ตายแล้ว เพิ่งเห็น พิมพ์หัวข้อผิด ๕๕๕ ที่ถูกคือ ทวิผล-เนตรมกร (ทีมงาน ถ้าแก้ได้ช่วยแก้ด้วยนะครับ จาก กมร เป็น มกร ... ขอบคุณครับ)
มาตั้งกระทู้รอคุณ CrazyHOrse ครับ
เนื่องจากได้คุยกับคุณ CrazyHOrse เกี่ยวกับที่มาของชื่อ "ลำไย" ว่า มาจากภาษาอะไร ? ภาษาไทยหรือเปล่า ?
จากที่ผมลองสำรวจดูจากภาษาต่างๆ ดูเหมือนว่าเกือบทุกภาษาจะเพี้ยนมาจากภาษาจีนคำว่า
龍眼 (龙眼) ซึ่งแปลว่า เนตรมังกร หรือ ตามังกร นั่นเอง
สำเนียงจีนกลางว่า lóng yǎn (หลง-หย่าน) (หรือ หลง-เหยี่ยน

)
ส่วนสำเนียงอื่นๆ ผมออกเสียงไม่ถูก ยังไงคุณ CrazyHOrse หรือ ท่านผู้รู้ท่านอื่นๆ ช่วยด้วยนะครับ
แต้จิ๋ว PengIm : leng5 oin2
หมิ่นหนาน (ฮกเกี้ยน) : leng5 gan2
กวางตุ้ง (jyutping) : lung4 ngaan5
ทางยุโรป ก็รับไปใช้เป็น Longan ครับ อย่างฝรั่งเศส ก็จะใช้ว่า Longane (ลง-กาน) เหตุที่ต้องมี "e" ท้ายคำเพราะถ้าไม่มีจะออกเสียงเป็น "ลงก็อง"
ญี่ปุ่น : ญี่ปุ่น: リュウガン (ริว-กัน)
เวียดนาม: quả nhãn (อ่านไงหว่า

)
อินโดนีเซีย: Lengkeng (เล็ง-เก็ง)
ส่วนไทยนั้น ผมคิดว่า "ลำไย" ก็น่าจะเพี้ยนมาจาก "หลง-หย่าน" ครับ หรือ จะเป็นสำเนียงอื่น ก็ไม่ทราบได้
-----------------------------
นอกเรื่องนิด อิอิ ที่เขียนหัวกระทู้ว่า ทวิ-ผล-เนตร-มกร นั้น ผมถอดมาจากชื่อวิทยาศาสตร์ของลำไยครับ

ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Dimocarpus logan
Dimocarpus เป็นคำละติน ซึ่งแปลมาจากศัพท์กรีกว่า Dimocarpos
จากเว็บ:
http://davesgarden.com/botanary/search.php?search_text=dimocarpus&Search=Search+Botanary ได้แปลคำนี้ไว้ว่า Dimo = Dis คือ twice (ทวิ, สอง) ; carpus = fruit (ผล) รวมกันแล้วอาจจะหมายถึง เกสรตัวเมียของต้นไม้พันธุ์นี้ มีสองตุ่ม

งงครับ อิอิ เอาเป็นว่า ผมถอดตามรูปศัพท์เดิมแล้วกันว่า ทฺวิผล (ทะ-วิ-ผะ-ละ

)
ส่วน logan ก็คือ หลง-หย่าน แปลว่า ตามังกร ถ้าแขกๆ หน่อยก็ เนตฺรมกร (เน-ตระ มะ-กะ-ระ

)
ก็แปลดูหนุกๆ ครับ อย่าคิดมาก

เคยเห็นลูกของพวกต้นยางหรือเปล่าครับ มันจะมีส่วนยื้นออกมา ๒ อัน เวลาตกลงมาแล้วจะหมุนๆ ตกลงมา นักพฤกษศาสตร์ เค้ามองว่า ที่ยื้นๆ ออกมานั้น เป็น "ปีก" ก็เลยสร้างคำขึ้นมาเรียกพวกไม้วงศ์ยางว่า DIPTEROCARPACEAE ตาม ชื่อพันธุ์ไม้ยางคือ DIPTEROCARPUS
Di (2) + Ptero (ปีก) + Carpus (ผล, ลูก) = ลูกสองปีก = ทวิปตฺรผล (ทะ-วิ-ปัด-ตระ-ผะ-ละ = ทวิ-ปัตร-ผล)
สังเกตคำว่า Ptero กับ ปัตร [Patra] (ไทยใช้ บัตร) น่าจะมีรากร่วมกันมาก่อน
บัตร คือ อะไรที่เป็นแผ่นๆ ใบๆ ในภาษาสันสกฤตจะหมายถึงสิ่งหลายสิ่งที่มีลักษณะดังกล่าว เช่น ใบไม้ ปีกนก ขนนก กระดาษ จดหมาย เป็นต้น
คำว่า ตาลปัตร ก็มีความหมายทำนองเดียวกันคือ "ใบตาล"
เมื่อวานผมค้นคำว่า ธนบัตร ก็พบว่าถ้าเราแปลงเป็นคำไทยแล้ว น่าจะตรงกับคำว่า "หมายสิน" หรือ "ใบสิน"

แต่ใครๆ ก็เรียก "แบงค์" แบงค์สิบ แบงค์พัน ซึ่งน่าจะย่อมาจากคำอังกฤษว่า banknote
ธน = สิน (คำนี้ปัจจุบันภาษาไทยใช้ร่วมกับคำอื่นๆ เช่น ทรัพย์สิน หรือ สินเชื่อ การใช้ "สิน" เดี่ยวๆ จะพบในจารึกสุโขทัยครับ)
ออมสิน ฟังแล้ว ไทยดีครับ

ไหงมาออกเรื่อง ธนบัตร อิอิ