เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 20762 คนไทยอ่านหนังสือปีละ ๗ บรรทัด
ตา
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 16 ก.ย. 07, 12:59

เรื่องการอ่านหนังสือนี่ ไม่รู้เหมือนกันว่า เป็นที่นิสัยหรือสภาพแวดล้อม  เคยแนะนำเพื่อนๆ หรือน้องๆ ที่มีลูกให้พยายามชักจูงลูกให้อ่านหนังสือ แต่เจ้าตัวบอกว่า ก็พยายามแล้วแต่เด็กไม่ชอบอ่าน ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะทำยังไง

มานึกถึงตัวเอง ก็ยังสงสัยว่าทำไมถึงชอบอ่านหนังสือ ทั้งๆที่แม่ก็ไม่ค่อยชอบอ่านเท่าไหร่ เป็นแม่บ้านธรรมดาต้องเลี้ยงลูกหลายคน พ่อก็อ่านหนังสือพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ แต่มีน้าสาวคนหนึ่งที่ชอบอ่านหนังสือ และรับหนังสือสกุลไทยและอ่านนิยายหลายเรื่อง ตัวเองก็เลย(น่าจะ)อ่านเพราะเห็นคุณน้าอ่าน (มั๊งคะ)  แต่ที่ตลก ก็คือลูกคุณน้ากลับไม่ค่อยชอบอ่านเท่าที่ควร จนบัดนี้ก็ยังสงสัยว่า นิสัยรักการอ่านนี่มันเกิดจากอะไร

อย่างครอบครัวดิฉันเอง  ลูกสาวและลูกชายชอบการอ่านทั้งคู่ แต่ลูกชายอายุ 14 เน้นอ่านการ์ตูน ส่วนลูกสาวอายุ 12 ชอบอ่านนิยายแจ่มใส หรือพวกแนวเกาหลี เข้าใจว่า ลูกๆน่าจะเห็นพ่อแม่ชอบอ่านหนังสือและเห็นกองหนังสือนิตยสาร(พ่ออ่านพวกหนังสือพิมพ์กับหนังสือรถ แม่ชอบอ่านสกุลไทย ขวัญเรือนและนิยายต่างๆ) อยู่รอบตัว มากกว่าจะเห็นพ่อกับแม่เปิดทีวีดูมั๊งนะคะ  ก่อนหน้านี้ สมัยลูกทั้งคู่อยู่โรงเรียนอนุบาลที่สอนในแนวมอนเตสเซอรี่ ก็มีการสนับสนุนให้ลูกยืมหนังสือจากโรงเรียนมาอ่านที่บ้าน  ถ้าจำไม่ผิด ลูกสาวเริ่มอ่านหนังสือแบบเป็นเรื่องเป็นราวตั้งแต่อายุราว 6-7 ขวบ ตอนป.1 นั่นเลยทีเดียว  หนังสือเล่มแรกๆ ของลูกที่เป็น หนังสือเล่มค่อนข้างหนา (ในความคิดของดิฉันสำหรับเด็กวัยนั้น) เป็นวรรณกรรมสำหรับเด็กของอาจารย์ ว. วินิจฉัยกุล  คือ เรื่องแก้วตา ลินลาน่ารัก ความลับของดาวมรกต และคุณครูอวกาศ ที่แม่ซื้อให้ในฐานะที่เป็นแฟนคลับ  พอลูกอ่านจบแต่ละเล่ม ก็คุยกับลูกว่าเป็นยังไง ปรากฏว่าลูกชอบ แล้วเลยแนะนำเล่มอื่นๆที่แม่เคยชอบสมัยเด็กๆ เช่นบ้านน้อยในโพรงไม้ เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก เรื่องของม่าเหมี่ยว ฯ  ให้ลูกอ่าน  บางเล่ม ลูกอ่านไม่ต่ำกว่า 3-4 รอบ  และเวลาว่างๆ ก็ยังชอบไปอ่านหนังสือในห้องสมุด กลายเป็น1 ในยอดนักอ่านในระดับชั้น และส่งผลต่อการเรียนวิชาภาษาไทยของลูกในระดับค่อนข้างดีเด่นทีเดียว

