เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 20757 คนไทยอ่านหนังสือปีละ ๗ บรรทัด
ทินกร
อสุรผัด
*
ตอบ: 4

บมจ.เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 05 ก.ค. 07, 13:12

คืนวันที่ 4 ก.ค.50 มีโอกาสดูรายการจุดเปลี่ยนของทีวีบูรพาทางช่อง 9
รายการกล่าวถึงเรื่องการอ่านหนังสือของคนไทย
ผมดูแล้วเห็นว่าจุดหลักน่าจะอยู่ที่โอกาสการเข้าถึงหนังสือ
ซึ่งสาเหตุสรุปได้ 2 ประเด็น คือ
1.สภาพแวดล้อมของการศึกษา
2.ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว
ซึ่งจะเห็นชัดเจนว่าโครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษา เช่น สื่อการสอน
ห้องสมุด มีความแตกต่างกันระหว่างสถานศึกษาในส่วนกลางและภูมิภาค
เมื่อเป็นเช่นนี้แม้จะมีหลักสูตรที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาเพิ่มเติมนอกห้องเรียน
การอ่าน การตีความ ก็ไม่เกิดการกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจศึกษาหรืออ่านหนังสือมากขึ้น

ในขณะที่ปัจจัยภาวะเศรษฐกิจของครอบครัวมีส่วนสำคัญที่ทำให้เด็กมีโอกาส
เข้าถึงสื่อ เช่น หนังสือมากขึ้นในเชิงปริมาณและคุณภาพ  และแม้บางคนจะมีความต้องการ
อ่านหนังสือมากและพยายามหาหนังสือคุณภาพมาอ่านก็อยู่ในขีดจำกัดที่ตัวเองทำได้
ผมเห็นว่าผู้ที่ชอบอ่านหนังสือและอยู่ในสถานะที่เข้าหนังสือได้จำกัดแต่มีความ
พยายามที่จะเข้าถึงหนังสือมีพอสมควรในสังคมไทย  แต่ไม่มากพอที่จะขับเคลื่อน
พฤติกรรมนี้ให้ขยายวงกว้างได้

ผมเห็นว่าเราต้องสร้างโอกาสการเข้าถึงหนังสือ องค์ความรู้ ด้วยการกำหนดนโยบาย
เมกะโปรเจกต์ทางการศึกษา เหมือนที่รัฐบาลกำลังทำเมกะโปรเจกต์ขนส่งมวลชน
ใน กทม.และปริมณฑล  ส่วนรายละเอียดควรเป็นอย่างไรคงต้องให้ผู้มีความรู้ นักการศึกษา
นักวิชาการมาอธิบาย และ อบต.ด้วย

ส่วนเศรษฐกิจครัวเรือนต้องแก้ไขด้วยการกระจายรายได้ให้เป็นธรรมซึ่งเป็นปัญหาที่พูดมานาน
ต้องสร้างความเป็นธรรมทางภาษี ความเป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากร ความเป็นธรรมในการ
ถือครองที่ดิน มีระบบแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม และต้องเพิ่มองค์ความรู้ด้านการเกษตรให้
เกษตรกรที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศและเป็นคนจน  เพราะพื้นฐานของประเทศไทยคือการ
เกษตร
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 07 ก.ค. 07, 20:29

ครับนอกจากการจัดการเรียนการสอน  ให้มีทัศนคติในการรักการอ่านแล้ว  สิ่งที่เรามองข้ามไปคือการเข้าถึงหนังสือ  ไม่ใช่หนังสือในห้องสมุด(ซึ่งไม่รู้จะเอาเวลาที่ไหนไปอ่าน  เพราะบรรณารักษ์ปิดเป็นเวลา  และปัญหาการเร่งรีบประจำวัน)  และไม่ใช่หนังสือที่ร้านเช่าที่ยิ่งยากไปอีก  แต่ผมหมายถึงหนังสือในบ้าน  ครอบครัวชนบทเกษตรกร  หรือครอบครัวกรรมาชีพ  ยากเหลือเกินที่จะหาพ๊อคเก็ตบุ๊คสักเล่ม  หรือหนังสือประเทืองปัญญาที่ราคาแสนแพง  มาไว้ที่บ้านให้สามารถหยิบฉวยมาอ่านได้ง่ายๆ  อย่างมากก็คงจะพวกแม๊กกาซีนดาราหรือไม่ก็หนังสือฟุตบอล  การถ่ายทอดทางความคิดจากรุ่นสู่รุ่น  หนังสือเป็นตัวเชื่อมที่สำคัญจริงๆครับ  เราได้อ่านหนังสือคุณพ่อคุณแม่  นั่นแปลว่าเราโชคดี  อันนี้กระมังครับที่เค๊ารวมเรียกกันว่า  ค่านิยม ........... ยิ้ม
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 29 ก.ค. 07, 10:17

