เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 16874 ปีหนไทย
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
 เมื่อ 10 เม.ย. 07, 19:06

เอกสารโบราณทางภาคเหนือและอีสานของไทย (รวมถึงจารึกสุโขทัยบางหลัก) นิยมเขียนปีหนไทยกำกับไว้ด้วย
ปีหนไทยที่ว่านี้ประกอบด้วยสองส่วนเรียกว่าแม่ปีและลูกปี
แม่ปีมี ๑๐ ตัวเรียงตามลำดับดังนี้ กาบ ดับ ระวาย เมิง เบิก กัด กด รวง เต่า กา
ส่วนลูกปีมี ๑๒ ตัวเรียงตามลำดับดังนี้ ไจ้ เป๊า ยี่ เม้า สี ไส้ ซง้า เม็ด สัน เร้า เสด ไก๊
ซึ่งก็คือปีนักษัตร ชวด ฉลู ขาล เถาะ มะโรง มะเส็ง มะเมีย มะแม วอก ระกา จอ กุน นั่นเองครับ
เวลานับปีก็จะเริ่มที่ กาบไจ้ ดับเป๊า ระวายยี่ เมิงเม้า เบิกสี กัดไส้ กดซง้า รวงเม็ด เต่าสัน กาเร้า
ต่อด้วย กาบเสด ดับไก๊
แล้วจึงเป็น ระวายไจ้ เมิงเป๊า ... ไปเรื่อยๆจนครบรอบเมื่อครบ ๖๐ ปีจึงมาเริ่มที่กาบไจ้อีกครั้ง

ในขณะที่เอกสารโบราณทางกรุงศรีอยุธยานิยมกำกับโดยใช้ปีนักษัตร และศก เช่น ปีวอก จัตวาศก ศักราช ๗๗๔ โดยที่จัตวาศก มาจากหลักสุดท้ายของ(จุล)ศักราช ๗๗๔ นั่นเอง
ซึ่งหากเทียบศกนี้กับแม่ปี จะได้ว่า เอกศก ตรงกับแม่ปีกัด ไล่เรียงไปเรื่อยๆ
จากลักษณะเช่นนี้ พอจะวิเคราะห์ได้ว่า ระบบปีของอยุธยาและทางเหนือ-อีสานน่าจะมีที่มาเดียวกัน โดยไม่เกี่ยวกับจุลศักราชแต่อย่างใด

แล้วมาจากไหน?

เคยได้ยินแว่วๆมาว่าทางโหรมีคำเรียกรอบนักษัตรใหญ่ ๖๐ ปีนี้ว่า พฤหัสบดีจักร นัยว่ามาจากทางอินเดีย โดยอิงตามระยะเวลาโคจรของดาวพฤหัสบดี แต่ผมพยายามลองค้นดูข้อมูลทางอินเดียก็ไม่พบชื่อพฤหัสบดีจักร แต่มีรอบ ๖๐ ปีที่เรียกว่าสังวัฏสาระโดยมีชื่อปีกำกับเฉพาะแต่ละปีตายตัว ไม่ได้อยู่ในรูปแม่ปี-ลูกปีอย่างปีไทย
(ดูรายละเอียดที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Samvatsara)
ที่พิกลหนักไปกว่านั้นคือ ดาวพฤหัสโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา ๑๑.๘๖ ปี ซึ่งถึงจะใกล้เคียงกับ ๑๒ แต่ตัวเลข ๖๐ ปีไม่ได้มีความหมายอะไรเกี่ยวข้องกับดาวพฤหัสเลย น่าคิดว่าพฤหัสบดีจักรนี้มีที่มาจากไหนกันแน่

