เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 8404 ลำไย - Longan - ตามังกร - ทวิผลเนตรกมร
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


 เมื่อ 17 พ.ค. 07, 04:08

ตายแล้ว เพิ่งเห็น พิมพ์หัวข้อผิด ๕๕๕ ที่ถูกคือ ทวิผล-เนตรมกร (ทีมงาน ถ้าแก้ได้ช่วยแก้ด้วยนะครับ จาก กมร เป็น มกร ... ขอบคุณครับ)

มาตั้งกระทู้รอคุณ CrazyHOrse ครับ

เนื่องจากได้คุยกับคุณ CrazyHOrse เกี่ยวกับที่มาของชื่อ "ลำไย" ว่า มาจากภาษาอะไร ? ภาษาไทยหรือเปล่า ?

จากที่ผมลองสำรวจดูจากภาษาต่างๆ ดูเหมือนว่าเกือบทุกภาษาจะเพี้ยนมาจากภาษาจีนคำว่า 龍眼 (龙眼) ซึ่งแปลว่า เนตรมังกร หรือ ตามังกร นั่นเอง

สำเนียงจีนกลางว่า lóng yǎn (หลง-หย่าน) (หรือ หลง-เหยี่ยน ฮืม)

ส่วนสำเนียงอื่นๆ ผมออกเสียงไม่ถูก ยังไงคุณ CrazyHOrse หรือ ท่านผู้รู้ท่านอื่นๆ ช่วยด้วยนะครับ
แต้จิ๋ว PengIm : leng5 oin2
หมิ่นหนาน (ฮกเกี้ยน) : leng5 gan2
กวางตุ้ง (jyutping) : lung4 ngaan5

ทางยุโรป ก็รับไปใช้เป็น Longan ครับ อย่างฝรั่งเศส ก็จะใช้ว่า Longane (ลง-กาน) เหตุที่ต้องมี "e" ท้ายคำเพราะถ้าไม่มีจะออกเสียงเป็น "ลงก็อง"

ญี่ปุ่น : ญี่ปุ่น: リュウガン (ริว-กัน)
เวียดนาม: quả nhãn (อ่านไงหว่า ฮืม)
อินโดนีเซีย: Lengkeng (เล็ง-เก็ง)

ส่วนไทยนั้น ผมคิดว่า "ลำไย" ก็น่าจะเพี้ยนมาจาก "หลง-หย่าน" ครับ หรือ จะเป็นสำเนียงอื่น ก็ไม่ทราบได้

-----------------------------

นอกเรื่องนิด อิอิ ที่เขียนหัวกระทู้ว่า ทวิ-ผล-เนตร-มกร นั้น ผมถอดมาจากชื่อวิทยาศาสตร์ของลำไยครับ  ยิงฟันยิ้ม

ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Dimocarpus logan

Dimocarpus เป็นคำละติน ซึ่งแปลมาจากศัพท์กรีกว่า Dimocarpos

จากเว็บ: http://davesgarden.com/botanary/search.php?search_text=dimocarpus&Search=Search+Botanary

 ได้แปลคำนี้ไว้ว่า Dimo = Dis คือ twice (ทวิ, สอง) ; carpus = fruit (ผล) รวมกันแล้วอาจจะหมายถึง เกสรตัวเมียของต้นไม้พันธุ์นี้ มีสองตุ่ม ฮืม งงครับ อิอิ เอาเป็นว่า ผมถอดตามรูปศัพท์เดิมแล้วกันว่า ทฺวิผล (ทะ-วิ-ผะ-ละ ขยิบตา)

ส่วน logan ก็คือ หลง-หย่าน แปลว่า ตามังกร ถ้าแขกๆ หน่อยก็ เนตฺรมกร (เน-ตระ มะ-กะ-ระ  ลังเล)