จนปัจจุบัน เวลาลูกเล่าเรื่องอะไรให้ฟัง ถ้าสามารถโยงอะไรให้เกี่ยวข้องกับการอ่านได้ ก็จะพยายามชมเชยและชักจูงรวมถึงพยายามแนะให้เค้าเริ่มอ่านหนังสือหลากแนวมากขึ้น  ที่ค่อนข้างเป็นห่วงตอนนี้ คือ หนังสือนิยายกุ๊กกิ๊กวัยรุ่นมีเยอะมากและเด็กๆชอบอ่านเรื่องพวกนี้ ซึ่งบางเรื่องนอกจากใช้ภาษาที่ผิดแล้ว ยังมีเนื้อหาเชิงอีโรติกโจ่งแจ้ง  มีความคิดว่า จากนี้ไป คงต้องเริ่มให้อ่านนิยายของนักเขียนดีๆที่ให้แง่คิดหลากหลายมากกว่านี้ และรวมถึงหนังสือชีวประวัติที่อ่านแล้วก็น่าสนุกด้วยค่ะ

นอกจากส่งเสริมให้คนอ่านหนังสือแล้ว ยังต้องส่งเสริมหนังสือดีๆให้คนอ่านด้วย  บางทีมันยากเหมือนกันนะคะว่า จะหาหนังสือแนวไหน เล่มไหนให้ถูก"จริต"ของแต่ละคน  การปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อการอ่านเป็นสิ่งสำคัญแต่บางทีทำได้ยากเหมือนกันนะคะ
บันทึกการเข้า
agree
ชมพูพาน
***
ตอบ: 114


แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 16 ก.ย. 07, 13:08

เรื่องการอ่านหนังสือนี่ ไม่รู้เหมือนกันว่า เป็นที่นิสัยหรือสภาพแวดล้อม  เคยแนะนำเพื่อนๆ หรือน้องๆ ที่มีลูกให้พยายามชักจูงลูกให้อ่านหนังสือ แต่เจ้าตัวบอกว่า ก็พยายามแล้วแต่เด็กไม่ชอบอ่าน ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะทำยังไง

มานึกถึงตัวเอง ก็ยังสงสัยว่าทำไมถึงชอบอ่านหนังสือ ทั้งๆที่แม่ก็ไม่ค่อยชอบอ่านเท่าไหร่ เป็นแม่บ้านธรรมดาต้องเลี้ยงลูกหลายคน พ่อก็อ่านหนังสือพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ แต่มีน้าสาวคนหนึ่งที่ชอบอ่านหนังสือ และรับหนังสือสกุลไทยและอ่านนิยายหลายเรื่อง ตัวเองก็เลย(น่าจะ)อ่านเพราะเห็นคุณน้าอ่าน (มั๊งคะ)  แต่ที่ตลก ก็คือลูกคุณน้ากลับไม่ค่อยชอบอ่านเท่าที่ควร จนบัดนี้ก็ยังสงสัยว่า นิสัยรักการอ่านนี่มันเกิดจากอะไร