        มีเวลากลับไปอ่านเรื่องเก่าๆ ที่เก็บไว้ พบข้อมูลคลาดเคลื่อนที่ขอบันทึกแก้ไขไว้ด้วย ครับ
       ในภาพยนตร์เรื่อง ทวิภพ เมื่อประมาณ ๓ ปีที่แล้ว นางเอกกล่าวว่า คนไทยยุคปัจจุบัน
อ่านหนังสือปีละ ๖ บรรทัด  (ในขณะที่ข่าวจากนสพ. เป็น ๗ บรรทัด)
     และมีเรื่องราวเกี่ยวกับการอ่านมาเพิ่มเติม ครับ

        วันนี้ได้อ่าน เรื่อง ต้องทำให้การอ่านหนังสือเป็นวาระแห่งชาติ จาก
จุดประกายวรรณกรรม ของ กรุงเทพธุรกิจ โดย Mr.QC 

กล่าวว่า  สมาคม องค์กร ผู้จัดมหกรรมหนังสือเด็กและเยาวชนครั้งที่ ๕ (วันนี้เป็นวันสุดท้าย) จะยื่นจดหมายเปิดผนึก
กับ ฯพณฯ ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี
               เพื่อขอให้การส่งเสริมการอ่านหนังสือเป็นวาระแห่งชาติ

ผู้เขียนซึ่งเดินบนถนนสายหนังสือมานานนับ ๒๐ ปี เห็นด้วยและกล่าวว่าจำเป็นอย่างมาก ในสมรภูมิการแย่งชิง
มวลชนของสื่อ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน เพราะ ความบันเทิงหลักในบ้านตอนนี้ คือ
            โทรทัศน์ ไม่ใช่หนังสือ และ

ข้อมูลเก่าโดย  เอแบคโพลล์ สำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของเยาวชนในระหว่างเดือนก.พ.-มี.ค. 49 พบว่า
            เยาวชน 1 ใน 5 (ร้อยละ 18.5)ไม่ชอบอ่านหนังสือ เพราะเบื่อ/ไม่สนุก/ไม่ว่าง  และ

NOP World รายงานผลการสำรวจในเดือนมิ.ย. 48 เรื่องกิจกรรมที่ทำในยามว่างของคนทั่วโลก 30,000 คน
ใน 30 ประเทศทั่วโลก ปรากฏว่าใน 7 วัน คนอ่านหนังสือ เฉลี่ย 6.5 ชั่วโมง ในขณะที่ดูโทรทัศน์ 16.6 ชั่วโมง
เท่านั้นยังไม่พอ

ผลการสำรวจของ www.firstglimpsemag.com ยังฟันธงว่า....ประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่งในเรื่องการดูโทรทัศน์

       22 - 24 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์     ในขณะที่อินเดียคือ ผู้นำอันดับหนึ่งในการอ่านหนังสือ  10-42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

ประเทศไทยมีหนังสือใหม่ออกวางจำหน่ายวันละ 30 ปก มีร้านหนังสือขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี พื้นที่บูธในงานบุ๊คส์แฟร์
เล็กลงเรื่อยๆ เพราะมีสำนักพิมพ์เกิดใหม่เพิ่มมากขึ้น แต่กลับมีผลการสำรวจออกมาอย่างนี้

ย่อมเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องช่วยกันผลักดันกระตุ้นให้รัฐบาลหันมาส่งเสริม สนับสนุนเรื่องการอ่านหนังสืออย่างจริงจัง
มีระบบและมีการวางแผนระยะยาวเพื่อเป็นการสร้างพื้นฐานที่แข็งแรงให้กับเยาวชนของชาติ ฯ
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 02 ส.ค. 07, 01:15

แล้วมีสถิติไม๊ครับว่าหนังสือบ้านเรา  แพงติดอันดับไหนครับ  หนังสือออกมากเป็นพ็อกเก็ตบุค  และก็ราคาไม่เอื้อต่อชนชั้นล่างหรือรากหญ้า  ที่จะซื้อหาครับ  เด็กบ้านนอกยากเหลือเกินครับที่จะได้รับอรรถรสจากนักเขียนฝีมือดีๆ  เพราะเล่มละร้อยขึ้นไปทั้งนั้น  ทีวีเสพได้ง่ายกว่าครับ  เห็นด้วยครับที่ภาครัฐต้องแก้ไขด่วน
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 02 ส.ค. 07, 11:23


