เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
อ่าน: 54891 รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 18 ก.ย. 07, 21:21

มาอึ้งครับ โห... เป็นตุเป็นตะเชีย
แต่จะเป็นตุ/ตะยังไง ผู้รู้ทั้งหลายในที่นี้ก็จับไต๋ได้อยู่หมัดอยู่ดี
ขอบพระคุณทุกท่านที่แบ่งปันวิทยาทานครับ

ผมสงสัยตอนเห็นรูป ว่าเป็นชุดขุนนางแน่ๆ ไม่ใช่กษัตริย์หรือเจ้านาย

รัชทายาทชิงหนีมาสยาม ชัดแล้วว่าคงไม่จริง ที่ผมสนใจมากกว่าคือเรื่องจริงว่าด้วย ดร. ซุนยัตเซนมาสยาม เข้าใจว่าก่อนทำเก๊กเหม็ง (กั๋วมิ่ง - คือทำปฏิวัติ) ล้มราชวงศ์ชิง ใครจะกรุณาให้วิทยาทานเรื่องนี้ได้มั่งครับ
ส่วนเรื่องลุงโฮ (จิมินห์) เคยมาแฝงตัวในไทยระหว่างสู้กับจักรวรรดินิยมฝรั่งเศสนั้น มีการบันทึกไว้มากแล้ว
บันทึกการเข้า
rayban704
อสุรผัด
*
ตอบ: 1



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 07 ม.ค. 10, 15:11

ขอบคุณมาก ๆ เลย
บันทึกการเข้า

pjchaina
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 04 มี.ค. 10, 10:15

เคยเห็นนกคล้ายๆอย่างนี้ในภาพวาดของญี่ปุ่น
ถ้าบอกว่าเป็นนกกะเรียน   พอจะบอกได้ไหมคะว่าขุนนางชั้นไหน


ช่ายๆ เห็นด้วยครับ
บันทึกการเข้า

Ngao_Mak
อสุรผัด
*
ตอบ: 45


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 04 มี.ค. 10, 10:32

รูปชุดขุนนางนั่นถ่ายที่ไหนผมไม่รู้
แต่กรอบเหลือง และชายเสื้อเห็นเสื้อสีเหลือง แสดงว่าเป็นบุคคลไม่ธรรมดา

แล้วเรื่องหนีมาสยามอะไรนั่น ผมไม่เชื่อหรอกครับ

ส่วนเรื่องรื้อเจดีย์ ถ้าเขาจะรื้อ
ใครหน้าไหนมีปัญหาครับ???

รื้อทิ้งไปซะก็ดี
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 04 มี.ค. 10, 11:16

วานคุณฮากกาหยิ่นบอกที่มาหนังสือ และเว็ปไซด์หน่อยได้ไหมครับ จะได้ค้นคว้าต่อ
ขอขอบพระคุณ ณ ที่นี้ด้วยครับ ยิงฟันยิ้ม
อนึ่งทุบเจดีย์อะไรหรือครับ แล้วทำไมต้องทุบต้องรื้อ ถ้าเป็นของโบราณเก่าแก่รื้อไปก็น่าเสียดาย เพราะเป็นงานศิลป์ชิ้นหนึ่ง
ทำลายไปก็เหมือนทำลายสมบัติชาติ ใครหน้าไหนคงไม่มีปัญหา แต่ว่าคงเป็นปัญหาแก่ชาติว่าเราทำลายมรดกบรรพบุรษไปอีกชิ้น
น่าเสียดาย...เหมือนกับใครสักคนมาเผาทำลายรูปพ่อรูปแม่เราที่ตกทอดมา เราคงไม่ดีใจ...เว้นเสียแต่คนๆนั้นจะมีแนวคิดต่างออกไป
อันนั้นคงเป็นเรื่องที่ต้องนำมาพิจารณาอีกส่วนหนึ่ง  ขยิบตา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 04 มี.ค. 10, 13:06

