เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 26216 ที่มาของคำว่าเจ้าสัว
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
 เมื่อ 03 เม.ย. 07, 00:07

เป็นที่รู้กันว่า เจ้าสัว หมายถึงคหบดี แต่คำนี้เดิมจะใช้ในรูป เจ๊สัว ครับ

น่าจะราวสมัยรัชกาลที่ ๕ นี้เองที่เจ๊สัวค่อยเลือนหายไปและเจ้าสัวถูกใช้แทนที่

คำว่า เจ๊สัว หรือ เจ้าสัว นี้มาจากภาษาจีนสำเนียงแต้จิ๋วว่า จ่อซัว (座山 - จีนกลางว่า จว้อซาน)

จ๋อ 座 เป็นคำเดียวกับที่แปลว่าที่นั่ง แต่ในที่นี้ในความหมายว่า เป็นปึกแผ่นมั่นคง
ซัว 山 แปลว่าภูเขา
รวมความ จ่อซัว (เสียงจ๋อกลายเป็นจ่อเมื่อตามหลังด้วยเสียงสามัญตามหลักการออกเสียงจีนแต้จิ๋ว) แปลได้ว่าขุนเขาอันมั่นคง หมายถึงคหบดีนั่นเองครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 03 เม.ย. 07, 04:23

แล้วจาก เจ๊สัว เป็น เจ้าสัว นี่เป็นการเลือนเสียงยังไงครับผม

หรือว่า คำว่า "เจ๊สัว" เป็นภาษาจีนแต๊จิ๋วสำเนียงปากคนไทย แล้วคนจีนเข้ามามากขึ้น จึงกลายเป็น เจ้าสัว ไปครับ เพราะผมว่าเจ้าสัว กับ จ่อซัว มันฟังดุคล้าย ๆ กัน ใกล้ ๆ กันยังไงก็ไม่รู้แฮะ
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 03 เม.ย. 07, 09:53

จากเจ๊สัวเป็นเจ้าสัวนั้น สมมติฐานที่เคยได้ยินมา "ท่านว่า" เป็นเพราะคำว่า เจ้า มีความหมายดีกว่า เจ๊ เกิดการเลือนไปในลักษณะนี้

แต่ผมว่าเป็นไปได้อีกอย่างคือ มีใครสักคนที่ให้เสียงภาษาจีนของคำนี้ใหม่ ซึ่งใกล้เคียงมากกว่าคำเดิม แถมยังมีความหมายในภาษาไทยดีกว่าด้วย และผู้ที่ริเริ่มใช้ อาจะเป็นพระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์ระดับสูงที่มีอิทธิพลในสังคมสมัยนั้น จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

คงต้องไปศึกษาดูครับว่าท่านผู้นั้นคือใคร
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 03 เม.ย. 07, 10:05

มีอีกคำว่า เจ้าขรัว ค่ะ    เป็นคำไทยหรือเลือนจากจีน ไม่ทราบ  อาจจะต้องรอคุณ Ho
บางทีก็ใช้ปนๆกันในสมัยต้นรัตนโกสินทร์  อย่างชื่อเจ้าขรัวเงิน หรือเจ้าสัวเงิน เห็นใช้ทั้งสองแบบ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 03 เม.ย. 07, 10:59

คำว่า เจ้าขรัว มีแนวโน้มที่จะเป็นคำจีน เพราะเดิมก็ใช้เรียกคหบดีจีนเหมือนกันครับ

ที่มาของคำนี้ มีคนตั้งสมมติฐานไว้หลายข้อ แต่ยังไม่มีสมมติฐานไหนที่ผมเห็นว่าเข้าท่าเข้าทาง ขอเสนอสมมติฐานใหม่ครับ

น่าสังเกตว่า เจ้าขร้ว กับ เจ้าสัว มีความคล้ายกันอยู่มาก ความหมายเดียวกัน รูปคำเสียงคำผิดกันนิดเดียว