อย่างครอบครัวดิฉันเอง  ลูกสาวและลูกชายชอบการอ่านทั้งคู่ แต่ลูกชายอายุ 14 เน้นอ่านการ์ตูน ส่วนลูกสาวอายุ 12 ชอบอ่านนิยายแจ่มใส หรือพวกแนวเกาหลี เข้าใจว่า ลูกๆน่าจะเห็นพ่อแม่ชอบอ่านหนังสือและเห็นกองหนังสือนิตยสาร(พ่ออ่านพวกหนังสือพิมพ์กับหนังสือรถ แม่ชอบอ่านสกุลไทย ขวัญเรือนและนิยายต่างๆ) อยู่รอบตัว มากกว่าจะเห็นพ่อกับแม่เปิดทีวีดูมั๊งนะคะ  ก่อนหน้านี้ สมัยลูกทั้งคู่อยู่โรงเรียนอนุบาลที่สอนในแนวมอนเตสเซอรี่ ก็มีการสนับสนุนให้ลูกยืมหนังสือจากโรงเรียนมาอ่านที่บ้าน  ถ้าจำไม่ผิด ลูกสาวเริ่มอ่านหนังสือแบบเป็นเรื่องเป็นราวตั้งแต่อายุราว 6-7 ขวบ ตอนป.1 นั่นเลยทีเดียว  หนังสือเล่มแรกๆ ของลูกที่เป็น หนังสือเล่มค่อนข้างหนา (ในความคิดของดิฉันสำหรับเด็กวัยนั้น) เป็นวรรณกรรมสำหรับเด็กของอาจารย์ ว. วินิจฉัยกุล  คือ เรื่องแก้วตา ลินลาน่ารัก ความลับของดาวมรกต และคุณครูอวกาศ ที่แม่ซื้อให้ในฐานะที่เป็นแฟนคลับ  พอลูกอ่านจบแต่ละเล่ม ก็คุยกับลูกว่าเป็นยังไง ปรากฏว่าลูกชอบ แล้วเลยแนะนำเล่มอื่นๆที่แม่เคยชอบสมัยเด็กๆ เช่นบ้านน้อยในโพรงไม้ เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก เรื่องของม่าเหมี่ยว ฯ  ให้ลูกอ่าน  บางเล่ม ลูกอ่านไม่ต่ำกว่า 3-4 รอบ  และเวลาว่างๆ ก็ยังชอบไปอ่านหนังสือในห้องสมุด กลายเป็น1 ในยอดนักอ่านในระดับชั้น และส่งผลต่อการเรียนวิชาภาษาไทยของลูกในระดับค่อนข้างดีเด่นทีเดียว

จนปัจจุบัน เวลาลูกเล่าเรื่องอะไรให้ฟัง ถ้าสามารถโยงอะไรให้เกี่ยวข้องกับการอ่านได้ ก็จะพยายามชมเชยและชักจูงรวมถึงพยายามแนะให้เค้าเริ่มอ่านหนังสือหลากแนวมากขึ้น  ที่ค่อนข้างเป็นห่วงตอนนี้ คือ หนังสือนิยายกุ๊กกิ๊กวัยรุ่นมีเยอะมากและเด็กๆชอบอ่านเรื่องพวกนี้ ซึ่งบางเรื่องนอกจากใช้ภาษาที่ผิดแล้ว ยังมีเนื้อหาเชิงอีโรติกโจ่งแจ้ง  มีความคิดว่า จากนี้ไป คงต้องเริ่มให้อ่านนิยายของนักเขียนดีๆที่ให้แง่คิดหลากหลายมากกว่านี้ และรวมถึงหนังสือชีวประวัติที่อ่านแล้วก็น่าสนุกด้วยค่ะ

นอกจากส่งเสริมให้คนอ่านหนังสือแล้ว ยังต้องส่งเสริมหนังสือดีๆให้คนอ่านด้วย  บางทีมันยากเหมือนกันนะคะว่า จะหาหนังสือแนวไหน เล่มไหนให้ถูก"จริต"ของแต่ละคน  การปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อการอ่านเป็นสิ่งสำคัญแต่บางทีทำได้ยากเหมือนกันนะคะ

ก็ถูกนะครับ การอ่านการ์ตูน ถึงแม้ว่าการ์ตูนบางเรื่องอาจจะไร้สาระไปบ้าง แต่ถ้าเราเข้าใจ เราก็จะรู้ว่ามันยังมีส่วนดีที่เป็นการปลูกฝังให้เด็กอ่านหนังสือมากขึ้น
แต่ถ้าปลูกฝังให้อ่านในส่วนที่ผิดอย่างเดียวอาจไม่ได้เกิดผลดีกับเด็กนอกจากการเสริมทักษะการอ่าน เราก็ควรแบ่งเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ใน 1 วัน
เราออกกำลังกาย อ่านหนังสือ นอน การอ่านหนังสืออาจจะแยกย่อยเป็น 2 ประเภทคือ อ่านเพื่อความสนุกสนาน และ อ่านเพื่อให้ได้ความรู้
บันทึกการเข้า

Some dream of worthy accomplishments, while others stay awake and do them.
บางคนฝันที่จะประสบความสำเร็จอย่างสวยหรู ในขณะที่บางคนกำลังลงมือกระทำ
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 16 ก.ย. 07, 18:54