เรื่องรื้อเจดีย์ คือเรื่องนี้

จากกรณีวัดมังกรกมลาวาส หรือ วัดเล่งเน่ยยี่ ถนนเจริญกรุง จะทุบทิ้งเจดีย์ทรงไทยภายในวัดเพื่อใช้พื้นที่จัดสร้างอนุสาวรีย์เจ้าอาวาสคนปัจจุบัน คือ ท่านเจ้าคุณเย็นเชี้ยว หรือ พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์แทนนั้น ปรากฏว่า มีกลุ่มคนจีนเชื้อสายไทยเกิดความไม่พอใจ เนื่องจากเจดีย์ดังกล่าวเป็นที่เก็บอัฐิของบรรพบุรุษ กลุ่มทายาทผู้เกี่ยวข้องไม่เห็นด้วย
นายเทียนชัย จึงแย้มปิ่น ตัวแทนกลุ่ม เข้าร้องเรียน "มติชน" ว่า เจดีย์ทรงไทยมีอายุกว่า 115 ปี เป็นอนุสรณ์สำคัญแสดงถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างราชวงศ์จักรีและราชวงศ์ชิงของจีน เป็นสถานที่บรรจุอัฐิของ "องค์ชายสอง" แห่งราชวงศ์ชิง ซึ่งทรงลี้ภัยทางการเมืองเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เมื่อประมาณ พ.ศ.2390 ใช้ชื่อว่า "ฉี่ หยี่ กง" รัชกาลที่ 3 ทรงมอบที่ดินให้ องค์ชายสองจึงบริจาคให้เป็นที่ตั้งบางส่วนของวัด ทรงสร้างพระเจดีย์ทรงไทยในวัดเพื่อให้ลูกหลานระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของราชวงศ์จักรี
"ผมเคยคัดค้านแล้ว แต่วัดยืนยันจะทุบเจดีย์ ตามกำหนดจะลงมือรื้อวันที่ 30 พฤษภาคมนี้" นายเทียนชัยกล่าว
ฉี่ หยี่ กง สมรสกับนางเหน้า มีบุตรธิดา 7 คน เป็นต้นตระกูลดังหลายตระกูล เช่น ล่ำซำ ทั่งเครือแก้ว พันทนะ เชาวกำธร อึ๊งภากรณ์ สิมะเสถียร กรรณสูต กาญจนาภา จักกะพาก วรรณวิฑูร จารุมิลินท หโยดม บุลสุข หวั่งหลี จึงแย้มปิ่น ฮุนตระกูล โทณวณิก สราญจิตต์ ดำรงไชย ขัมพานนท์ ชีชุติ ฯลฯ

 จากนสพ.มติชน  ฉบับวันที่  2 พ.ค.50
บันทึกการเข้า
Ngao_Mak
อสุรผัด
*
ตอบ: 45


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 04 มี.ค. 10, 16:27

เพราะมันไม่มีความสำคัญอะไรในประวัติศาสตร์ ถึงขนาดต้องให้เป็นโบราณวัตถุ ไม่จำเป็นต้องมาอนุรักษ์อะไรให้เสียเวลา เพราะมันไม่มีความสำคัญ เขาถึงรื้อเจดีย์ทิ้ง

