เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ทุกวันนี้ ไม่ว่าผ่านไปที่ไหนไม่ว่ากรุงเทพ หรือตามต่างจังหวัด เรามักจะเห็นรูปเจ้าแม่กวนอิม ทั้งที่เป็นรูปปั้น
หรือภาพวาด ให้เคารพบูชากันตามสถานที่ต่างๆ แม้แต่ในวัด ความจริงวัดไทยที่มีโบสถ์ และช่อฟ้าแบบไทย ทั้งร้อยละร้อยเป็นวัดของพุทธศาสนานิกายเถรวาท แต่เจ้า
แม่กวนอิมนั้นเป็นภาคหรือปางหนึ่งของพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนานิกายมหายาน เมื่อครั้งพุทธกาลและหลังจากนั้นอีกหกร้อยปี พุทธศาสนายังไม่ได้แยกเป็นนิกาย ยังคงมีหนึ่งเดียว จนพุทธ
ศตวรรษที่ ๖-๗ จึงเริ่มมีนิกายมหายานแยกออกไปจากพุทธศาสนาแบบดั้งเดิม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 23 มี.ค. 07, 22:33
|
|
พระโพธิสัตว์ปางนี้ เรารู้จักกันในนามกวนอิมเป็นส่วนมาก โดยรับความเชื่อนี้ผ่านมาจากทางจีนอีกทีหนึ่ง แต่อันที่จริง พระโพธิสัตว์ปางนี้เป็นที่รู้จักของคนในดินแดนสุวรรณภูมิมานานมากกว่าหนึ่งพันปีแล้วครับ โดยรับมาจากอินเดียโดยตรง ใครจะไปคิดว่ารูปสลักที่ปราสาทบายนในรูปนี้คือพระโพธิสัตว์องค์เดียวกับเจ้าแม่กวนอิมได้ครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
ศศิศ
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 24 มี.ค. 07, 00:40
|
|
ส่วนใหญ่ว่ากวนอิมก็คือ โพธิสัตว์อวโลกิเตศวร แต่ผมก็ไม่เข้าใจอยู่ดีว่า เกี่ยวพันกันอย่างไร ในตำนานใดน่ะครับผม 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
- ศศิศ -
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 24 มี.ค. 07, 12:52
|
|
ใช่แล้วครับ พระโพธิสัตว์องค์นี้ก็คือพระอวโลกิเตศวรในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานนั่นเอง
อวโลกิเตศวร มาจาก อว + โลกิต + อิศวร อว แปลว่า เบื้องล่าง โลกิต แปลว่า สอดส่อง อิศวร แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ แปลรวมความว่า อวโลกิเตศวร คือ ผู้เป็นใหญ่ที่สอดส่องความเป็นอยู่ของเบื้องล่าง(คือโลกมนุษย์)นั่นเอง
ซึ่งเมื่อจีนรับพุทธศาสนานิกายมหายาน จึงเรียกพระโพธิสัตว์องค์นี้ว่า 观世音(กวานซื่ออิน) หรือ 观音(กวานอิน) 观 แปลว่า สอดส่อง 世 แปลว่า โลก 音 แปลว่า เสียง คือผู้สอดส่องสรรพเสียงในโลกครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 25 มี.ค. 07, 01:11
|
|
โดยความเชื่อในศาสนาพุทธนิกายมหายาน พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเป็นพระโพธิสัตว์ในประเภทพระธยานิโพธิสัตว์ คือเป็นผู้ที่บำเพ็ญบารมีจนบริบูรณ์ สามารถจะหลุดพ้นจากสังสารวัฏทุกเมื่อ แต่เลือกที่จะอยู่โปรดสัตว์ผู้ยากต่อไป โดยเฉพาะชื่ออวโลกิเตศวรเอง ก็หมายถึงการสอดส่องดูแลความทุกข์ยากของสัตว์ผู้ยากเหล่านี้ และด้วยชื่อเช่นนี้เอง จึงเป็นที่มาของใบหน้าพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 216 หน้ามองลงมาจากทุกด้านในปราสาทบายน ใจกลางนครธม ซึ่งเป็นศาสนสถานเนื่องในศาสนาพุทธ นิกายมหายานครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 25 มี.ค. 07, 01:34
|
|