ก็แปลดูหนุกๆ ครับ อย่าคิดมาก  เจ๋ง

เคยเห็นลูกของพวกต้นยางหรือเปล่าครับ มันจะมีส่วนยื้นออกมา ๒ อัน เวลาตกลงมาแล้วจะหมุนๆ ตกลงมา นักพฤกษศาสตร์ เค้ามองว่า ที่ยื้นๆ ออกมานั้น เป็น "ปีก" ก็เลยสร้างคำขึ้นมาเรียกพวกไม้วงศ์ยางว่า DIPTEROCARPACEAE ตาม ชื่อพันธุ์ไม้ยางคือ DIPTEROCARPUS

Di (2) + Ptero (ปีก) + Carpus (ผล, ลูก) = ลูกสองปีก = ทวิปตฺรผล (ทะ-วิ-ปัด-ตระ-ผะ-ละ = ทวิ-ปัตร-ผล)

สังเกตคำว่า Ptero กับ ปัตร [Patra] (ไทยใช้ บัตร) น่าจะมีรากร่วมกันมาก่อน

บัตร คือ อะไรที่เป็นแผ่นๆ ใบๆ ในภาษาสันสกฤตจะหมายถึงสิ่งหลายสิ่งที่มีลักษณะดังกล่าว เช่น ใบไม้ ปีกนก ขนนก กระดาษ จดหมาย เป็นต้น

คำว่า ตาลปัตร ก็มีความหมายทำนองเดียวกันคือ "ใบตาล"

เมื่อวานผมค้นคำว่า ธนบัตร ก็พบว่าถ้าเราแปลงเป็นคำไทยแล้ว น่าจะตรงกับคำว่า "หมายสิน" หรือ "ใบสิน"  รูดซิบปาก แต่ใครๆ ก็เรียก "แบงค์" แบงค์สิบ แบงค์พัน ซึ่งน่าจะย่อมาจากคำอังกฤษว่า banknote

ธน = สิน (คำนี้ปัจจุบันภาษาไทยใช้ร่วมกับคำอื่นๆ เช่น ทรัพย์สิน หรือ สินเชื่อ การใช้ "สิน" เดี่ยวๆ จะพบในจารึกสุโขทัยครับ)

ออมสิน ฟังแล้ว ไทยดีครับ  ยิงฟันยิ้ม

ไหงมาออกเรื่อง ธนบัตร อิอิ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 17 พ.ค. 07, 12:46

แฮ่ๆ สุดท้ายต้องรบกวนคุณ Hoฯ ช่วยตั้งกระทู้ก่อน

จีนกลาง อ่าน หลงเหยี่ยน ครับ
แต้จิ๋ว leng5 oin2 อ่าน เหล่ง อ้อย (ตัว n ตรงท้ายบังคับเสียงขึ้นจมูกครับ)
ถือว่าแปลกครับที่พจนานุกรมเขียนอย่างนี้ เพราะในทางปฏิบัติ แต้จิ๋วเองจะเรียกลำไย 2 แบบ คือ
- เรียกแบบภาษาหนังสือว่า เหล่งงั่ง (ถอดเสียงมาตรฐานตามจีนกลาง หลงเหยี่ยน)
- เรียกภาษาปากว่า เหน็กอ้อย หรือ เหน็กไอ้ (ตามสำเนียงย่อยลงไป) คำ เน็ก ข้างหน้าผมเดาเอาว่าคือ เล้ง ที่ชาวบ้านพูดเพี้ยนไป แบบควายกับฟายในภาษาไทยครับ จริงเท็จต้องให้ผู้รู้จริงมายืนยันอีกทีครับ
- หมิ่นหนาน ดูแล้วน่าจะอ่าน เหล่งงั่ง แบบที่แต้จิ๋วเรียกว่าภาษาหนังสือ

ดูจากศัพท์ประเทศรอบข้าง ดูท่าชื่อลองกองก็น่าจะมาจากที่มาเดียวกันนี้ครับ

ผมไม่รู้ว่าทางเหนือมีชื่อเรียกพิเศษนอกเหนือไปจากนี้หรือเปล่านะครับ (ขอตัวช่วยคุณศศิศกับบ้านายคำเก่งโตยครับ)