           เรื่องสถิติเปรียเทียบราคาหนังสือระหว่างประเทศ ไม่ทราบครับ เคยลองคิดคร่าวๆ
จากค่าเงิน ค่าครองชีพ สิ่งพิมพ์ไทยมีราคาแพงครับ

                เป็นที่น่ายินดีที่มีการเคลื่อนไหว ผลักดันให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ หวังว่าจะมี
ความก้าวหน้าและเห็นผลในไม่ช้า
          เคยดูข่าวเมื่อไม่นานมาก เด็กเวียตนามเลิกเรียนแล้วก็กลับหออ่านหนังสือ ทบทวนตำรา
(ไม่ทราบว่า ตอนนี้เปลี่ยนไปแล้วหรือยัง) ในขณะที่เด็กไทยไม่น้อย เดินห้าง ดูทีวี มีกิ๊ก

          แม้ว่าหนังสือจะมีราคาแพง แต่ถ้าคนมีทรัพย์ มีหนังสือที่ไม่ใช้แล้ว ช่วยกันบริจาคคงหา
หนังสือให้ห้องสมุดได้ไม่ยากเกินไป ทั้งหนังสือยังเป็นสมบัติที่อยู่นาน ใช้อ่านกันได้หลายๆ คน

          แต่ที่สำคัญ(ดังที่ได้กล่าว)ก็คือ การปลูกฝังให้รัก และเห็นคุณค่าของการอ่าน ถึงแม้ไม่มีเวลา
แต่ถ้าใจใฝ่หา ย่อมอ่านจนได้
          ล่าสุดได้อ่านข่าวจากแอฟริกา โครงการจัดหาคอมพิวเตอร์ให้เด็กด้อยโอกาสที่นั่นประสบความล้มเหลว
เพราะเด็กนำคอมพิวเตอร์ที่บริจาคไปใช้ดูรูปโป๊
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 02 ส.ค. 07, 11:36

คิดราคาดิบๆหนังสือบ้านเราราคาถูก
แต่ถ้าคิดเทียบกับรายได้ ต้องถือว่าแพงมากอย่างที่คุณ SILA ว่าครับ

ฝรั่งค่าแรงแพง ค่าลิขสิทธิ์ก็สูงตาม ราคาหนังสือจึงมีต้นทุนสำคัญที่ค่าลิขสิทธิ์ บ่อยครั้งที่หนังสือแปลที่เราซื้อลิขสิทธิ์มาในราคาถูก บวกค่าแปลแล้วราคาขายยังถูกกว่าหนังสือต้นฉบับอยู่ไม่น้อย

ในขณะที่บ้านเรา การที่ค่าแรงถูก ราคาหนังสือก็เลยถูกกำหนดโดยค่ากระดาษ ราคาแปรผันตามความหนา

เวรกรรมแท้ๆ  ร้องไห้
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
agree
ชมพูพาน
***
ตอบ: 114


แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 14 ก.ย. 07, 19:13

เอ..............คนไทยอ่านหนังสือปีละ 12 บรรทัดหรือครับ
ผมว่าอย่างน้อยที่สุด 1 วัน คนขี้เกียจที่อ่านน้อยที่สุดของไทยก็น่าจะอ่านวันละ 1 คำ ที่เหลือเอาเวลาไปเล่น อ่านการ์ตูน ดูทีวี

1 ปีมี 365 วัน อ่านวันละ 1 คำก็คูณ 365 กลายเป็นปีละ 365 คำ แต่ว่าอ่านจะไม่ได้อ่านทุกวันก็ได้อาจจะเหลือประมาณ 200 คำ ซึ่งเกิน 12 บรรทัดแล้ว

ผมว่าไม่น่าจะเป็นจริงนะครับ ถ้าผิดผู้รู้ช่วยแก้ไขด้วยครับ  ขยิบตา
บันทึกการเข้า

Some dream of worthy accomplishments, while others stay awake and do them.
บางคนฝันที่จะประสบความสำเร็จอย่างสวยหรู ในขณะที่บางคนกำลังลงมือกระทำ
พลอยชมพู
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 14 ก.ย. 07, 19:52