"โอม มณี ปัทเม หุม" มนตร์บทนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย มีที่มาจากศาสนาพุทธนิกายวัชรยานในธิเบต ถือเป็นมนตร์ประจำองค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และด้วยความเชื่อว่าพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรอยู่เวียนว่ายตายเกิดเพื่อโปรดสัตว์ผู้ยาก ปัจจุบันพระอวโลกิเตศวรจึงยังอยู่ในโลกมนุษย์นี้ด้วย  ครับ ดาไล ลามะ ก็คือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรนั่นเองครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
ศศิศ
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 25 มี.ค. 07, 01:46
|
|
สิ่งที่ผมยังสงสัยอยู่ เกี่ยวกับโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร กับ โพธิสัตว์กวนอิม
มันเป็นการแตกแขนง จากสิ่งหนึ่งเป็นสิ่งหนึ่ง
หรือเกิดจากการรวมกันของสองสิ่ง เป็นสิ่งเดียวกันละครับผม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
- ศศิศ -
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 25 มี.ค. 07, 01:48
|
|
ใช่ครับคุณศศิศ ผ่านมาหลายความเห็น ยังไม่มีวี่แววว่าพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรจะคล้ายกับเจ้าแม่กวนอิมที่เรารู้จักตรงไหน
ที่เป็นอย่างนี้เพราะว่าโดยความเชื่อของนิกายมหายานต้นตำรับในอินเดีย พระอวโลกิเตศวรปรากฏในรูปบุรุษตลอดครับ
แม้แต่ในจีนเอง ยุคแรกๆที่รับศาสนาพุทธเข้ามา พระอวโลกิเตศวรก็ยังปรากฏลักษณะเป็นบุรุษ จนเมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 มานี้เองที่พระอวโลกิเตศวรกลายเป็นเจ้าแม่กวนอิมที่เป็นสตรีแบบเบ็ดเสร็จครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 25 มี.ค. 07, 02:38
|
|
ตำนานเจ้าแม่กวนอิมในจีนนั้นมีหลายตำนาน มีรายละเอียดแตกต่างกันไปบ้าง แต่โดยหลักแล้วมีเนื้อหาดังนี้ครับ
กาลครั้งหนึ่งมีเจ้าหญิงซึ่งมีพระนามว่าเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน (妙善) เจ้าหญิงพระองค์นี้มีความเลื่อมใสในศาสนาพุทธเป็นอย่างมาก หากเมื่อเจริญพระชนม์จนสมควรมีคู่ครองแล้ว พระบิดาปรารถนาให้เจ้าหญิงอภิเษกกับชายผู้ทีร่ำรวยเงินทอง
เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านตรัสว่า จะยอมตามพระทัยพระบิดาหากการอภิเษกนั้นสามารถทำให้ความปราถนา ๓ ประการของพระองค์เป็นจริง ความปราถนานั้นได้แก่ ๑. ความทุกข์อันเกิดจากความชราที่ไม่อาจหยุดยั้งได้ของผู้คน ๒. ความทุกข์จากความเจ็บป่วยของผู้คน ๓. ความทุกข์จากความตายของผู้คน ซึ่งถ้าความปรารถนาของพระองค์สัมฤทธิ์ผลแล้ว พระองค์จะสละทางธรรมทันที
แน่นอนว่าพระบิดาไม่สามารถทำได้ พระองค์จึงบีบบังคับให้เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านทำงานหนัก จำกัดอาหารให้แต่น้อย เพื่อหวังให้เจ้าหญิงท้อถอย
ด้วยความเด็ดเดี่ยว นอกจากเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านจะยืนยันไม่ยอมเข้าพิธีอภิเษกแล้ว สิ่งเดียวที่พระองค์ขอคือ ขอออกบวชเป็นภิกษุณี
พระบิดายอมให้เจ้าหญิงบวชได้ แต่ไม่ลืมกำชับให้พระในวัดบังคับให้พระองค์ทำงานหนักยิ่งขึ้นไปกว่าเดิมอีก
แต่ถึงต้องทำงานหนักอย่างไร เจ้าหญิงไม่เคยปริปากบ่น จนในที่สุดพระบิดากริ้วจนสั่งให้เผาวัดให้วอดวาย
ในขณะที่ไฟไหม้วัดจนวอดวาย เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านกลับเดินออกจากกองเพลิงโดยไม่มีวี่แววว่าจะถูกไฟลวกแต่อย่างใด ถึงตอนนี้พระราชาผู้โหดร้ายสั่งให้ประหารชีวิตเจ้าหญิงพระธิดา
