เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 54857 รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 22 มิ.ย. 07, 12:32

ขอบคุณคุณฮากกาหยิ่นที่บอกทางให้ครับผมจะลองตามไปดูครับ

แต่ถ้าจะกรุณามาเล่าให้ฟังด้วยก็จะขอบคุณมากครับ ตอนนี้กำลังหมกมุ่นกับอีกงานหนึ่งอยู่ครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 22 มิ.ย. 07, 21:24

ต้องขออภัยนะครับ  คือขอนอกเรื่องนิดหน่อย  จังหวัดเหมยโจว ที่ว่านี้น่ะครับ  เป็นที่เดียวกันกับที่คุณทักษิณไปไหว้บรรพบุรุษหรือเปล่าครับ...ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 22 มิ.ย. 07, 22:19

ที่เดียวกันครับ เป็นชุมชนจีนแคะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 22 มิ.ย. 07, 23:31

ผมดูจากข้อมูลที่คุณ hakkayin แนะนำมา
ข้อมูลเรื่องเครื่องแต่งกายกับประวัติศาสตร์คงไม่ได้มีอะไรใหม่กว่าที่เราคุยกันไปแล้ว
แต่ผมหาข้อมูลของตระกูลฉี่ในเจียวหลิ่งหรือเหมยโจวไม่เจอจริงๆครับ

รบกวนคุณ hakkayin แนะนำลิงก์ให้หน่อยครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
hakkayin2550
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 23 มิ.ย. 07, 00:20