ต้องบอกคุณศิลาว่า  ตอนนี้ตามอ่านหนังสือวิชาการ.คอมเ่ล่มนี้  หัวข้อที่น่าสนใจยังตามอ่านไม่ทันเลยนะคะนี่

มาว่าเรื่องการอ่่านอีกนิดนะคะ

     ไม่อยากให้ผู้ใหญ่รุ่น 40 ขึ้นไปคาดหวังกับเด็กปัจจุบันให้เขาเป็นนักอ่านอย่างที่เราอ่าน  เพราะปัจจุบันมีทั้งทีวี คอมพิวเตอร์  นิทรรศการ  ห้างสรรพสินค้า ฯ  และเราต้องยอมรับว่า  ปัจจุบันหนังสือไม่ใช่แหล่งความรู้ที่ดี่ที่สุดอีกต่อไป  แต่หนังสือมีคุณค่าบางอย่างที่สื่ออื่น ๆ ไม่มี  ขอแค่ให้เด็ก ๆ ไม่ทิ้งการอ่านไม่ว่าจากสื่อใด ๆ ก็ตาม ผู้ใหญ่ก็น่าจะพอใจ  จะได้ไม่เป็นกังวล ไม่กดดันเด็กจนเกินไป 

     แต่เรื่องการที่ครอบครัวไม่ดูทีวีนี่  ดิฉันว่ามีผลต่อการส่งเสริมการอ่านค่ะ  เพราะครอบครัวดิฉันก็ดูทีวีน้อยมากเช่นกัน

     เรื่องเด็กควรจะอ่านอะไรดี  สำหรับหลาน ๆ ดิฉัน  ดิฉันก็เอาตัวเองเป็นตัวตั้ง  คิดว่าอะไรดีก็ซื้อหามาให้  เพราะเราเป็นคนอ่านให้เขาฟังอยู่แล้ว  และเมื่อเขารู้สึกว่าอยากเลืิอกเอง  ดิฉันก็ปล่อยให้เขาเลือกนะคะ  แต่ซื้อได้ทีละเล่ม  อ่านจบแล้วค่อยซื้อเล่มใหม่  อะไรที่อยากให้เขาอ่านก็ซื้อให้อีก  แต่ก็พบว่าเขาไม่อ่านสิ่งที่เราซื้อเท่าไหร่หรอกค่ะ  พอเขาอ่านสิ่งที่เขาชอบจบ  ก็จะรบเร้าให้เราพาไปหาซื้อเล่มใหม่อีก  ตอนหลังก็เลิกซื้อหนังสือให้ค่ะ  แต่ซื้อเฉพาะเล่มที่เขาอยากได้  ส่วนหลานคนโตอีก 2 คนปัจจุบันเขาจัดการซื้อหาของเขาเอง  2 คนอ่านกันคนละแบบเลยค่ะ  ส่วนเจ้าคนเล็กนี่ก็อีกแบบหนึ่งไม่เหมือนกันเลย

     ใครที่อยากให้ลูกหลานอ่านหนังสือ  เริ่มจากการอ่านหนังสือให้เขาฟังซิคะ  เริ่มเร็วเท่าไหร่ดีเท่านั้นค่ะ  เท่าที่ดิฉันอยู่กับเด็ก ๆ มา  มีน้อยมากค่ะที่ี่่ไม่ชอบฟังเราอ่าน  ซึ่งจะเป็นเด็กสมาธิสั้นเป็นพื้นฐาน  หรือไม่เค้ารู้สึกโตเกินกว่าที่จะให้เราอ่านให้ฟัง  ดิฉันอ่านหนังสือให้เด็กฟังจนพบว่า  การอ่านออกเสียงมีมนต์ขลังบางอย่างอยู่  แล้วสังเกตสิค่ะ  เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีการอ่านออกเสียงในโรงเรียนแล้ว  เมื่อเด็กไม่ค่อยได้อ่านออกเสียง  เราก็จะไม่รู้เลยว่าเค้าออกเสียงคำเหล่านั้นถูกต้องหรือเปล่า  คุณครูก็ไม่ได้อ่านออกเสียงให้เด็กฟัง  เด็กได้ยินแต่เสียงของนักร้อง  เราเลยได้ยินเด็กออกเสียง ช ช้าง เป็นเสียง sh เพิ่มขึ้นทุกวัน  เฮ้อ.......
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 18 ก.ย. 07, 19:04