ถึงตรงนี้ แต่ละตำนานมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป
บ้างว่าเจ้าหญิงถูกประหาร แต่เมื่อวิญญาณถูกนำไปพบกับมัจจุราชในนรก นรกนั้นกลับกลายเป็นสวรรค์ จนมัจจุราชต้องส่งเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านกลับมายังโลกมนุษย์เพื่อป้องกันความวิบัติของนรกภูมิ
บางตำนานก็ว่าเมื่อจะถูกประหาร ขวานของเพชรฆาตกลับแตกเป็นเสี่ยงๆ ครั้นจะยิงด้วยเกาทัณฑ์ ลูกเกาทัณฑ์ก็วิ่งผ่านไปไม่สามารถทำอันตรายได้ จนในที่สุดเพชรฆาตต้องใช้มือเปล่าทำร้ายเจ้าหญิงจนตาย ทั้งนี้เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านได้ขอรับกรรมที่เพชรฆาตได้ทำไว้ จึงเป็นเหตุให้พระองค์ต้องไปนรกจนเกิดเหตุป่วนนรกตามตำนานข้างต้น
ในขณะที่บางตำนานก็ว่าเพชรฆาตไม่สามารถประหารเจ้าหญิงได้ เพราะมีเสือเทพยดามารับเจ้าหญิงไป
แต่ไม่ว่าจะเป็นตำนานไหน ก็จบลงด้วยการที่ว่า เจ้าหญิงกลายเป็นเจ้าแม่กวนอิม และพระบิดาซึ่งสำนึกในความผิดของพระองค์ก็โปรดให้สร้างวัดบนภูเขาถวาย หลังจากนั้นเจ้าแม่กวนอิมจึงได้ไปสู่สรวงสวรรค์ แต่ระหว่างการเดินทางนั้นเอง พระองค์ได้ยินเสียงแห่งความทุกข์ยากของมนุษย์บนโลก จึงตัดสินใจกลับมาลงมาบนโลกและตั้งปณิธานว่าจะไม่ยอมจากไปจนกว่าผู้คนทั้งหลายจะพ้นจากความทุกข์ยากเสียก่อน
ว่ากันว่า หลังจากกลับมาบนโลกแล้ว เจ้าแม่กวนอิมได้ไปบำเพ็ญภาวนาอยู่ที่ผู่ถัวซาน(普陀山) เพื่อช่วยเหลือพวกชาวเรือและชาวประมงต่อมาอีกหลายปี เป็นเทพที่ชาวเรือให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมากครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 25 มี.ค. 07, 02:48
|
|
น่าสังเกตว่าตำนานเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านดังกล่าว น่าจะเป็นเป็นตำนานชาวเรือ ดูทีแล้วเป็นความเชื่อท้องถิ่นมาก่อน และรวมเข้ากับพระอวโลกิเตศวร(กวนอิม) ด้วยความที่เป็นสัญญลักษณ์แห่งความเมตตา เป็นที่พึ่งของผู้คน จนในที่สุดความเชื่อนี้แพร่หลายมากขึ้น จึงส่งผลให้พระโพธิสัตว์กวนอิมกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับตำนานเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านครับ
หลักฐานที่ปรากฏในญี่ปุ่นเองก็สอดคล้องกัน เพราะรูปเคารพพระอวโลกิเตศวรยุคเก่ามีลักษณะเป็นบุรุษ และมากลายเป็นสตรีในภายหลังครับ
ญี่ปุ่นจะเรียกชื่อพระอวโลกิเตศวรตามอย่างจีน แต่ออกเสียงว่า คัน-นน(kannon) หรือ คันเซ-อน (kanzeon) ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 25 มี.ค. 07, 03:01
|
|
การหลอมรวมของความเชื่อท้องถิ่นในลักษณะนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกครับ พบได้ทั่วไป แต่เรื่องหนึ่งที่น่าจะถือเป็นเรื่องที่พิลึกพิลั่นทีเดียวคือ กวนอิมในญี่ปุ่นปางหนึ่งที่เรียกว่า Maria Kannon ครับ Maria Kannon เกิดขึ้นจากการสั่งห้ามนับถือศาสนาคริสต์ในสมัยเอโดะ ใครฝ่าฝืนมีโทษถึงตาย ชาวคริสต์จึงต้องหาทางออกโดยการบูชารูปเคารพที่กำหนดว่าเป็น พระแม่มารี ในรูปแบบที่คุ้นเคยของชาวพุทธนั่นคือ kannon นั่นเอง  โปรดสังเกตว่าอุ้มพระบุตรไว้ด้วยนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 25 มี.ค. 07, 11:04