 :)ประวัติย่อ  พระมเหสีและโอรส เต้ากวงฮ่องเต้  ที่สำคัญจากข้อมูลภาษาจีน
จักรพรรดิชิงซวนจง เฉิงหวงตี้  หรือ เต้ากวงฮ่องเต้ มีมเหสี 4 องค์ พระสนมเอก 1องค์  พระสนมที่สำคัญ 3 องค์ เป็นต้น มีพระโอรส 9 พระองค์ พระธิดา 10 พระองค์
พระมเหสีองค์ที่1  เซี่ยวมู่เฉิงหวงโฮ่ว   เชื้อสายแมนจู  สกุลนิ่วกูลู่  เป็นพระชายาองค์แรก ปีรัชกาลเจียชิ่งที่13 ค.ศ.1809 สิ้นพระชนม์  ภายหลังเต้ากวงฮ่องเต้ครองราชย์สถาปนาพระอัฐิเป็น ฮองเฮา
พระมเหสีองค์ที่2  เซี่ยวเซิ่นเฉิงหวงโฮ่ว  เชื้อสายแมนจู  สกุลถงเจีย  เป็นพระชายาองค์ที่สอง  เมื่อเต้ากวงฮ่องเต้ครองราชย์สถาปนาเป็น ฮองเฮา     ปีรัชกาลเต้ากวงที่13 ค.ศ.1795  สิ้นพระชนม์ลง   
พระมเหสีองค์ที่3  เซี่ยวฉวนเฉิงหวงโฮ่ว  เชื้อสายแมนจู  สกุลนิ่วกูลู่   เดิมเป็นที่พระสนมเอกฉวน   ปีรัชกาลเต้ากวงที่14 ค.ศ.1796  เต้ากวงฮ่องเต้สถาปนาขึ้นเป็นฮองเฮา    ในปีรัชกาลเต้ากวงที่ 20 ค.ศ.1815 สิ้นพระชนม์ลง  มีพระโอรสองค์เดียว องค์ชาย 4 อี้จู่ ภายหลังขึ้นครองราชย์ใช้พระนามว่า จักรพรรดิจักรพรรดิเสียนเฟิง
พระมเหสีองค์ที่4  เซี่ยวจิ้งเฉิงหวงโฮ่ว  เชื้อสายมองโกล  สกุลป๋อเอ่อร์จี้จี๋เท่อ  เดิมเป็นที่พระสนมเอกจิ้ง  เมื่อเซี่ยวฉวนเฉิงหวงโฮ่ว สิ้นพระชนม์ ปีรัชกาลเต้ากวงที่ 20 ค.ศ.1815 พระโอรสองค์เดียวของพระนาง คือองค์ชาย 4 อี้จู่ มีชนมายุได้ 10 ปี 
พระสนมเอกจิ้ง ได้อภิบาลเจ้าชาย อี้จู่ เสมือนเป็นพระมารดาแท้ๆ จนพระองค์เจริญพระชันษา  เมื่อองค์ชายอี้จู่ครองราชย์มีพระนามว่า พระจักรพรรดิเสียนเฟิง   องค์จักรพรรดิทรงรำลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของพระสนมจิ้งจึงทรงสถาปนาเป็น พระบรมราชชนนี ที่หวงกุ้ยไท่เฟย  และต่อมาได้สถาปนาเป็น  พระบรมราชชนนี ที่เซี่ยวจิ้งเฉิงหวงโฮ่ว  พระนางมีพระโอรส 3 องค์  คือองค์ชายอี้กัง  องค์ชายอี้จี้  องค์ชายอี้ซิน  พระธิดา 1องค์
พระสนมเอก จวงซุนหวงกุ้ยเฟย เชื้อสายแมนจู สกุลอูหย่า   มีพระโอรส 3 องค์ คือ องค์ชายอี้หวน องค์ชายอี้เหอ  องค์ชายอี้ฮุ่ย  พระธิดา 1องค์
รายพระนามพระโอรสในจักรพรรดิเต้ากวง
1.องค์ชายอี้เหวย  โอรสองค์โต ประสูติ ปีเจียชิ่งที่ 13  ค.ศ.1809  จากพระสนมเหอเฟย   สิ้นพระชนม์เมื่อปี เต้ากวงปีที่11 ค.ศ.1832
2.องค์ชายอี้กัง  โอรสองค์ที่ 2  ประสูติปีเต้ากวงที่ 6  ค.ศ.1826  จากพระสนมเอกจิ้ง ต่อมาสถาปนาเป็นพระบรมราชชนนี ที่เซี่ยวจิ้งเฉิงหวงโฮ่ว    สิ้นพระชนม์เมื่อมีชนมายุได้ 2 ปี (คนจีนนับรวมอยู่ในครรภ์ด้วยความจริงมีพระชนม์แค่4เดือน)  ภายหลังจักรพรรดิเสียนเฟิงครองราชย์  ทรงนับถือว่าเป็นเสมือนพระเชษฐาจึงสถาปนาพระอัฐิเป็น อ๋อง นาม ซุ่นเหอจวิ้นหวัง
3.องค์ชายอี้จี้   โอรสองค์ที่ 3  ประสูติปีเต้ากวงที่ 9  ค.ศ.1829  จากพระสนมเอกจิ้ง ต่อมาสถาปนาเป็นพระบรมราชชนนี ที่เซี่ยวจิ้งเฉิงหวงโฮ่ว  สิ้นพระชนม์เมื่อมีชนมายุได้ 3 ปี (คนจีนนับรวมอยู่ในครรภ์ด้วยความจริงมีพระชนม์แค่ 1 ปี)  ภายหลังจักรพรรดิเสียนเฟิงครองราชย์  ทรงนับถือว่าเป็นเสมือนพระเชษฐาจึงสถาปนาพระอัฐิเป็น อ๋อง นาม ฮุ่ยจื้อจวิ้นหวัง
