เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 23943 โคลงแบบสุนทรภู่
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 13 มิ.ย. 07, 22:53

ข้อสังเกตของอ.เทาชมพูทำผมอึ้งเลย   ลังเล

คำถามแรก นึกไม่ออกจริงๆครับ นึกไม่ออกว่ามีกลอนบทไหนของสุนทรภู่ที่เป็นกลอนกลบท อาจจะมีน้อยมาก หรือเผลอๆจะไม่มีเลยก็เป็นได้ พอจะนึกหาเหตุได้สองประการครับ
- กลอนแปดของสุนทรภู่นั้นมีสัมผัสในเกี่ยวพันกันซับซ้อนในตัวเอง บทไหนแต่งได้เข้าเกณฑ์ครบทุกบาทผมว่าน่าจะเข้าเกณฑ์ว่าเป็นกลบทแบบหนึ่งอยู่แล้ว หากยอมรับดังนี้ อย่างน้อยงานกลอนเกือบครึ่งของท่านสุนทรก็เข้าข่ายเป็นกลบท และเป็นกลบทที่ไพเราะลงตัวมาก การเอากลบทอื่นมาใช้ ไม่แน่นักว่าจะเหนือกว่านะครับ
- สุนทรภู่เป็นสุดยอดฝีมือในเชิงกลอน ทางกลอนแปดแบบสุนทรภู่ก็ต้องถือว่าเป็นแบบที่ท่านริเริ่ม ไม่มีความจำเป็นต้องพิสูจน์ตัวเองอีกครับ

คำถามที่สอง ฝีมือระดับนี้ย่อมไม่ใช่มือใหม่แน่นอนครับ แต่ทางโคลงแบบสุนทรภู่นี้ไม่เหมือนแบบที่นิยมแต่งกันมา ในขณะที่มีกลบทสอดแทรกอยู่มากมายหลายแบบ น่าคิดว่าการแต่งเป็นกลบทนี้เป็นการอวดภูมิ เป็นการพิสูจน์ตัวว่าจะให้แต่งโคลงก็แต่งได้ และแต่งในทางของตัวเอง และที่แตกต่างนี้ก็ไม่ใช่เพราะไม่รู้ว่าตำราเก่าเขาเป็นอย่างไร (โดยแสดงออกที่ภูมิรู้เรื่องกลบท) สรุปว่า ถึงไม่ใช่มือใหม่ แต่ก็เป็นงานของผู้ที่ต้องการพิสูจน์ตัวครับ

หรือถ้าตอบสองข้อนี้ใหม่แบบแหวกแนว อาจจะต้องตอบว่านิราศสุพรรณไม่ใช่งานของสุนทรภู่

ตอบแบบนี้คงต้องดีเฟนด์กันหนักครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 14 มิ.ย. 07, 11:01

ค้นมาได้ความว่าสัมผัสในแบบกลอนอุดมคติของสุนทรภู่เข้าข่ายกลบทครับ

ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ เรียก กลบทเทพชุมนุม
ศิริวิบุลกิตติ์ เรียก กลบทมธุรสวาที
โดยกำหนดให้ใช้สัมผัสสระหรืออักษรสองคู่ทุกบาท

ดังนั้นกลอนสุนทรภู่ก็คือกลอนกลบทในตัวอยู่แล้วครับ ซตพ.
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 14 มิ.ย. 07, 14:23


        เคยอ่านเมื่อนานมากแล้ว, ถ้าจำไม่ผิด, อาจารย์ภาษาไทยท่านหนึ่งเขียนไว้ว่า
สุนทรภู่ ท่านแต่งโคลงซึ่งไม่ใช่งานเชี่ยวชาญชั้นเลิศของท่าน เหมือนคนถนัดขวาเขียนหนังสือ
ด้วยมือซ้าย
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 14 มิ.ย. 07, 22:15

