เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 45545 นิราศกวางตุ้ง
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 28 พ.ค. 08, 12:45

2 เรื่องครับ

เรื่องแรก ได้อ่านเพลงยาวพระยามหานุภาพไปเมืองจีนครบทั้งเรื่องแล้วครับ พูดถึงปลาวาฬแน่นอนครับ ขนาดมันบอก ใหญ่มากครับ แต่รู้สึกว่าไม่ได้พูดถึง "หัวบาตร" นะครับอาจารย์

เรื่องที่สอง อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ คำตอบจาก gaginang ได้เค้าว่า หลกท่ง เป็นคำแต้จิ๋วครับ หลกท่งของแต้จิ๋วไม่ได้มาจากดอกทอง ดังนั้นเป็นไปได้ว่าดอกทองกับหลกท่งเป็นคำที่ไม่เกี่ยวข้องกันแค่มาพ้องความหมาย หรือไม่ก็ดอกทองมาจากหลกท่ง

ซึ่งผมคิดว่า ดอกทองน่าจะมาจากหลกท่งครับ

คุณ Thep เคยเขียนบล็อกไว้ ให้ความหมายว่า "แดงเหมือนเหล็กเผาไฟ" กำกับตัวเขียนไว้ว่า 烙彤 แต่พจนานุกรมในเว็บ gaginang ไม่ระบุตัวเขียน ให้ความหมายไว้ว่า bitch, slut, shake pussy

คำในตระกูลเดียวกัน ที่ใช้คำ ลก นี้ ได้แก่ ลกจี ซวยลก ล้วนแล้วแต่เป็นคำด่าแบบชาวบ้านครับ

สรุปได้ว่า ตัดประเด็นว่า หลกท่ง มาจากดอกทอง ได้เลยครับ เหลือประเด็นเดียวคือ ดอกทอง มาจาก หลกท่ง หรือไม่เท่านั้นเอง

ยิ่งอ่านเพลงยาวพระยามหานุภาพพบว่ามีการใช้คำดอกทองแล้ว เห็นได้ว่าคำว่าดอกทองนี้ คนไทยใช้กันมาก่อนหน้านั้นไม่น้อย เพราะเท่าที่จับสำเนียงในเพลงยาวฯแล้ว คิดว่าพระยามหานุภาพเป็นคนจีนแต้จิ๋วที่พูดแต้จิ๋วได้ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 28 พ.ค. 08, 16:35

ขอบคุณมากครับ คุณ CrazyHOrse ที่นำมาเล่าสู่กันฟัง

เท่าที่ผมเจอศัพท์เพี้ยนๆ มา การที่คำไทย เพี้ยนจากคำ่ต่างชาติ จากตัว "L" เป็น "D" นั้น ยังนึกตัวอย่างไม่ออกครับ โดยส่วนตัวคิดว่าเป็นไปได้ยาก เพราะภาษาไทยเรามีสองเสียงนี้แยกกันชัดเจน แต่ในทางตรงกันข้าม คนต่างชาติ พูดคำไทยตัว "D" เป็น ตัว "L" มีตัวอย่างอยู่ เช่น คนจีนที่พูดไม่ชัด เช่น เด็กๆ เป็น เหล็กๆ หรือ "N" เป็น "L" ก็มีตัวอย่าง เช่น ฝรั่งได้ยิน "นคร" เป็น "ลิกอร์"

อีกประการหนึ่ง คำนี้ มีปรากฎอยู่ในบทกลอนช่วงอยุธยาตอนปลาย ถึงธนบุรี น่าจะเป็นภาษาไทยมากกว่า เพราะอิทธพลคำจีน (ถ้าไม่ใช่สิ่งของเครื่องใช้) ไม่น่าเข้ามาถึงภาษาราชสำนัก ซึ่งต่างจากสมัยนี้ที่ "สื่อสารมวลชน" เป็นคนเผยแพร่คำต่างชาติให้เป็นที่แพร่หลาย

ถ้าเป็นตอนนี้ ผมค่อนข้างโน้มเอียงไปทางดอกไม้สีแดง (ทองแดง) ที่เป็นสัญลักษณ์ของการประจานครับ