ผมว่ารื้อทิ้งไป ผมว่าไม่มีปัญหาอะไร

บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 04 มี.ค. 10, 17:06

หรือ...อาจเป็นได้
แล้วอะไรบ้างหนอที่ควรเป็นโบราณวัตถุ มีค่าทางประวัติศาสตร์ มีค่าไม่ควรทุบทิ้ง
อย่างวัดเฉลิมพระเกียรติที่นนทบุรี ว่าไปก็สร้างใหม่เกือบหมด แต่คนเขาก็นับว่าเป็นโบราณสถานแล้ว
คำถามเรื่องอะไรเก่าใหม่ คำถามนี้คงเป็นคำถามยากน่าดู เพราะหลายอย่างในไทยบางคนว่าเก่ามีคุณค่า แต่บางคนว่าเก่าทรุดโทรม
เพราะอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์หลายแห่งถูกทำลายไปอย่างน่าเสียดาย เพราะถูกมองว่าไร้ค่าก็มี
บางทีมันก็ควรค่าน่าทุบ แต่เราก็ทิ้งไว้รกหูรกตาก็เยอะ
แต่บ่อยครั้งมักเห็นคนไทยทุบมันด่ะเลย
เจดีย์ที่ว่าผมเองก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเก่าแค่ไหน มีคุณค่าเท่าไร
คงต้องรอข้อมูลเพื่อพิจารณาต่อไป
เอาเถิด...เรื่องนี้ไว้พิจารณาทีหลัง
แต่ที่จะพูดคือคนจีนโบราณในสมัยราชวงศ์ชิง แม้เป็นคนธรรมดาก็ใส่เสื้อสีเหลืองได้เหมือนกัน
เสิ้อเหลืองนั้นเป็นเสื้อคลุมพระราชทาน ให้ใส่ไว้ชั้นนอกสุด เสื้อคลุมชั้นนอกสุดปกติเรียกว่า “หม่ากว้า” (马褂: ma gua)
เสื้อนี้ถ้าเป็นเสื้อพระราชทานสีเหลืองเรียกว่า "ฮวงหม่ากว้า" (黄马褂:huang ma gua)
ปกติผู้ที่จะใส่เสื้อสีเหลืองนอกจากสมเด็จพระจักรพรรดิแล้วจะมีเพียงเหล่าองค์รักษ์ข้างพระองค์ ขุนนางผู้ใหญ่ที่ตามในกระบวนเสด็จพระราชดำเนิน และผู้ทำความดีชอบต้องพระทัย
หากผู้ใส่เป็นองค์รักษ์ หรือขุนนางผู้ใหญ่ตามเสด็จแล้ว (จริงๆแล้วเดินนำ) จะใส่ได้เฉพาะเวลาตามเสด็จพระราชดำเนินเท่านั้น หากขืนใส่เดินเล่นถูกลงโทษได้
หากได้รับเพราะความดีความชอบ มีสองประเภท ได้แก่ประเภทตามเสด็จล่าสัตว์ แล้วยิงสัตว์มาถวายต่อหน้าพระพักตร์ (ทำนองว่า...ข้าพระพุทธเจ้าก็เก่งนะเออ ล่าได้ด้วหนึ่งแหละ)
หากพระองค์ต้องพระทัย อาจพระราชทานเสื้อให้ (เป็นอารมณ์ว่า...เออ เองก็เก่งนะ แพนด้าทั้งตัวอุตส่าห์ล่าได้ อะ...มาเอารางวัลไป)
แต่พวกนี้จะใส่ได้เฉพาะในโอกาสตามเสด็จไปล่าสัตว์เท่านั้น ใส่นอกเหนือจากเวลาดังกล่าวมีความผิด
สุดท้าย คือทำความดีความชอบต้องพระทัย จะเป็นองค์พระจักรพรรดิหรือพระจักรพรรดินีก็ได้
จะทำถูกใจด้านใดก็ได้ ขอให้ต้องพระทัยไว้เถิดเป็นพอ
ถูกใจแล้ว...นั้นแหละ เอาไปเลย จะใส่ในโอกาสใหญ่ๆตอนไหนก็ได้ตามใจชอบ
ดังครั้งหนึ่งพระนางซูซีไทเฮาเคยพระราชทานเสื้อคลุมแบบนี้ให้แก่คนขับรถไฟ ที่ขับรถไฟได้ต้องพระทัย
แต่เสื้อประเภทนี้ใส่ไว้ข้างนอกสุด ไม่ใช้เสื้อคลุมชั้นใน ขอเวลาไปค้นก่อน แล้วจะมาเล่าต่อ


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 04 มี.ค. 10, 18:22

รูปนี้เป็นรูปของนายพลกอร์ดอน (Major Charles George Gordon,1833-1885) ที่เข้ามารับราชการช่วงปลายราชวงศ์ชิงคราวปราบกษฎไท่ผิง
มีที่มาจากเว็ปไซด์ ดังนี้
http://images.google.com/imgres?imgurl=http://pic.itiexue.net/pics/2009_3_22_75578_8975578.jpg&imgrefurl=http://bbs.tiexue.net/post_3438710_1.html&usg=__LuyGA1GnCMzRIjW5XgB2bO8MYS0=&h=400&w=228&sz=26&hl=th&start=5&um=1&itbs=1&tbnid=JlR0Ay2uPB1C5M:&tbnh=124&tbnw=71&prev=/images%3Fq%3D%25E9%25BB%2584%25E9%25A9%25AC%25E8%25A4%2582%26um%3D1%26hl%3Dth%26lr%3D%26newwindow%3D1%26sa%3DN%26tbs%3Disch:1

บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 04 มี.ค. 10, 18:29

ส่วนเรื่องภาพดูชัดๆแล้วเป็นนกกระเรียนมองพระอาทิตย์ ปกติเป็นภาพที่ใช้กับขุนนางฝ่ายบุ๋นที่มีตำแหน่งสูงสุด
ทั้งนี้ ลายผ้าเป็นสีทอง หรือมีสร้อยประคำยาวไม่จำเป็นต้องเป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง เพราะเท่าที่ผมดูจากตัวอย่างภาพขุนนางเก่าๆในจีนระดับสูงก็มีภาพคล้ายๆกัน
ภาพนี้เสียดายที่ในเว็ปไซด์ไม่ได้บอกที่มาว่ามาจากไหน เพียงแต่บอกว่าเป็นชุดข้าราชการในสมัยราชวงศ์ชิง
ผมนำมาจากเว็ปไซด์ดังนี้ http://tieba.baidu.com/f?kz=412418445




บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 04 มี.ค. 10, 19:35

         ดังนั้น จากภาพเขียนที่ปรากฎท่านสันนิษฐานว่าท่านคงไม่ใช่เชื้อพระวงศ์แต่อย่างใด แม้เสื้อจะมีสีเหลืองปนบนลายปัก และประคำจะยาวไปสักนิด
แล้วเสื้อตัวในแลบออกมาเห็นเป็นสีเหลือง ผมไปดูรูปในหน้งสือเรื่อง 清两江总督与 总督署:THE LIANGJIANG GOVERNOR - GENERALS OF QING DYNASTY AND THEIR OFFICIAL RESIDENCE มีภาพของท่านข้าหลวงประจำมณฑลเหลียงเจียงซึ่งถือเป็นขุนนางชั้นสูง (การแบ่งนี้เป็นการแบ่งแบบโบราณ คือ แบ่งเป็นแปดมณฑลใหญ่ ไม่เหมือนกับเมืองจีนในปัจจุบัน)
มีภาพหนึ่งเป็นภาพของท่าน หลี เว้ย เสี่ยง (李卫像:li wei xiang) จากภาพท่านก็ใส่เสื้อคลุมทับยาวดำทับตามแบบขุนนางทั่วไป แต่ว่าเสื้อคลุมแหวกออกมาเห็นเสื้อชั้นในสีเหลือง ทั้งท่านยังใส่สร้อยประคำเอว แต่ก็เป็นหลักฐานอีกชิ้นว่าขุนนางแต่งตัวลักษณะนี้เช่นกัน ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ หากเป็นขุนนางระดับสูง
           ด้วยเหตุประการฉะนี้ ท่านฉี่ หยี่ กงอาจเป็นขุนนางผู้ใหญ่ของ หนีตายมาไทย ดังนั้นเราลองสมมุติเหตุการณ์เล่นๆนะ เรื่องมีอยู่ว่า...
ช่วงปลายราชวงศ์ชิง บ้านเมืองวุ่นวายเหลือเกิน ขุนนาง เจ้าเมือง เจ้าของที่ดินเผลอๆอาจถูกกลุ่มกบฎไท่ผิงจับฆ่าถ้าบังเอิญดันไปอยู่แถวๆที่กบฏรุกราน
(กลุ่มกบฎนี้เปิดฉากเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๓ กว่าจะล้างบางปราบสำเร็จก็ตั้ง ๒๔๐๗) ท่านฉี่ หยี่ กงอาจเป็นขุนนางผู้ใหญ่คนหนึ่ง ที่บังเอิญอยู่แถวๆที่มีกบฎ ท่านเลยตัดสินใจอพยพยกครัวมา ทางใต้แถบเหมยเสี้ยนตัวท่านอาจมีพื้นเพเป็นคนที่นั้นก็ได้ ใครจะรู้ สอบจอหงวนเอาตำแหน่งมันสอบได้ทั้งประเทศนี้
          หลังจากท่านเลยมาหลบร้อนในบริเวณนั้น อาจได้ข่าวว่าเมืองไทยสงบดี เพราะยุครัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๓๙๔) เมืองไทยกำลังมีความสุข ไทยเป็นมหา ท่านจึงตัดสินใจแล้วโยกย้ายมายังเมืองไทย เพราะว่าชาวจีนทางใต้โดยเฉพาะแถบกวางตุ้ง ฟูเจี้ยนล้วนมีเครื่องญาติไปค้าขายเป็นจำนวนมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ท่านจึงอาจได้ฟังข่าวเมืองไทย
          ท่านมาไทย คงไม่ได้มาตัวเปล่า คงมากันมากมาย คนในบ้านท่าน เครือญาติท่าน คงไม่น้อย ยิ่งเป็นขุนนางผู้ใหญ่ คนพึ่งบารมีคงเยอะ ขนกันมา พอมาถึง ท่านคงไปอยู่ในบริเวณที่ชาวจีนอยู่กัน เพราะไปอยู่โดดคงลำบากน่าดู กรุงเทพมหานครของเราตอนนั้นเลยกำแพงเมืองออกก็เป็นป่า ส่วนท่านจะได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือไม่ไม่ทราบ อาจได้เฝ้าก็ได้ เพราะท่านเป็นขุนนางมา เรื่องเข้าเฝ้าคงไม่ยาก แต่ที่ท่านไม่รับราชการ อาจเป็นเพราะท่านเป็นจีนมาใหม่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าอาจไม่ไว้วางพระทัย ก็เป็นได้ เพราะดูขุนนางรอบตัวท่านแต่ละคน แม้มีเชื้อจีน แต่ก็ไม่ใช่คนจีนอพยพมา โดยมากเป็นลูกจีนในไทยทั้งนั้น
