CrazyHOrse
|
สุนทรภู่มีชื่อลือเลื่องเป็นเลิศในกระบวนกลอน กลอนแปดแบบสุนทรภู่ถือเป็นกลอนครูมาจนถึงปัจจุบัน แต่ในบรรดาผลงานของท่าน มีนิราศสุพรรณที่แต่งโดยใช้ฉันทลักษณ์เป็นโคลงสี่สุภาพ แต่ขึ้นชื่อว่าสุนทรภู่แล้ว จะเป็นแค่โคลงสี่ธรรมดาก็กระไรอยู่ โคลงของสุนทรภู่จึงมีเอกลักษณ์บางประการที่แตกต่างจากแบบแผนโคลงที่เขียนกันมา ผมขอเลือกตัวอย่างบทแรกของนิราศสุพรรณที่ถือได้ว่าเป็นตัวแทนของโคลงแบบสุนทรภู่ดังนี้ครับ เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า | | ดาดาว | จรูญจรัสรัศมีพราว | | พร่างพร้อย | ยามดึกนึกหนาวหนาว | | เขนยแนบ แอบเอย | เย็นฉ่ำน้ำค้างย้อย | | เยือกฟ้าพาหนาว |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 11 มิ.ย. 07, 17:52
|
|
ลักษณะเด่นประการแรกของโคลงแบบสุนทรภู่คือ จะใช้สัมผัสสระระหว่างคำที่สองและสามของทุกบาท นอกจากจะทำให้ลีลาไหลลื่นแล้ว ยังเป็นการบังคับการแบ่งจังหวะการอ่านเป็น 2-3-2 ไปในตัว ดังนี้ครับ เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า | | ดาดาว | จรูญจรัสรัศมีพราว | | พร่างพร้อย | ยามดึกนึกหนาวหนาว | | เขนยแนบ แอบเอย | เย็นฉ่ำน้ำค้างย้อย | | เยือกฟ้าพาหนาว |
ลักษณะนี้ถือเป็นลักษณะพิเศษ เพราะโคลงโดยทั่วไป ไม่นิยมใช้สัมผัสสระ ถ้ามีก็จะเป็นสัมผัสอักษรเสียมากกว่า และการแบ่งวรรคตอนของโคลงนั้น โดยทั่วไปค่อนข้างยืดหยุ่น 2-3-2 หรือ 3-2-2 ปะปนกันไปครับ มีบ้างที่สุนทรภู่จะใช้สัมผัสอักษรแทน หรือบางครั้งก็ใช้สัมผัสสระจากคำที่สองไปคำที่สี่ แต่ก็เป็นส่วนน้อยครับ เกือบทั้งหมดจะอยู่ในรูปแบบนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 11 มิ.ย. 07, 18:02
|
|
ข้อสังเกตต่อมา สุนทรภู่จะพยายามใช้สัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคแรกไปยังคำหน้าของบาทหลังในทุกๆบาท โดยที่จะใช้สัมผัสอักษรเป็นหลัก ยกเว้นบาทแรกที่มีการใช้สัมผัสสระปะปนกับสัมผัสอักษร ดูคร่าวๆไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนว่าอย่างไหนมากกว่า ใครจะลองนับมาเป็นวิทยาทานก็จะขอบคุณมากครับ เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า | | ดาดาว | จรูญจรัสรัศมีพราว | | พร่างพร้อย | ยามดึกนึกหนาวหนาว | | เขนยแนบ แอบเอย | เย็นฉ่ำน้ำค้างย้อย | | เยือกฟ้าพาหนาว |
ลักษณะเช่นนี้ จะว่าไปก็ไม่แปลกนัก เพราะเป็นความนิยมปกติของการแต่งโคลงอยู่แล้ว (ยกเว้นเรื่องการใช้สัมผัสสระวรรคแรก) แต่โคลงแบบสุทรภู่นั้นเน้นมาก ใช้บ่อยจนแทบจะเป็นบังคับสัมผัสเลยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 11 มิ.ย. 07, 18:06
|
|
ข้อสังเกตประการที่สาม อันนี้ดูเหมือนจะเล็กน้อย คือการใช้คำสร้อยบาทที่สาม ถึงแม้ว่าฉันทลักษณ์โคลงจะอนุญาตให้ใช้คำสร้อยท้าบบาทสามเป็นปกติ แต่กวีคนอื่นๆจะไม่ได้ใช้มากเท่ากับสุนทรภู่ ในนิราศสุพรรณใส่คำสร้อยท้ายบาทสามเกือบจะครบทุกบทครับ ถือเป็นลักษณะพิเศษเช่นกัน โดยจะลงด้วยคำว่า เอย มากที่สุด รองลงมาคือ แฮ มีใช้คำอื่นปะปนน้อยครั้งมากครับ เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า | | ดาดาว | จรูญจรัสรัศมีพราว | | พร่างพร้อย | ยามดึกนึกหนาวหนาว | | เขนยแนบ แอบเอย | เย็นฉ่ำน้ำค้างย้อย | | เยือกฟ้าพาหนาว |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 11 มิ.ย. 07, 18:09