ขอฝากไว้ให้คิดด้วยครับ

จีนโบราณมีใช้ระบบปีที่เรียกว่ากานจือ 干支 แปลตรงตัวว่ากิ่งก้าน ประกอบด้วยสองส่วนคือ กาน และ จือ
กาน มี ๑๐ ตัวตามลำดับดังนี้ เจี่ย อี่ ปิ่ง ติง อู้ จี่ เกิง ซิน เหริน กุ่ย
ในขณะที่ จือ มี ๑๒ ตัวตามปีนักษัตรดังนี้ จื่อ โฉ่ว อิ๋น เหม่า เฉิน ซื่อ อู่ เว่ย เซิน โหย่ว ซู ไฮ่
วิธีการใช้งานตรงกับปีหนไทยทุกประการ ที่สำคัญปีก็ยังตรงกันด้วย เป็นการยืนยันที่มาของระบบแม่ปี-ลูกปีว่ามาจากระบบกานจือของจีนแน่
ระบบกานจือนี้มีความเก่าแก่มาก มีจุดอ้างอิงปีแรกที่ใช้คือ ปี ๒๖๓๗ ก่อนพุทธกาล เกือบห้าพันปีมาแล้ว ถือเป็นระบบปฏิทินที่เก่าแก่ที่สุดของจีน ว่ากันว่าประดิษฐ์ขึ้นโดย หวงตี้ จักรพรรดิ์เหลือง กษัตริย์จีนองค์แรกในตำนานที่ครองราชย์อยู่ระหว่าง ๒๖๙๘-๒๕๙๙ ปีก่อนพุทธกาล
(ดู http://en.wikipedia.org/wiki/Chinese_calendar)

ระบบปฏิทินแบบนี้ นอกจากใช้ในจีนแล้ว ยังแพร่หลายในกลุ่มประเทศที่รับวัฒนธรรมจีนอื่นๆด้วย ได้แก่ เกาหลี ญี่ปุ่น และเวียดนามครับ
(ดู http://en.wikipedia.org/wiki/Sexagesimal_cycle)
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 10 เม.ย. 07, 22:08

ซึ่งตอนนี้ยอมรับแล้วครับผม ว่า ระบบวันหนไท นั้น มาจากระบบ กานจือของจีน
แต่กลายเสียงมาให้เรียกง่ายตามสำเนียงของตระกูลไท

หากจะเขียนให้ถูกแล้ว จะเขียนว่า

แม่มื้อ (ปี/วัน) ประกอบด้วย กาบ, ดับ, รวาย (อ่านว่า ลฺวาย), เมือง/เมิง, เปิก/เปลิก (ไม่ออกเสียง ล), กัด, กด, ร้วง (ออกเสียงว่า ล้วง บางทีก็เขียนตามเสียงที่ออกว่า ล้วง), เต่า และ ก่า

ให้ตัวเลขกำกับไว้  1 - 10 จาก กาบ - ก่า

ลูกมื้อ (ปี/วัน) ประกอบด้วย ใจ้ (ที่ถูกต้องใช้ไม้ม้วน แต่ทั่วไปใช้ ไจ้), เป้า/เปล้า (ไม่ออกเสียง ล), ยี, เหม้า, ใส้, สะง้า/ซะง้า, เม็ด, สัน, เร้า (อ่านว่า เล้า), เส็ด, ใค้ (อ่านว่า ใก๊ และใช้ไม้ม้วน)

ให้ตัวเลขกำกับไว้ 1 - 12 จาก ใจ้ - ใค้

เวลาประกอบกัน จะใช้เลขคี่ เข้ากับเลขคี่ และ คู่ เข้ากับคู่ ได้ทั้งหมด 60 วัน/ปี ( 60 เป็น ค.ร.น. ของ 10 และ 12)

แต่ตอนหลัง ประกอบเข้ากับเลขจุลศักราชได้ด้วยเหมือนกัน ดังนี้

แม่ปี

ถ้าปีจุลศักราช ลงท้ายด้วยเลข ๑ จะตรงกับแม่ปี คือ กัด
ถ้าปีจุลศักราช ลงท้ายด้วยเลข ๒ จะตรงกับแม่ปี คือ กด
ถ้าปีจุลศักราช ลงท้ายด้วยเลข ๓ จะตรงกับแม่ปี คือ ร้วง
ถ้าปีจุลศักราช ลงท้ายด้วยเลข ๔ จะตรงกับแม่ปี คือ เต่า
ถ้าปีจุลศักราช ลงท้ายด้วยเลข ๕ จะตรงกับแม่ปี คือ ก่า
ถ้าปีจุลศักราช ลงท้ายด้วยเลข ๖ จะตรงกับแม่ปี คือ กาบ
ถ้าปีจุลศักราช ลงท้ายด้วยเลข ๗ จะตรงกับแม่ปี คือ ดับ
ถ้าปีจุลศักราช ลงท้ายด้วยเลข ๘ จะตรงกับแม่ปี คือ รวาย
ถ้าปีจุลศักราช ลงท้ายด้วยเลข ๙ จะตรงกับแม่ปี คือ เมือง
ถ้าปีจุลศักราช ลงท้ายด้วยเลข ๑๐ จะตรงกับแม่ปี คือ เปิก

