เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 29175 เจ้าแม่กวนอิม
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 28 ส.ค. 07, 16:19

           ต่อไปประการที่สอง ความไม่สมบูรณ์ในการทำความดีของพระโพธิสัตว์

เพราะเหตุที่พระโพธิสัตว์ยังไม่ตรัสรู้ ยังไม่หลุดพ้นจากกิเลส ยังไม่รู้แจ้งสัจธรรม การทำความดีของท่านนั้นจึงทำ
โดยยังไม่มีปัญญาสูงสุด ที่รู้ธรรมแจ่มแจ้ง ความดีนั้นเป็นเรื่องของธรรม แต่ผู้ที่จะประพฤติธรรมได้สมบูรณ์จะต้องรู้สัจธรรม
รู้ความจริงของธรรมชาติทั้งหมด
           ทีนี้ความดีที่เรานำมาประพฤติปฏิบัตินั้นตั้งอยู่บนฐานของสัจธรรมคือตัวความจริงในธรรมชาติในกฎของธรรมชาติ
พระโพธิสัตว์ยังไม่รู้ยังไม่เข้าถึงความจริงอันนั้นแล้ว ท่านทำความดีได้อย่างไร ?

       ท่านก็ทำตามที่รู้ที่เข้าใจยึดถือกันอยู่ในโลก ในสังคมมนุษย์ยุคนั้น ๆ ที่ยึดถือว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดีเป็นความดี
อันนั้นท่านทำเต็มที่ ท่านทำให้ถึงที่สุดอย่างที่ไม่มีคนอื่นทำได้ ความดีในความหมายที่มนุษย์จะทำได้ทั่วไป พระโพธิสัตว์ต้อง
ยอดเยี่ยมทำได้สูงสุด

          จุดที่ไม่สมบูรณ์อยู่ที่ว่า ท่านทำได้แค่นั้นแหละ แค่เท่าที่มนุษย์รู้ว่าอะไรคือความดี ท่านไม่ได้ทำด้วยปัญญาที่รู้แจ้งสัจธรรม
ไม่เหมือนพระอรหันต์ที่ท่านทำด้วยรู้แจ้ง มีปัญญาหยั่งรู้ถึงสัจธรรมด้วยความจริงเห็นความสัมพันธ์ในกฎธรรมชาติด้วยปัญญาถ่องแท้

          เรื่องที่ว่ามานี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับหลักในพระพุทธศาสนาซึ่งเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เราควรจะมีความรู้เข้าใจ
ถ้าเรามีความรู้เข้าใจเป็นหลักอยู่อย่างนี้แล้ว เราจะไม่หวั่นไหว เราจะวางตัวได้ถูกต้อง และเราก็จะเดินไปในทางสู่ความก้าวหน้า
ในหลักพระพุทธศาสนายิ่ง ๆ ขึ้นไป
          มิฉะนั้นแล้ว เราจะถูกดึงเฉออกไปจากหลักพุทธศาสนา จากหลักการที่ถูกต้อง นอกจากหล่นจากพุทธศาสนาแล้วก็อาจจะ
แกว่งไกวไถลลงไปสู่ความเสื่อมได้

          ขอให้เรามีศรัทธาที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า อย่างน้อยให้มีคุณสมบัติของอุบาสก
อุบาสิกาที่ดี ตั้งแต่ข้อ ๑ เริ่มต้นด้วยศรัทธาที่ถูกหลักพระศาสนา เชื่ออย่างมีหลักการ มีเหตุผล ไม่งมงาย มั่นในคุณพระรัตนตรัย เป็นต้น
ไปจนกระทั่งข้อที่ ๓ ที่ยกมาพูดเป็นพิเศษว่าสัมพันธ์กับยุคนี้ คือ ไม่ตื่นข่าวมงคล หวังผลจากกรรม ไม่หวังผลจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์เทวฤทธิ์
ปาฏิหาริย์ ดังที่กล่าวมาแล้ว

             ขอให้โยมมีความเจริญงอกงามในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปโดยทั่วกันทุกท่าน เทอญ

(จบ)

