เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 54895 รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
 เมื่อ 15 มิ.ย. 07, 12:33

อ่านเมืองโบราณฉบับล่าสุด มีบทสัมภาษณ์คุณลุงเทียนชัย จึงแย้มปิ่น ซึ่งส่วนหนึ่งกล่าวถึงบรรพบุรุษของคุณลุงว่าเป็นรัชทายาทราชวงศ์ชิงที่ลี้ภัยการเมืองมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระนั่งเกล้า

อ่านแล้วรู้สึกว่าค้างใจอยู่มาก พอมาเสิร์ชดูในเน็ตปรากฏว่ามีเรื่องราวพัวพันกับกระทู้การรื้อเจดีย์วัดเล่งเน่ยยี่ในพันทิพ

http://www.pantip.com/cafe/writer/topic/W5438145/W5438145.html

ขอคัดความบางส่วนในกระทู้นี้ที่โพสต์โดยคุณหญิงยอดนักทดลอง เกี่ยวกับประวัติของท่านฉี่หยี่กงซึ่งว่ากันว่าเป็นรัชทายาทราชวงศ์ชิง คคห.57-60 ดังนี้ครับ

ประวัติท่านฉี่หยี่กง

เป็นคำบอกเล่าต่อๆกันมา ภายในตระกูลว่าท่านฉี่เป็นองค์ชายสองแห่งราชวงศ์ชิง ลี้ภัยการเมืองเข้ามายังประเทศสยาม จากเรื่องราวคำบอกเล่าของคนในรุ่นก่อนและเรื่องราวในประวัติศาสตร์ที่สอดคล้ องกันทุกส่วนจึงเชื่อได้ว่าท่านฉี่หยี่กงเป็นองค์ชายสองในฮ่องเต้เต้ากวง

อ งค์ชายสองมีพระนามว่า Yikang (อ่านว่าอี้กัง) ประสูติในปี พ.ศ.2369 เป็นพระโอรสองค์ที่ 2 ในฮ่องเต้เต้ากวง Daoguang Emperor ซึ่งเป็นฮ่องเต้ลำดับที่แปดแห่งราชวงศ์ชิง ครองราชย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2363 – 2393 (ตรงกับรัชสมัยรัชกาลที่สาม)

ฮ่องเต้เต้ากวงมีพระโอรสทั้งหมด 9 พระองค์ แต่องค์ชายสองมีพระอนุชาร่วมพระมารดา 2 พระองค์และพระขนิษฐา 1 พระองค์ คือ
- องค์ชายสาม Yichi ประสูติปีพ.ศ. 2372
- องค์ชายหก Yixin ประสูติปีพ.ศ. 2376 – 2441
- องค์หญิงหก

พ ระมารดา Empress Xiao Jing Cheng ทรงเป็นฮองเฮาองค์ที่สี่มาจากเผ่าบอจิกิทซึ่งมีอำนาจมากในช่วงก่อตั้งราชวงศ ์ชิง (เจงกิสข่าน กุบไลข่าน ผู้ก่อตั้งราชวงศ์หยวน รวมถึงสมเด็จย่า ผู้อภิบาลจักรพรรดิคังซี ซึ่งทำให้ราชวงศ์ชิงและประเทศเป็นปึกแผ่นนั้นก็มาจากเผ่าบอจิกิท)

อ งค์ชายใหญ่นั้นสิ้นพระชนม์ตั้งแต่องค์ชายสองยังเยาว์ องค์ชายสองจึงเป็นรัชทายาทอันดับหนึ่ง พระมารดาซึ่งในขณะนั้นมีฐานะเป็นพระสนม มีความกังวลในความปลอดภัยขององค์ชายสองจึงส่งไปอยู่กับพระญาติที่มีกำลังทหา รที่ตำบลเหม่ยเสี้ยน องค์ชายสามป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด องค์ชายสี่ (Xianfeng Emperor) ซึ่งประสูติจากฮองเฮาองค์ที่สาม ซึ่งมาจากเผ่านิอูฮูรูที่กำลังมีอำนาจเข้มแข็ง พอจะสนับสนุนองค์ชายสี่ ที่มาจากของเผ่าตนให้ขึ้นครองราชย์ได้ แต่ฮองเฮาองค์ที่สามก็ทิวงคต หลังจากพระมารดาขององค์ชายสี่สิ้น พระมารดาขององค์ชายสองก็ได้รับสถาปนาเป็นฮองเฮาองค์ที่สี่

จากรูปถ ่ายองค์ชายสองฉลองพระองค์ชุดเฝ้าซึ่งแสดงฐานะรัชทายาท มีจุดสังเกตุฐานะอยู่ที่คอปกเสื้อและปลายแขนสีน้ำเงินแสดงฐานะเชื้อพระวงศ์ช ั้นสูง ลูกประคำยาวที่สวมเมื่อเข้าเฝ้าฮ่องเต้ไม่จำเป็นต้องคุกเข่าเพียงค้อมตัวให้ สายประคำแตะพื้นก็เพียงพอแล้ว รอยแยกของเสื้อสีน้ำเงินจะเห็นว่าชุดด้านในเป็นสีเหลือง เนื่องจากยังไม่ได้ครองราชย์ เป็นเพียงรัชทายาทจึงใส่ไว้ข้างใน (ไม่มีผู้ใดมีสิทธิ์ใส่เสื้อสีเหลืองนอกจากองค์ฮ่องเต้และรัชทายาท) จากรูปท่านยังไม่มีหนวดเคราเนื่องจากอายุยังไม่ถึง 20 ปี

องค์ชายสอง เมื่อประทับอยู่ที่ตำบลเหม่ยเสี้ยนได้ศึกษาเรื่องการแพทย์และพระพุทธศาสนา แม้ว่าจะเป็นรัชทายาทอันดับหนึ่งแต่พระองค์ก็ไม่มีพระประสงค์จะครองบัลลังก์ คิดจะหลีกทางให้องค์ชายหกได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดาแทน ขณะนั้นประเทศตะวันตกเริ่มขยายมีอิทธิพลในประเทศจีน ฮ่องเต้เต้ากวงไม่เข้าใจถึงอำนาจของประเทศตะวันตก ยังคงเชื่อว่าประเทศจีนยิ่งใหญ่ที่สุดจนมีการพูดกันว่าฮ่องเต้เต้ากวงนั้นไม ่รู้ด้วยซ้ำว่าอังกฤษอยู่ตรงไหนของโลก ทำให้การดำเนินนโยบายต่างๆเสียเปรียบต่างชาติจนเกิดสงครามฝิ่นครั้งแรกและสน ธิสัญญานานกิง ทำให้จีนเสียฮ่องกงให้กับอังกฤษ และเสียเปรียบอังกฤษในหลายๆด้าน

