เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 20771 คนไทยอ่านหนังสือปีละ ๗ บรรทัด
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


 เมื่อ 20 มิ.ย. 07, 12:13


      จากภาพยนตร์เรื่อง ทวิภพ รุ่นการเดินทางครั้งใหม่ของมณีจันทร์เมื่อประมาณ ๓ ปีก่อน
ที่ผู้สร้างได้ดัดแปลงบทประพันธ์ดั้งเดิมไปไม่น้อย (มีผลทำให้นักอ่านที่ประทับใจกับเรื่องราว
แบบเดิมรับไม่ได้)  มณีจันทร์ ผู้ย้อนกลับไปในสมัยรัชกาลที่ ๔ (ในนิยายเป็นร. ๕) เล่า
เรื่องราวผู้คนร่วมสมัยในยุคปัจจุบันของตนให้คนในอดีตฟังว่า

          คนไทยอ่านหนังสือกันคนละ ๗ บรรทัด ต่อปี      

        ประโยคนี้สร้างความสงสัยไม่น้อยให้กับผู้ชมที่มีจำนวนไม่มากว่า จริงหรือ

         ความสงสัยนี้คลี่คลายลงบ้างหลังจากได้ฟังรายการข่าวทางวิทยุ เมื่อสัปดาห์ก่อน
         เรื่องการรณรงค์ให้คนไทยอ่านหนังสือเป็น ๑๒ บรรทัดต่อปี จากตัวเลขเดิม ๗ บรรทัด
ที่สำรวจโดยจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ 

         และวันนี้ หนังสือพิมพ์ข่าวสดได้เสนอรายละเอียดที่น่าสนใจและมีประโยชน์ จึงนำ
มาแสดงไว้  ณ ที่นี้
 
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 20 มิ.ย. 07, 12:20


          เมื่อกันยายน 2546 สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำรวจการอ่านหนังสือของคนไทย พบคนไทย
อ่านหนังสือ 35.5 ล้านคน ขณะที่มีผู้ไม่อ่านหนังสือ 22.4 ล้านคน หรือเกือบ 40%

         ผู้ไม่อ่านหนังสือ 22.4 ล้านคน เป็นเพศชาย 10.1 ล้านคน และเพศหญิง 12.3 ล้านคน
             เหตุที่ไม่อ่านเพราะชอบฟังวิทยุ ดูทีวีมากกว่า ขณะที่เด็กอายุ 10-14 ปี ระบุชัดว่าไม่ชอบอ่าน และ
ไม่สนใจถึงกว่า 60%

         ส่วนผู้อ่านหนังสือ 25.4 ล้านคน มีสัดส่วนของการอ่านหนังสือพิมพ์สูงที่สุด 66% รองลงมาคือ
อ่านนวนิยาย-การ์ตูน-หนังสืออ่านเล่น 44.6% และอ่านตำราเรียนตามหลักสูตร 40%

         หากเทียบคนไทยกับต่างประเทศแล้วมีเพียงแค่ 5 เล่มต่อคนต่อปี นี่ยังไม่คิดถึงมาตรฐานความหนาบาง
ขนาดรูปเล่ม
             สิงคโปร์ อ่าน 17 เล่มต่อคนต่อปี และสหรัฐอเมริกา 50 เล่มต่อคนต่อปี 

             จากการสำรวจของยูเนสโกพบว่า คนไทยบริโภคกระดาษเพียง 13.1 ตันต่อปี ต่อ 1,000 คน
หากเปรียบเทียบกับคนสิงคโปร์หรือฮ่องกงแล้ว บริโภคถึง 98 ตันต่อปีต่อ 1,000 คน

             ส่วนสถิติการใช้ห้องสมุดพบคนไทยต่ำกว่า 3% เข้าห้องสมุดประชาชน 1 ครั้ง 1 ปี และ
ต่ำกว่า 1% เป็นสมาชิกห้องสมุดประชาชน ทั้งประเทศเป็นสมาชิกห้องสมุดเพียง 420,000 คนเท่านั้น