              /|\
บันทึกการเข้า
หมีใหญ่
แขกเรือน
มัจฉานุ
**
ตอบ: 86

ดูแลกิจการของทางครอบครัวเกี่ยวกับการปลูกป่ายูคา และอื่นๆ


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 08 ก.ย. 07, 12:13

ที่คุณศิลานำคำจากพระพรมคุณาภรณ์มาถ่ายทอดให้อ่านกัน พอเป็นแนวคิดในการนับถือพระโพธิสัตว์ได้ครับ การนับถือทางศาสนาพุทธ ท่านขอให้เป็นการปฏิบัติบูชา ดังนั้น สำหรับพระโพธิสัตว์กวนอิม ข้อที่น่ายกย่องของท่านคือความเมตตา ถ้าหากว่าเราจะนับถือพระโพธิสัตว์กวนอิม สิ่งที่ต้องทำคือเราต้องมีความเมตตาครับหรืออย่างจตุคาม ที่กำลังเห่อกันอยู่ในปัจจุบันนี้ก็ต้องดูว่าคุณธรรมคืออะไร คือการปกป้องพุทธศาสนา ดังนั้น ถ้าเราจะนับถือก็คือต้องรู้จักศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าและปกป้องพุทธศาสนาครับ ในชาดกเรื่องต่างๆ ก็เช่นกันสามารถนำมาเป็นข้อเตือนใจได้ในทุกๆเรื่องขอให้เรารู้จักการนับถือแบบปฏิบัติบูชามากกว่าอามิสบูชาจะช่วยให้เรามีชิวิตที่ดีขึ้นครับ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 18 ก.ย. 07, 16:45

สาธุ สาธุ สาธุ

ย้อนไปนิดหนึ่ง ขอตอบคุณ CH และเรียนคุณ Bana ที่นับถือครับ (ไม่ใช่ว่าผมไม่นับถือคุณ CH นะครับ แต่ผมถือว่าสนิทกันรู้จักกันมานานแล้ว ส่วนคุณ Bana เป้นเพื่อนใหม่ต้องสุภาพให้เกียรตินิดหนึ่ง....)

พระยูไล หรือยู่ไหล คุณ CH ว่าเป็นพระธยานิพุทธนั้น ก็เป็นไปได้ครับถ้าเราถือตามความเชื่อระบบนั้นคือระบบของทางมหายาน แต่ผมเข้าใจว่าเวลาเอาศัพท์คำนี้มาใช้ โดยเฉพาะในตำนานจักรๆ วงศ์ๆ จีน น่าจะหมายถึงพระพุทธเจ้าองค์ใดก็ได้ (มหายานว่ามีหลายองค์ เถรวาทเราบางสายก็ว่ายังงั้น) จะให้รวมพระธยานิพุทธก้ได้ และจะหมายถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวเราทั้งหลายด้วยก้ได้ แล้วแต่บริบทหรือความตั้งใจของคนที่พูดตอนนั้นว่าจะให้หมายถึงพระพุทธเจ้าองค์ไหนครับ

แต่ถ้าว่าโดยศัพท์แล้ว ยุ่ไหล ยู่ไล้ ยูไล หรู่ไหล (สำเนียงจีนกลาง) นั้น ความหมายโดยรูปศัพท์ตรงกับคำว่า "ตถาคต" ครับ ซึ่งในทางเถรวาทนั้นเราก็คงรู้กันอยู่ว่า เป็นคำที่พระพุทธเจ้า (ของเรา คืออดีตเจ้าชายสิทธัตถะหรือพระพุทธเจ้าองค์ในประวัติศาสตร์ ไม่ใช่ของมหายาน คือพระอมิตาภะและอีก ฯลฯ พุทธเจ้า) ท่านทรงใช้แทนตัวท่านเอง ว่า - เราตถาคต - เคยเห็นกันใช่ไหมครับ

ตถ - เช่นนั้น คต - ไป (เช่น สววรคต แปลว่าไปสวรรค์ คือตาย)
หรู่ จีนกลางว่า คล้าย เปรียบดั่ง เป็นเช่นนั้น เป็นอย่างนั้น  ไหล ภาษาจีนแปลว่ามา ก็อนูโลมว่าคือการเคลื่อนที่ ไปๆ มาๆ แหละ