ลูกปี

นำเลขจุลศักราชตั้ง หารด้วย ๑๒

เศษ ๑ ตรงกับนักษัตร ชื่อปี ใค้
เศษ ๒ ตรงกับนักษัตร ชื่อปี ใจ้
เศษ ๓ ตรงกับนักษัตร ชื่อปี เป้า
เศษ ๔ ตรงกับนักษัตร ชื่อปี ยี
เศษ ๕ ตรงกับนักษัตร ชื่อปี เหม้า
เศษ ๖ ตรงกับนักษัตร ชื่อปี สี
เศษ ๗ ตรงกับนักษัตร ชื่อปี ใส้
เศษ ๘ ตรงกับนักษัตร ชื่อปี สะง้า
เศษ ๙ ตรงกับนักษัตร ชื่อปี เม็ด
เศษ ๑๐ ตรงกับนักษัตร ชื่อปี สัน
เศษ ๑๑ ตรงกับนักษัตร ชื่อปี เร้า
เศษ ๑๒ ตรงกับนักษัตร ชื่อปี เส็ด


จาก พับแผ่นงานฉบับสำนักเรือนเดิม ประจำปีจุฬสกราช ๑๓๖๗ ตัว ปีดับเร้า ที่ระลึกเนื่องในงานประเพณีประจำปีสรงน้ำพระเสตังคมณีและพระศิลา วัดเชียงมั่น และเนื่องในโอกาสที่ ศ.ดร.อุดม รุ่งเรืองศรีมีอายุครบรอบห้านักษัตร์ในปี (๒๕๔๘)


วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๐
แรม ๘ ฅ่ำ เดือน ๗ (เหนือ) เม็งวันอังคาร ไทวันกาบเส็ด จุลศักราช ๑๓๖๘ ตัว ปีรวายเส็ด
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 10 เม.ย. 07, 22:22

เอาคำทำนายเกี่ยวกับวันไท มาฝากครับผม จากส่วนของคำอธิบายการใช้ปักขทืนล้านนา

วันไทและคำทำนายวันไท


      กาบใจ้   ไม่ควรแต่งงาน แต่การขึ้นบ้านใหม่ การบรรพชาอุปสมบทและพิธีมงคลอื่นๆ ดี

      ดับเป้า  ไม่ควรออกจากบ้านไปค้าขายต่างถิ่น จะถูกโจรฆ่าตาย

      รวายยี   อย่างเลี้ยงสุราแก่เจ้านาย ขุนนางผู้ใหญ่ จะทำให้เกิดเรื่องราวและหนี้สิน

      เมืองเหม้า ไม่ควรทำสวน ถางหญ้า ตัดต้นไม้ ไม่ควรยกทัพไปรบ จะถูกศัตรูฆ่าตาย

      เปิกสี   อย่าเริ่มทอผ้า เพราะผ้าผืนนั้นจะยังให้เกิดภัยอันตรายแก่ผู้ที่นำไปนุ่ง   การสู่ขอหรือหมั้นหมายสาวจะได้ผลดี