สวัสดีทุกๆท่านครับ
ความเห็นของหลายๆท่านน่าสนใจมากครับ  ยิ้มเท่ห์
ผมคิดว่า นอกเหนือจากการอ่านให้ฟังแล้ว ถ้าเราทำตัวอย่างให้เด็กเห็น ก็น่าจะช่วยได้นะครับ
แต่คงต้องใช้เวลานานหน่อย
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 18 ก.ย. 07, 20:21

ขอยกมือสนับสนุนคุณศิลาค่ะ  การเป็นแบบอย่างให้กับเด็กสำคัญมาก ๆ ค่ะ  ดิฉันสังเกตว่า  เด็กทำตามสิ่งที่เห็นมากกว่าสิ่งที่ได้ยินค่ะ  เพราะฉะนั้นไม่ใช่เรื่องการอ่านอย่างเดียวค่ะ  ทุก ๆ เรื่องเลยค่ะ  ไม่ว่าจะเรื่องดี หรือไม่ดี
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 19 ก.ย. 07, 10:08


        คุณ pakun2k1d น่าจะหมายถึงสนับสนุนความเห็นคุณ ศ - ศรีปิงเวียง แต่พิมพ์คลาดเคลื่อนไป

          เมื่อเช้าได้พบคุณหมอเด็กผู้เชี่ยวชาญเรื่องพัฒนาการเด็ก ได้เกริ่นๆ ถามเรื่องการบ่มเพาะการอ่านในเด็กเล็ก
เนื่องจากยังไม่มีเวลาจะคุยในรายละเอียด  ไว้เมื่อสบโอกาสเหมาะ พร้อมเมื่อไรจะนำมาเล่าในที่นี้ ครับ
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 19 ก.ย. 07, 10:56

ต้องขอโทษคุณศรีปิงเวียง และขอบคุณคุณศิลาค่ะ  ดิฉันผิดจริง ๆ

ดิฉันกำลังค้นหาข้อเขียนของอาจารย์พรอนงค์  นิยมค้าที่แนะนำเรื่องการส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็กไว้  ได้วิทยายุทธชิ้นนี้จากอาจารย์มานานมากแล้ว  ตอนนี้ยังหาไม่พบค่ะ  แต่จะพยายามหามาขยายสู่ผู้สนใจทุกท่านค่ะ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 16 ต.ค. 07, 09:28

        ต่อเนื่องจาก
อ้างถึง
ได้พบคุณหมอเด็กผู้เชี่ยวชาญเรื่องพัฒนาการเด็ก ได้เกริ่นๆ ถามเรื่องการบ่มเพาะการอ่านในเด็กเล็ก
เนื่องจากยังไม่มีเวลาจะคุยในรายละเอียด  ไว้เมื่อสบโอกาสเหมาะ พร้อมเมื่อไรจะนำมาเล่าในที่นี้ ครับ

        ได้คุยกับทั้งคุณหมอเด็กทางด้านพัฒนาการเด็ก และทางด้านสมอง โดยเฉพาะคุณหมอสมอง ได้ช่วยแต่งเติมให้ได้เป็น

        >> แนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก และบ่มเพาะนิสัยการอ่าน <<       สำหรับผู้รักเด็ก และผู้สนใจ ครับ


        เมื่อเด็กอายุ ๖ เดือน พอนั่งได้แล้ว ควรฝึกให้เขานั่ง ให้จับหรือกำหนังสือที่ไม่มีขอบแหลมคม ควรเป็นหนังสือที่มีลักษณะนุ่มและ
ปลอดภัยในกรณีที่เด็กอาจหยิบหนังสือเข้าปาก  และควรเป็นหนังสือที่มีรูปใหญ่ๆ ผู้ดูแลสามารถอ่านหนังสือเล่าให้เด็กฟังบ้าง เพราะเด็กจะเรียนรู้ด้วยการ
จดจำเสียงสูงๆ ต่ำๆ