4.องค์ชายอี้จู่   โอรสองค์ที่ 4  ประสูติปีเต้ากวงที่ 11  ค.ศ.1831   จาก เซี่ยวฉวนเฉิงหวงโฮ่ว  องค์ชาย 4 อี้จู่  ภายหลังขึ้นครองราชย์ใช้พระนามว่า  จักรพรรดิเสียนเฟิง  มีมเหสีคือพระนางซูอัน  และพระนางซูสี พระโอรสคือองค์ชายไจ้ฉุนซึ่งต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระจักรพรรดิถงจื้อ
5.องค์ชายอี้ฉง  โอรสองค์ที่ 5  ประสูติ จากพระสนมเสียงเฟย  ต่อมาสถาปนาเป็น อ๋อง นามตุนฉินชินหวัง
6.องค์ชายอี้ซิน  โอรสองค์ที่ 6  ประสูติปีเต้ากวงที่ 12  ค.ศ.1832   จากพระสนมเอกจิ้ง ต่อมาสถาปนาเป็นพระบรมราชชนนี ที่เซี่ยวจิ้งเฉิงหวงโฮ่ว ต่อมาสถาปนาเป็น อ๋อง นามกงจงชินหวัง หรือที่รู้จักกันดีในพระนามองค์ชายกงอี้ซิน หรือพระองค์เจ้ากง ตำแหน่งพระอนุชา  ทรงอยู่ในสถานะพระอนุชาที่ใกล้ชิดขององค์จักรพรรดิเพราะทรงเติบโตมาด้วยพระมารดาองค์เดียวกัน  จึงทรงมีฐานะอันสูงยิ่งในหมู่เชื้อพระวงศ์ทั้งหลาย มีวังที่ประทับที่งดงามหรูหราที่สุด (เป็นอดีตทำเนียบของเหอเซินคนโปรดของจักรพรรดิเฉียนหลง)
พระองค์เจ้ากงทรงมีบทบาทอย่างมากในทางการบริหารบ้านเมืองตลอด 3 รัชกาล ตั้งแต่ปีรัชกาลเสียนเฟิง-ถงจื้อ-กวงซวี่   
ในรัชกาลเสียนเฟิงพระองค์เจ้ากงทรงรับหน้าที่ด้านการต่างประเทศ เป็นผู้ติดต่อเจรจาในเหตุการณ์สำคัญๆ เช่น สงครามฝิ่นครั้งที่สอง  แม้จะทรงมิอาจหยุดยั้งการเผาทำลายพระราชอุทยานหยวนหมิงหยวน ของกองทัพอังกฤษ-ฝรั่งเศส
ในช่วงต้นรัชสมัยถงจื้อและในต้นรัชสมัยกวางสูพระองค์เจ้ากง อี้ซิน และพระองค์เจ้าฉุน อี้หวน โดยความร่วมมือกับเชื้อพระวงศ์อื่น  ได้สนับสนุนพระนางซูสีไทเฮาขึ้นมามีอำนาจในการว่าราชการหลังม่าน 
7.องค์ชายอี้หวน  โอรสองค์ที่ 7 ประสูติปีเต้ากวงที่ 9  ค.ศ.1829  จากพระสนมเอก จวงซุนหวงกุ้ยเฟย ต่อมาสถาปนาเป็น อ๋อง นามตุนเสียนชินหวัง ตำแหน่งพระอนุชา ต่อมาอภิเษก กับเย่เฮ่อนาลาหว่านเจิน น้องสาวของพระนางซูสีไทเฮา มีโอรสองค์สำคัญคือ
องค์ชายไจ้เทียน ต่อมาได้ครองราชย์เป็นพระจักรพรรดิกวงซวี่    และ องค์ชายไจ้เฟิง ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นตุนเสียนชินหวังตามพระบิดา มีพระโอรสคือ  องค์ชายปูยี ซึ่งได้ครองราชย์เป็นพระจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิง
8.องค์ชายอี้เหอ โอรสองค์ที่ 8 ประสูติปีเต้ากวงที่ 9  ค.ศ.1829   จากพระสนมเอก จวงซุนหวงกุ้ยเฟย ต่อมาสถาปนาเป็น อ๋อง นามจงตวนชินหวัง
9.องค์ชายอี้ฮุ่ย โอรสองค์ที่ 9 ประสูติปีเต้ากวงที่ 9  ค.ศ.1829   จากพระสนมเอก จวงซุนหวงกุ้ยเฟย  ต่อมาสถาปนาเป็น อ๋อง นามฟูจิ้งชินหวัง
พระราชประวัติพระจักรพรรดิเต้ากวง  พระมเหสีและพระโอรส ตามที่บรรยายมานี้มีความชัดเจนเป็นที่ยอมรับกันแพร่หลายทั่วไปในเอสารประวัติศาสตร์ของจีนและไต้หวันรวมทั้งนักประวัติศาสตร์โลก
ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ว่าจะมีองค์ชายราชวงศ์ชิงลี้ภัยการเมืองมาอยู่ในเมืองไทยจริง
บันทึกการเข้า
hakkayin2550
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 23 มิ.ย. 07, 00:29