แต่ตามสูตร ถ้าข้องใจแบบนี้ ต้องข้ามฟากไปดูภาษากวางตุ้ง ผลลัพธ์ออกมาน่าแปลกใจนิดหน่อย กวางตุ้งออกเสียงหลงเหยี่ยนว่า lung4 ngaan5 (เข้าใจว่าออกเสียง หล่งหงาน) ต่อกันไม่ค่อยติดเท่าไหร่ครับ
ที่ยิ่งแปลกคือ กวางตุ้งมีเรียกอีกชื่อหนึ่งด้วย 桂圓 อ่าน gwai3 jyun4
桂 แปลว่า Cinnamonum cassia (ชื่อพรรณไม้ตระกูลอบเชย) หรือ พจนานุกรมบางฉบับให้ความหมายว่าเป็นชื่อที่ใช้เรียกเขตปกครองตนเองกว่างซี (ที่เราเรียกว่ากวางสี เขตปกครองตนเองของชาวจ้วง-คนตระกูลไทกลุ่มใหญ่ในจีน)
桂圓 จึงอาจแปลว่า ลูกกลมแห่งกวางสี ซึ่งสอดคล้องกับต้นกำเนิดของลำไยครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 18 พ.ค. 07, 01:31

อ่านความเห็นเกี่ยวกับสำเนียงแต้จิ๋วแล้ว ผมเชื่อว่า "ลำไย" อาจเพี้ยนมาจากสำเนียงแต้จิ๋วก็เป็นได้ครับ ยังมีผลไม้ออกเสียงเพี้ยนจากจีนอีก ๒ อย่าง (เท่าที่นึกได้ตอนนี้) คือ สาลี่ และ ลิ้นจี่ ต่อจากลำไย น่าจะมาคุยเกี่ยวกับ "สาลี่" นะครับ อิอิ

จากหนังสือ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย ของ ศ.ดร.เต็ม สมิตินันทน์ (2544) ได้นิยามลำไยไว้ตรงกับชื่อวิทยาศาสตร์คือ

Dimocarpus longan Lour. subsp. longan var. longan เป็นต้นไม้ถิ่น

คำว่า ไม้ถิ่น ในที่นี้ ก็น่าจะพบได้ทางภาคเหนือ ไม่ใช่ไม้นำเข้า แสดงว่า ทางเหนือก็น่าจะรู้จักกันมานานแล้ว ฮืม

นอกจากนี้ยังระบุว่า ภาษาไทยทั่วไป เรียก ลำไย, ลำไยป่า ; กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน เรียก เจ๊ะเลอ

ยังมีอีกครับ แต่เป็น วาไรตี้ และ ซับสปีชี่ส์

Dimocarpus longan Lour. subsp. longan var. obtusus (Pierr) Leenh. เป็นไม้เถา
  ภาคกลาง-อีสาน เรียก ลำไยเครือ, ลำไยเถา

Dimocarpus longan Lour. subsp. malesianus Leenh. var. malesianus เป็นต้นไม้
  ภาคใต้ เรียก ลำไยป่า, เงาะดิเรก

ลำไยเครือ กับ เงาะดิเรก นี้ ผมไม่เคยได้ยิน หรือ เคยกินเลย ไม่รู้อร่อยหรือเปล่า  ตกใจ


บันทึกการเข้า
Lagnadan
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 04 พ.ค. 09, 19:41

มาเพิ่มเติม จากคนทีรู้กวางตุ้งคับ

"ลำไย" ภาษากวางตุ้ง ออกเสียงว่า "หล่ง - หงฺาน" (ตามังกร)

เพิ่มเติมฮะ คุณแม่เคยเล่าให้ฟังเรื่องการเขียนชื่อ "ลำไย" ในภาษาอังกฤษ ท่านบอกว่าสมัยก่อนเขาเขียน Long - Ngan ตามสำเนียงกวางตุ้ง แต่การเขียน Ng ติดกันสองตัว มันลำบาก เลยถูกลดเหลือ Longan ฮะ

เสริมนิด เรื่องสาลี่ กวางตุ้งก็เรียกว่า "สฺยุด - เหล่ยฺ" (Syut - lei) คับผม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 19 คำสั่ง