      จากภาพยนตร์เรื่อง ทวิภพ รุ่นการเดินทางครั้งใหม่ของมณีจันทร์เมื่อประมาณ ๓ ปีก่อน
ที่ผู้สร้างได้ดัดแปลงบทประพันธ์ดั้งเดิมไปไม่น้อย (มีผลทำให้นักอ่านที่ประทับใจกับเรื่องราว
แบบเดิมรับไม่ได้)  มณีจันทร์ ผู้ย้อนกลับไปในสมัยรัชกาลที่ ๔ (ในนิยายเป็นร. ๕) เล่า
เรื่องราวผู้คนร่วมสมัยในยุคปัจจุบันของตนให้คนในอดีตฟังว่า

          คนไทยอ่านหนังสือกันคนละ ๗ บรรทัด ต่อปี      

        ประโยคนี้สร้างความสงสัยไม่น้อยให้กับผู้ชมที่มีจำนวนไม่มากว่า จริงหรือ

         ความสงสัยนี้คลี่คลายลงบ้างหลังจากได้ฟังรายการข่าวทางวิทยุ เมื่อสัปดาห์ก่อน
         เรื่องการรณรงค์ให้คนไทยอ่านหนังสือเป็น ๑๒ บรรทัดต่อปี จากตัวเลขเดิม ๗ บรรทัด
ที่สำรวจโดยจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ 

         และวันนี้ หนังสือพิมพ์ข่าวสดได้เสนอรายละเอียดที่น่าสนใจและมีประโยชน์ จึงนำ
มาแสดงไว้  ณ ที่นี้
 
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 15 ก.ย. 07, 09:41


          กรณีคนไทยอ่านหนังสือปีละไม่กี่บรรทัดนั้น เรียบเรียงเรื่องเป็นอย่างนี้ครับ
       เริ่มจากหนังไทยเรื่อง ทวิภพ เวอร์ชั่นล่าสุด - การเดินทางครั้งใหม่ของมณัจันทร์ นางเอกย้อนกลับไป
ในสมัยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๔
       นางเอกเล่าว่าในยุคปัจจุบันของตนนั้น คนไทยอ่านหนังสือปีละ ๖ บรรทัด (แก้จาก ๗ เป็น ๖ จากการตรวจค้นข้อมูล
เกี่ยวกับหนังในเวลาต่อมา) สร้างความฮือฮาให้กับผู้ดูจำนวนไม่มากเป็นอย่างมาก
       ต่อมา จึงได้ข้อมูลเพิ่มเติมมาจากข่าวการรณรงค์ให้คนไทยอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น ดังปรากฏในกระทู้ต้นๆ ครับ   
บันทึกการเข้า
agree
ชมพูพาน
***
ตอบ: 114


แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 15 ก.ย. 07, 15:54


          กรณีคนไทยอ่านหนังสือปีละไม่กี่บรรทัดนั้น เรียบเรียงเรื่องเป็นอย่างนี้ครับ
       เริ่มจากหนังไทยเรื่อง ทวิภพ เวอร์ชั่นล่าสุด - การเดินทางครั้งใหม่ของมณัจันทร์ นางเอกย้อนกลับไป
ในสมัยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๔
       นางเอกเล่าว่าในยุคปัจจุบันของตนนั้น คนไทยอ่านหนังสือปีละ ๖ บรรทัด (แก้จาก ๗ เป็น ๖ จากการตรวจค้นข้อมูล
เกี่ยวกับหนังในเวลาต่อมา) สร้างความฮือฮาให้กับผู้ดูจำนวนไม่มากเป็นอย่างมาก
       ต่อมา จึงได้ข้อมูลเพิ่มเติมมาจากข่าวการรณรงค์ให้คนไทยอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น ดังปรากฏในกระทู้ต้นๆ ครับ   

ผมว่าน่าจะเป็นการเปรียบเทียบมากกว่าครับ คนไทยอ่านหนังสือปีละ 6 บรรทัด (แก้ใหม่) เปรียบเทียบกับคนไทยไม่ค่อยขยันอ่านหนังสือ หรือขี้เกียจ
บันทึกการเข้า

Some dream of worthy accomplishments, while others stay awake and do them.
บางคนฝันที่จะประสบความสำเร็จอย่างสวยหรู ในขณะที่บางคนกำลังลงมือกระทำ
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 15 ก.ย. 07, 22:13