องค์ชายหกนั้นมีพระพี่เลี้ยงที่มองก ารณ์ไกล จัดการให้องค์ชายหกมีความรู้ ความเข้าใจในชาติตะวันตก ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีกับชาวต่างชาติ องค์ชายสองคิดว่าหากพระองค์สละสิทธิ์ในราชสมบัติให้แก่องค์ชายหก ประเทศจีนจะประคองตัวจากการคุกคามของชาติตะวันตกและปฏิรูปเข้าสู่ยุคใหม่ได้

เมื่อองค์ชายสองปรึกษากับปลัดวังแซ่ลิ้ม (ปลัดวังที่เหม่ยเสี้ยน) ปลัดวังก็แนะนำว่า หากแม้องค์ชายสองยังอยู่ในประเทศจีนการสละสิทธิ์ก็ทำได้ยาก ถึงฝ่ายไหนจะขึ้นครองราชย์ก็ตาม ฝ่ายผู้สนับสนุนองค์ชายสี่ก็ยังคงเห็นว่าองค์ชายสองเป็นศัตรูที่ต้องหักหาญล งอยู่ดี ทางที่ดีที่สุดควรจะออกไปจากประเทศจีนเสีย การค้าทางทะเลด้านเอเซียกำลังเฟื่องฟู จะขออาสาไปดูลาดเลาว่าที่ไหนที่พอจะไปปักหลักอยู่ได้

ปลัดวังแซ่ลิ้ม ได้ออกเดินทางมากับเรือสำเภาทำทีเป็นพ่อค้าทำการค้าขายล่องเรือมาเรื่อยจาก (ในปัจจุบันคือ เวียตนาม สยาม สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย) เมื่อเห็นแล้วว่าประเทศสยามนั้นมีความอุดมสมบูรณ์และพระมหากษัตริย์สยามนั้น ไม่มีความรังเกียจเดียจฉันท์ชาวจีนโพ้นทะเล ให้ความเมตตาเช่นพสกนิกรของพระองค์เองเยี่ยงบิดาดูแลบุตร ด้วยความโอบอ้อมดูแลความเป็นอยู่อย่างดี

ปลัดวังแซ่ลิ้มจึงกลับไปประเทศจีนกราบทูลให้องค์ชายส องทราบว่าประเทศสยามมีความเหมาะสมที่จะอพยพออกจากประเทศจีนมาพึ่งพระบรมโพธิ สมถาร แต่องค์ชายสองมีความกังวลใจเพราะมิใช่ท่านเพียงองค์เดียวที่จะเสด็จ ยังมีราชองครักษ์และข้าราชบริพารพร้อมทั้งทรัพย์สินอีกจำนวนมาก หากพระองค์เสด็จเข้าไปพระเจ้าอยู่หัวสยามจะเข้าพระราชหฤทัยผิดคิดว่าเรามีคว ามประสงค์ร้ายได้ ขอให้ปลัดวังกลับไปแจ้งความประสงค์ของเราและทูลถามพระเจ้าอยู่หัวสยามให้แน่ นอนเสียก่อน

ปลัดวังแซ่ลิ้มก็ได้จัดเรือสำเภาเข้ามาขอพบเจ้าสัวยิ้ม ซึ่งขณะนั้นเป็นคนจีนที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไว้วางพระราชหฤ ทัย เรียนให้ทราบว่าตนเป็นปลัดวังและองค์ชายสองมีพระประสงค์ที่จะขอเข้ามาพึ่งพร ะบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยบริวารโดยไม่ได้มีเจตนาร้ายต่อประเทศสยามและพระราชวงศ์จักรีแต่อย่ างใด ขอให้เจ้าสัวยิ้มนำความกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตรัชกาลที่ 3 ทรงทราบความประสงค์แล้ว จึงประทานพระบรมราชานุญาตให้ตามที่ขอ ปลัดวังแซ่ลิ้มเตรียมที่ประทับในสยามและวางแผนการอพยพเข้ามาสยามเสร็จแล้วจึ งกลับไปประเทศจีนเพื่อรับองค์ชายสองและบริวารเข้ามาตาม พระบรมราชานุญาติเมื่อราว พ.ศ. 2390

ปลัดวังแซ่ลิ้มเตรียมการเป็นควา มลับและรอบคอบยิ่ง ขบวนเรือสำเภา 13 ลำ ทาสีฟ้าอมเขียวเป็นพาหนะนำองค์ชายสอง เหล่าองครักษ์ และข้าราชบริพาร ทยอยออกจากท่าในประเทศจีนและมาลอยเรือรอที่จุดนัดพบแล้วจึงเข้าสยามพร้อมกัน

เ มื่อตัดสินใจลี้ภัยสู่ประเทศสยาม องค์ชายสองจำต้องสละพระนาม ยศ ศักดิ์และอดีตไว้บนแผ่นดินจีน เมื่อเข้ามาสู่แผ่นดินสยามท่านก็ดำรงตนเป็นพสกนิกรในพระบรมโพธิสมภารของพระบ าทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อองค์ชายสองเข้ามาอยู่บนแผ่นดินสยามก็เ ปลี่ยนชื่อแซ่ ไม่ให้ใครเรียกพระนามเดิมอีก ให้เรียกท่านเพียงว่า “ฉี่หยี่กง” และเรียกกันว่า “ท่านฉี่”

ปลัดวังแซ่ลิ้มเชิญท่านฉี่ลงจ ากเรือที่แม่น้ำท่าจีนและพาไปพักยังบ้านที่สร้างขึ้นที่ตลาดพลู ซึ่งอยู่ห่างออกมาจากชุมชนชาวจีนในสมัยนั้น ใกล้กันนั้นก็ตั้งศาลเจ้าดินพร้อมโรงงิ้วยกพื้นสูงเพื่อจะมองเห็นทัศนวิสัยไ ด้ในระยะไกล หากมีผู้ไม่ประสงค์ดีก็จะได้เตรียมตัวป้องกัน