|
|
ข้อสังเกตประการที่สี่คือ ใช้สัมผัสสระระหว่างคำที่เจ็ดและแปดของบาทสามและสี่ครับ ถือว่าเป็นลักษณะพิเศษเหมือนกัน เพราะโคลงทั่วไปนิยมใช้สัมผัสอักษรมากกว่า นอกจากนั้น สุนทรภู่ใช้สัมผัสลักษณะนี้เป็นปกติเกือบทุกบทเช่นกันครับ เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า | | ดาดาว | จรูญจรัสรัศมีพราว | | พร่างพร้อย | ยามดึกนึกหนาวหนาว | | เขนยแนบ แอบเอย | เย็นฉ่ำน้ำค้างย้อย | | เยือกฟ้าพาหนาว |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 11 มิ.ย. 07, 18:17
|
|
ข้อสังเกตประการสุดท้าย
สุนทรภู่จะ ไม่ใช้ การร้อยโคลง ซึ่งใช้สัมผัสสระจากคำสุดท้ายของบทไปยังคำใดคำหนึ่งในวรรคแรกของบทถัดไปอย่างที่พบในโคลงลิลิตตะเลงพ่าย และงานประพันธ์โคลงของครูเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 11 มิ.ย. 07, 18:25
|
|
เกือบลืมไปอีกประการหนึ่ง โคลงของสุนทรภู่นิยมเอกโทษโทโทษ ใช้มากจนเป็นปกติ บางท่านตั้งข้อสังเกตว่าสุนทรภู่แต่งโคลงด้วยหู เน้นเสียงเป็นหลัก แต่ผมไม่เห็นด้วยเสียทั้งหมด เรื่องที่ว่าแต่งด้วยหูนั้นจริงครับ แต่ไม่ถึงกับเน้นเสียงเป็นหลัก ยังเคร่งครัดกับรูปอยู่ เพราะไม่เคยใช้คำที่ไม่สามารถเขียนเป็นเอกโทษหรือโทโทษเลยครับ จบการตั้งข้อสังเกตแล้วขอเขียนโคลงเลียนครูหนึ่งบทครับ น้ำนองคลองคลั่งน้ำ | | คร่ำครวญ | ยามดึกนึกหน้านวล | | นิ่มเนื้อ | เจ้าจากหากไม่หวน | | หาพี่ นี้นา | จะท่องทางรกเรื้อ | | ร่ำไห้ใจสลาย |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 11 มิ.ย. 07, 18:37
|
|
มีโคลงบทหนึ่งที่เล่าลือกันว่าเป็นผลงานของสุนทรภู่ ดังนี้ครับ เฉน็งไอมาเวิ่งเว้า | | วู่กา | รูกับกาวเมิงแต่ยา | | มู่ไร้ | ปิดเซ็นจะมู่ซา | | เคราทู่ | เฉะแต่ตอบห้วยไม้ | | หลิ่งกล้นกลนถนาง |
ผมอ่านแล้วขัดข้องใจ ด้วยเหตุผลว่าฉันทลักษณ์ไม่เข้าเกณฑ์โคลงแบบสุนทรภู่ ถึงแม้จะคิดว่าแต่งเอาสนุก สัมผัสในไม่ต้องคิดมากเพราะถูกบีบด้วยข้อจำกัดอื่น แต่ก็ยังมีเรื่องหนึ่งที่พิกลเกินไปคือวรรคแรกของบาทที่สอง รูกับกาวเมิงแต่ยา ดูด้วยตาอาจเห็นว่าคำเกินมาหนึ่งคำ แต่ผมอ่านรวบ เมิงแต่ยาได้เป็นสองคำ ซึ่งถือว่าแปลกประการหนึ่ง เพราะเท่ากับว่าแบ่งวรรคตอนเป็น 3-2 ผิดความนิยมส่วนตัวของสุนทรภู่ หากใครจะแย้งว่าหากอ่านรวบ รูกับกาว เป็นสองคำ ก็สามารถเข้าเกณฑ์ 2-3 ได้ อันนั้นก็จริงอยู่ แต่จะทำให้ตกเอกคำที่สองไปครับ เพราะไปลงคงว่า กาว พอดี ถึงแม้ผมเองจะไม่ถือ แต่ไม่เคยเห็นท่านสุนทรทำอย่างนี้ครับ ดังนั้นข้อนี้น่าจะตกไป ส่วนตัวผมคิดว่าโคลงบทนี้ไม่ได้แต่งโดยสุนทรภู่ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 13 มิ.ย. 07, 11:51
|
|
คิดว่า สุนทรภู่ ท่านแต่งกลอนมีสัมผัสในแพรวพราว เมื่อท่านแต่งโคลง โคลงท่านจึง มีสัมผัสในเช่นกัน