ล่าสุดสำนักงานสถิติแห่งชาติ และ Positioning Magazine เดือนตุลาคม 2548 สำรวจพบว่า

           คนไทยจำนวน 59.2 ล้านคน มีผู้อ่านหนังสือประมาณ 69.1% จำแนกเป็นชาย 51.1% และหญิง 48.5%
และจำนวน 59.2 ล้านคนนี้มีผู้ไม่อ่านหนังสือ 30.9% แยกเป็นชาย 28.4% และหญิง 33.3%

       เฉพาะที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 สำรวจนักเรียนจำนวน 13,291 คน
อ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ ไม่รักการอ่าน และคิดไม่เป็น ร้อยละ 12

         มหกรรมนักอ่าน ที่กระทรวงศึกษาธิการอุตส่าห์ลงทุนลงแรงจัดขึ้นในศูนย์แสดงสินค้าใหญ่ กทม.
เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการเพิ่งจบไปนั้น ต้องขอบคุณนักวิจัยและข้อมูลทั้งหลาย ที่ต่างชี้ตรงกันว่าคนไทยไม่ชอบอ่านหนังสือ
โดยจากสถิติคนไทยอ่านหนังสือ 7 บรรทัดต่อคนต่อปีเท่านั้น

          จบมหกรรมนักอ่านนี้แล้ว หวังว่าคนไทยอ่านหนังสือมากกว่า 12 บรรทัดต่อคนต่อปีตามที่ตั้งเป้าไว้

บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 20 มิ.ย. 07, 14:40

ขอบคุณที่เอามาให้อ่านครับ

จะว่าไปแล้วการนำเสนอแบบนี้น่าจะเพื่อดึงดูดความสนใจมากกว่า เพราะคำว่า "คนไทยอ่านหนังสือกันคนละ ๗ บรรทัด ต่อปี" ไม่ได้สะท้อนปัญหาทีมีอยู่จริง

ความจริง "อาจจะ" เป็น
"คนไทย 50% ไม่อ่านหนังสือเลย"
หรือ
"คนไทย 90% อ่านหนังสือน้อยกว่า 10 บรรทัดต่อปี"

สมจริง และยังน่ากลัวกว่า "คนไทยอ่านหนังสือกันคนละ ๑๐ บรรทัด ต่อปี" เสียอีก
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 20 มิ.ย. 07, 17:32

       หาข้อมูล ตัวเลข มาเพิ่มเติม ครับ.  หวังว่าคงไม่ทำให้ใครตาลาย.

>> จากสำนักข่าวไทย

           สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจการอ่านหนังสือของประชากรปี 2546 พบว่า

ประชากรที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป จำนวน 57.8 ล้านคน เป็นผู้อ่านหนังสือ     35.4 ล้านคน  หรือ ร้อยละ  61.2
และ                                                      ผู้ไม่อ่านหนังสือ  22.4 ล้านคน  หรือ ร้อยละ  38.8

เมื่อพิจารณา ผู้อ่านหนังสือ พบว่า เพศชายสูงกว่าเพศหญิงเล็กน้อย และ เมื่อพิจารณาตามภาคและ
เขตการปกครอง พบว่า ประชากรในกรุงเทพฯ มีอัตราการอ่านหนังสือสูงที่สุดร้อยละ 81.6
                   รองลงมาคือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคเหนือ ร้อยละ 63.5, 61.1 และ 59.2 ตามลำดับ
                             สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการอ่านหนังสือต่ำสุดคือ ร้อยละ 52.8
ทั้งนี้ ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลมีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่านอกเขตฯ ร้อยละ 74.4 และ 54.7

สำหรับ ผู้ไม่อ่านหนังสือ 22.4 ล้านคน  เป็น   เพศชาย 10.1 ล้านคน และเพศหญิง 12.3 ล้านคน
ประชากรที่อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาลมีอัตราการไม่อ่านหนังสือสูงกว่าผู้ที่อยู่ในเขตฯ ร้อยละ 45.3 และ 25.6
 