ดังนั้นขอเดาว่า เจ้าขรัว ก็คือ เจ้าสัว นั่นเอง แต่เป็น เจ้าสัว ที่พูดออกจากปากคนกินหมาก เพื่อไม่ให้น้ำหมากกระเซ็นออกมาตอนออกเสียง สัว ก็กลั้วไว้ในปากเป็น ขรัว ซะอย่างนั้น

เอ้อ... เดาล้วนๆนะครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 03 เม.ย. 07, 11:37

แต่ผมเห็นว่า น่าจะฟังแล้วมาทับศํพท์กับคำเดิมที่มีอยู่แล้วมากกว่า

เพราะคำว่า "ขรัว" แปลว่า

1. ค้น :  ขรัว
คำ :  ขรัว
เสียง :  ขฺรัว
คำตั้ง :  ขรัว
ชนิด :  น.
ที่ใช้ :   
ที่มา :   
นิยาม :  คำเรียกภิกษุที่มีอายุมาก หรือที่บวชเมื่อแก่ หรือฆราวาสผู้เฒ่าว่า ขรัว.
ภาพ :   
อ้างอิง :   
ปรับปรุง :  98/4/2

ฉะนั้นเมื่อมีคำว่า "เจ๊สัว" >>> "เจ้าสัว" เข้ามา เลยผันกลายมาเป็น >>> "เจ้าขรัว" อีกที

(( รึเปล่าครับ ?? สันนิษฐานล้วนๆ))
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 03 เม.ย. 07, 11:45

ก็เป็นไปได้ครับ

ปัญหาอย่างหนึ่งคือคำว่า เจ้าขรัว เข้าใจว่าจะเก่ากว่า เจ๊สัว และ เจ้าสัว นะครับ น่าจะต้องเพี้ยนเป็น ขรัว ตั้งแต่แรกๆที่รับคำจีนเข้ามาใช้เลยครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 03 เม.ย. 07, 11:54

มีอีกสองคำค่ะ ขรัวตา กับขรัวยาย   หมายถึงพ่อแม่ของเจ้าจอมมารดา 
บันทึกการเข้า
cannavaro
อสุรผัด
*
ตอบ: 37



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 03 เม.ย. 07, 12:21

กระทู้นี้ดีจังครับ เลยไปค้นคว้าเพิ่มเติม เจอในสกุลไทย ซึ่งน่าสนใจดีมากhttp://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=2986&stissueid=2590&stcolcatid=2&stauthorid=13

ท่านอธิบายคำว่าขรัวตา ขรัวยายว่า "....อาจจะมาจากภาษาจีนว่า ‘กั่ว’  ซึ่งแปลว่า ‘นอก’ อันหมายถึงญาตินอกสาย หรือสายนอกไม่ใช่ญาติสายในหรือสายตรง เพราะคนจีนนั้นนับ ปู่ย่า เท่านั้นว่าเป็นสายตรง จึงเรียกปู่ย่าว่า ไหล่กง (หรือไหล่ก๋ง) -ไหล่ม่า  ‘ไหล่’ แปลว่าตรงหรือสายตรง ส่วนตายายนั้นนับเป็นญาติสายนอก เรียกกันว่า กั่วกง (หรือกั่วก๋ง) -กั่วม่า ตั้งแต่สมัยอยุธยาโน้นจึงอาจเป็นได้ที่พระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านายใหญ่โต ได้ลูกสาวคนจีนเป็นพระสนม เมื่อมีโอรสธิดา พ่อตา แม่ยายได้เป็นตายายของเจ้า คือเป็นกั่วกง-กั่วม่า นานๆเข้า ‘กั่ว’ อาจกลายเป็น ‘ขวัว’ แล้วเป็น ‘ขรัว’ เข้าผสมกับคำภาษาไทยตายาย ประการหลังนี้เป็นเพียงการสันนิษฐาน อย่างที่เรียกกันว่าลากเข้าหาศัพท์เท่านั้น...."

