว่า ผู้ที่เล่าเรื่องถวายมานั้น เหลว เพราะไม่รู้เรื่องละคอน

แล้วก็ทรงอธิบายอย่างที่เราใช้กันมาในปัจจุบัน เท่ากับว่า การตีความอัจฉริยภาพของสุนทรภู่
ที่มีปฏิภาณเขียนเพียง "บัดนั้น วายุบุตรแก้ได้ ดังใจหมาย" ก็สำเร็จเป็นบทละคอนที่กระชับทันกับเหตุการณ์
อันที่จริง เป็นพระอธิบายของสมเด็จครู
นี่เป็นเหตุผลประกอบที่ทำให้ผมไม่มั่นใจในพระวินิจฉัยประวัติสุนทรภู่จากสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

เหตุผลอีกข้อหนึ่งก็คือ กรมศิลปากรเคยนำงานค้นคว้าของพระยาปริยัติธรรมธาดามาเผยแพร่
เป็นข้อความสั้นๆ เกร็ดประวัติสุนทรภู่มากกว่า 30 เกร็ด บ้างก็ตรงกับที่สมเด็จทรงไว้ บ้างก็ต่างไป
งานนี้ ท่านเจ้าคุณฯ ทำไว้ก่อนพระนิพนธ์ร่วมสิบปี อุตสาหะไปเก็บเรื่องต่างๆ บันทึกไว้ จะผิดหรือถูกท่านมิได้วินิจฉัย
ผมเข้าใจว่า สมเด็จฯคงจะได้ทรงใช้ เพราะท่านเจ้าคุณเป็นพนักงานหอพระสมุดใต้บังคับบัญชาพระองค์

เกร็ดเหล่านี้มีขัดแย้งกันหลายจุด แต่เราได้รับรู้ต่อมาเพียงข้อที่อนุญาตให้รอดออกมาสู่สังคม
เพราะมีผู้ตัดสินใจเลือกเชื่อเกร็ดข้อนั้นๆ
ผมได้อ่านเกร็ดที่ไม่ถูกเลือก กลับเห็นคล้อยตามมากกว่า จึงยิ่งสงสัยในพระวินิจฉัยเพิ่มเข้าไปอีก

ข้อสงสัยมาสรุปเป็นข้อพิสูจน์ได้สำเร็จ ก็จากการอ่านกลอนไม่เป็น
อ่านแล้วไม่รู้ว่ากลอนใหนดีกว่ากันอย่างไร ทุกกลอนสำหรับผมจึงสามารถเป็นได้ทั้ง/หรือไม่ได้เป็น ฝีปากสุนทรภู่
อย่างนิราศเมืองแกลง อ่านแล้วไม่เชื่อพระวินิจฉัยเลยแม้แต่น้อย
โดยเฉพาะเรื่องกวีจะไปบวช เพราะเป็นพระวินิจฉัยที่อยู่นอกคำกลอน

ความมั่นใจเรื่องพระวินิจฉัยที่ผิดพลาด มาแน่ชัดเมื่ออ่านนิราศมาถึงตอนที่กวีกับผู้ช่วยเดินว่าเสภามาตามทาง เรื่องขุนช้างขึ้นหอ
ปรึกษาอาจารย์เทาชมพูแล้ว ท่านว่าเป็นพระนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ก็แปลว่านิราศเมืองแกลงมิได้แต่งในรัชกาลที่ 1.....
และยังมีพิรุธอย่างนี้อีกหลายสิบประเด็นในนิราศที่เชื่อว่าสุนทรภู่แต่ง

นี่คือการเริ่มต้นชำแหละประวัติสุนทรภู่ ซึ่งได้ตั้งชื่อว่า "สุนทรภู่โดยสุนทรภู่"
เป็นต้นฉบับที่หมายจะตีพิมพ์ แต่ยังขาดทุนทรัพย์

ก็เลยรีรออยู่
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 10 ส.ค. 07, 09:34

เป็นแฟนสุนทรภู่มาตั้งแต่เริ่มอ่านหนังสือเป็น เพราะชอบพระอภัยมณีและนิราศภูเขาทองมากค่ะ ..มีความจำเก่าๆเกี่ยวกับที่อ่านมาตอนเด็กๆว่าสุนทรภู่ชอบดื่ม เจ้าชู้ ...เป็นอาลักษณ์ที่ตอนหลังตกอับ ท่าดิฉันจะต้องไปอ่านใหม่อีกครั้งเสียแล้ว แต่ตอนนี้ตามท่านทั้งสามไปก็สนุกแล้วค่ะ
แว้บมาสวัสดีให้ตกใจเล่น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 10 ส.ค. 07, 09:41

ตกใจจริงด้วย  ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.148 วินาที กับ 19 คำสั่ง