ส่วน ผู้อ่านหนังสือ 35.4 ล้านคน มีสัดส่วนของการอ่านหนังสือพิมพ์สูงที่สุด ร้อยละ 66
รองลงมาคือ อ่านนวนิยาย/การ์ตูน/หนังสืออ่านเล่น ร้อยละ 44.6 และอ่านตำราเรียนตามหลักสูตร ร้อยละ 40

       เมื่อพิจารณาประเภทหนังสือที่อ่านตามกลุ่มอายุ พบว่า

อายุ 6-14 ปี   เกินกว่าร้อยละ 95 อ่านตำราเรียนตามหลักสูตร รองลงมาคือ อ่านนวนิยาย/การ์ตูน/หนังสืออ่านเล่น
วัยทำงาน 25-59 ปี วัยสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และเยาวชนอายุ 15–24 ปี ส่วนใหญ่อ่านหนังสือพิมพ์
    ทั้งนี้ ผู้ที่อ่านตำราเรียนตามหลักสูตร ส่วนใหญ่ร้อยละ 41.3 อ่านทุกวัน รองลงมาอ่านสัปดาห์ละ 4-6 วัน ร้อยละ 26.3

     กลุ่มที่อ่านหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่อ่านทุกวัน ร้อยละ 30.6 รองลงมาอ่านสัปดาห์ละ 2-3 วัน ร้อยละ 28.5
     กลุ่มที่อ่านวารสาร/เอกสารอื่น ๆ นิตยสาร นวนิยาย/การ์ตูน/หนังสืออ่านเล่น ส่วนใหญ่อ่านนาน ๆ ครั้ง
     ผู้อ่านหนังสือส่วนใหญ่ร้อยละ 46.3 อ่านข่าว รองลงมาอ่านสาระบันเทิงร้อยละ 23.8 และ
อ่านสารคดี/ความรู้ทั่วไป ร้อยละ 21.9   

        นอกจากนี้ ผู้อ่านหนังสือส่วนใหญ่ร้อยละ 45.5 อ่านหนังสือที่บ้าน รองลงมาอ่านที่สถานศึกษา ร้อยละ 19.4
อ่านที่ทำงานร้อยละ 14.1 และอ่านตามสถานที่เอกชน ร้อยละ 12.8

     สถานที่อ่านหนังสือที่มีประชาชนไปใช้บริการน้อยกว่าร้อยละ 4 ได้แก่ ห้องสมุด ที่อ่านหนังสือในหมู่บ้าน/ชุมชน
และสถานที่ราชการ
     นอกจากนี้  มีเพียงร้อยละ 0.2 เท่านั้น ที่อ่านระหว่างโดยสารรถหรือเรือ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 20 มิ.ย. 07, 17:51


ตัวเลขต่อครับ

           ในจำนวน   ผู้ไม่อ่านหนังสือ 22.4 ล้านคนนั้น
            ส่วนใหญ่ ชอบฟังวิทยุหรือดูทีวี  ร้อยละ  57.4
            รองลงมาคือ ไม่มีเวลาอ่าน  ร้อยละ 48.1 และ ไม่ชอบอ่านหรือไม่สนใจร้อยละ  45.5
 
เมื่อพิจารณาถึงสาเหตุที่ไม่อ่านหนังสือตามกลุ่มอายุ พบว่า ส่วนใหญ่แทบทุกกลุ่มให้เหตุผลว่า  ชอบฟังวิทยุ ดูทีวีมากกว่า
ยกเว้นกลุ่มเด็กอายุ 10-14 ปี ที่ให้เหตุผลว่า ไม่ชอบอ่านหรือไม่สนใจถึงร้อยละ 60.9 และ
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เพราะสายตาไม่ดีร้อยละ 58.5

       ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 40.3 คิดว่าหนังสือควรมีราคาถูกลง
           ควรมีห้องสมุดประจำหมู่บ้าน/ชุมชน ร้อยละ 35.9 และ
          ควรส่งเสริมให้พ่อแม่ปลูกฝังให้เด็กรักการอ่านหนังสือร้อยละ 22.9