 ยิ้ม คุณเทียนชัย จึงแย้มปิ่น อ้างว่า ท่านฉี่งี่กุง มาจากเหมยเสี้ยน  ซึ่งก็คือเมืองเหมยโจว มณฑลกวางตุ้ง ในปัจจุบัน เหมยโจว มีชื่อเดิมว่า เหมยเสี้ยน แปลว่าอำเภอเหมย ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น เจียอิ้งโจว เหมยโจวเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมจีนแคะ คนจีนแคะส่วนใหญ่ที่หนีออกนอกประเทศสมัยปลายราชวงศ์ชิงนั้น มีเหตุจากการเมืองภายใน เนื่องจากหงซิ่วฉวน ผู้นำกบฎไท่ผิงเทียนกั๋ว เป็นจีนแคะ ดังนั้นผู้นำระดับสูงส่วนหนึ่งก็เป็นจีนแคะด้วย เมื่อนครเทียนจิง(นานนกิง)ที่มั่นของไท่ผิงถูกทหารรัฐบาลชิงตีแตก กองกำลังสายหนึ่งจึงหนีลงมาอยู่ที่เจียอิ้งโจว เมื่อเจียอิ้งโจวถูกตีแตก ชาวแคะจึงลี้ภัยไปอยู่ที่อื่น รวมทั้งในเอเชียอาคเนย์ ไต้หวัน
            ส่วน ชื่อ  ฉี่  งี่  กุง นี้สามารถแปลได้ดังนี้
   ฉี่  ในภาษาแคะ หรือ ฉี ในภาษาจีนกลาง เป็นแซ่     
งี่  ในภาษาแคะหรือ เอ้อร์ ในภาษาจีนกลาง แปลว่า สอง   
กุง ในภาษาแคะหรือ จวิน ในภาษาจีนกลาง ตามพจนานุกรมจีน-ไทยฉบับใหม่โดยเทียนชัย เอี่ยมวรเมธ แปลว่า  1.กษัตริย์ ,ราชา, พระเจ้าแผ่นดิน   2. คำยกย่องที่ใช้เรียกยกย่องผู้ชาย เช่นท่านจาง  ท่านทั้งหลาย คุณทั้งหลาย
ความหมายที่ 1 นั้น ตรงกับขุนในภาษาไทยโบราณ    ส่วนความหมายที่ 2 นั้น ตรงกับคุณในภาษาไทยสมัยหลัง
ดังนั้น ฉี่งี่กุง จึงแปลว่า คุณผู้ชายคนที่สอง เนื่องจากมีการนำคำนี้มาใช้เรียกต่อท้ายแซ่ และลำดับที่ จึงไม่สามารถแปลว่ากษัตริย์  หรือ องค์ชายได้เลย
บันทึกการเข้า
hakkayin2550
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 23 มิ.ย. 07, 00:35