คงจะต้องมองที่ความหมายล่ะครับ  อ่านหนังสือคงหมายถึงการอ่านอย่างเป็นเรื่องเป็นราว  ไม่ใช่อ่านวันละคำสองคำ  หรือบรรทัดสองบรรทัด  เป็นแง่ของการเปรียบเทียบการนิยมอ่านหนังสือของเรา  และมูลเหตุผมว่าน่าจะมาจากการเรียนการสอน,โอกาสการเข้าถึงหนังสือ  สรุปว่าไม่เอื้อทั้งนั้น.....
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 16 ก.ย. 07, 00:31

     ขอแจมด้วยคนในฐานะคนชอบอ่านหนังสือ  และสร้างเด็กให้อ่านหนังสือ  ก่อนที่เราจะสร้างเด็กให้อ่านหนังสือก็ถามตัวเองก่อนว่า  อะไรทำให้เราเป็นคนอ่านหนังสือ 

     รำลึกย้อนอดีตไป  คนรอบข้างเราทุกคนอ่านหนังสือ  ต่างคนต่างอ่านหนังสือที่ตัวเองชอบ สนใจ ใช้ทำงาน  เพราะฉะนั้นเราก็จะได้สัมผัสกับหนังสือที่่หลากหลาย  ที่สำคัญมากคือมีหนังสือการ์ตูนค่ะ  แล้วก็สุดแสนจะโชคดีเป็นการ์ตูนดี ๆ ด้วย  การ์ตูนวอลต์ดิสนีย์ฉบับแปลภาพสี  พิมพ์อย่างสวยงาม  หนังสือนิทาน หรือหนังสือฉบับเยาวชนแบบที่สำนักพิมพ์กะรัต และผีเสื้อพิมพ์จัดพิมพ์อยู่ตอนนี้  ภาพประกอบในหนังสือยังติดตาจนถึงทุกวันนี้เลยนะคะ 

     ที่จริงครอบครัวไม่ได้มีฐานะดีอะไรนะคะ  จำไม่ได้ว่าท่านไปเอาหนังสือมาจากไหน แล้วก็ไม่เคยต้องมีใครบอกให้อ่านค่ะ  เห็นมันน่าอ่านก็อ่านเอง  เพราะเมื่อก่อนไม่มีทีวีดูอย่างนี้  ไม่มีอะไรทำ  ไม่มีเพื่อนเล่น  มีหนังสืออยู่ใกล้ ๆ ก็หยิบมาอ่าน  โตขึ้นมาหน่อยก็อ่านพลนิกรกิมหงวน  ไปอ่านที่บ้านอากงค่ะ  เวลาตรุษจีน สารทจีน  จะไปบ้านอากงอยู่ที่บ้านบึง ชลบุรีค่ะ  อาก๋งอ่านภาษาไทยไม่ได้นะคะ  แต่ที่บ้านอากงมีหนังสือดี ๆ เยอะมาก  นิยายจีนแปลโดยน. นพรัตน์  การ์ตูนวอลต์ดิสนีย์เพียบ  ก็ไม่รู้อีกนั่นแหละค่ะว่ามาจากไหน  บ้านอากงไม่มีทีวีค่ะ  เราจะได้เห็นภาพอากู๋อาอี๋ต่างคนต่างอ่านหนังสือ พออากู๋อาอี๊มาเรียนหนังสือที่กรุงเทพ  ตอนนั้นอากู๋คนหนึ่งได้เป็นครูค่ะ  พอปิดเทอมปู๊ป  อากู๋ก็จะยืมนิยายในห้องสมุดมาเป็นสิบ ๆ เล่ม  เราก็จะนั่งอ่านนอนอ่านเรียงกันรอบ ๆ อ่างข้าวพอง เรียกถูกหรือเปล่าก็ไม่รู้  แต่เป็นข้าวเย็นที่ตากแดดจนแห้ง  ทอดด้วยน้ำมัน  คลุกกับน้ำตาลปีบ  คล้าย ๆ ข้าวแต๋นค่ะ  ต่างที่มันไม่เป็นแผ่น  คุณแม่เป็นคนบริการทำให้ค่ะ 

     อ่านการ์ตูน  นิทาน มานิยาย จนติดนิสัยการอ่าน  อ่านจนไม่มีจะอ่าน  ในบ้านมีหนังสือชีวประวัติบุคคลสำคัญคุณพ่อชอบซื้อหนังสือแนวนี้ค่ะ  ก็เลยหยับมาอ่าน  อ่านแล้วก็ชอบแฮะสนุกดี  หมดแล้วก็ไปอ่านสามก๊กไม่ได้ตั้งใจ  ไม่มีใครบอกค่ะ  แต่เพราะไม่มีอะไรให้อ่านแล้ว  นี่คือพัฒนาการของการอ่านค่ะ  แต่หนังสือที่ไม่เคยอ่านเลยคือ  หนังสือเรียน  อ่านตอนใกล้สอบอย่างเดียวเลย