และสุดท้าย บางส่วนจากอีกรายงานข่าวจากงานมหกรรมนักอ่าน ทำให้สงสัยว่า 
                7 บรรทัดต่อปี หรือต่อวันกันแน่

       เมื่อปี 2546 คนไทยอ่านหนังสือ 7 บรรทัดต่อคนต่อวัน แต่หลังจากที่ทุกฝ่ายจัดกิจกรรมกระตุ้นให้เด็ก
เยาวชน รักการอ่านผ่านกิจกรรมต่างๆ พบว่า
           ปี 2550 คนไทยมีนิสัยรักการอ่านดีขึ้นร้อยละ 7 โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนอ่านหนังสือมากขึ้น

           การสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ช่วงปีพุทธศักราช 2546 - 2548 ที่ผ่านมา พบว่า

          พฤติกรรมการอ่านของประชาชนชาวไทยในภาครวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.9
           กลุ่มวัยเด็กอ่านหนังสือมากที่สุด ร้อยละ 87.7
           กลุ่มวัยรุ่นร้อยละ 83.1

          สะท้อนให้เห็นว่าเด็กๆและเยาวชนมีพฤตติกรรมการอ่านหนังสือค่อนข้างสูงกว่าวัยอื่นๆ ซึ่งบ่งบอกถึงผลสำเร็จ
เบื้องต้นที่ทุกภาคส่วนในสังคมได้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านไว้เป็นอย่างดี

          ศธ.ยังไม่ได้ตีค่าออกมาว่าคนไทยอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นเป็นวันละกี่บรรทัด แต่ ศธ.ตั้งเป้าไว้ที่12 บรรทัดต่อวัน
     
           
     
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 20 มิ.ย. 07, 18:59

คิดว่าตัวเลข 7 บรรทัดต่อวันคงเฉลี่ยรวมคนอ่านและไม่อ่านเข้าด้วยกันแล้ว

ดังนั้นถ้าคิดเฉพาะคนที่อ่านหนังสือ จะได้ว่าเฉลี่ยแล้วคนหนึ่งวันละ 11 บรรทัดกว่าๆ

ผมอ่านหนังสืออย่างน้อยวันละหลายพันบรรทัด และคิดว่านักอ่านส่วนใหญ่ก็ต้องอ่านขนาดนี้เป็นอย่างน้อย

น่าคิดว่าคนที่อ่านเกินวันละ 10 บรรทัดมีกี่คน

ดูยอดพิมพ์หนังสือทั่วไป ไม่นับที่มีกระแส ต้องถือว่าน่าใจหายจริงๆ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 21 มิ.ย. 07, 11:42

ส่วนผู้อ่านหนังสือ 25.4 ล้านคน มีสัดส่วนของการอ่านหนังสือพิมพ์สูงที่สุด 66% รองลงมาคือ
อ่านนวนิยาย-การ์ตูน-หนังสืออ่านเล่น 44.6% และอ่านตำราเรียนตามหลักสูตร 40%

ยังงี้ก็รวมเป็น 144.6 % สิครับ   อิอิ  แต่ยังไงก็น่าตกใจครับสำหรับนิสัยรักการอ่านของคนไทยเรา  ผมเคยเห็นสถิติเรื่องการเขียนของคนไทยนะครับ  แต่จำไม่ได้ว่าเห็นที่ไหน  อันนี้น่าตกใจมากกว่าอีก  ถ้าคุณ ศิลา เห็นก็เอามาให้ชมบ้างนะครับ  เห็นคุณพ่อคุณแม่ผมเคยบอกว่า  สมัยท่านมีวิชาคัดไทย-เขียนไทยด้วย  น่าจะเอามารื้อฟื้นนะครับ  เพราะผมเองใครก็บอกว่าลายมือแย่มากๆ   ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 21 มิ.ย. 07, 13:37


     วันนี้ค้นตัวเลขมาเสนอต่อ สำหรับคนที่ตายังไม่ลาย.  วานนี้เป็นปี 2546  วันนี้เป็นปี 2548 ครับ

สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของประชากร ครั้งที่ 2 โดยรวบรวมข้อมูลในเดือนพฤษภาคม 2548

     ผลสำรวจพบว่าในจำนวนประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ จำนวนประมาณ 59.2 ล้านคน
       มี ผู้อ่านหนังสือ ประมาณ 40.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 69.1 ของจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปทั้งสิ้น

       สัดส่วนของชายที่อ่านหนังสือ คิดเป็นร้อยละ 51.5 และหญิงร้อยละ 48.5 โดยอัตราการอ่านหนังสือของชายสูงกว่าหญิง
อย่างเห็นได้ชัด
       กล่าวคือในจำนวน ชายอายุ 6 ปี ขึ้นไป   29.4 ล้านคน  อ่านหนังสือ 21.1 ล้านคน  คิดเป็นอัตราร้อยละ 71.6  ในขณะที่
       หญิงมีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป มีจำนวน     29.7 ล้านคน  อ่านหนังสือ 19.8 ล้านคน  คิดเป็นอัตราร้อยละ 66.7

     เมื่อพิจารณาอัตราการอ่านหนังสือตามกลุ่มอายุพบว่า
        กลุ่มวัยเด็ก (อายุ 10-14 ปี) มีอัตราการอ่านหนังสือสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 95.2 เนื่องจากอยู่ในช่วงวัยที่กำลังเรียน
ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับ รองลงมาคือ
        กลุ่มเยาวชน (อายุ 15-24 ปี)  ร้อยละ 83.1
     กลุ่มผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มีอัตราการอ่านหนังสือต่ำสุดคือร้อยละ 37.4

     นอกจากนี้ ยังพบว่าอัตราการอ่านหนังสือของประชากรมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับระดับการศึกษาที่เรียนจบ
        ผู้ที่จบระดับอุดมศึกษามีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่าผู้ที่จบการศึกษาในระดับอื่น ๆ (อัตราร้อยละ 96.3)
     สำหรับผู้ที่จบระดับประถมศึกษาและต่ำกว่ามีอัตราการอ่านหนังสือต่ำสุดคืออัตราร้อยละ 61.8

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 21 มิ.ย. 07, 14:00

        ประเภทของหนังสือ ที่ประชาชนให้ความสนใจอ่านมากเป็นอันดับ 1 ได้แก่ หนังสือพิมพ์ คิดเป็นอัตราร้อยละ 72.9
        ประเภทรองลงมา ได้แก่ นวนิยาย การ์ตูน หนังสืออ่านเล่น คิดเป็นอัตราร้อยละ 45.4  และ
        นิตยสาร คิดเป็นร้อยละ 36.9
        ตำราเรียนตามหลักสูตรมีผู้อ่าน คิดเป็นอัตราร้อยละ 34.4
        การอ่านจากอินเทอร์เน็ตมีผู้ที่ให้ความสนใจอ่านคิดเป็นอัตราร้อยละ 10.2
        นอกจากนี้ ยังพบว่ามีผู้อ่านหนังสือ/ซีดี เกี่ยวกับธรรมะ คิดเป็นอัตราร้อยละ 5.7

        สำหรับ เนื้อหาสาระที่ผู้อ่านส่วนใหญ่ชอบอ่าน พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ชอบอ่านข่าว ร้อยละ 45.6
        รองลงมาคือเนื้อหาสาระที่ให้ความบันเทิง ร้อยละ 25.6

        เมื่อพิจารณา เวลาที่ใช้อ่านหนังสือโดยเฉลี่ยแต่ละวันของผู้ที่ตอบสัมภาษณ์ พบว่า
            คนไทยใช้เวลาในการอ่านหนังสือโดยเฉลี่ยในแต่ละวันประมาณ 1.59 ชั่วโมง
 