 ยิ้ม เครื่องแต่งกายขุนนางจีนราชวงศ์ชิง
โดยปกติเสื้อประดับยศนั้น ผู้แต่งต้องเป็นผู้ที่ผ่านการสอบเทียบวิทยฐานะทางการศึกษาแล้ว ซึ่งในท้องถิ่นต่างๆ มีบัณฑิตเหล่านี้อยู่ทั่วไป ดังนั้นหากพ่อค้าจีนคนใดเคยผ่านการศึกษาและสอบเทียบวิทยฐานะมาบ้างแล้วก็สามารถแต่งกายแบบราชสำนักได้แต่ มีแถบหน้าอกเสื้อ
แบบเดียวกับข้าราชการชั้นต่ำสุดคือ ระดับเก้าชั้นโท และหมวกก็จะยังไม่มีลูกแก้วประดับยอด และพู่แววมยรุาแสดงว่ายังไม่เข้าสู่ระบบราชการ
ส่วนประกอบของเครื่องยศขุนนางจีน
เครื่องยศของขุนนางในสมัยราชวงศ์ชิงนั้น ชาวแมนจูปรับปรุงแบบเครื่องแต่งกายของตนเข้ากับเครื่องแต่งกายของขุนนางในราชวงศ์หมิง โดยมีเครื่องประกอบยศตามแต่ฐานันดรศักดิ์ เครื่องยศประกอบด้วย
1.หมวกยศ แบ่งเป็นสองชนิดคือ แบบฤดูร้อนและแบบฤดูหนาว
 หมวกฤดูร้อน เป็นหมวกทรงคลุ่มคล้ายงอบหรือหมวกกะโล่ มีเส้นไหมสีแดงห้อยจากยอดหมวกคลุมโดยรอบ แต่หากมีงานพระบรมศพจะเปลี่ยนเป็นหมวกขาวไม่มีเส้นไหมแดง
หมวกแบบฤดูหนาว มีลักษณะเป็นหมวกทรงกลมคว่ำพอดีศีรษะ มีกระบังขนสัตว์สีดำโดยรอบ กลางหมวกมีเส้นไหมเช่นเดียวกับหมวกฤดูร้อน 
ส่วนพระมาลาขององค์พระจักรพรรดิมีทั้งสองแบบเช่นเดียวกับของขุนนาง แต่จะมีเส้นไหมแดงจะหนากว่ามาก มียอดแหลมสูงประดับด้วยอัญมณีทองและไข่มุกด์ เฉพาะพระมาลาฤดูร้อน   ด้านหน้าพระมาลามีพระพุทธรูปบุทองคำ ประดับด้วยไข่มุกโดยรอบ
ส่วนพระมาลาขององค์จักรพรรดินีมีแต่แบบฤดูหนาว ยอดหมวกประดับด้วยหงส์ทองประดับไข่มุก เก้าตัว
หมวกขุนนางทั้งสองแบบมียอดลูกแก้ว เรียกว่าเติ่งไต้ 頂戴 แบ่งชั้นยศกันที่ยอดหมวก
ระดับหนึ่ง เป็น  รัตนชาตสีแดง       ระดับสอง เป็น กัลปังหา       
ระดับสาม เป็น รัตนชาติสีน้ำเงิน       ระดับสี่ เป็นรัตนชาติสีเขียว
ระดับห้า เป็นแก้วผลึก         ระดับหกเป็นเปลือกหอยสังข์
ระดับเจ็ดเป็นทองเกลี้ยระดับ      แปดเป็นทองสลักลาย
และระดับเก้าเป็นทองฉลุลาย        ระดับต่ำกว่าระดับเก้าจะไม่มีการยอดหมวก
ด้านหลังของยอดหมวกจะมีพู่แววมยุราห้อย ไปทางด้านหลัง เรียกว่า ฮวาหลิง 花翎 แปลว่า ขนนกประดับ ขนนกประดับนี้ขุนนางระดับทั่วไปมีหนึ่งแวว เมื่อเลื่อนชั้นสูงขึ้นจะเพิ่มเป็นสองแวว และสามแววตามลำดับหลังรัชกาลจักรพรรดิเสียนเฟิง ขุนนางระดับห้าขึ้นไปสามารถถวายเงินแก่ราชการเพื่อเพิ่มแววของพู่หมวกได้1 แวว
2.เสื้อยศลายมังกร
เรียกว่า หมังเผา(หมังเพ้า)蟒袍 เป็นเสื้อที่ใช้สวมเวลาปฏิบัติงานปกติเป็นเสื้อไหมยาวตลอดตัว คอกลมปกใหญ่ติดกระดุมข้างขวา พื้นสีน้ำเงินปักไหม มีลวดลายสิริมงคลต่างๆ มีความแตกต่างกันที่เล็บมังกรที่ปักบนเสื้อ ชายเสื้อปักลายฝั่งน้ำคลื่นทะเลด้วยไหมห้าสี เสื้อของชาวแมนจูปลายแขนเสื้อทั้งสองข้างจะยื่นยาวเลยมือออกมาคล้ายรูปเกือกม้า เรียกว่า หม่าถีซิ่ว馬蹄袖 แปลว่า แขนเกือกม้า หรือ เจี้ยนซิ่ว 箭袖แปลว่า แขนเสื้อยิงธนู ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของเสื้อสมัยชิงแขนเสื้อนี้ปกติจะต้องพับขึ้นมาเพื่อความสะดวกในการใช้งาน แต่เวลาเข้าเฝ้าจะต้องปัดปลายแขนเสื้อลงทั้งสองข้าง โดยต้องสะบัดข้างซ้ายลงก่อน แล้วจึงสะบัดข้างขวาเพื่อแสดงความเคารพ การปัดแขนเสื้อนี้ถือว่าเป็นเอกลักษณ์พิเศษของการถวายความเคารพแบบแมนจู