     อีกนิดหนึ่งค่ะ  ที่โรงเรียนมีคุณครูภาษาไทย  ท่านชอบมาเล่าเรื่องจากหนังสือค่ะ  แล้วท่านก็จะทิ้งท้ายไว้  อยากรู้ตอนจบก็ไปอ่านเอาเองในห้องสมุด  เลยได้อ่านชุดบ้านเล็กในป่าใหญ่  หนังสือที่ท่านหยิบมาเล่าไม่ใช่หนังสือประเภทหนังสืออ่านนอกเวลาที่กระทรวงกำหนด  แต่เป็นท่านอ่านแ้ล้วชอบเล่มไหนก็มาชี้ชวนกันอ่าน  เท่านั้นยังไม่พอนะคะ  เวลาคุณครูคุยกันก็คุยกันว่าใครไปอ่านอะไรมา  เรื่องนั่นสนุกอย่างไร  เรื่องนี้น่าสนใจอย่างไร  เพราะได้ยินครูคุยกันนี่แหละค่ะ  ดิฉันเลยไปตามอ่านเรื่องจันดารา

    เป็นอย่างไรบ้างล่ะคะที่มาของการอ่านของดิฉัน
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 16 ก.ย. 07, 01:26

ทีนี้มาว่าด้วยประสบการณ์การสร้างเด็กให้อ่านหนังสือ

   เด็กเล็ก ๆ ก่อนนะคะ  ในที่นี้คือหลานค่ะ  พอหลานเริ่มพูดได้รู้เรื่องก็เริ่มอ่านหนังสือให้ฟังค่ะ  แต่เป็นหนังสือภาพนะคะ  ปกแข็ง  ภาพใหญ่สีชัดเจนสวยงาม   ก็ตอนเราเริ่มอ่านหนังสือเรายังชอบรูปสวย ๆ เลยใช่ไหมค่ะ  ดิฉันก็จะให้หลานนั่งตักแล้วก็อ่านให้ฟัง อ่านธรรมดานี่แหละค่ะ  ไม่ต้องทำเสียงเล็กเสียงน้อยนะคะเพราะทำไม่เป็นค่ะ  อ่านช้า ๆ ชัดถ้อยชัดคำ  เสียงควบกล้ำชัดเจน  ก่อนนอนก็อ่านหนังสือให้ฟัง  ดิฉันจะไม่เปิดเทปนิทานเลย  เทปนิทานอย่างไรก็สู้เราอ่านให้ฟังไม่ได้หรอกค่ะ  บางทีเราเหนื่อยเราก็อ่านไปง่วงไป  เราจะหลับแล้วแต่เขายังไม่ง่วงเลย  ก็จะมีการต่อว่าต่อขานกัน  ขำ ขำ ดีค่ะ  สุดท้ายเราก็สารภาพว่า  เหนื่อย  อ่านไม่ไหวแล้ว  หลับตานอนกันเถอะ  ก็ยอมหลับแต่โดยดี 