        เมื่อเด็กโตขึ้นอายุประมาณ ๙ เดือน ควรพูดคุย และชี้ชวนให้เด็กดูสิ่งต่างๆ รอบตัว เพื่อเพิ่มทักษะการเรียนรู้ และการเข้าใจภาษาพูด
และภาษากาย

        เมื่ออายุ ๑ ขวบ เด็กบางคนจะสามารถพูดเดี่ยวที่มีความหมายได้อย่างน้อยหนึ่งคำ เช่นคำว่า “แม่”  “กิน”  “เอา” “ ไป” หรือคำอื่นที่เด็กคุ้นเคย
ผู้ดูแลควรเพิ่มทักษะเด็กโดยใช้ภาพสิ่งของ หรือภาพตัวอักษรใหญ่ๆ ให้เด็กเห็นและออกเสียงให้ฟังช้าๆ ซ้ำๆ นอกจากนี้การอ่านหนังสือให้เด็กเห็นบ่อยๆ
จะเป็นการช่วยส่งเสริมพฤติกรรมเลียนแบบในการอ่านด้วย

        เมื่ออายุ ๒ ขวบ เด็กควรจะพูดคำเดี่ยวได้อย่างน้อยห้าถึงสิบคำ หรือ คำเดี่ยวติดกันที่มีความหมาย เช่น “ไม่เอา” “ไปเที่ยว” “กินนม”   
ผู้ดูแลควรสอนเด็กให้รู้จักสีอย่างน้อยสองหรือสามสีซ้ำๆ สอนให้รู้จักอวัยวะต่างๆ บนใบหน้าโดยการเล่นเกม  นอกจากนี้ ควรอ่านหรือเล่านิทานพร้อมภาพ
ให้เด็กฟังก่อนนอน  เด็กวัยสองขวบสามารถฝึกวินัยในการเข้าห้องน้ำได้ เพื่อเตรียมพร้อมในการเข้าโรงเรียนต่อไป
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 16 ต.ค. 07, 09:35


        ช่วงอายุ ๓ -๔ ขวบ ก่อนเข้าโรงเรียน  ผู้ดูแลควรสอนหรือเล่นฝึกทักษะที่เกี่ยวกับภาษาให้มากขึ้น อาจเริ่มสอนให้เลียนเสียง ก เอ๋ย ก ไก่
และให้ดูภาพประกอบ   เนื่องจากเด็กวัยนี้เริ่มเลียนแบบเสียงได้เก่งขึ้น เด็กบางคนสามารถร้องเพลงเลียนแบบได้เกือบทั้งเพลงแต่อาจยังไม่รู้ความหมายทั้งหมด 
ดังนั้นการเลือกเพลงให้เด็กฟังจึงมีความสำคัญมาก 
       นอกจากนี้ควรสอนให้เด็กรู้จักสีต่างๆ มากขึ้น รู้จักชื่อของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย รู้จักชนิดของสัตว์ต่างๆ ที่พบได้บ่อยๆ รวมถึงการฝึกวินัยง่ายๆ เช่น
การช่วยอาบน้ำ การช่วยแต่งตัว การถอดรองเท้า ซึ่งล้วนต้องใช้ทักษะในการฟังและการแปลความหมายทั้งสิ้น
       เด็กจะเริ่มฉายแววว่าเป็นคนสนใจเรียนรู้ หรือมีความถนัดทางภาษาแค่ไหน

       การบ่มเพาะด้วยการสอนและเล่นกับเด็กนั้น ต้องให้เด็กสนุกไปด้วย ไม่บังคับหรือยัดเยียดเพราะจะทำให้เด็กเครียด หมดความสนใจในสิ่งนั้นๆ
ทำให้ขาดโอกาสในการเพิ่มพูนทักษะต่างๆ
 
            เด็กแรกเกิด - ๑ ปี จะเล่นโดยการใช้ประสาทสัมผัส หยิบ ดม ดูด
 
            อายุตั้งแต่ ๑ - ๒ ปี เด็กจะเริ่มเล่นตามหน้าที่ของสิ่งของ เช่น ช้อนใช้ตักอาหาร แก้วน้ำเอาไว้ดื่ม