พระบาทส มเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระบรมราชานุญาตให ้ท่านฉี่ใช้ที่ดินตั้งแต่วัดเล่งเน่ยยี่ไปจนถึงวรจักร และอีกฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก จากคลองสานจนถึงวัดกัลยาณมิตร พักอาศัยปลูกผักเลี้ยงสัตว์และทำการค้าข้าว

ปลัดวังแซ่ลิ้มคิดว่าถึง จะมีทรัพย์สมบัติมากมาย แต่ถ้ากินใช้แล้วไม่หาเพิ่มไม่นานทรัพย์ก็คงหมด จึงทำการค้าข้าวส่งขายประเทศจีนและค้าขายกับประเทศอื่นๆแถบนี้ คนที่มากับท่านเห็นว่าที่ไหนพอจะตั้งตัวได้ก็ขอลงไปตั้งฐานะของตนตามรายทางจ นคนของท่านกระจายอยู่แถวเวียตนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เพิ่งขาดการติดต่อกันไปเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นี่เอง

ท่านฉี่ มีความรู้สึกซาบซึ้งในพระพระทัยของรัชกาลที่3 มาก ท่านรับสั่งกับชาวจีนที่มากับท่านว่า “เราไม่เคยได้ช่วยกอบกู้บ้านเมืองเหมือนพระเจ้าตากสินฯ แต่พระเจ้าอยู่หัวสยามก็มีพระเมตตาให้เราได้อยู่อาศัยได้มีที่ทำมาหากิน เพราะฉะนั้นขอให้ลูกหลานกตัญญูกตเวทีต่อแผ่นดินสยามและพระราชวงศ์จักรี”

ท ่านฉี่พักอยู่ที่ตลาดพลูสมัยนั้นถือว่าเป็นต่างจังหวัดชนบทไกลความเจริญ เหล่าบริวารปลูกบ้านพักกระจายรอบพร้อมให้การอารักขา องครักษ์ทั้งหลายเมื่ออยู่ในเขตบ้านท่านก็สวมชุดประจำตำแหน่งอย่างที่ใส่เมื ่ออยู่ในประเทศจีน เป็นเสื้อคว้านคอผูกเอวสองข้างสีน้ำเงิน ตรงอกเสื้อมีวงกลมสีขาว อักษรสีแดงเขียนว่า “ฉี่” แต่เมื่อออกพ้นเขตบ้านก็จะไม่รับอนุญาติให้ใส่เครื่องแบบนี้

ใกล้กัน นั้นปลัดวังลิ้มก็ตั้งศาลเจ้าขึ้นคือศาลเจ้าดิน มีการสร้างเวทีงิ้วแบบยกพื้นสูง เวทีงิ้วถูกยกขึ้นเพื่อให้เห็นทัศนวิสัยได้ไกล ใต้เวทีมีการขุดคูน้ำ อาวุธต่างๆถูกซุกซ่อนอยู่ในคูน้ำใต้เวที พร้อมใช้ทุกเมื่อ เสื้อเกราะ แบบมีกระเป๋าไว้สอดแผ่นเหล็ก หอกซึ่งมีสองง่ามเสียบลงไปในหอกและบิดก็จะกลายเป็นสามง่าม และอาวุธอีกนานาประการถูกซ่อนเอาไว้

องครักษ์ขององค์ชายสองส่วนหนึ ่งปลอมตัวเป็นคณะนักแสดงงิ้ว อาศัยอยู่ในเรือซึ่งแต่งเป็นเรือคณะแสดงงิ้วจอดเรือตั้งแต่ท่าจีน ปากน้ำ ทุ่งครุ ดาวคนอง คลองสาน ราชวงศ์ ท่าเตียนทั้งสองฝั่ง ปากคลองบางกอกใหญ่ ในเรือมีอาวุธเตรียมพร้อมที่จะป้องกันองค์ชายสอง

เมื่อองค์ชายสองเ สด็จออกมาแล้วนั้นเหตุการณ์พลิกผัน เมื่อฮ่องเต้เต้ากวงสิ้นพระชนม์ลง องค์ชายสี่ก็ชิงสถาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้เสียนเฟิง ก่อนที่จะมีการเปิดพระบรมราชโองการเรื่องผู้สืบทอดราชบัลลังก์ของฮ่องเต้เต้ ากวง

แต่เพื่อเป็นลดแรงกดดันทางการเมือง ฮ่องเต้เสียนเฟิงจึงพระราชทานตำหนักสวยงาม กว้างขวาง ให้องค์ชายหก ซึ่งเรียกในเวลาต่อมาว่าตำหนักเจ้าชายกง (ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของปักกิ่ง)

ส่วนพระมารดาขององค์ชายหกผู้ดำรงฐานะฮองเฮาอยู่ ซึ่งต้องได้รับการยกย่องขึ้นเป็นฮองไทเฮา กลับไม่ได้ยกย่องขึ้น แล้วลดฐานะลงให้เป็นเพียงอดีตพระสนม ยังความเจ็บแค้นแก่องค์ชายหกยิ่งนัก จนเมื่อพระมารดาประชวรหนัก ฮ่องเต้เสียนเฟิงจึงประทานตำแหน่งฮองไทเฮาให้ ไม่กี่วันหลังจากนั้นฮองไทเฮาผู้ระทมทุกข์ก็สิ้นพระชนม์ ขณะอายุเพียงแค่44 ปี พระองค์ถูกฝังในสุสานพระสนมและยังไม่ได้คำยกย่องต่อในพระนามว่า “เช็ง” เช่นฮองเฮาผู้ล่วงลับคนอื่นของฮ่องเต้เต้ากวง จนถึงสมัยฮ่องเต้ถงจื้อ (โอรสของฮ่องเต้เสียนเฟิง) จึงได้ประทาน “เช็ง” ต่อท้ายพระนามเป็น Empress Xiao Jing Cheng