             ผลสำรวจพบว่าประชากรที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป 59.2 ล้านคน มี ผู้ที่ไม่อ่านหนังสือ ประมาณ 18.3 ล้านคน
คิดเป็นร้อยละ 30.9 ของประชากรทั้งประเทศ
             แยกเป็นเพศชายประมาณ  8.4 ล้านคน คิดเป็นอัตราร้อยละ 28.4
                       เพศหญิงประมาณ 9.9 ล้านคน คิดเป็นอัตราร้อยละ 33.3  [คิดว่าเป็นค่าร้อยละต่อประชากรเพศนั้น]
   ในจำนวนผู้ที่ไม่อ่านหนังสือ 18.3 ล้านคนนี้    4.1 ล้านคน อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล ที่เหลืออีก 14.2 ล้านคน อาศัยอยู่นอกเขตฯ
   ในจำนวนผู้ที่ไม่อ่านหนังสือ 18.3 ล้านคนนั้น เป็นผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออก 3.3 ล้านคน

             สำหรับผู้ที่อ่านหนังสือออกแต่ไม่อ่านส่วนใหญ่ร้อยละ 48.4 ให้เหตุผลว่าไม่อ่านหนังสือเพราะชอบดูทีวี
             รองลงมาร้อยละ 36 ไม่มีเวลาอ่าน
             อีกร้อยละ 30.7 เป็นผู้ไม่ชอบหรือไม่สนใจที่จะอ่าน
             ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 1.1 ไม่อ่านหนังสือเนื่องจากมีปัญหาสุขภาพ

             หวังว่าข้อมูลคงมีประโยชน์บ้างไม่น้อยก็มาก 
             คุณ Bana จำนวนร้อยละที่รวมแล้วเกินร้อยนั้น น่าจะเป็นเพราะคนตอบ เลือกมากกว่า 1 หัวข้อ คืออ่านทั้งหนังสือพิมพ์
นิยาย ตำราฯ
             ลองดูในเว็บ สนง.สถิติ แล้วไม่พบข้อมูลเรื่องการเขียนครับ       
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 21 มิ.ย. 07, 19:32

ผู้ที่ไม่อ่านหนังสือ ประมาณ 18.3 ล้านคน
ผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออก 3.3 ล้านคน
ถ้าอย่างนี้ผมว่าน่าจะเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของเราแล้วล่ะครับ  ผู้ที่ไม่อ่านหนังสือคงต้องมีการส่งเสริมการอ่านมากกว่านี้นะครับ  แต่ผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออกนี่นะ  ทั้งๆที่เราก็มีการศึกษาภาคบังคับ  เวลาอย่างน้อย 6 ปี  ที่ครูสอนหนังสือให้เด็กในชั้นประถมนานพอที่จะทำให้อย่างน้อยต้องอ่านได้บ้าง  นี่ถ้าคิดเป็นอัตรา 60 ล้านคน ก็ประมาณ 5 % เชียวนะครับ  อันนี้น่าเป็นห่วงที่สุด
บันทึกการเข้า
ทินกร
อสุรผัด
*
ตอบ: 4

บมจ.เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 25 มิ.ย. 07, 14:37

ถ้าหนังสือไม่แพงมากเมื่อเทียบกับค่าครองชีพ
และการเข้าถึงหนังสือมีมากขึ้นคนก็คงอ่านหนังสือมากขึ้น

หลายคนบ่นว่าหนังสือในเมืองไทยแพงมันก็อาจจะจริง
เวลานี้ค่าแรงขั้นต่ำใน กทม.-ปริมณฑล วันละ 191 บาท
ต่างจังหวัดลดหลั่นกันไป ต่ำที่สุด จ.น่าน 143 บาท

ถึงแม้เขาจะอยากอ่านหนังสือเขาก็คงไม่เอาค่าแรงทั้งวัน
หรือค่าแรงมากกว่าหนึ่งวันไปซื้อหรอก
ยังไม่รวมถึงเกษตรกรที่มีรายได้เข้ามาเฉพาะช่วงหลังฤดูเก็บเกี่ยว

ตัวผมเองยังชอบซื้อหนังสือลดราคาในงานสัปหาด์หนังสือที่กรุงเทพ
แน่นอนว่างานอย่างนี้คนต่างจังหวัดมีโอกาสเข้าถึงน้อย