      กัดใส้  อย่าซื้อมีด หอก ดาบ จะฆ่าตนเอง อย่าหว่านกล้า

      กดสะง้า  อย่าขี่ม้าไปค้าขายต่างเมือง จะตกม้าตาย

      ร้วงเม็ด  อย่าไปล่าสัตว์ ทำหน้าไม้ ธนู  อย่าเดินทางเข้าป่า จะหลงทาง

      เต่าสัน  ทำคอกสัตว์เลี้ยงจะแพร่พันธุ์ดี ผูกมิตรวันนี้จะให้คุณแก่ตนในวันข้างหน้า

      ก่าเร้า  ทำพิธีสู่ขวัญ เรียกขวัญ จะหายจากพยาธิโรคภัย ทำตาข่ายจับปลา -ดี

      กาบเส็ด  อย่าเอาไหมมาคาดฝักดาบ จะฉิบหาย สร้างหูกทอผ้า เจ้าของจะอายุสั้น

      ดับใค้  อย่าตัดผม โกนหนวด จะเกิดความเจ็บไข้   อย่าตัดเสื้อผ้า จะเสื่อมอำนาจ

      รวายใจ้  อย่าขี่ม้าเดินเมือง ผีจะทำให้ป่วยหนัก

      เมืองเป้า อย่าหุ้มกลอง อย่าทำผ้าปูที่นอน ฟูก หมอน จะเป็นอันตราย

      เปิกยี  อย่าทำเสื่อสาด เครื่องลาดปูนั่ง จะทำให้ตายโหง

      กัดเหม้า  หาไม้มาสร้างบ้าน-ดี อยู่แล้วเจริญรุ่งเรือง ไปค้าขายจะร่ำรวย

      กดสี   หาไม้มาสร้างบ้าน จะอยู่ดีมีสุขตลอดชีวิต

      ร้วงใส้  อย่าทำเชือกล่ามสัตว์ๆ จะตาย

      เต่าสะง้า ไม่ควรขี่ม้าไปเที่ยวต่างเมือง

      ก่าเม็ด  อย่าซื้อหรือทำมีด หอก ดาบ จะเป็นภัยแก่ตัวเองจนถึงแก่ชีวิต

      กาบสัน  อย่าตัดเสื้อผ้า, แต่ทำคอกสัตว์-ดี

      ดับเร้า  ตัดผม สาวจะรักชอบ

      รวายเส็ด ปลูกหมาก มะพร้าว ตาล จะไม่ได้ผล

      เมืองใค้  ยกทัพไปรบศึกจะชนะ  ไปสู่ขอสาว- ดี

      เปิกใจ้  เรียนคาถาอาคม “สับน้ำหมึก”(ลงยันต์สักด้วยหมึกลงตามร่างกาย) - ดี

      กัดเป้า  อย่าหุ้มกลอง อย่าแข่งขัน พนัน ท้าประลอง หรือทะเลาะวิวาท-จะฉิบหาย

      กดยี  ไปค้าขาย จะได้สัตว์สี่เท้า

      ร้วงเหม้า ไม่ควรตัดไม้มาสร้างบ้าน อย่าสร้างวิหาร หอโรงที่อยู่อาศัย

      เต่าสี  ไม่ควรแต่งงาน จะหย่าร้าง , ปลูกพืชผัก -ดี

      ก่าใส้  แต่งงาน-ดี จะมีทรัพย์มาก หากไปงานเลี้ยงจะทะเลาะวิวาท ขัดแย้งกัน

      กาบสะง้า  ไม่ควรแต่งงาน ชีวิตคู่จะไม่ยั่งยืน, สร้างยุ้งฉาง -ดี

      ดับเม็ด  ไม่ควรแต่งงาน ชีวิตคู่จะไม่ยั่งยืน ไปค้าขายจะถูกฆ่าตาย

      รวายสัน  อย่าตัดเสื้อผ้า ตัดต้นไม้มาทำรั้วหรือก่อกำแพง -ดี

      เมืองเร้า  ไปงานเลี้ยงจะถูกคนอื่นสบประมาทให้ขายหน้า

      เปิกเส็ด  อย่าไปรบ จะถูกฆ่าตาย

      กัดใค้  ทำธนู หน้าไม้ จะพบความอับโชค ยิงสัตว์ไม่ถูก

      กดใจ้  ไปค้าขายจะได้เสื้อผ้าเงินทอง

      ร้วงเป้า  ปลูกพืช วัวควายจะมารบกวน

      เต่ายี  ปลูกมะพร้าว หมาก ตาล -ดีมาก

      ก่าเหม้า  อย่าให้ของแก่ผู้อื่น จะเสียมากกว่าได้

      กาบสี  ผสมหาง(ชาด) สีแดงชาดที่ได้จะแดง -ดี

      ดับใส้  ลูกที่คลอดในวันนี้ จะเลี้ยงไม่โต ตายตั้งแต่เด็ก

      รวายสะง้า ตัดไม้ทำครก สาก ทำโรงเรือนเก็บของ -ดี

      เมืองเม็ด ทำแห จะจับปลาได้มาก

      เปิกสัน  อย่าตัดเสื้อผ้า นุ่งแล้วจะมีแต่ความเดือดร้อนอย่าให้สุราแก่เจ้านาย จะได้รับความเดือดร้อน