      หนังสือปกแข็ง ภาพสวยราคาสูงค่ะ  แต่คิดดูนะคะ  ขนมซอง ๆ ซองละ 5 บาท กินทุกวันเดือนหนึ่ง 150 บาท ได้หนังสือ 1 เล่มแล้วค่ะ  แล้วถ้าคุณพ่อสูบบุหรี่ ไม่กี่ซองก็ได้ค่าหนังสือแล้วนะคะ   เมื่อก่อนในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติจะมีหนังสือที่ค้างแผงนาน ๆ ฝุ่นจับมาลดครึ่งราคา บางเล่มฝุ่นจับหนามากก็ลดมากกว่าครึ่งอีก  แต่ตอนนี้รู้สึกจะไม่ค่อยมี  หรือมีก็ไม่ค่อยลดเยอะแล้วล่ะค่ะ  แต่ไม่ต้องซื้อเยอะหรอกค่ะ  ซื้อทีละเล่ม  นาน ๆ ซื้อทีก็ได้  ดูมีคุณค่าเสียอีก  ดิฉันเลี้ยงหลาน 3 คน  คนสุดท้ายมีเยอะเสียจนเป็นของไม่มีคุณค่า เก็บไม่หวาดไม่ไหว  แต่รับรองผลสำเร็จค่ะ ดิฉันทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนเขาอยากอ่านเองเพราะเร็วกว่ารอเราอ่าน  เขาก็เลิกให้เราอ่านไปโดยปริยาย  แต่นานมากนะคะ  เพราะถึงเขาอ่านเองได้  เวลาก่อนนอนเขาก็ยังชอบให้เราอ่านให้ฟัง  ชอบนั่งตักให้เราอ่านให้ฟังเวลาเราว่าง  ตอนนี้คนสุดท้ายอยู่ ป.4 เขาเอาหนังสือที่เขาชอบมาอ่านให้เราฟังแล้วค่ะ  หลาน 2 คนโตเขาไม่คลั่งไคล้การอ่านเท่าเรา  เพราะเขามีทั้งทีวี  และคอมพิวเตอร์มาแบ่งเวลาไป  แต่เมื่อเทียบกับเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกันก็ถือว่าเขาเป็นคนอ่านหนังสือ  บางทีเราถามเขาว่าไม่เอาหนังสือไปแบ่งเพื่อน ๆ อ่านบ้างล่ะ  เขาจะบอกว่า  เพื่อน ๆ เขาไม่ชอบอ่านหนังสือกันเท่าไหร่

     ที่บอกเล่าก็อยากจะชวนคุณพ่อคุณแม่คูณป้าคุณน้าคุณอาทั้งหลายที่อยากให้เด็ก ๆ อ่านหนังสือก็มาอ่านหนังสือให้เด็กฟังกันเถอะค่ะ  แล้วถ้าอยากให้เขารักการอ่านจริงจัง  ก็ต้องยอมลงทุนเลือกของคุณภาพหน่อยนะคะ  เรื่องคุณภาพหนังสือกับวัยของเด็ก  วันหลังจะค้นมาฝากนะคะ
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 16 ก.ย. 07, 10:17

ที่นี้มาว่าด้วย  เด็กต่างจังหวัด

     ดิฉันเคยไปเป็นครูแนะแนวในโรงเรียนมัธยมเล็ก ๆ ประจำตำบล ในจังหวัดน่านค่ะ  ไปถึงโรงเรียนสิ่งที่เราสนใจก็คือ  ห้องสมุด  สภาพห้องมีแสงค่อนข้างน้อย  ในห้องสมุดมีหนังสือเรียนจำนวนมาก  ช่วงนั้นมีการแจกหนังสือเรียนให้เด็กค่ะ  หนังสือที่ใช้แก่าแล้วก็มาเก็บไว้ในห้องสมุด  แล้วก็มีหนังสือที่ได้รับบริจาค  สภาพช้ำ ๆ หนังสือวิชาการเด็มไปด้วยตัวหนังสือ หนังสืออ่านนอกเวลาของวิชาภาษาไทย  มีหนังสือที่เรารู้สึกว่า  ถ้าเราเป็นเด็กเราจะอยากอ่านอยู่น้อยมาก ๆ แทรก ๆ แอบ ๆ อยู่  ต้องใช้เวลาหา  คุณครูบรรณารักษ์ก็จะบอกว่าเด็กไม่ค่อยเข้าห้องสมุด  ไม่ค่อยอ่านหนังสือ

     ดิฉันมีห้องแนะแนวเป็นของตัวเองค่ะ  เราอยากให้เด็กรู้สึกว่า  ใครไม่มีอะไรทำก็มาห้องแนะแนว  ไม่อยากให้เด็กรู้สึกว่าเด็กที่มาห้องแนะแนวเป็นเด็กมีปัญหา  ดิฉันก็นำหนังสือที่ดิฉันมีอยู่ไปไว้ในห้องแนะแนว  อยู่ที่นั้นดิฉันก็รับหนังสือพิมพ์มติชน  มติชนรายสัปดาห์  นิตยสารสารคดี  นำของเล่นอย่างหมากรุก หมากฮอส  วางไว้ในห้องและให้เด็กทุกคนมาเล่นมาใช้ได้ตลอดเวลา  แม้แต่ดิฉันไม่อยู่ห้อง  ห้องก็จะเปิดไว้  ในการใช้ห้องก็ขอความร่วมมือเด็ก ๆ อ่านหรือเล่นแล้วเก็บที่  หนังสือและอุปกรณ์ทุกอย่างเป็นเงินส่่วนตัวนะคะ  ไม่อย่างนั้นเราจะไม่ได้ของอย่างที่เราต้องการ  ผลปรากฎว่า  ห้องแนะแนวมีเด็กมานั่งอ่านหนังสือ  และเล่นกันเต็มห้องทุกวัน  ขณะที่ห้องสมุดแทบไม่มีเด็กเลย  หนังสืออย่างมติชน มติชนสุดสัปดาห์  และสารคดีก็มีเด็กมารออ่านเล่มใหมอย่างใจจดใจจ่อ  เด็กที่รักการอ่านมากกว่าเด็กคนอื่น ๆ อ่านหนังสือในห้องแนะแนวหมดแล้ว  ก็จะตามไปขอยืมหนังสือที่ดิฉันเก็บไว้อ่านที่่บ้านพัก  เพราะเห็นว่าเป็นหนังสือที่มีเนื้อหายากเกินเด็กมัธยมต้น 

