แม็กซ์ส
อสุรผัด

ตอบ: 3
ม.สารคาม
|
เมืองหนองหานน้อยปัจจุบันคืออำเภอหนองหาน จ.อุดรธานี ที่บอกว่าเป็นรัฐโบราณนั้นหลักฐานทางเอกสารศึกษาได้จากตำนานอุรังธาตุรายละเอียดจะกล่าวทีหลัง แต่หลักฐานทางโบราณคดีที่เห็นได้ชัดคือลักษณะผังเมืองซึ่งมีคูนำคันดินล้อมรอบ ( การที่มีคูนำคันดินแสดงให้เห็นว่าได้พัฒนาเป็นรัฐแล้วเพราะอยางน้อยต้องมีผู้นำในการเกณฑ์คนมาสร้างและแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือของคนในสมัยนั้น ) ลักษณะจะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งได้รับอิทธิพลจากขอมหรือเขมรโบราณ แถบอีสานเหนือ(แอ่งสกลนคร)จะมี 2 แห่งคือหนองหานน้อย(อุดร) และหนองหารหลวง(สกล) สองเมืองนี้มีความผูกพันกันเป็นเมืองพี่เมืองน้องแต่โชคร้ายทั้งสองเมืองนี้ได้เกเหตุการณ์นำท่วม ผู้คนอพยพหนีหมดจึงกลายเป็นเมืองร้าง...สำหรับหนองหานน้อยได้มีชาวรอยเอ็ดอพยพเข้ามาอยู่ รายละเอียดที่เหลือ จะกล่าวในภาค 2
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แม็กซ์ส
อสุรผัด

ตอบ: 3
ม.สารคาม
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 16 ต.ค. 06, 22:16
|
|
 ขอเพิ่มเติมรูป ตรง 2 บรรทัดสุดท้าย ว่าหนองหานน้อยมีชาวร้อยเอ็ดเข้ามาอยู่ช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นหรือในสมัยรัชกาลที่ 5 ตรงนี้ยังมิได้ศึกษาอย่างละเอียดนัก |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 16 ต.ค. 06, 23:26
|
|
อยากทราบว่าทำไมคุณแม็กซ์สถึงสนใจเมืองโบราณ อย่างหนองหานน้อยล่ะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ชายองค์
อสุรผัด

ตอบ: 24
เป็นความลับ
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 30 ต.ค. 06, 18:27
|
|
มีคำถามครับ 1. ตำนานสัมพันธ์อย่างไรกับการสร้างเมือง เชื่อได้อย่างไรว่าเมืองที่พบกับตำนานเป็นชุดเดียวกัน เมืองศรีมโหสถที่ปราจีนกับตำนานยังเป็นความเชื่อคนละชุดเลยครับ เมืองศรีมโหสถเป็นเมืองโบราณเนื่องกับอารยธรรมทวารวดี ต่อเนื่องกับขอม แต่ตำนานศรีมโหสถ เป็นตำนานของกลุ่มพวนที่อพยพเข้าไปในสมัยรัชกาลที่ 3 2.เหตุใดการที่พบคูเมืองถึงเป็นการพัฒนาระดับรัฐแล้วครับ? การมีผู้นำ และเกณฑ์แรงงานเพื่อทำคูเมืองเป็นเหตุพอเพียงกับการสร้างคูเมืองหรือไม่? แล้ว จำนวนเมืองที่มีคันดินโบราณที่พบจำนวนมากในอีสานบริเวณชายขอบทุ่งกุลา หมายถึงเป็นรัฐโบราณทั้งหมดหรือไม่อย่างไรครับ?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|