      กัดเร้า  ขึงตาข่ายดักนก ทำถุงใส่เงิน -ดี

กดเส็ด    ไม่ควรแต่งงาน จะเสียทรัพย์ สมบัติจะฉิบหาย  อย่าทำเชือกล่ามวัวควาย สัตว์นั้นจะตาย

      ร้วงใค้  ไม่ควรแต่งงาน จะเลิกร้างหรือตายจากกัน เลี้ยงแขก จะทะเลาะวิวาท

      เต่าใจ้  ทำคอกสัตว์เลี้ยงจะแพร่พันธุ์ -ดีมาก

      ก่าเป้า   แต่งงาน-ดี มีหลักฐานมั่นคง และจะรักกันมั่นคง  ไม่ควรนำเรือลงน้ำ เรือมักจะล่ม

      กาบยี  แต่งงาน-ดี จะรักกันมั่นคง ไม่ควรลงน้ำ เข้าป่า -จะมีภัย

      ดับเหม้า แต่งงาน-ดี จะรักกันมั่นคง มีทรัพย์มาก ตัดเย็บเสื้อผ้าใหม่ จะมีคนรักมาก

      รวายสี  ไม่ควรแต่งงาน พ่อแม่จะอายุไม่ยืน ทำฟูก ที่นอน -ดี

      เมืองใส้  ไม่ควรแต่งงาน พ่อแม่จะอายุไม่ยืน อย่าออกรบทัพจับศึกจะได้รับบาดเจ็บ

      เปิกสะง้า          ไม่ควรแต่งงาน จะเลิกร้างหรือตายจากกัน อย่าขี่ม้าเดินทาง จะเกิดอันตราย

      กัดเม็ด  ไม่ควรแต่งงาน จะหย่าร้าง ซื้อสัตว์มาเลี้ยง -ดีมาก

กดสัน แต่งงาน -ดี จะมีทรัพย์มาก อย่าตัดเสื้อผ้า สู่ขอสาว -ดี พ่อแม่ฝ่ายหญิงจะเมตตา

      ร้วงเร้า  แต่งงาน -ดี จะรักกันมั่นคง, ทำผ้าห่ม ผ้านวม คนในเรือนจะตาย

      เต่าเส็ด  ไม่ควรแต่งงาน จะอยู่ด้วยกันไม่นาน  อย่าทำเตาไฟ ผีเรือนไม่พอใจ -จะให้โทษ

      ก่าใค้   ไม่ควรแต่งงาน ซื้อสัตว์มาเลี้ยง สัตว์จะอายุไม่ยืน

-----------------------

บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 10 เม.ย. 07, 23:50

เรื่องวันไทนี้น่าสนใจ ผมยังไม่เจอว่าจีนมีใช้แบบนี้(ไม่แน่ใจว่ามีใช้หรือเปล่า) คุณศศิศพอจะทราบความเป็นมาไหมครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 11 เม.ย. 07, 13:26

ผมว่าเป็นการคลี่คลายมาผสานความเชื่อท้องถิ่น

จากปี ก็เป็นวัน กอปรกับมีคำทำนายไว้ด้วย ว่าแต่ละวันควรและไม่ควรทำอะไร

เพราะว่าลักษณะความหมายและคำทำนายแต่ละวันนั้น ไม่ได้มีเฉพาะวันหนไท แต่ยังมีระบบวันเก้ากอง วันหัวเรียงหมอน วันฟ้าตีแฉ่ง วันผัสสตา(วันเสียประจำเดือน) วันจมวันฟู วันสูญวันไสย วันราหูเกตุตก วันม้วย วัน..... ฯลฯ

ฉะนั้นเรื่องวันเป็นความเชื่อที่อยู่ใกล้วิถีชีวิตมากกว่าปี จึงมีการดูวันดีวันเสีย หลายแบบ แต่ละแบบก็เป็นเรื่องเฉพาะตัว

เช่นหากจะส่งสการฌาปนกิจแล้วละก็ จะต้องไม่ตรงกับวันเก้ากอง เพราะจะทำให้มีคนตายมาอีก