เห็นด้วยกับคุณ CH ครับ เพราะกลบทก็เป็นเพียงแค่การสร้างเงื่อนไขเพื่อแต่งร้อยกรอง  หรือรูปแบบพิเศษเอกลักษณ์พิเศษไปจากธรรมดาซึ่งเป็นลักษณะตายตัว  ซึ่งการสัมผัสในที่ถือว่าเป็นเลิศของท่านบรมครูสุนทรภู่  ถือว่าเป็นกลบทแบบสุนทรภู่ก็ได้ครับ  ขอเชิญบทที่ผมชอบที่สุดของท่านมาให้ชมครับ
    เมื่อขาล่องต้องตอเรือหล่อล่ม         เจียนจะจมน้ำม้วยระหวยระหาย
ปะหาดตื้นขึ้นรอดไม่วอดวาย              แต่ปะตายหลายหนหากทนทาน
แล้วมิหนำซ้ำบุตรสุดที่รัก                   ขโมยลักหลายหนผจญผลาญ
ต้องต่ำต้อยย่อยยับอัประมาณ             มาอยู่วิหารวัดเลียบยิ่งเยียบเย็น
โอ้ยามจนล้นเหลือสิ้นเสื่อหมอน          สู้ซุ่มซ่อนเสียมิให้ใครใครเห็น
ราหูทับยับเยินเผอิญเป็น                    เปรียบเหมือนเช่นพราหมณ์ชีมณีจันท์ฯ
(รำพันพิลาป)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 15 มิ.ย. 07, 12:10

เราน่าจะหยิบนิราศสุพรรณมาดูกันอย่างละเอียดอีกทีนะคะ
เผื่อจะเห็นอะไรที่ก่อนหน้านี้ มองข้ามไปบ้าง
อย่างแรก ดิฉันตั้งข้อคิดว่า คนที่แต่งนิราศสุพรรณ ไม่ใช่มือใหม่หัดแต่งโคลง ย้ำ โคลงนะคะ ไม่ใช่กลอน
ต้องมีผลงานโคลงมาก่อนแล้ว จึงแต่งนิราศสุพรรณเป็นงานชิ้นหลัง
 
จากแต่งโคลงแบบเรียบๆตรงไปตรงมาในงานแรกๆ ก็พลิกแพลงมาเป็นโคลงกลบท
คนเริ่มแต่งโคลงยาวๆเป็นเรื่องแรก   จะไม่พรวดพราดเข้าไปจับกลบท  ต่อให้ชำนาญกลอนมาก่อนก็เถอะ
แล้วยังเป็นกลบทหลายชนิดด้วย  ทั้งหมดนี้แสดงถึงการคลุกคลีกับงานประพันธ์จนเกิดความมั่นใจ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 15 มิ.ย. 07, 12:17

เมื่อย้อนกลับมาดูกลอนของสุนทรภู่  ที่มีสัมผัสนอกและใน สม่ำเสมอ เป็นจังหวะเคร่งครัด  ไม่ออกนอกแบบ
แต่ก็เป็นแบบแผนตายตัวแบบเดียว    ไม่พลิกแพลงเล่นกลบทหลายแบบ   ทั้งๆกลอนกลบทก็เป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่ปลายอยุธยาแล้ว
สุนทรภู่เองก็เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายเพราะฝีมือกลอน
พอมาถึงโคลง  ทำไมท่านเปลี่ยนความเคยชินในนิสัย  จากกลอนก็มาแต่งโคลง จากแบบแผนเดียวที่ยึดถือก็มาเป็นหลายแบบ เล่นวิธีแต่งแพรวพราวไปหมด