ความไม่พอพระทัยขององค์ชายหก ทำให้ฮ่องเต้เสียนเฟิงระแวงองค์ชายสองว่าอาจจะรวบรวมไพร่พลเข้ามาชิงบัลลังก ์ แก้แค้นที่พระองค์รังแกพระมารดาและองค์ชายหก ฮ่องเต้จึงส่งคนออกตามหา จนได้ทราบว่าเข้ามาอยู่ในสยาม ส่งคณะผู้มีวิทยายุทธ์เข้ามาติดตามสืบหา แต่เพราะการวางแผนที่รัดกุมของปลัดวังแซ่ลิ้ม ผู้ไม่ประสงค์ดีจึงหาไม่พบต้องกลับประเทศจีน ต่อมารวบรวมคนกลับมาใหม่และพาคนที่เหม่ยเสี้ยนที่รู้จักองค์ชายสองมาด้วย ครั้งที่สองนี้ก็ไม่พบอีกเช่นกัน ทั้งคณะทำงานไม่สำเร็จจึงไม่สามารถกลับจีนได้ จึงตั้งตนเป็นผู้มีอิทธิพลใช้วิทยายุทธ์รังแกและรีดไถชาวจีนด้วยกัน (เป็นอั้งยี่อีกพวกที่เกะกะระรานผู้คน คนพวกนี้ไม่ใช่เป็นคนของท่าน)

ผ ู้ปกครองอั้งยี่ต่อจากท่านฉี่คือธิดาของท่านชื่อสมบุญ เป็นคนนิสัยเด็ดเดี่ยวกล้าหาญฉลาดเฉลียว บิดาจึงมอบหมายให้บัญชาอั้งยี่ต่อจากท่าน เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ท่านฉี่สิ้นแล้ว เกิดคณะผู้คิดการกบฎที่รู้จักกันว่ากบฎร.ศ.130 ได้มาติดต่อตั้วเฮียของอั้งยี่ให้ช่วยเป็นกำลังให้โดยไม่ได้รู้ว่าอั้งยี่ถื อความกตัญญูกตเวทีต่อแผ่นดินสยามและราชวงศ์จักรี ตั้วเฮียทำทีเป็นยินดีตกลงช่วยแต่ขอเป็นฝ่ายล้อมวัง คณะกบฎก็หลงเชื่อ พอถึงเวลาอั้งยี่ก็ล้อมวังแต่ไม่ได้ล้อมเพราะปองร้ายรัชกาลที่ 6 แต่ล้อมเพื่ออารักขาจนกว่าจะปราบปรามคณะกบฎเสร็จสิ้น รัชกาลที่ 6 พอรู้ว่าถูกอั้งยี่ล้อมก็ตกใจคิดว่าพวกอั้งยี่ประสงค์ร้าย สั่งให้ปราบปรามอั้งยี่ จนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ากิติยากร วรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (หลานชายเจ้าสัวยิ้ม พระโอรสในรัชกาลที่5 กับเจ้าจอมมารดาอ่วม ที่ล้อกันว่า เกิดวันจันทร์ ปีจอ เดือนเจ็ด ลูกเจ้า หลานเจ็ก) ซึ่งทราบความจริงทุกประการก็รีบกราบบังคมทูลอธิบายความจริงให้รัชกาลที่6 ทรงทราบ เรื่องปราบปรามอั้งยี่จึงราไป

หัวหน้าองครักษ์ของท่านฉี่เรี ยกว่าตั้วเฮีย คือลูกชายของปลัดวังแซ่ลิ้ม เข้ามาเมืองสยามตั้งแต่อายุ 16 ตายเมื่ออายุ 80 กว่าโดยไม่เคยกลับไปเมืองจีนอีกเลย ก๋งต่าง นายเสน่ห์ บุญมานพ เป็นคู่เขยกับตั้วเฮีย ปัจจุบันบ้านก๋งต่างที่ตลาดพลูก็ยังอยู่ ลูกชายของตั้วเฮียรุ่นสุดท้ายคือนายกิตติ ลิ้มจำรูญ ปัจจุบันอายุ 84 ปี (พระยาเทพหรูตั้งนามสกุล “ลิ้มจำรูญ” ให้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2467)

ใ นสมัยนั้นพวกอั้งยี่ ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์เอาไว้ พวกทหารก็มาขโมยของพวกอั้งยี่ (องครักษ์ของท่าน) ก็เลยต่อสู้ ทหารก็ตั้งข้อหา พระยาเทพหรูก็จะไปจับเองโดยไม่ยอมให้คนอื่นไปจับ ตั้วเฮียของอั้งยี่ก็จะมารับเป็นจำเลยทุกครั้งไป พระยาดำรงธรรมสารก็จะเป็นผู้ตัดสินคดี ก๋งต่างเป็นนายประกัน โดยมากจะจบที่ปรับเล็กน้อยแล้วสั่งปล่อย เพราะพระยาทั้งสองทราบดีว่าอั้งยี่ถูกรังแกมิได้เกะกะระรานใคร คุณประสพ วิเศษสิริ ลูกชายพระยาดำรงธรรมสารเล่าให้ฟังว่าเวลาไม่มีคดี สามคน คนจับ คนตัดสิน คนประกันก็ไปนั่งทานข้าวด้วยกันเป็นประจำ

หลังเหตุการณ์กบฎ ร.ศ.130 สงบลง แม่สมบุญจึงเรียกรวมพลที่บ้านกลาง (ปัจจุบันคือแถวคลองถม) บ้านกลางนี่เปิดให้คนของท่านเข้ามาพักได้ เวลาเจ็บไข้ มีหมอจีนตรวจรักษา เจียดยา มีห้องยาสำหรับคนของท่านฉี่อยู่ที่บ้านกลาง จี๊ฮั้วตึ๊ง (ตอนหลังเป็นร้านขายทองคำใบใหญ่และเครื่องทองที่มีชื่อเสียง 1ใน5 สมัยร.5 คือ ตั้งโต๊ะกัง เซ่งเฮงหลี อี้ซุ่นมุ้ย งี่ซุ่ยเฮง จี๊ฮั้วตึ๊ง ปัจจุบันจี๊ฮั้วตึ๊งยังอยู่ในสพานหัน แต่เปลี่ยนเป็นขายผ้าและยังมีรูปแม่สมบุญติดอยู่) เมื่ออั้งยี่มาโดยพร้อมเพรียงกันแล้ว แม่สมบุญก็ประกาศเลิกอั้งยี่ เนื่องจากหน้าที่คุ้มกันท่านฉี่ก็หมดลงแล้ว เพราะว่าท่านสิ้นแล้ว ต่อจากนี้ขอให้เป็นพลเมืองดีของแผ่นดิน ยึดถือคุณธรรมสามอย่างคือ กตัญญูกคเวที ตั้งมั่นในศีลธรรมและมีสัจจวาจา อั้งยี่ทั้งหลายล้วนแต่เป็นบุรุษผู้เก่งกล้าถึงกับน้ำตาซึมกันทั่ว (แม่สมบุญตัดสินใจเลิกอั้งยี่ก็เพราะว่าเกรงว่าในอนาคตฝ่ายบ้านเมืองจะเกิดก ารเข้าใจผิดอีกก็จะระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท)