หากจะดูวันแต่งงาน ก็ดูที่วันหัวเรียงหมอน

หากจะดูวันขึ้นเรือน เปิดร้านใหม่ ก็มาดูที่วันฟ้าตีแฉ่ง เป็นต้น

แต่ก็ต้องประกอบกับวันอื่น ๆ อีกด้วย

แต่ที่มาที่ไปนี้ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน รู้แต่ว่า องค์ความรู้เรื่องปักขทืน (ปฏิทิน) ของล้านนาตอนนี้กำลังรื้อฟื้นขึ้นมาแล้วละครับ

-----------------

วันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๐
แรม ๙ ฅ่ำ เดือน ๗ (เหนือ) หรือ เดือน ๕ (ใต้)
เม็งวันพุธ  ไทวันดับใค้
ปีจุฬสกราช ๑๓๖๘ ตัว ปีรวายเส็ด
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 11 เม.ย. 07, 13:32

ผมเข้าใจว่าวันหนไทแบบนี้ใช้นับวันจริงด้วย เป็นรอบ ๖๐ วัน และกำกับร่วมกับวันเม็ง (จันทร์, อังคาร, พุธ...)

และถ้าดูจากแบบจีนแล้ว ทางจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม จะใช้นักษัตรกำกับยาม (ยามละ 2 ชั่วโมง เป็นที่มาของการใช้ ...ชั่วยาม ในนิยายจีน) ไม่ทราบว่าแบบนี้ทางล้านนามีใช้ด้วยหรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 11 เม.ย. 07, 13:40

ผมว่าการบอกยามที่มีนักษัตรกำกับ ทางล้านนาไม่มีนะครับผม

แต่จะมีคล้าย ๆ กับทางไทย คือ การใช้สัญญาณในการบอกเวลา เหมือน ทุ่ม - โมง

แต่จะมีสิ่งที่ใช้ส่งสัญญาณต่างกัน

เช่น

ตูด หรือเขาควายที่ใช้เป่าบอกเวลา จะมีคำเรียกว่า ตูดเช้า ตูดเดิก็ เป็นต้น

กลอง จะมีคำเรียกว่า ยามกลองงาย กลองค่ำ เป็นต้น

หรือใช้ แตร (ล้านนาอ่านว่า ถะแหล หรือ แถ) เช่น ยามแตรค่ำ หรือ ยามแตรสู่เที่ยง เป็นต้น

โดยเรียงลำดับ คือ ตูด กลอง แตร
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 11 เม.ย. 07, 16:31

สำหรับอยุทธยา (ขอเขียนแบบนี้นะครับผม) แล้ว ที่ระบบหนไทหายไป ก็น่าจะมาจากการรับเอาวัฒนธรรมของเขมรมาใช้ หลังจากที่ไปตีเขมรได้

ซึ่งอาจจะเป็นอิทธิพลทางศาสนา และผลทางการเมืองก็เป็นได้ เพราะคติของเขมรนั้นช่วยเสริมสร้างอำนาจให้กับกษัตริย์อยุธยาเป็นอย่างมาก และยังมีอิทธิพลไปในเรื่องของภาษาไปด้วย จากการนับวันหนไท จากสุโขทัย จึงกลายเป็นนับศกแบบเขมรไปในที่สุด
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 11 เม.ย. 07, 18:03

ผมลองไปค้นในฐานข้อมูลจารึกของสถาบันมานุษยวิทยาสิรินธร http://www.sac.or.th/jaruk/

เจออะไรที่น่าสนใจดังนี้ครับ

จารึกสด๊กก๊อกธม ๑ เป็นจารึกเขมร พุทธศักราช ๑๔๘๐ ระบุวันเดือนปีที่สร้างไว้ดังนี้ครับ ๘๕๙ ศก แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ สังเกตได้ว่าไม่มีระบุปีนักษัตร และ แม่ปีแบบไทย

จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ ๒ (วัดกู่กุด) เป็นจารึกมอญ พุทธศตวรรษ ๑๗ มีการใช้วันเดือนดังนี้ ปีไวสาขะ ขึ้น ๑๓ ค่ำ แห่งเดือนไจตระ วันอาทิตย์ พระจันทร์เสวยฤกษ์ปิยะ ระบบเดือนปีที่ใช้เป็นแบบปฏิทินพราหมณ์ ระบุวันอาทิตย์ ซึ่งแบบที่ทางล้าานาเรียกว่าวันเม็ง ไม่มีระบุแม่ปีลูกปีแบบไทยเช่นกัน