3.เสื้อยศเข้าเฝ้า
เรียกว่าเฉาเผา朝袍  เป็นเสื้อคลุมชั้นนอกใช้สวมขณะเข้าเฝ้า มีลักษณะเป็นเสื้อคลุมคอกลมติดกระดุมผ่าหน้ามีความยาวเพียงหน้าแข้ง แขนเสื้อจะตรงและสั้นกว่าเสื้อลายมังกร สีดำ หรือน้ำเงิน ในฤดูร้อนจะเป็นแพรโปร่งในฤดูหนาวจะเป็นผ้าขนสัตว์ มีสัญลักษณ์บ่งบอกระดับชั้น
เรียกว่า ปู๋ฝู(โป้วฮก)補服 เป็นแผ่นผ้าไหมปักลวดลายเป็น รูป สัตว์ต่างๆ ติด ไว้กลางอกทั้งหน้าและหลัง   
แผ่นผ้าไหมปักลวดลายนี้ของขุนนางทั่วไปเป็นสี่เหลี่ยม  ขุนนางในราชสำนักเป็นวงกลม ส่วนของเชื้อพระวงศ์นั้นสัญลักษณ์ปักลายมังกรในวงกลม แผ่นผ้าปักหรือ ปู๋ฝู นี้ ราชวงศ์ชิงอนุโลมใช้ตามแบบราชวงศ์หมิง เพียงแต่เปลี่ยนลักษณะของเสื้อเป็นแบบแมนจูเท่านั้น
แผ่นผ้าปักหรือปู๋จื่อ ของขุนนางฝ่ายพลเรือนใช้ลายรูปสัตว์ปีก ดังนี้
ระดับหนึ่งปักรูปนกกระเรียน (เซียนเหอ) 仙鶴
ระดับสองปักรูปไก่ฟ้าทอง (จิ่นจี) 錦雞
ระดับสามปักรูปนกยูง (ข่งเชว่) 孔雀
ระดับสี่ปักรูปห่านป่า (เหยี่ยน) 雁
ระดับห้าปักรูปไก่ฟ้าขาว(ไป๋เสียน) 白鷴
ระดับหกปักรูปนกยาง (ลู่ซือ) 鷺鷥
ระดับเจ็ดปักรูปนกเป็ดน้ำแดง (ซีชือ) 鸂鶒
ระดับแปดปักรูปนกกระทา(อันฉุน) 鵪鶉
ระดับเก้าปักรูปนกหางแพน(เลี่ยนเชว่) 練雀
แผ่นผ้าปักหรือ ปู๋จื่อ ของขุนนางฝ่ายทหารใช้ลายรูปสัตว์สี่เท้า ดังนี้
ระดับหนึ่งปักรูปกิเลน(ฉีหลิน)麒麟
ระดับสองปักรูปสิงโต(ซือจื่อ)獅子
ระดับสามปักรูปเสือดาว(เป้า)豹
ระดับสี่ปักรูปเสือโคร่ง(หู่) 虎
ระดับห้าปักรูปหมี (สยง) 熊
ระดับหกปักรูปเสือดาวเหลือง (เปียว) 彪
ระดับเจ็ด  และระดับแปดปักรูปแรด(ซีหนิว) 犀牛
ระดับเก้าปักรูปม้าทะเล(ไห่หม่า)海馬
4.เข็มขัด     เช่นระดับหนึ่งหัวเข็มขัดเป็นทองคำฝังหยกทรงเหลี่ยม เป็นต้น
5.เครื่องปูลาด
เป็นขนสัตว์สำหรับปูลาดที่นั่งระดับหนึ่งฤดูหนาวเป็นหนังหมาป่า ฤดูร้อนเป็นสักหลาดแดง ส่วนพวกต่ำกว่าระดับเก้าใช้หนังนากบก และสักหลาดขาว เป็นต้น
6.ประคำอิสริยาภรณ์
เรียกว่าเฉาจู สวมบนเสื้อยศขณะเข้าเฝ้า จึงเรียกว่าประคำเข้าเฝ้า ชาวแมนจูดัดแปลงมาจากประคำทางพระพุทธศาสนามี108 เม็ด    เนื่องจากชนเผ่าแมนจู ยึดมั่นพระพุทธศาสนามาก จึงใช้ลูกประคำมาดัดแปลงเป็นเครื่องอิสริยาภรณ์   ประคำทุกระดับทั้งของฮ่องเต้และขุนนาง มีความยาวเพียงกลางลำตัว   แต่ผู้ที่จะสวมประคำอิสริยาภรณ์ได้ต้องเป็นขุนนางระดับห้าขึ้นไปเท่านั้นยกเว้นขุนนางในราชบัณฑิตยสถาน และสำนักราชเลขาธิการ
7.เครื่องยศพระราชทานพิเศษ
เช่น แววมยุราพู่หมวกพิเศษ เสื้อกั๊กสีเหลืองทอง เป็นของพระราชทานให้เป็นพิเศษแก่ผู้มีความชอบในราชการ 
จากบทความของอาจารย์เศรษฐพงษ์ จงสงวน   อยู่ในหนังสือกระเบื้องถ้วยกระลาแตก  โดยพิมพ์ประไพ พิศาลบุตร สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์
บันทึกการเข้า
hakkayin2550
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 23 มิ.ย. 07, 00:45