          ด้วยประกาฉะนี้ท่านเลยไปทำการค้าอยู่เงียบๆ เล่นงิ้วไปวันๆ อย่างมีความสุข และเนื่องจากท่านรวย และเก่ง ท่านเลยบริจาคเงินและที่สร้างวัดจีนได้ อีกทั้งการที่ท่านได้เข้ามาเมืองไทย มีโอกาสในการอยู่อาศัย เรื่อยไปจนถึงโอกาสทำการค้า (การค้าสมัยก่อนพวกค้าสำเภามันก็ต้องมีเส้น...ไม่ใช่อยู่ๆจะเดินดุ่มๆไปขายกับเขาได้ ไม่เชื่อลองมองเมืองไทยรอบๆตัวเราสิ...)  ด้วยพระมหากรุณาธิคุณปกเกล้าของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวท่านจึงบอกลูกหลานให้พักดี
          เนื่องจากท่านทำการค้า คุมคนเยอะ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องง่าย ที่จะกลายเป็น...อั๊งยี้น้อยๆ ภายหลังอาจพัฒนาจนเติบใหญ่ โดยที่ท่านไม่ตั้งใจ เพราะคนท่านเยอะ ใครมันจะไปทำอะไรท่านจะไปรู้ได้อย่างไร (หรือรู้ก็ไม่ทราบได้) เพราะดูจากประวัติศาสตร์ไทย พ่อค้าหลายคนก็เป็นอั๊งยี้ด้วย อย่างพวกพ่อค้าน้ำตาลแถวฉะเชิงเทรา เพราะจริงๆอังยี้ไม่ใช่ซ่องโจรอะไร เป็นการรวมตัวกันเพื่อป้องกันตัวเองของชาวจีน
         สุดท้าย ที่เรื่องราวของท่านกลายเป็นตำนานอลังการขนาดนั้น อาจเป็นเพราะท่านเป็นผู้มีความรู้ เล่าเรื่องราวในวังให้ลูกหลานฟัง ภายหลังเรื่องเล่าปากต่อปากก็ค่อยๆพัฒนาเรื่องจนอลังการได้จนทุกวันนี้ เรื่องธรรมดาของเรื่องเล่า คิดดู ยังมีตำนานพ่อขุนรามคำแหงไปแต่งงานกับลูกสาวพระเจ้ากรุงจีนเลย
        เรื่องทั้งหมดนี้เป็นข้อสันนิษฐานของผม เล่าๆให้ฟัง แต่ว่าประเด็นสำคัญที่จะเน้นคือ ท่านคงไม่ใช่เจ้า แต่เป็นขุนนางใหญ่ และเจดีย์ดังกล่าวหากเป็นเจดีย์เก็บอัฐิของท่านจริง ก็นับว่าน่าเสียดาย หากจะถูกรื้อ เพราะท่านอาจไม่ใช่บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ แต่ท่านก็เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ และเป็นส่วนหนึ่งในความรักของลูกหลานที่สืบทอดกันมา
         ที่พักสุดท้ายของพ่อแม่เรา ใครจะไม่รัก...
       สวัสดี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 08 มี.ค. 10, 12:53

ตำนานของท่านฉี่ มีการแต่งเติมเสียจนไม่รู้ว่าเรื่องจริงเป็นยังไง   และมีความผิดพลาดด้านรายละเอียดกันทุกขั้นทุกตอน
เริ่มตั้งแต่อ้างว่าท่านเป็นรัชทายาทแมนจู    ไปจนเรื่องท่านเป็นบรรพบุรุษของตระกูลอีกหลายตระกูล  ที่จริงๆแล้วก็ไม่เกี่ยวกับท่าน
ดิฉันจึงไม่อยากสรุปอะไรทั้งสิ้น ว่าประวัติท่านมีเค้าความจริงตรงไหนบ้าง  เพราะแยกไม่ได้เอาเลยระหว่างข้อจริงและข้อเท็จ

ก็ขอให้อ่านด้วยวิจารณญาณ เท่านั้นค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 19 คำสั่ง