     ต่อมาโรงเรียนมีสตังค์มากขึ้น  มีห้องโสตฯ  คุณครูประจำห้องโสตก็เปิดทีวีให้เด็กดู  เด็ก ๆ ห้องแนะแนวก็ลดความแออัดลง  แต่ก็ยังคงมีเด็กอยู่ไม่น้อยค่ะ

     ที่เล่ามานี่คือความจริงที่จะบอกว่า ไม่ใช่ว่าเด็กไทยไม่อยากอ่านหนังสือ  แต่ไม่มีหนังสือที่เหมาะกับเด็ก  และไม่สร้างพัฒนาการทางการอ่าน  ปัจจุบันพอจะมีหนังสือดี ๆ เหมาะสมมากขึ้น  ก็มามีคู่แข่งเป็นทีวีและคอมพิวเตอร์เข้าไปอีก 

     จากข้อมูลสถิติ  รายละเอียดมากมายอะไรต่าง ๆ นานา สรุปว่าคนไทยอ่านหนังสือกันน้อย  ซึ่งมีเหตุท้าวความได้ไปถีงยุคศักดินา มีเจ้าพระยามีไพร่่อะไรโน้นเลยค่ะ  แต่ดิฉันว่าสำหรับเราง่าย ๆ เลยก็มาเริ่มจากคนรอง ๆ ตัวเรานี้แหล่ะ  คนที่รักการอ่านทุกคนมาช่วยกันสร้างสังคมการอ่านกันเถอะ  คนที่อยากให้เด็กอ่านหนังสือด้วยใจจริง  ก็ยอมลงทุนกันที่คุณภาพหนังสือหน่อย  มีหนังสือดี ๆ 2 เล่มที่เด็กอ่าน  ดีกว่ามีหนังสือ 10 เล่มที่เด็กไม่อ่านนะคะ  ยิ่งปัจจุบันเราต้องต่อสู้กันรายการทีวี และคอมพิวเตอร์กันด้วยแล้ว  มาช่วยกันทำหนังสือคุณภาพ  ราคาสมเหตุสมผลนะคะ  ดิฉันไม่คาดหวังหนังสือถูกค่ะ ของดีราคาถูกหายากค่ะ  กว่าจะหาเจอก็สูญเสียเวลาไปเยอะแล้ว  แล้วก็เลิกยัดเยียดให้เด็กอ่านแต่หนังสือวิชาการเถอะค่ะ  การอ่านหนังสือก็มีพัฒนาการตามวัยเหมือนกันนะคะ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 16 ก.ย. 07, 10:44

           วันนี้อาจารย์ยังไม่เสนอแม่มดเจ้าเสน่ห์ คุณ pakun2k1d แวะเข้ามาอ่านหนังสือที่นี่

          ตอนเด็กๆ โชคดีครับ ที่มีพี่และน้าอายุห่างหลายปี เขามีหนังสืออ่านกันก็ไปหยิบๆ มาเปิดดูบ้าง ได้รู้จัก แม่พลอย ดอกไม้สด สไตน์เบ็ค ฯ
ก็เพราะเขาๆ เหล่านี้ บางเย็นบิดาก็พาไปสำนักพิมพ์แถวผ่านฟ้า ซื้อหนังสือการ์ตูนเล่มเก่าลดราคา
          ตอนเป็นเด็ก(โต)ได้อ่านงานคุณประมูลเป็นเรื่องแปลครับ เรื่องแต่ง- จันดาราไม่ได้อ่าน แต่ได้อ่านเลดี้แช็ตเตอร์เลย์(ฉบับแปล) ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 20 คำสั่ง