อั้งยี่รวมพลครั้งสุ ดท้ายเมื่อปี พ.ศ.2485 เมื่อน้ำท่วมกรุงเทพฯครั้งใหญ่ พวกอั้งยี่ไปรวมกันที่บ้านตั้วเฮียทำกำแพงกั้นน้ำ และอาศัยอยู่ที่นั่นจนน้ำลด เคยมีรูปถ่ายเหตุการณ์ครั้งนั้นแต่สูญหายไป

ต ามคำบอกเล่าของหลานก๋งต่าง พวกทหารหากเห็นอั้งยี่ไว้หางเปียถือไม้กวาดจะไม่เข้ามาหาเรื่อง เพราะรู้ว่าพวกอั้งยี่มีวิชาป้องกันตัว นอกจากว่าจะมีพวกมาด้วยมากกว่า เข้ามารุมแล้วแจ้งข้อหา ซึ่งตามกระบวนการแล้วก็ถูกปล่อยทุกครั้ง

ท่า นฉี่หยี่กงได้สมรสกับนางสาวเหน้า ซึ่งเป็นคนย่านตลาดพลู มีบุตรธิดา 7 คน เมื่อมาถึงสยามแล้วท่านก็ถือว่าคนที่ลงเรือมาด้วยกันเป็นพี่เป็นน้อง มาสู่ขอธิดาของท่าน ท่านก็ยกให้ไม่ได้รังเกียจว่าฐานะต่ำกว่า ส่วนมากจึงแต่งกันไป ดองกันมาในวงญาติที่มาด้วยกัน

ซึ่งลูกหลานในปัจจุบันคือตระกูลแซ่ฉี่ แซ่จึง ล่ำซำ ทั่งเครือแก้ว พัทนะ เชาวกำธร อึ๊งภากรณ์ สิมะเสถียร กรรณสูต กาญจนาภา จักกะพาก วรรณวิฑูร จารุมิลินท หโยดม บุลสุข หวั่งหลี จึงแย้มปิ่น ฮุนตระกูล โทณวณิก สราญจิตต์ ดำรงไชย ขัมพานนท์ ชีชุติ คุณหญิงราชโกษา มารดาคุณแก้วขวัญ ขวัญแก้ว วัชโรทัย

มีรายนามและลำดับตามสมุดตระกูลที่ได้แนบมาด้วย เนื่องจากรวบรวมในภายหลังจึงอาจมีตกหล่นไปบ้าง

ท ี่สงขลาเป็นแหล่งของคนของท่านฉี่ เมื่อ 30 ปีก่อนมีการจัดงานรวมญาติแซ่ฉี่ที่สงขลาทำให้ได้ทราบว่า มีผู้ใช้แซ่ฉี่อยู่มากกว่าสองพันคน ล้วนแต่เป็นผู้ที่มากับเรือของท่าน มีลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง

เรื่องราวที่สองคล้องกัน

ทั้งใน ประวัติศาสตร์ของประเทศจีนที่ระบุไว้ว่าองค์ชายสอง องค์ชายสาม องค์ชายหกเป็นพี่น้องร่วมพระมารดาเดียวกัน และระบุว่าองค์ชายสอง องค์ชายสามสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังเด็ก ต่อมามีการแต่งตั้งตำแหน่งเจ้าเมืองย้อนหลัง

เรื่องการแย่งชิงบัลลัง ก์กันระหว่างองค์ชายสี่และองค์ชายหก โดยองค์ชายสี่ไม่ยอมเปิดพระราชโองการผู้สืบราชบัลลังก์ ฉวยโอกาสฮ่องเต้เต้ากวงสิ้น ประกาศตนเป็นฮ่องเต้ พอขึ้นมาก็ไม่ยอมสถาปนาพระมารดาขององค์ชายหก (ซึ่งดำรงตำแหน่งฮองเฮาของฮ่องเต้เต้ากวง ต้องขึ้นเป็นฮองไทเฮา สมเด็จพระพันปี) ขึ้นเป็นฮองไทเฮา และลดตำแหน่งให้เป็นเพียงพระสนมหม้ายในอดีตฮ่องเต้เต้ากวง ภายหลังในสมัยซูสีไทเฮา องค์ชายหกได้กลับมากุมอำนาจเป็นผู้สำเร็จราชการของยุวฮ่องเต้ (ลูกของเสียนเฟิงฮ่องเต้) จึงได้มีการคืนตำแหน่งให้พระมารดาในสุสาน โดยการเติมคำว่า เช็ง

ในเกร็ดประวัติศาสตร์เคยมีการส่งรังนกจากประเทศสยามเข้าไปถวายองค์ชายสามซึ่งป่วยหนัก โดยบอกว่าองค์ชายสองประทานมาจากประเทศสยาม

หลักฐานที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน

1. ตำหนักที่เหมยเสี้ยน (ตามคำบอกเล่าของฟัดโกวอายุ 93ปี คนสุดท้ายที่ออกมาจากจีนเล่าให้ฟังว่า ฉลองพระองค์ขององค์ชายสองก็ยังได้เห็นแต่ไม่มีผู้ดูแล แม่สมบุญได้กลับไปที่ตำหนักเหมยเสี้ยนครั้งหนึ่ง ได้เล่าให้ฟังว่า หน้าบ้านมีบ่อน้ำใหญ่ มีถนนตัดผ่านหน้าบ้านและหลังบ้าน เมื่อคนเดินผ่านหน้าบ้านไม่ว่าจะนั่งเกี้ยวหรือจูงจักรยานจะต้องลงมาแล้วทำก ารคารวะหน้าป้าย จะมียกเว้นให้คนสามประเภทไม่ต้องทำเช่นนั้นแต่ต้องใช้ถนนหลังบ้านคือ
- ขบวนเกี้ยวเจ้าสาว
- ขบวนงานศพ
- ผู้อาวุโสที่เป็นรุ่นที่5 แล้วเท่านั้นคือมีลูก หลาน เหลน โหลนแล้ว
ญ าติที่ไปเมืองจีนเมื่อปีที่ผ่านมาเล่าให้ฟังว่าเขตบ้านกว้างเป็นกิโลเมตรและ เคยมีคนอยู่ในบ้านเป็นร้อยคน ปัจจุบันลูกหลานย้ายออกไปไม่ก็ปลูกบ้านใหม่อยู่ใกล้ๆกัน