ส่วน "หลกท่ง" กับ "ดอกทอง" อาจพ้องกันโดยบังเอิญมั้งครับ  ฮืม เช่น คำไทย ที่พ้องกับคำอังกฤษ เช่น ริม - rim, ไฟ - fire เป็นต้น

ก็เป็นประเด็นที่เก็บไว้คิดต่อครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 30 พ.ค. 08, 09:44

ค้นดูเรื่องดอกไม้กับดอกทอง  ครับ

          ดอกทองกวาว ออกสีส้ม  เห็นยืนต้นออกดอกในเชียงใหม่และแถบเหนือหลายแห่ง
เพลงลาแล้วภูพิงค์ของม.เชียงใหม่ เอ่ยถึงอย่างซาบซึ้ง - ทองกวาวเหมือนความฝัน ร่วงพลันเตือนถึงวันคืนผ่าน
          เมื่อเชียงใหม่เป็นเจ้าภาพแข่งกีฬาก็ใช้ชื่อว่า ทองกวาวเกมส์
          อาจจะกล่าวได้ว่าดอกทองกวาว ไม่ได้เป็นดอกไม้ที่มีความหมายในทางที่ไม่ดีมาก่อน ปัจจุบันจึงถูกนำมา
ใช้เป็นเครื่องหมายในระดับจังหวัดได้ หรือ ดอกทองกวาวเคยมีความหมายที่ไม่ดีในอดีตแต่ปัจจุบันเปลี่ยนไปเป็นดี

 
           


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 30 พ.ค. 08, 09:48

        ดอกไม้ที่น่าจะเป็นดอกที่มีความหมายไม่ดี คือ ดอกงิ้ว สีแดงสด ลำต้นมีหนามให้หญิงชายผิดศีลข้อกาเมฯ
ขึ้นปีนป่ายในนรก
          วิมานครุฑในกากี - ฉิมพลี ก็คือไม้งิ้ว
          เคยมีนิยายชื่อ งิ้วราย ที่ไม่เคยอ่านครับ แต่พอทราบว่าเป็นเรื่องของสาวหลายชาย
(ยังมีนิยาย และหนังที่มีงิ้วอยู่ในชื่ออีกหลายเรื่อง แต่ละเรื่องไม่พ้นเกี่ยวกับหญิงหลายชาย)
        เพลงของหนังที่สร้างมาจากนิยายเรื่องนี้ มีเนื้อร้องซึ่งได้ยินเหมือนว่า - งิ้วราย คนทางเหนือเขาเรียก ดอกทอง
        เมื่อค้นในกูเกิ้ล พบข้อความกล่าวถึงเนื้อร้องไม่ระบุชื่อเพลงว่า - งิ้ว งามเหลือ คนทางเหนือเรียกว่า...ดอกทอง
        และยังพบว่า งิ้วราย ใช้เป็นคำด่าว่าผู้หญิง
           
          นอกจากนี้ยังพบดอกทองกับงิ้ว จากข้อมูลของตำบลป่างิ้ว จ.อ่างทอง กล่าวว่า

          เดิมบริเวณที่ตั้งของตำบลป่างิ้ว เป็นพื้นที่ราบลุ่มมีต้นไม้นานาพันธุ์ขึ้นปกคลุมมากมายโดยเฉพาะต้นไม้ที่มีหนามขึ้น
รอบบริเวณลำต้นมีมากกว่าชนิดอื่น ๆ ยังไม่มีร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์
         ไกลออกไปจากบริเวณป่าทึบแห่งนี้ มีกลุ่มชนของมนุษย์กลุ่มเล็ก ๆ ตั้งหลักแหล่งดำรงชีพด้วยการเพาะปลูก
และล่าสัตว์ บริเวณที่มีกลุ่มชนนี้เป็นที่สูงเรียกว่าดอน มีดอกไม้ชนิดหนึ่งชื่อดอกทอง ชาวบ้านนิยมนำมาปลูกกัน
ต่อมาจากรุ่นแล้วรุ่นเล่า มีการอพยพของคนและเข้ามาตั้งหลักแหล่งในบริเวณป่าทึบที่มีต้นงิ้วขึ้นอยู่จำนวนมาก
และคนในรุ่นต่อ ๆ มาเรียกชุมชนนี้ว่าบ้านป่างิ้ว
          นอกจากอ่างทองแล้ว งิ้วราย ยังเป็นชื่อของตำบลในอีกหลายจังหวัด เช่น นครปฐม ลพบุรี สิงห์บุรี พิจิตร