            อายุตั้งแต่ ๒ -๓ ปี เด็กจะเริ่มเล่นสมมติ เลียนแบบ เช่น เล่นทำอาหาร
 
            อายุตั้งแต่ ๓ - ๕ ปี เด็กจะเริ่มเล่นบทบาท เช่นเป็นอุลตร้าแมน เลียนแบบตัวละครในโทรทัศน์  เลียนแบบพฤติกรรมคนรอบข้าง

           เด็กส่วนใหญ่จะเรียนรู้ได้รวดเร็วเมื่อเกิดความสนุก หรือมีแรงจูงใจต่อการเรียนรู้นั้นๆ  โดยเฉพาะการเรียนรู้ผ่านวิธีเล่นและของเล่นที่เหมาะสม
จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการสมองช่วยเสริมทักษะทุกด้านของเด็กต่อไป

จบแล้วครับ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 16 ต.ค. 07, 12:34


       วันนี้ได้อ่านข่าว ค่ายกล้าวรรณกรรม   http://www.komchadluek.net/2007/10/16/e001_162461.php?news_id=162461
ทำให้เกิดจินตนาการต่อว่า  เมื่อปลูกฝังแต่ครั้งยังเล็ก พอเติบโตเป็นเยาวชนแล้วเขาอาจได้ไปเข้าค่ายนี้ และอาจก้าวต่อไปสู่
การเป็นนักเขียนในวันข้างหน้า

ตัดทอน เรียบเรียง จาก   >>    เพาะกล้า...วรรณกรรม เติบโตรู้ค่าภาษาไทย      <<   พวงชมพู ประเสริฐ
 
            กล้าวรรณกรรมเปรียบเด็กและเยาวชนดั่งต้นกล้าที่จะเติบโตขึ้นมาเป็นเมล็ดพืชให้คนอื่นได้อิ่ม อย่างไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ แต่
ต้องมีคนบ่มเพาะ ดูแล ทุบตี ไถคราด เพื่อให้ต้นกล้าเติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพและกล้าหาญที่จะสรรค์สร้างวรรณกรรมดีๆ ให้คนได้อ่านต่อๆ ไป

เจตนารมณ์ค่ายกล้าวรรณกรรมถ่ายทอดผ่านคำบอกเล่าของ ผศ.อำนาจ เย็นสบาย คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)

         ค่ายกล้าวรรณกรรมจัดขึ้นเป็นรุ่นที่4 ระหว่างวันที่2-5 ตุลาคมที่โรงแรมริเวอร์แคววิลเลจ จ.กาญจนบุรีมีนักเรียนและครูจากทั่วประเทศเข้าร่วมกว่า 200 คน
ภายใต้การสนับสนุนจากบริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนที่มีทักษะด้านการเขียนได้พัฒนาตนเองในเชิงคุณภาพ
ผ่านการเคี่ยวเข้มข้นจากนักเขียนชั้นแนวหน้า เช่น ชมัยภร แสงกระจ่าง, วัฒน์ วรรลยางกูร, กิ่งฉัตร, กนกวลี พจนปกรณ์ 

        อาจารย์เนาวรัตน์พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ เปิดฉากสะกดคนฟังด้วยเสียงขลุ่ยคลอเบาๆ พอให้แว่วเสียง ตามด้วยการร่ายบทกลอนประกอบ
แล้วให้เคล็ดวิชามาฝึกปรืองานเขียน เพราะอาจารย์เนาวรัตน์ชี้ว่า

        ก่อนที่จะเริ่มจรดปากกาเขียน ต้องตระหนักว่าภาษาไทย ไม่ได้มีไว้พูดอ่านเขียนเท่านั้น แต่นำมาใช้ในการคิดด้วย
 
        ถ้ารู้ภาษามากก็คิดได้มาก ยิ่งถ้ามีความสามารถในการลำดับภาษา ยิ่งช่วยให้คิดได้มากขึ้น และ