แล้วแผ่นดินรัตนโกสินทร์ ยังเรียกมารดาบิดาของเจ้าจอมมารดาว่า ขรัวตา ขรัวยายอยู่หรือไม่ครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 03 เม.ย. 07, 12:38

*ผมพิมพ์ข้อความสวนกับคุณ cannavaro ชนเรื่องเดียวกันพอดี ระบบเตือนตอนจะโพสต์ถึงได้เห็น แต่ขออนุญาตไม่แก้นะครับ

ผมคิดว่า เจ๊สัว เจ้าสัว และ เจ้าขรัว น่าจะเป็นคำกลุ่มเดียวกัน

ในขณะที่คำไทยของเรามี ขรัว อยู่แล้วเป็นอีกกลุ่มหนึ่ง (ซึ่งอาจจะเป็นเหตุให้ จ่อซัว เพี้ยนเป็น เจ้าขรัว)

ที่น่าคิดคือ ขรัวตา กับ ขรัวยาย เป็นคำในกลุ่มแรกหรือกลุ่มที่สองกันแน่

คุณจุลลดา ภักดีภูมินทร์ เขียนลงในสกุลไทยดังนี้

            มีข้อสันนิษฐานต่อไปอีกถึงคำว่า ‘ขรัวตา-ขรัวยาย’

            ขรัว หรือที่จดหมายเหตุโบราณเขียนว่า ‘ขรัว’ นั้น

            อาจจะมาจากภาษาจีนว่า ‘กั่ว’  ซึ่งแปลว่า ‘นอก’ อันหมายถึงญาตินอกสาย หรือสายนอกไม่ใช่ญาติสายในหรือสายตรง

            เพราะคนจีนนั้นนับ ปู่ย่า เท่านั้นว่าเป็นสายตรง จึงเรียกปู่ย่าว่า ไหล่กง (หรือไหล่ก๋ง) -ไหล่ม่า  ‘ไหล่’ แปลว่าตรงหรือสายตรง

            ส่วนตายายนั้นนับเป็นญาติสายนอก เรียกกันว่า กั่วกง (หรือกั่วก๋ง) -กั่วม่า

            ตั้งแต่สมัยอยุธยาโน้นจึงอาจเป็นได้ที่พระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านายใหญ่โต ได้ลูกสาวคนจีนเป็นพระสนม เมื่อมีโอรสธิดา พ่อตา แม่ยายได้เป็นตายายของเจ้า คือเป็นกั่วกง-กั่วม่า

            นานๆเข้า ‘กั่ว’ อาจกลายเป็น ‘ขวัว’ แล้วเป็น ‘ขรัว’ เข้าผสมกับคำภาษาไทยตายาย

            ประการหลังนี้เป็นเพียงการสันนิษฐาน อย่างที่เรียกกันว่าลากเข้าหาศัพท์เท่านั้น แต่ฟังไว้ก็ไม่เสียหลาย


http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=2986&stissueid=2590&stcolcatid=2&stauthorid=13

ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับสมมติฐานนี้นัก เพราะเสียง กั่ว ของจีนแต้จิ๋วนั้น จะออกเสียงครึ่ง กั่ว ครึ่ง หวั่ว ชอบกล เป็นเสียงที่คนไทยออกเสียงไม่ได ยิ่งพิลึกเข้าไปใหญ่ที่คนไทยจะเรียก กั่วกง-กั่วม่า ว่า กั่วตา, กั่วยาย เพราะฟังไม่ได้ศัพท์เลย

ผมคิดว่า ขรัวตา ขรัวยาย ไม่ได้มาจากภาษาจีนโดยตรง เพราะฟังแล้วไม่คุ้น จีนแต้จิ๋ว(และอื่นๆเท่าที่รู้จัก)ไม่มีเสียงควบกล้ำแบบนี้ครับ
ดูจากข้อสันนิษฐานของคุณจุลลดา เป็นไปได้ที่ ขรัวตา ขรัวยาย จะกร่อนจาก เจ้าขรัวตา เจ้าขรัวยาย โดยที่เจ้าขรัว ก็คือ จ่อซัว ที่กลายเสียงไปเนื่องจากอิทธิพลของคำ ขรัว ครับ