ผมไม่มีแรงค้นไปมากกว่านี้ แต่ถ้ามอญและขอมใช้วันเดือนปีแบบที่ได้เห็นแล้วดังนี้ อาจเป็นได้ว่าทั้งมอญและขอมไม่ใช้ปีหนไทย

ไทยภาคกลางรับเอาการใช้ ม.ศ. และ จ.ศ. มาก็จริง แต่ยังติดการระบุแม่ปีและลูกปีแบบไทยๆอยู่ เพียงแต่ดัดแปลงเรียกลูกปีเป็นชื่อสัตว์ประจำปีนักษัตร และเรียกแม่ตามหลักท้ายของ จ.ศ. น่าสังเกตว่าก่อนหน้านั้น ในสมัยที่ใช้ม.ศ.อยู่จะเป็นอย่างไร

จารึกกฏหมายลักษณะโจรที่พบที่สุโขทัย ใช้ ม.ศ. และระบุปีนักษัตร แต่ไม่ได้ใส่ศกตัวท้ายกำกับครับ

ส่วนอยุธยา ยังไม่เจอว่าใช้แบบใดครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 13 เม.ย. 07, 00:17

ไปเจอของดีเข้าให้ครับ

บันทึกประวัติศาสตร์สามก๊ก(ซานกั๋วจื้อ) ของเฉินโซ่ว (ปันทึกเมื่อเกือบ 2,300 ปีที่แล้ว) มีการใช้วันแบบกานจือซึ่งตรงกับวันไทของทางล้านนาครับ

แสดงว่าทางล้านนาไม่ได้ประยุกต์ใช้เอง เป็นของเก่าแก่เหมือนกันครับ

บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 13 เม.ย. 07, 01:19

ลองค้นต่อดู ระบบกานจือ ประยุกต์ใช้กับ วัน เดือน ปี และ ยาม ยังใช้กันอยู่ในโหราศาสตร์จีนครับ

ปกติคนจีนรุ่นเก่าๆจะมีปฏิทินฤกษ์ยามพวกนี้ติดบ้าน ตอนเด็กผมก็เคยเห็นอยู่ครับ แต่ไม่เคยสนใจดู เดี๋ยวนี้คิดว่าน่าจะยังมีอยู่เหมือนเดิม แต่คงจะจางหายไปพร้อมกับคนรุ่นปู่ย่าตายาย

จะลองไปหาดูครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 17 เม.ย. 07, 00:19

แล้วทางภาคกลาง นี่ เวลาจะหาวันกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งนี่ เค้าดูอะไรบ้างครับผม หรือดูเฉพาะ ฤกษ์ กับ ยาม สองอย่างนี้หรือเปล่าครับผม เพราะมักได้ยินบ่อยเหลือเกินว่า ดูฤกษ์ดูยาม แต่ไม่ได้ดุวัน ใช่หรือเปล่าครับผม
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 17 เม.ย. 07, 10:55

การดูฤกษ์ยามของตำราโหรทางภาคกลาง เป็นการดูตำแหน่งดาวพระเคราะห์ต่างๆประกอบกัน ซึ่งเมื่อวันเวลาเปลี่ยน ตำแหน่งทั้งหมดย่อมเปลี่ยนไปด้วย ดังนั้นการดูฤกษ์ยาม จะหมายรวมถึงการดูวัน-เดือน-ปี-โมงยาม ละเอียดลงไปถึงระดับนาทีครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 19 ก.ย. 07, 00:11

มาต่อกระทู้ครับ
ไม่มีอะไรจะแบ่งปัน ได้แต่ฟัง แต่เล่าได้อย่างหนึ่งว่า ระบบปี 12 นักษัตร (คงไม่เกี่ยวกับจตุคาม...) ที่ว่าจีนเอาไปใช้เรียกชั่วยามในระหว่างวันด้วยนั้น มองโกลก็ใช้ครับ ใช้มาจนเดี๋ยวนี้ ยังมีการเรียกว่า ยามแพะ ยามม้า ยามเสือ ยามวัว ยามไก่ ฯลฯ อยู่เลยครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 19 คำสั่ง