        มนุษย์มีความรู้สึกทั้งรัก เหงา เศร้าที่ไปไกลมากกว่าภาษา ตรงนี้คือปัญหา จะทำอย่างไรที่จะใช้ภาษาถ่ายทอดความรู้สึก อารมณ์ที่มีอยู่มากมาย
ออกมาให้ได้ หากทำได้ถือว่าประสบความสำเร็จในงานเขียนนั้นๆ และ นี่คือความสำคัญของภาษา

         จุดเริ่มของการจะเป็นนักเขียนที่ดีขอให้รักการอ่านหนังสือ โลกของคนไม่เหงา คือ โลกของคนอ่านหนังสือ
โทรศัพท์มือถืออย่าให้ความสำคัญมาก หากใช้เป็นก็ดีไป ถ้าใช้ไม่เป็นจะตกเป็นทาสรัก โกรธกันง่าย สร้างอารมณ์ไว ร้อน

         แต่สิ่งที่ซื่อสัตย์เสมอคือ หนังสือ อ่านหนังสือวิเศษสุด ช่วยยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น ทำให้มีสติ สมาธิ อ่านเรื่องดีๆ 1 เล่มช่วยเปลี่ยนคนได้
อาจารย์เนาวรัตน์ให้แง่คิด 

       4 วัน 3 คืน ในค่ายกล้าวรรณกรรมทำให้เด็กๆ ได้พัฒนาตนเอง ปลูกฝังให้รัก รู้คุณค่า และใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

        ที่สำคัญยังช่วยให้นักเรียนได้ค้นพบตัวเองอย่างเช่น นักเรียนที่เข้าร่วมค่ายเป็นปีที่ 2 ได้รับคัดเลือกจากสำนักพิมพ์สำนักหนึ่ง
ให้รวมเรื่องสั้นออกจำหน่าย รวมถึงนักเรียนกลับมาตั้งชมรมนัก (อยาก) เขียนในโรงเรียน อบรมต่อให้แก่รุ่นน้องหลังกลับจากเข้าค่าย
ถือว่าเป็นการช่วยครูในการปลูกฝังการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง 

          เด็กนักเรียนคนหนึ่งกล่าวว่า พ่อแม่ควร ปลูกฝังให้เด็กรู้คุณค่าและใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง สอนให้รักการอ่าน ทำตัวเป็นแบบอย่าง
จากนั้นนำความรู้ที่ได้มาจับกลุ่มพูดคุยกัน แลกเปลี่ยนกันในครอบครัว จะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกค้นคว้าหาความรู้มาแลกเปลี่ยนกับคนอื่น
เมื่ออ่านหนังสือมาก เด็กก็จะซึมซับการใช้ภาษาที่ถูกต้องอย่างอัตโนมัติ

       จะว่าไปแล้วภาษาไทยจัดเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ชาติไทย หากคนในชาติยังไม่เห็นค่าและความสำคัญ และ
ใช้ภาษาอย่างถูกต้องเหมาะสม ไม่ช้าไม่นานภาษาไทยอาจเป็นเช่นดั่งภาษาอาเรม, บูซินหัว และเรดเกเลา ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่เหลือคนพูดได้เพียงแค่ 40, 200 และ20 คน ตามลำดับและอีกหลายภาษาทั่วโลกที่กำลังรอวันสูญหายก็เป็นได้ 

บันทึกการเข้า
Karine!!
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130

กำลังค้นหาทางสว่างของชีวิต


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 21 ต.ค. 07, 00:28

ร่วมผลัด เอ้ย ผลัก...ดัน ให้ "การอ่าน" เป็นวาระแห่งชาติกันเถอะ
บันทึกการเข้า

การศึกษาก้าวไกล ประเทศไทยรุ่งเรือง (แต่ตอนนี้ตูรุ่งริ่งชอบกล)
agree
ชมพูพาน
***
ตอบ: 114


แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 21 ต.ค. 07, 15:03

การอ่านเป็นสิ่งที่ควรกระทำอย่างยิ่ง จงอ่านทุกวัน
บันทึกการเข้า

Some dream of worthy accomplishments, while others stay awake and do them.
บางคนฝันที่จะประสบความสำเร็จอย่างสวยหรู ในขณะที่บางคนกำลังลงมือกระทำ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.928 วินาที กับ 20 คำสั่ง