อีกจุดหนึ่งในบทความของคุึณจุลลดานี้ เรื่องที่คุณศิรินาว่า จ่อซัวแปลว่านั่งบนเขา อันนี้ลูกจีนฟังแล้วเหวอครับ จริงอยู่ที่จ่อซัวแปลว่านั่งบนเขาได้ แต่ในที่นี้ไม่ได้ความอย่างนั้นครับ จ๋อ ในที่นี้เป็นคำวิเศษณ์ "หลักฐานมั่นคง" ไม่ใช่กริยา "นั่ง" อย่างที่ว่าครับ อันนี้เจ๊กเครียดครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 03 เม.ย. 07, 13:51

ตอบค.ห. 8
แล้วแผ่นดินรัตนโกสินทร์ ยังเรียกมารดาบิดาของเจ้าจอมมารดาว่า ขรัวตา ขรัวยายอยู่หรือไม่ครับ
คำนี้ใช้สมัยรัตนโกสินทร์ค่ะ    อย่างน้อยในรัชกาลที่ ๕  ใช้แน่ๆ  อาจจะสืบทอดมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ หรือขึ้นไปก่อนหน้านั้นอีก
บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 31 พ.ค. 18, 13:24

ขอนุญาตเพิ่มข้อมูลกระทู้เก่านี้ ด้วยผมพบผู้นำความในกระทู้ที่นี้ไปอ้างอิง....

ด้วยนักวิจัยจีนท่านตั้งฉายาศัพท์ เจ้าสัว หรือ 座山 ว่า “ ฮวงแคะอ่วย ”

番客话 หมายถึง ภาษาต่างด้าวที่พ่อค้าจีนนำติดกลับไปบ้านเกิด....

นั่นหมายความว่า ‘ เจ้าสัว ’ ที่ชอบจะบอกว่ามาจากคำจีนนั้น ความจริงแล้วมิใช่คำจีนแท้แต่อย่างไร.......

การศึกษาของ 张双庆 และ 潘家懿 ที่พิมพ์เผยแพร่โดย มหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง ระบุว่า

เจ้าสัว หรือ 座山 เป็นคำที่คนจีนแต้จิ๋วในไทยได้รับเอาคำไทยมาใช้ ท่านเรียกเป็นภาษาวิชาการว่า “ 泰化潮语 ”

泰语中的潮汕方言词汇试析
http://dialects.jnu.edu.cn/06/niankan/01/20090125B.pdf

泰国的潮州人
http://china-chaoshan.blogspot.com/
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 31 พ.ค. 18, 13:32

เป็นคนไม่รู้ภาษาจีนค่ะ
ขอความกรุณาคุณNamplaeng ช่วยขยายความด้วยค่ะ
สรุปว่า เจ้าสัว เจ๊สัว เป็นภาษาไทยทั้งสองคำหรือคะ
บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 31 พ.ค. 18, 13:45

ความในเอกสารที่อ้างทั้งสองหน้า ได้ความสรุป 4,5 บรรทัดข้างต้นครับ ว่า เจ้าสัว หรือ 座山 ที่คนในเมืองแต้จิ๋วใช้ เป็นคำที่รับเอาจากภาษาไทยครับ

แต่ความในเอกสารไม่ได้ระบุว่า มาจากคำไทยว่าอะไร ทั้งไม่ได้กล่าวถึงศัพท์ เจ๊สัว ที่ใช้ในไทยครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 31 พ.ค. 18, 13:53

จาก วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาไทย) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่องการศึกษาเชิงวิเคราะห์คำยืมจากภาษาจีนในภาษาไทย ของนางสาวกว่างลี หวง หน้า ๖๕


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.091 วินาที กับ 20 คำสั่ง