2. เรือนแพ 2 ชั้นเคยจอดอยู่ที่หน้าวัดสำเพ็ง ปัจจุบันกลายเป็นเรือนริมแม่น้ำและอยู่ระหว่างการซ่อมแซม

3. อาวุธอยู่ในการดูแลรักษาของลูกหลานอั้งยี่

4. ศาลเจ้าโกบ๊อ ศาลเจ้าตึกดิน ยังมีโรงงิ้วยกพื้นอยู่ในปัจจุบัน และยังมีคูน้ำอยู่ใต้โรงงิ้ว ตอนซ่อมแซมใหญ่ได้ใส่ท่อน้ำแทน แต่ผู้ดูแลไม่เคยรู้ว่ามีคูน้ำไว้เพื่ออะไร

5. บ้านคุณก๋งที่ตลาดพลู

6. คำบอกเล่าทั้งจากฝ่ายลูกหลานท่านฉี่ ลูกหลานอั้งยี่ ผู้ดูแลศาลเจ้าตึกดิน ลูกหลานของผู้อยู่ในเหตุการณ์

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 มิ.ย. 07, 17:56 โดย CrazyHOrse » บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 15 มิ.ย. 07, 13:37

ผมไม่ทราบว่าใครเป็นผู้จัดทำเอกสารข้างต้นนี้ แต่อยากจะแสดงข้อสังเกตบางประการอย่างสุจริตใจไว้ ณ ที่นี้ครับ

1. จาก wikipedia องค์ชายสองมีพระนามว่า 奕綱 Yi4 Gang1 อี้กัง ประสูติ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2369 สิ้นพระชนม์ 5 มีนาคม พ.ศ.2370 ขัดแย้งกับเอกสารดังกล่าวว่ามีพระชนม์สืบต่อมาจนเป็นฉี่หยี่กง

2. เอกสารดังกล่าวอ้างว่า การสิ้นพระชนม์ขององค์ชายใหญ่ทำให้พระมารดาเป็นกังวลในความปลอดภัยขององค์ชายสองจึงส่งไปอยู่กับพระญาติที่เป็นทหารที่ตำบลเหม่ยเสี้ยน น่าคิดว่าการส่งองค์ชายสองไปอยู่กับพระญาตินี้เป็นเรื่องลับหรือเปิดเผย หากเป็นเรื่องลับอาจหมายความได้ว่าแสร้งทำว่าสิ้นพระชนม์แล้ว แต่ได้ย้ายไปอยู่กับพระญาติแทน เรื่องนี้ก็เป็นไปได้ยาก เพราะองค์ชายใหญ่สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.2374 หลังจากองค์ชายรองสิ้นพระชนม์ถึง 4 ปี เหตุผลเรื่องนี้จึงอ่อนไป นอกจากนั้นตามประวัติพระมารดา ฮองเฮาเสี้ยวจิ้งเฉิง เป็นบุตรีขุนนางมงโกล แต่ส่งลูกไปอยู่กับพระญาติที่เหม่ยเสี้ยน แล้วเหม่ยเสี้ยนอยู่ที่ไหน

อ่านความประกอบหลายประการ ขอตั้งสมมติฐานว่าเหม่ยเสี้ยนที่เอกสารนี้อ้างถึงหมายถึงตำบลเหมยเสี้ยนในมณฑลกวางตุ้ง พอจะสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของฉี่หยี่กงผู้ซึ่งชื่อเสียงเรียงนามผู้คนใกล้ชิดล้วนแล้วแต่เป็นชื่อแต้จิ๋วหรือฮกเกี้ยน โดยเฉพาะชื่อฉี่งี่กุงที่เอ่ยถึงในเอกสารเกี่ยวข้องบางฉบับนั้นน่าจะเป็นสำเนียงจีนแคะของชื่อ หยี่กง(แต้จิ๋ว) เพราะเหมยเสี้ยนเป็นศูนย์กลางจีนแคะ และอยู่ละแวกใกล้เคียงกับมาตุภูมิจีนแต้จิ๋ว

ดูจากสภาพแวดล้อม ฉี่หยี่กง น่าจะมีบรรพบุรุษเป็นแต้จิ๋ว/แคะ นอกจากนั้นที่เป็นไปได้ก็น่าจะมีแค่ฮกเกี้ยนกับกวางตุ้ง ไม่มีอะไรบ่งชี้ความเป็นแมนจู (ราชวงศ์ชิง)หรือมงโกล (พระมารดาขององค์ชายสอง) เลย

ไม่น่าเชื่อว่าฉี่หยี่กงจะเป็นองค์ชายสองรัชทายาทราชวงศ์ชิงครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 15 มิ.ย. 07, 16:49

ตอนต่อไปยิ่งน่าสงสัยหนักเข้าไปใหญ่

อันอั้งยี่ทั้งหลายนั้น นอกจากกระทำตัวเป็นนายอิทธิพลแล้ว ยังเกี่ยวข้องกับอุดมการณ์ทางการเมืองที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ห่วงเช็งฮกเม้ง หรือ โค่นชิงกู้หมิง ในพากย์ไทย

คงเป็นเรื่องที่แปลกพิกลหากอั้งยี่กลุ่มนี้จะกลายเป็นผู้พิทักษ์รัชทายาทราชวงศ์ชิง

เกินกว่าจะเชื่อได้ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 15 มิ.ย. 07, 16:58

มาตั้งข้อสังเกตรายละเอียดทางฝ่ายไทย
ท่านเป็นถึงองค์ชายสองราชวงศ์ชิง มาขอตั้งหลักแหล่งในสยาม   ผู้คนอาวุธพรั่งพร้อม   มีหรือพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงไว้พระราชหฤทัยให้ตั้งบ้านเรือนอยู่แค่ตลาดพลู ห่างพระราชวังเพียงนิดเดียว   
ถึงบอกว่าแอบเอาอาวุธซ่อนไว้ก็เถอะ  แค่เห็นจำนวนคนยกกันเข้ามาก็ต้องระวังแล้ว     มีเจ้าพระยานิกรบดินทร์(เจ้าสัวโต)รับรองอยู่คน ก็ไม่น่าจะพอ
และถ้าเจ้าสัวโตท่านฉลาดละก็ ไม่น่าออก recommendation ให้ง่ายๆ เพราะเรื่องทำนองนี้ถ้าพลั้งพลาด ก็ถึงประหาร