ผมว่าถ้าอยากให้คนไทยอ่านหนังสือมากขึ้นก็ต้องรณรงค์อย่างต่อเนื่อง
(ย้ำว่าต่อต้องเนื่องจริงๆ เพราะการเปลี่ยนพฤติกรรมคนต้องใช้เวลา)
บวกกับการยกระดับรายได้ของประชาชน
และสร้างการเข้าหนังสือให้มากขึ้น  อย่างห้องสมุดต้องลงไปถึงระดับ
ตำบลหรือหมู่บ้าน อาจจร่วมมือกับโรงเรียนในท้องถิ่น
จัดให้เป็นห้องสมุดที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา
ไม่ใช่ตอนนี้มีหนังสืออะไรอยู่ อีก 10 ปี ข้างหน้าก็มีหนังสืออยู่แค่นั้น
แล้วใครจะเข้ามาอ่าน
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 25 มิ.ย. 07, 14:44

รายได้ก็เรื่องหนึ่งครับ

แต่ถ้าดูจากธุรกิจร้านเช่าหนังสือซึ่งเป็นทางเลือกราคาถูก ต้องบอกว่าสาเหตุหลักไม่ใช่เรื่องเงิน

แต่เป็นเรื่องการศึกษานะครับ

คนไม่อ่าน ลดกระหน่ำยังไงก็ไม่อ่านครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
ทินกร
อสุรผัด
*
ตอบ: 4

บมจ.เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 25 มิ.ย. 07, 15:02

ใช่ครับ การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่ง
ผมถึงได้แยกว่า 1.จะต้องรณรงค์อย่างต่อเนื่อง
ซึ่งผมหมายรวมถึงการศึกษาด้วย
2.การยกระดับรายได้ประชาชน
3.การเข้าถึงหนังสือ

ใครมีข้อเสนออะไรเชิญแลกเปลี่ยน
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 25 มิ.ย. 07, 16:39


      นึกถึง K A P จากวิชาเกี่ยวกับชุมชน ที่เคยเรียนเมื่อนานแล้ว

         สอนไว้ว่า เวลาจะออกไปชุมชน นำ Knowledge ความรู้ไปสู่เขาแล้ว ต้องปรับเปลี่ยน ชักนำ
Attitude ทัศนคติ ความเชื่อของเขาด้วย เขาจึงจะมีการปฏิบัติ Practice ตามเป้าที่เราคาดไว้

         ถ้าเขาเห็นคุณค่าของการอ่าน และ/หรือรักการอ่านเป็นนิสัย แม้หนังสือมีราคาแพงจนซื้อไม่ไหว
(แพงจริงๆ) แม้ไม่มีเวลา ต้องทำงานทั้งวัน เขาก็ยังขวนขวายเพื่อการอ่านจนได้
        อาจจะเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับวันวาน หรือหนังสือเล่มเก่า (สมัยก่อนก็อาจจะเป็นกระดาษจากถุง
ห่อกล้วยแขก) หยิบ, ยืมมาอ่านขณะพักรับประทานอาหาร หรือระหว่างนั่งรถกลับบ้าน             
         
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 26 มิ.ย. 07, 00:18

ผมยังขอยืนยันว่าเป็นที่ระบบการสอนครับ  การจัดการเรียนการสอนของเรา  ต้องเอื้อต่อการอ่านการค้นคว้า  สอนทักษะการอ่าน  การจด  การจำ  การเขียน  การบูรณาการทักษะต่างๆเหล่านี้ต้องเริ่มจากชั้นประถม-มัธยม  ครับ  ไม่ใช่จะมาหาทักษะกันเอาเองในระดับอุดมศึกษา  แล้วคนไทยจะรักการอ่านมากกว่าเดิมครับ  เราจะได้มีคนเก่งๆอย่าง  อ.เทาชมภู  หรือท่าน CH  ไงล่ะครับ........ ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.113 วินาที กับ 19 คำสั่ง