แล้วรวมกันแปลว่ายังไงล่ะ? มีคนแปล ตถาคต ไว้ว่า "พระผู้เสด็จไปดีแล้วเช่นนั้น" ครับ
หรือแปลอีกทีว่า ท่านผู้ไปถึงแล้วซึ่งความเป็นเช่นนั้น ความเป็นอย่างนั้น
แปลว่าอะไร? ยังงงอยุ่?
ท่านพุทธทาสภิกขุ ท่านเคยให้หลักธรรมะหรือปรัชญาสำคัญมาก คือคำว่า ตถตา แปลว่า ความเป็นเช่นนั้นเอง รู้แจ้งตระหนักถึงตถตาได้นี่ เข้านิพพานได้เลยนะครับ

ความเป็นเช่นนั้นเอง คือสภาพธรรรมชาติธรรมดาของสภาวะธรรมทั้งปวง ใครตระหนักรู้ได้แล้ว รู้แล้ว ไปถึงแล้ว แล้วนำผู้อื่นให้ตามไปตระหนักรู้ตามถึงตามท่านได้ด้วย ก้คือ พระพุทธเจ้า ผู้ตรัสเรียกแทนพระองค์เองว่า (เราผู้เป็น) ตถาคต ครับ   
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 19 ก.ย. 07, 00:04

ตามรอยพี่นกข.ไปค้นใน wiki ได้ความอย่างนี้จริงด้วย เอาลิงก์มาฝากครับ

http://en.wikipedia.org/wiki/Tathagata
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 19 ก.ย. 07, 00:36

ขอบคุณครับสำหรับลิ้งก์

บทสวดบูชาเจ้าแม่กวนอิมในเว็บ

นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก ( กราบที่ 1 )
นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก ( กราบที่ 2)
นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก ( กราบที่ 3)
นำโมฮู๊ก นำโมหวบ นำโมเจ็ง นำโมกิวโค่ว กิวหลั่ง กวงสี่อิมผู่สัก ทั่งจี้โต โอม เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต เกียออฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ซ่าผ่อออ เทียงล้อซิ้ง ตี่ล้อซิ้ง นั้งลี่หลั่ง หลั่งหลีซิง เจ็กเฉียก ใจเอียง ห่วยอุ่ยติ๊ง นำโมม่อออ ปวกเยี่ยปอล้อบิ๊ก

ผมกำลังจะชวนคุณ CH เล่นเกมถอดรหัสดาวินชีครับ เข้าใจว่าคาถานี้เป็นสำเนียงแต้จิ๋ว จะถอดกลับไปหาจีนกลางได้หรือไม่ และเมื่อกลับไปจีนกลางแล้ว ก็ยังอาจไม่ค่อยรู้เรื่องอยู่ดี เพราะเป็นการที่จีนเลียนเสียงภาษาบาลีสันสกฤต จะถอดกลับไปหารากได้ไหม?
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 19 ก.ย. 07, 00:42

ผมประเดิม (ขี้โกง) เอาง่ายๆ ก่อน ยากๆ ทิ้งให้คุณ CH
นำโม นั้น คือ นโม แน่ กวนสี่อิมผู่สัก ก็กวนซื่ออิมโพธิสัตว์ แน่ๆ เหมือนกัน
ดูเหมือน ไต๋ชื้อ ฯลฯ นั้นจะแปลว่า มหากรุณา มหาปรานี อะไรทำนองนั้น?

นำโมฮุก นำโมฮวก นำโมเจ็ง นั้น เป็นคาถาบูชารัตนตรัย คือ นโมพุทธ นโมธรรม นโมสงฆ์ อูด - พุทธ ฮวก - ฝ่า (ธรรม) เจ็ง (เซิง) ดูเหมือนแปลว่าภิกษุ อย่างถังเซิง
โอม ชัดอยู่แล้ว เกียล้อฮวดโต ผมนึกถึง อรหโต ทำไมก็ไม่รู้เหมือนกัน
นำโมม่อออ ปวกเยี่ยปอล้อปิ๊ก ดูเหมือนจะเป็น นโม มหา ปัญญาบารมี ?
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 19 ก.ย. 07, 16:03

อยู่ดีๆท่านพี่นกข.ชวนหาเรื่องปวดหัวซะแล้ว

ดูจากคำแล้ว บทสวดจีนนี่โหดหินมาก เพราะบางคำเอาภาษาจีนสวมไปแล้ว ส่วนที่ทับศัพท์ก็น่าสงสัยว่าสำเนียงอะไรแน่ ยอมแพ้ดีกว่า  ลังเล
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
ภูมิ
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 196