มากันถึงขนาดนี้ น่าจะโน่น..ไปอยู่ไกลๆเลย  ชายแดน  ทำไร่ไถนาที่นั่น หรือไม่ก็ไปอยู่เกาะกลางทะเล มีว่างอีกหลายเกาะ
ถ้าหากว่าไว้พระทัยเอาไว้ใกล้พระองค์ ก็ต้องทรงชุบเลี้ยง ให้รับราชการ  หรือไปค้าขายสำเภาหลวง    คงไม่ปล่อยให้ปลูกโรงงิ้ว เล่นงิ้วไปวันๆเอาไว้อย่างนั้น

อยู่กันเอิกเกริกในเมืองหลวงขนาดนี้  เข้ามาก็แปลกกว่าพวกจีนเสื่อผืนหมอนใบทั้งหลายจากบ้านนอก    ชาวบ้านย่อมซุบซิบจับตามองอย่างแปลกใจ   ว่าท่านเหล่านี้ดูผิวพรรณหน้าตาก็ผู้ดี  ภาษาที่พูดก็ไม่บ้านนอกเหมือนพวกเรา 
หน่วยสืบราชการลับจีนเข้ามาตั้ง ๓ หนยังแกะรอยไม่ได้อีกแน่ะ   แปลกจัง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 15 มิ.ย. 07, 17:15

พระบาทส มเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระบรมราชานุญาตให ้ท่านฉี่ใช้ที่ดินตั้งแต่วัดเล่งเน่ยยี่ไปจนถึงวรจักร และอีกฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก จากคลองสานจนถึงวัดกัลยาณมิตร พักอาศัยปลูกผักเลี้ยงสัตว์และทำการค้าข้าว

ที่ดินที่ว่า ในรัชกาลที่ ๓ ไม่ใช่ที่ดินว่างๆไร้ผู้ครอบครองนะคะ   แต่มีคนอยู่กันแล้ว โดยเฉพาะคลองสานถึงวัดกัลยาณมิตร   ยังนึกไม่ออกว่าตรงไหนว่าง   พอจะให้คนจีนกลุ่มใหญ่เข้ามาอยู่ได้  ในเมื่อเขาอยู่กันมาตั้งแต่สมัยธนบุรี

ที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก คือฝั่งธนบุรีเดี๋ยวนี้ พวกคนไทยที่อพยพจากกรุงแตกมาอยู่กันมากมาย    ขุนนางอยู่กันเต็ม    เมื่อย้ายเมืองหลวงมาฝั่งกรุงเทพ พวกขุนนางก็ไม่ได้ย้ายตามมาด้วย   ยังคงครอบครองอยู่ที่เดิม    ยิ่งคลองสานด้วยแล้ว เป็นถิ่นของขุนนางตระกูลบิ๊กที่สุดของรัตนโกสินทร์ คือพวกบุนนาค  อยู่กันตั้งแต่ปากคลองจนกลางคลอง
อีกอย่าง ที่ดินแถวนั้นเขาทำสวนกันค่ะ  เป็นที่อุดมสมบูรณ์มาก พืชผลราคาดี  มากค่าเกินกว่าจะเอาไว้ปลูกผักเลี้ยงสัตว์

ในรัชกาลที่ ๓ มีการปราบปรามอั้งยี่กันอย่างหนัก   ตระกูลนี้ไม่มีผลกระทบกระเทือนบ้างหรือ
ในรัชกาลที่ ๖ ไม่มีหลักฐานว่านายทหารหนุ่มกบฎร.ศ. ๑๓๐ ไปพึ่งกำลังอั้งยี่    ในการสอบสวนก็ไม่มีใครให้การเรื่องนี้     ถ้าอั้งยี่เข้าไปล้อมวังจริง  แม้จะบอกว่าล้อมอารักขา การสอบสวนจับกุมเห็นทีจะไม่จบลงง่ายๆแบบประวัติศาสตร์ไม่สนใจจะบันทึกเอาไว้ด้วยซ้ำ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 15 มิ.ย. 07, 18:22

"ในเกร็ดประวัติศาสตร์เคยมีการส่งรังนกจากประเทศสยามเข้าไปถวายองค์ชายสามซึ่งป่วยหนัก โดยบอกว่าองค์ชายสองประทานมาจากประเทศสยาม"

อันนี้ก็น่าสนใจครับ

ตามประวัติศาสตร์องค์ชายสามสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ พ.ศ.2373 องค์ชายสองหากยังมีพระชนม์ชีพอยู่ ถึงวันนั้นจะมีอายุเพียง 4 พรรษา ไปกันใหญ่เลยครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 15 มิ.ย. 07, 18:48

มีรูปประกอบด้วยครับ ลองเปรียบเทียบกันดู

ฉี่หยี่กง (องค์ชายสอง?)



บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 15 มิ.ย. 07, 18:49

องค์ชายหก (น้องชายแท้ๆขององค์ชายสอง) ภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Yixin%2C_Prince_Gong

บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 15 มิ.ย. 07, 19:40

วัดเล่งเน่ยยี่ ที่มีนัยความหมายซ่อนอยู่ ว่า วัดในพระพุทธศาสนาที่ราชวงศ์ชิงสร้าง ด้วยท่านฉี่เป็นผู้บริจาคที่ดินท่านจึงได้สร้างพระเจดีย์องค์หนึ่งเพื่อไว้เก็บอัฐิ และให้ลูกหลานได้มากราบไหว้
ไม่ทราบว่า เล่งเนยยี่  แปลว่าอะไรครับ
การเข้ามาโดยใช้สำเภาถึง 13 ลำ  ผมคิดว่าน่าจะเอิกเกริกเกินไปครับ  เพื่อความมั่นคงผมคิดว่าไม่น่าจะมีพระบรมราชานุญาตให้เข้ามาปานนั้น
แล้วถ้าเป็นระดับองค์ชายที่เป็นรัชทายาท  ต้องมีบริวารและกำลังทหารอารักขาไม่น้อยแน่(ผมคะเนว่าน่าจะพอพอกับเจ้าเมืองแถบหัวเมืองของไทยพรือมากกว่าด้วยซ้ำ  แล้วจะยังมาตั้งรกรากตั้งก๊วนอยู่แถบพระนครอีก  ยิ่งเป็นไปได้ยากใหญ่
มุ่ยเจียง แซ่ฉี่ (ฉี่งี้กุง)  จะเป็นเชื้อพระวงค์ระดับองค์ชายรัชทายาทหรือไม่น่สงสัยอย่างที่คุณ CH ว่า  แต่ดูรูปแล้วยิ่งใหญ่จริงๆด้วยชุดแต่งกาย


บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 15 มิ.ย. 07, 19:45

ขออภัยครับที่ส่งรูปซ้ำ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 15 มิ.ย. 07, 19:59

เล่งเน่ยยี่ เป็นสำเนียงแต้จิ๋วครับ จีนกลางว่า หลงเหลียนซื่อ

หลง = มังกร
เหลียน = ดอกบัว
ซื่อ = วัด

ดังนั้นเรียก เล่งเน่ยยี่ ก็น่าจะพอครับ ไม่ต้องปะหน้าด้วย วัด ให้วุ่นวาย เพราะมี ยี่ ปะหลังอยู่แล้วครับ

ที่สำคัญ นอกจากชื่อแล้ว พระวัดนี้ยังสวดกันเป็นแต้จิ๋วด้วยครับ ราชวงศ์ชิงไฉนสร้างวัดแต้จิ๋วเช่นนี้
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 15 มิ.ย. 07, 20:45

ชื่อภาษาไทยของเล่งเน่ยยี่  คือวัดมังกรกมลาวาส  ตรงกับภาษาจีนทุกคำ
เล่ง  = มังกร
กมลา = ดอกบัว
อาวาส = วัด

เรื่องนี้เป็นตัวอย่างของการถ่ายทอดทางมุขปาฐะ จากรุ่นต่อรุ่น  ทำให้เกิดคำถามขึ้นมากมายถึงหลักฐานข้อเท็จจริง
ถอดความออกมาตามประสาดิฉัน  คิดว่าต้นตระกูลนี้น่าจะมาจากชนบทแห่งใดแห่งหนึ่งของจีน อาจจะลูกหัวหน้าชุมชน   
อพยพมาเมืองไทยพร้อมด้วยลูกบ้านอีกหลายคน แต่ไม่ถึง ๑๓ ลำเรือ    ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ใดที่หนึ่งในกรุงเทพ
น่าจะมีปัญหาอะไรสักอย่างอยู่ในถิ่นเดิม  ทำให้อยู่ไม่ได้    ถึงกับมีศัตรูมาตามหา 
ทำสวนผักเลี้ยงสัตว์ก่อน  แล้วขยับขยายค้าขายในภายหลัง

น่าสังเกตว่าท่านมีลูก ๗ คน แต่ตัวท่านและรุ่นลูกไม่ได้รับราชการกันเลย   
ถ้าหากว่าเป็นคนจีนที่มีวิชาความรู้ น่าจะได้เข้ารับราชการ อย่างน้อยกรมท่าซ้ายรับแน่ๆ 
มีลูกหลานวงศ์วานสืบต่อมา  ลูกหลานก็แต่งงานกับลูกคนในหมู่บ้านเดิมที่คนละแซ่กัน   ขยายวงเครือญาติออกไปมาก
ลักษณะนี้เป็นลักษณะคนจีนในเมืองไทยโดยมาก
ส่วนเรื่องอื่นๆ  คิดว่าเป็นคำบอกเล่าเท่านั้น  รวมทั้งชื่อพระยาเทพหรู   ชื่อนี้ไม่ใช่ราชทินนาม   
ถ้าหากว่าเป็นพระยาเทพ อะไรสักอย่าง  และมีชื่อเดิมว่าหรู  ก็ไม่เคยได้ยินว่าคนไทยที่ไหนชื่อว่าหรู ทั้งหญิงและชาย
ไม่ทราบว่าเป็นภาษาจีนหรือเปล่าคะ คุณอาชาผยอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 15 มิ.ย. 07, 20:54

"ลูกหลานในปัจจุบันคือตระกูลแซ่ฉี่ แซ่จึง ล่ำซำ ทั่งเครือแก้ว พัทนะ เชาวกำธร อึ๊งภากรณ์ สิมะเสถียร กรรณสูต กาญจนาภา จักกะพาก วรรณวิฑูร จารุมิลินท หโยดม บุลสุข หวั่งหลี จึงแย้มปิ่น ฮุนตระกูล โทณวณิก สราญจิตต์ ดำรงไชย ขัมพานนท์ ชีชุติ คุณหญิงราชโกษา มารดาคุณแก้วขวัญ ขวัญแก้ว วัชโรทัย"

ขอแก้ความเข้าใจผิด
มารดาของคุณขวัญแก้ว และคุณแก้วขวัญ วัชโรทัย (เลขาธิการพระราชวัง) คือท่านผู้หญิงพัว อนุรักษ์ราชมณเฑียร ค่ะ ไม่ใช่คุณหญิงราชโกษา
ท่านผู้หญิงพัวไม่เคยเป็นคุณหญิงราชโกษา   ท่านเป็นคุณหญิงประชุมมงคลการ มาก่อน   เมื่อพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียรสามีของท่านมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาประชุมมงคลการ   
ไม่ทราบว่าคุณหญิงราชโกษาเป็นใคร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 ส.ค. 07, 19:07 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 16 มิ.ย. 07, 13:16

สังเกตตราประจำตำแหน่งบนหน้าอก

ขององค์ชายหกจะเป็นมังกร แสดงความเป็นเชื้อพระวงศ์

ในขณะที่ของฉี่หยี่กง เป็นนก ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ของขุนนางฝ่ายบุ๋น น่าเสียดายที่ภาพไม่ชัด ดูไม่ออกว่าเป็นนกอะไร เพราะจะเป็นตัวระบุชั้นยศครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 16 มิ.ย. 07, 17:20

เคยเห็นนกคล้ายๆอย่างนี้ในภาพวาดของญี่ปุ่น
ถ้าบอกว่าเป็นนกกะเรียน   พอจะบอกได้ไหมคะว่าขุนนางชั้นไหน



บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 19 คำสั่ง