มีเวปของแซ่ สวี่ (ฉี , ฉี่ .ชื้อ ) ลองเข้าไปดูครับ
http://www.xu-shi.com/

มีบทความของแซ่ นี้ที่อพยพไปไต้หวัน ระบุว่ามีสายหนึ่งมาจาก เจียอิ้งโจว อำเภอ เจี่ยวหลิ่ง มณฑล กวางตุ้ง  http://www.xu-shi.com/bbs/ShowPost.asp?ThreadID=10794
บันทึกการเข้า
hakkayin2550
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 23 มิ.ย. 07, 00:48

 ยิ้ม สรุปแล้วผมว่าน่าจะชัดเจนว่าคงไม่มีองค์ชายราชวงศ์ชิง หนีมาสยาม
ส่วนการเรียกร้องให้รักษาเจดีย์ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไม่น่าเอาเรื่ององค์ชายมาเสริมให้ เจดีย์ดูมีค่าขึ้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 23 มิ.ย. 07, 08:21

ขอบคุณคุณฮากกายิน2550 อ่านรู้เรื่องแล้วค่ะ
ขอบคุณอีกครั้งที่อุตสาหะ พิมพ์ข้อความจากหนังสือมาให้อย่างละเอียด
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 23 มิ.ย. 07, 11:04

ขอบคุณมากครับ  ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 23 มิ.ย. 07, 13:16

ขอบคุณเช่นกัน ครับ
บันทึกการเข้า
hakkayin2550
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 23 มิ.ย. 07, 15:01

 ยิ้มกว้างๆ ขอบพระคุณมากครับท่านอาจารย์ทั้งหลาย ขอบพระคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 22 ส.ค. 07, 10:47

ตามประวัติบอกไว้ว่า พระยาเทพหรูตั้งนามสกุล “ลิ้มจำรูญ” ให้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2467

ผมคิดว่าชื่อพระเทพหรู นี้ที่จริงควรจะเป็นพระเทพผลู เจ้ากรมกองตระเวณซ้ายครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 22 ส.ค. 07, 21:51

เลื่อมใส  เลื่อมใส ข้าน้อยขอขอบพระคุณเช่นกัน 
ได้ความรู้และความกระจ่างเยอะเลย  แปลว่าเรื่องท่านฉีเอามาเป็นประเด็นเรื่องรื้อเจดีย์เท่านั้น.... ยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.052 วินาที กับ 20 คำสั่ง