|
|
ขอตั้งข้อสังเกตอีกประการหนึ่งครับ
ชื่อเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน (妙善) ถ้าจะแปลความหมายตามตัวอักษร 妙 ความเฉลัยวฉลาด หรือ มีปัญญา 善 คือความดีงาม
ได้ความหมายพ้องกับชื่อนางปรัชญาปารมิตา ศักติของพระอวโลกิเตศวรในความเชื่อทางฝ่านมหายานด้วยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 27 มี.ค. 07, 23:40
|
|
มีอีกตำนานหนึ่งที่กล่าวถึงประวัติของกวนอิมพันมือครับ
ในสมัยชุนชิว ฉู่จวงอ๋อง(楚莊王)แห่งแคว้นฉู่มีพระธิดาองค์ที่สามมีพระนามว่าเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านเป็นพุทธศาสนิกที่เคร่งครัดมาก พระองค์ละเว้นการเสวยเนื้อสัตว์และหมั่นท่องพระสูตรอยู่เป็นนิจ เมื่อพระองค์ทรงขออนุญาตพระบิดาออกบวชเป็นแม่ชี พระบิดาทรงกริ้วอย่างหนักและสั่งประหารชีวิตทั้นที
วิญญาณของพระองค์ได้ถูกพญายมส่งกลับมายังโลกนี้อีกครั้ง โดยให้อยู่ในดินแดนอันสุขสงบแห่งหนึ่งในมณฑลเจ๋อเจียง ที่ซึ่งพระองค์สามารถศึกษาพระพุทธศาสนาได้โดยไม่ถูกรบกวน ในที่สุดพระองค์ก็บรรลุธรรม และช่วยเหลือมนุษย์ให้พ้นจากความทุกข์ยาก
วันหนึ่ง จวงอ๋องพระบิดาป่วยหนัก หมอบอกว่าอาการป่วยของพระองค์สามารถรักษาได้โดยใช้ยาที่ทำจากมือและดวงตาของผู้ที่ไม่เคยมีความโกรธเท่านั้น เมื่อเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านได้ทราบเรื่อง พระองค์ควักดวงตาและตัดมือของพระองค์ให้นำไปทำยารักษาพระบิดาจนหายจากอาการป่วย พระบิดารู้สึกละอายในสิ่งที่พระองค์เคยได้ทำไว้จึงได้สั่งให้สร้างรูปปั้นของเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านขึ้น
ด้วยความผิดพลาดทางการสื่อสารอย่างไรไม่ทราบ ผู้ปั้นรูปได้สร้างรูปปั้นนั้นขึ้นโดยปรากฏมีพันตาและพันมือ
ตำนานนี้คล้ายๆกับตำนานก่อนหน้านี้ แต่มีเนื้อเรื่องมากกว่าเพื่ออธิบายที่มาของกวนอิมพันมือ(ถึงแม้ตอนจบจะดูมั่วๆไปสักหน่อย) และยังมีรายละเอีียดมากกว่า แต่รายละเอียดนั้นกลับยืนยันความไม่สมจริงของเรื่องเล่านี้ เพราะตามประวัติศาสตร์ จวงอ๋องสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ 591 ปีก่อนคริสต์ศักราช เท่ากับ 48 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งนอกจากศาสนาพุทธนิกายหินยานยังไม่ถือกำเนิดขึ้น(ยังไม่มีข้อห้ามการไม่กินเนื้อสัตว์)แล้ว ในปีนั้นพระพุทธองค์ยังไม่ทรงตรัสรู้ด้วยซ้ำไปครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 11 เม.ย. 07, 14:11
|
|
เทววิทยา และประติมานวิทยาเป็นเรื่องละเอียดอ่อนครับ ของแบบนี้บางครั้งแปรเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆตามความเชื่อ และความศรัทธา....... แต่ถ้าพูดกันในมุมของพุทธศาสนาบางนิกายแล้ว....... เทววิทยาของพระโพธิสัตว์แต่ละองค์ คือความงมงายครับ
เชื่อมั้ยครับ ว่าการอุปโลกน์พระโพธิส้ตว์จะเกิดขึ้นได้ง่ายมาก ถ้าประชาชนมีความศรัทธา
เอ๊า ใครไม่เชื่อ ขอดูหน่อย ผมจะเอาขนมโก๋ตราพระโพธิสัตว์ ที่กลายเป็นพระโพธิสัตวไปแล้วมาโชว์ครับ คิคิ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 11 เม.ย. 07, 14:40
|
|
ขอดูหน่อยได้ไหมคะ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|