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 30 พ.ค. 08, 09:53

         อีกหนึ่งคำครับ ทองประกายแสด

       บางที่ว่าเป็นอีกชื่อของดอกงิ้ว  บางแห่งว่า เป็นต้นไม้อีกชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านเรียก ใบนาก หรือ ทองแสด
       บ้างว่าเป็นคำแสดงความหมายว่า ทองเหลือเกินจนออกประกายสีแสด และ
       จากข้อมูลวัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์ ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทองคำ พุทธศิลป์สุโขทัยยุคที่ 2 ค้นพบเป็นองค์ที่ 4 ของไทย
กล่าวว่า เมื่อเปิดไฟจะเห็นองค์พระเป็นรูปสีทองแชมเปญ หรือ ทองประกายแสด
       


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 30 พ.ค. 08, 13:33

ขอโทษค่ะคุณอาชา  ดิฉันจะต้องกลับไปพลิกตำราเรื่องชนิดของปลาวาฬอีกครั้งว่าเป็นอะไรแน่
ตอนนี้อยู่ในที่ๆหาตำราไม่ได้ค่ะ  ขอผัดไปก่อน

ดอกทอง เป็นศัพท์ที่ทำเอานักนิรุกติศาสตร์เถียงกันมาหลายสิบปีแล้ว     ดิฉันไม่รู้ว่ามาจากภาษาไหน   แต่คิดว่าคนโบราณคงรู้ว่าไม่ได้หมายถึงดอกไม้ทอง   
ไม่งั้น สุนทรภู่คงไม่กล้าตั้งชื่อนางเอกฝ่ายไทยของพระอภัยมณีว่า "สุวรรณมาลี"   คนอ่านแฟนประจำของท่านคงโวยวายเอาแน่นอน  ถ้า ดอกทอง คือดอกไม้ทอง ละก็
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 30 พ.ค. 08, 14:38

ดูจากสีของดอกไม้ที่คุณ SILA นำมาประกอบแล้ว ดูคล้ายสี "ทองแดง" ครับ (คือออกสีส้มนิดๆ) ไม่ใช่สีแดง และไม่ใช่สีทอง

น่าสงสัยครับว่า "ดอกทอง" นี้ ตัดคำมาจาก "ดอกทองแดง" หรือเปล่า  ฮืม
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 31 พ.ค. 08, 01:54

"ดอกทอง"  คงไม่ได้หมายถึงทองกวาวหรอกครับ  ไม่งั้นคงไม่นำมาเป็ฯชื่อนางเอกในภาพยนต์มนต์รักลูกทุ่งหรอกครับ  ทองกวาวสีแดงแฝงสีส้มตามเพลง  แบบเดียวกับ"ดอกจาน"ทางบ้านผมครับ  เป็นสัญญาณของความอุดมสมบูรณ์ของไร่นาครับ

แต่ผมกลับเคยได้ยิน "ว่านดอกทอง"  หรือที่กำลังฮิตเรียกกันปัจจุบันว่า"รากราคะ"  มีคำอธิบายว่า

"ว่านดอกทอง" ตามตำราโบราณระบุว่ามีอำนาจทางเพศรุนแรง โดยเฉพาะผู้หญิงเกิดรุนแรงมาก ถ้าเอาหัว หรือใบหรือต้นใส่โอ่งน้ำหรือบ่อน้ำ หากใครกินเข้าไปจะมีความรู้สึกทางเพศรุนแรงมาก โดยเฉพาะดอกเพียงได้กลิ่นผู้คนที่ได้กลิ่นทั้งหญิงแล ะชายจะพากันมัวเมาในโลกีย์รส ฉะนั้นจึงต้องเด็ดดอกออกเสีย

เป็ฯไปได้ไหมครับว่ามาจากชื่อว่านดอกทอง............. ฮืม


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 31 พ.ค. 08, 10:00

ผมกลับคิดว่าว่านดอกทอง ตั้งตามคำ ดอกทอง ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 19 คำสั่ง