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 21 ก.ย. 07, 17:17

ค้นมาได้ว่า

นำโม ไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก
南無 大慈 大悲 救苦 救難 広大霊感  観世音菩薩

แต่บางที่มี 広大霊感白衣観世音菩薩  แทรกอยู่ด้วย (น่าจะอ่านว่า แปะอี่ หรือเปล่า)

ส่วนที่เหลือน่าจะเป็น

南無仏 南無法 南無僧 南無救苦救難観世音菩薩
怛只哆唵 伽羅伐哆 伽羅伐哆 伽訶伐哆 伽羅伐哆 伽羅伐哆 娑婆訶
天羅神 地羅神 人離難 難離身 一切災殃化為塵 南無摩訶般若波羅蜜

นำโมฮู๊ก นำโมหวบ นำโมเจ็ง นำโมกิวโค่ว กิวหลั่ง กวงสี่อิมผู่สัก ทั่งจี้โต โอม เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต เกียออฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ซ่าผ่อออ เทียงล้อซิ้ง ตี่ล้อซิ้ง นั้งลี่หลั่ง หลั่งหลีซิง เจ็กเฉียก ใจเอียง ห่วยอุ่ยติ๊ง นำโมม่อออ ปวกเยี่ยปอล้อบิ๊ก

แต่วรรคล่างนี้ผมยังไม่ได้ลองไล่เทียบทีละตัว (เริ่มขี้เกียจ + ตาลาย) เท่าที่ดูผ่านๆ รู้สึกตรงกลางจะเพี้ยนๆ


บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 23 ก.ย. 07, 15:53

โอ้โห....
อาริงาโตะโกซัยมัส หลายๆๆๆ คารวะในความพยายามครับ  ยิ้มกว้างๆ

คุณ CH จะขี่ช้างหลบอยู่ภายใต้ร่มไม้ต่อไปใยเล่า คุณภูมิอุตส่าห์ไปหามาจนได้ขนาดนี้แล้ว ขอเชิญท่านจอมยุทธ CH ไสช้างออกมาสำแดงวรยุทธสะท้านโลกทางภาษาให้ข้าพเจ้าตื่นตาอีกสักครั้งเทอญ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 23 ก.ย. 07, 16:23

ผมไม่รู้ภาษาจีนแต้จิ๋วเลยก็ว่าได้ ภาษาจีนกลางก็รู้งูๆ ปลาๆ ม้าๆ เสือๆ หมาหม่าฮูฮู บาลีสันสกฤตยังไม่ต้องพูดถึง เพราะฉะนั้นอย่าเชื่อการเดาของข้าพเจ้ามาก ควรฟังไว้ทีหนึ่งแค่นั้นพอ และผมจะยินดีมากหากท่านที่รู้มากกว่ากรุณาเข้ามาช่วยขัดคอ เอ๊ย ให้วิทยาทานครับ

ก่อนคุณภูมิเอาบทสวดภาษาจีนอักษรจีนมาแปะ ผมก็พยายามค้นเอง ค้นไปค้นมาได้บทสวดตัวอักษรไทยอีกบท บูชาพระอวนอิมเหมือนกัน แต่ดูแล้วเป็นภาษาจีนแต่ชื่อกับรูปแบบ คนจีนมาฟังก็ไม่รู้เรื่อง เพราะดูเหมือนเป็นความพยายามที่จะเขียนภาษาสันสกฤตด้วยตัวจีนทั้งบท เช่นพระคาถาบาทแรก ว่า นำ มอ ฮอ ลอ อัน ตอ นอ ลา เหย่ เย...

รับรอง คนจีนไม่ว่าจะสำเนียงไหนฟังไม่รู้เรื่องแน่ๆ เผลอๆ จะนึกไปถึงหนังผีจีนชุดโปเยโปโลเย ด้วยซ้ำไป แต่คนไทยอย่างผมคันปากอยากจะเดามาก ๆว่า คือ นโม อรหันต นร  ... yeh yeh (ไม่รู้จะถอดต่อยังไง) ทำนองนี้จนจบบท ขอไม่เอามาลงนะครับ

แต่ทีนี้ชื่อพระคาถาที่ว่านั้น เผอิญมีแปลเป็นไทยด้วย เขาบอกว่า บทสวดนี้ คือ มหากรุณาธารณีสูตร (ไต้ปุยจิ่ว) ชื่อรองว่า โชยชิ่วโชยงั่งบ่อไหงไต่ปุยซิมทอลอนีจิ่ว