จะว่าไม่เพราะไม่ได้หรอกค่ะ   ถ้ามองในเชิงโคลงกลบท แต่งยาก และภูมิใจในฝีมือทีเดียวแหละ
แต่ความที่เราชินกับโคลงของนิราศนรินทร์  เจ้าฟ้ากุ้ง ที่ใช้โคลงสี่สุภาพธรรมดา  อ่านเข้าใจง่าย   โคลงที่เล่นเอกโทษโทโทษเต็มไปหมด  มีสัมผัสในเต็มไปหมด จึงถูกมองว่าคนแต่งแต่งไม่เก่ง ไม่ถนัด
ตรงกันข้าม   คนแต่งนิราศสุพรรณ ถนัดการแต่งโคลง และฉีกแนวไปจากนิราศนรินทร์ด้วย
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 15 มิ.ย. 07, 14:33

          จากคห.คุณ CHO และที่ได้เคยอ่าน ทำให้ได้เป็นแนวคิดว่า สุนทรภู่ท่านคงโดน
คนปรามาสว่าเก่งแต่กลอน  จึงตั้งใจแต่งโคลงเป็นกลบท สัมผัสแพรวพราวเพื่อลบคำปรามาสนั้น

           ลองค้นดู โคลงจากลิลิตตะเลงพ่าย มีสัมผัสอักษร สัมผัสสระสะกด ประปรายในบางบาท และ
           บางบทที่มีสัมผัสในทุกบาท เช่น
สัมผัสอักษรในและระหว่างวรรค

           จำจรจำจากอ้า               อาดูร
ดูประสาทแสงสูรย์                      ส่องแก้ว
เรืองรัตน์จรัสจรูญ                      รัตน์รุ่ง เรืองนา
เรืองมณีนพแพร้ว                       เพริศพร้อยพรายฉาย

สัมผัสสระสะกด

           ชาวสยามคร้ามเศิกสิ้น       ทั้งผอง
นายและไพร่ไป่ปอง                     รบร้า
อพยพหลบหลีกมอง                     เอาเหตุ
ซุกซ่อนห่อนให้ข้า                       ศึกได้ไปเปน
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 15 มิ.ย. 07, 15:36

ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นงานร่วมสมัยกับสุนทรภู่ครับ ถ้าดูโคลงเก่าๆ กำศรวลสมุทร ยวนพ่าย หรือแม้แต่นิราศนรินทร์ จะเห็นว่ามีการใช้สัมผัสอักษรเป็นหลัก มีสัมผัสสระปรากฏน้อยมาก น้อยจนน่าคิดว่าตั้งใจหลบด้วยซ้ำไป

นิราศสุพรรณนั้นกลับกัน ใช้สัมผัสสระเป็นหลัก ใช้มากจนเห็นได้ชัดว่าเป็นความตั้งใจของผู้แต่ง คือตั้งใจแต่งให้แตกต่างไปจากงานเก่าๆ เหตุดังนี้ชี้ว่าผู้แต่งนิราศสุพรรณต้องเคยอ่านศึกษางานเก่าๆมาแล้วเป็นอย่างดี ไม่ใช่กระโดดลงมาแต่งแบบมือใหม่ไม่รู้ความ

นิราศสุพรรณไม่ได้มีเพียงสัมผัสแพรวพราวหรือแต่งได้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ (ทั้งที่ปรากฏและไม่ปรากฏในจินดามณี) แต่เสียงโคลงก็ไม่เพี้ยนด้วย เรื่องแบบนี้อธิบายออกมาเป็นรูปธรรมได้ยาก ไม่ปรากฏในตำราใดๆครับ

โดยส่วนตัว ไม่ว่าผู้แต่งนิราศสุพรรณจะเป็นใคร ผมเห็นว่าเป็นกวีที่ไม่เคยมีชื่อเสียงด้านการประพันธ์โคลง แต่มีความเชี่ยวชาญกลอนแบบสุนทรภู่ และเชี่ยวชาญโคลงมากพอจะสร้าง "ทาง" ของตัวเองเป็นโคลงที่มีลีลาคล้ายกลอนแบบสุนทรภู่ขึ้นมาได้ครับ

ใครว่าไม่เก่งผมว่าไม่เก่ง

งงไหมครับ แหะๆ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 19 คำสั่ง