จากโคลงของท่านที่คุณ CHO นำมาแสดง เมื่อนำมาดัดแปลงเล็กน้อย ก็พอจะ กล้อมแกล้มกลายเป็นกลอนได้ดังนี้ ครับ
เดือนช่วงดวงเด่นฟ้าดาดาว จรูญจรัสรัศมีพราวพร่างพร้อย
ยามดึกนึกหนาวหนาวแนบเขนยน้อย ฟ้าฉ่ำน้ำค้างย้อยเยือกเย็น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 13 มิ.ย. 07, 14:15
|
|
โคลงเก่าๆ (กว่ายุคสุนทรภู่) ก็มีการใช้สัมผัสในแพรวพราวอยู่แล้วครับ แต่นิยมใช้สัมผัสอักษรเป็นหลัก และไม่ยึดตำแหน่งตายตัวแบบโคลงสุนทรภู่ เช่นบทนี้จากนิราศนรินทร์ ของนายนรินทร์ธิเบศร์ (ก่อนสุนทรภู่เล็กน้อย) โอ้ศรีเสาวลักษณ์ล้ำ | | แลโลม โลกเอย | แม้ว่ามีกิ่งโพยม | | ยื่นหล้า | แขวนขวัญนุชชูโฉม | | แมกเมฆ ไว้แม่ | กีดบ่มีกิ่งฟ้า | | ฝากน้องนางเดียว |
บางคนถึงกับวิจารณ์ว่าสุนทรภู่แต่งโคลงไม่เป็น แต่ผมคิดว่าสุนทรภู่แค่สร้าง "ทางโคลง" แบบใหม่ขึ้นมาโดยอิงกับทางกลอนของตัวเองที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว ส่วนใครจะนิยมแบบไหน เชิญเลือกได้ตามใจครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 13 มิ.ย. 07, 16:08
|
|
ยังไม่มีเวลาศึกษานิราศสุพรรณอย่างละเอียด แต่จำได้ว่าหลายบทในนั้นเป็น "กลบท" ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 13 มิ.ย. 07, 16:58
|
|
เฉพาะข้อสังเกตในคคห.2 ถ้าบาทแรกส่งวรรคแรกไปวรรคหลังด้วยสัมผัสอักษร จะเข้าลักษณะกลบทโตเล่นหาง ต้องมีเกือบครึ่งหนึ่งในนิราศสุพรรณที่เข้าข่ายนี้เลยครับ บางบทขยายเป็นกลบทอักษรล้วน (บังคับสัมผัสอักษรสามคำติดกันทุกบาท) เช่น จำร้างห่างน้องนึก | | น่าสวน | สองฝ่ายชายหญิงยวน | | ยั่วเย้า | หวังชายฝ่ายหญิงชวน | | ชื่นเช่น เหนเอย | กลเช่นเล่นซักเศร้า | | เสพเผื้อนเฟือนเกษม |
น่าคิดว่าสุนทรภู่ตั้งใจเล่นกลบทนี้หรือไม่ เพราะลักษณะนี้เป็นลีลาที่สุนทรภู่ชอบเล่นอยู่แล้ว และมีหลายบทมากที่เกือบเข้าลักษณะ ขาดไปเพียงหนึ่งบาท ทั้งๆที่สมารถแก้ไขให้เข้ากลบทได้ แต่ก็ไม่ทำครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 13 มิ.ย. 07, 17:12
|
|
บทนี้ตั้งใจแน่ครับ กลบทนาคบริพันธ์ สาวเอยเคยอ่อนหนุ้ม | | อุ้มสนอม | ออมสนิทชิดกลิ่นหอม | | กล่อมให้ | ไกลห่างว่างอกตรอม | | ออมตรึก รฦกเอย | เลยอื่นขึ้นครองไว้ | | ใคร่หว้าหน้าสวน |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 13 มิ.ย. 07, 21:42
|
|
กลบทนาคบริพันธ์อีกบทหนึ่งครับ ตามหลังบทก่อนหน้านี้นิดเดียว เป็นหนึ่งในไม่กี่บทที่ไม่ใช้คำสร้อยบาทสามเพื่อให้เป็นนาคบริพันธ์แบบปกติ เคราะกำจำห่างน้อง | | ห้องนอน | หวนนึกดึกเคยวอน | | ค่อนหว้า | คิดไว้ไม่ห่างจร | | ห่อนจาก | หากจิตรมิศหลายหน้า | | ล่าน้องหมองหมาง |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 13 มิ.ย. 07, 22:02
|
|
ด้านกลอน สุนทรภู่เคยเล่นกลบทบ้างหรือเปล่าคะ คนที่เอาโคลงมาเล่นกลบท ไม่น่าจะเป็นมือใหม่หัดแต่งโคลง แต่เป็นมือเก่าทีเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|