อะฮ้า - เห็นคำว่า ไต้ปุย เหมือนในบทบูชาเจ้าแม่กวนอิมบทที่แล้วแล้ว ฉะนั้นฟันธงซะเลยว่า แปลว่ามหากรุณา ! (ตอนนั้นยังไม่เห็นตัวอักษรจีนที่คุณภูมิเอามาแปะครับ)

โชยชิ่วโชยงั่ง ฯลฯ นั้นเดาแปลได้ว่า พันกรพันเนตร (อันเป็นลักษณะปางหนึ่งของเจ้าแม่กวนอิม) ทอลอนีจิ่ว นั้นเห็นได้ชัดว่าทับศัพท์ ธารณี ของทางสันสกฤต
 

บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 23 ก.ย. 07, 16:32

ที่ภูมิซังค้นมา ว่าในบางแหล่งมีคำ แปะอี ด้วย ก้คงแปลว่าเป็นคาถาบูชาเจ้าแม่กวนอิม "ชุดขาว" นั่นเอง

เห็นตัวจีนแล้วอ่านเพิ่มได้อีกหน่อยว่า เทียงหล่อซึ่ง ตี้หล่อซึ้ง - เทพยดาฟ้าดิน

ซำผ่อออ ถ้าเป็นจีนกลาง เห็นจะออกเสียงคล้ายๆ ซาผะอา และผมขอมั่วว่า คือ สัพเพ - สรรพ - ทั้งหมดทั้งปวง เวลาแผ่เมตตตาเรายังแผ่ให้สัพเพสัตตาเลยนี่ครับ

 = "สรรพ เทพฟ้าเทพดิน และมนุษย์ทั้งหลาย" ฮืม 
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 24 ก.ย. 07, 13:07

ขออำภัยครับ ตอนนี้กะลังหมกมุ่นอยู่กับอีกโปรเจ็คท์นึง เชิญท่านทั้งหลายไสช้างเข้าชนกันไปพลางๆก่อนนะครับ ป่าราบเมื่อไหร่ผมอาจจะมาแจม  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 24 ก.ย. 07, 13:56

อ้าว ท่านจอมยุทธไม่เมตตาซะแล้ว
ผมลองมั่วของผมต่อไปพลางๆ ระหว่างรอ

เปิดพจนานุกรมราชบัณฑิตฯ ดู ธารณี แปลทำนองว่า ทั่วไปหมด (สาธารณะ ก็มาจากรากศัพท์เดียวกัน) มหากรุณาธารณีจึงแปลว่าความกรุณาอันไพศาลยิ่งใหญ่ไม่มีจำกัดไม่มีประมาณ ตรงกันอีกกับเวลาแผ่เมตตาในทางพุทธเถรวาทของเรา ที่ขึ้นว่า สัพเพ สัตตา ... นั่นแหละครับ พระอาจารย์ท่านสอนไว้ว่า เวลาแผ่เมตตาต้องทำใจให้กว้างขวางแผ่ออกไปโดยไม่จำกัด แผ่ออกไปทั่วไปหมด

ทอ ลอ นี ของจีนก็ ธารณี นั่นเอง

(ดูเกมที่เรากำลังเล่นอยู่ตอนนี้ คล้ายๆ กับที่ครูนักโบราณคดี/ประวัติศาสตร์ยุคโน้นท่านพยายามจะถอด โทโลโปตี้ ออกมาเป็น ทวารวดี อยู่ชอบกลแฮะ-)
บันทึกการเข้า
NgaoMak
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 13 ก.พ. 08, 18:36

如來 เป็นศัพท์บัญญัติ มาจากคำว่า"ตถาคต"

ส่วนตำนานพระโพธิสัตว์ผู้หญิง ทางประเทศเพื่อนบ้านเราก็พบหลักฐานทางโบราณคดี รูปเคารพนางตารา นางปรัชญาปารมิตา


นางปรัชญาปารมิตาปางพันมือ


นางตารา แบบลังกา

บันทึกการเข้า
NgaoMak
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 13 ก.พ. 08, 18:44


มีพระพุทธรูปที่มวยผม


นี่คือรูปเคารพนางปรัชญาปารมิตา






พระไภษัชยคุรุ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 19 คำสั่ง