เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 6066 แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา (ป.อ.ปยุตโต) ฉบับย่อ
น้ำใส
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


 เมื่อ 16 ต.ค. 06, 08:54


 วันนี้นำเอาหนังสือ แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา (ป.อ.ปยุตโต)
ทำเป็นฉบับย่อ มาฝากทุกๆท่านได้พิจารณาครับ
ท่านเขียนไว้ดีมาก ถ้าท่านมีโอกาสได้อ่านฉบับเต็มก็จะดีมากทีเดียวครับ
 
บันทึกการเข้า
น้ำใส
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 16 ต.ค. 06, 09:13

เกริ่นนำ
หัวข้อ “แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา”
เป็นเรื่องสำคัญมาก และสำหรับพระพุทธศาสนาถือว่า
เป็นเรื่องที่ยากมากด้วย แค่เรื่องคัมภีร์ชั้นต้น พระไตรปิฎก
ก็มีมากถึง ๔๕ เล่ม บรรจุถึง ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์
เราจะจับแก่นได้อย่างไร แก่นแท้อยู่ตรงไหน และจะตรงกันหรือไม่


หัวใจพระพุทธศาสนาคืออะไร
พระพุทธเจ้าทรงแสดง โอวาทปาฎิโมกข์
ซึ่งแสดงหลักการที่เรียกกันว่า “หัวใจพระพุทธศาสนา” คือ


สพฺพปาปสฺส  อกรณํ     กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ           เอตํ  พุทฺธานสาสนํ


แปลว่า การไม่ทำความชั่วทั้งปวง  
การทำความดีให้เพียบพร้อม
การชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย


 เมื่อพูดถึง แก่น ก็ใกล้กับคำว่า หัวใจ
จึงนำ โอวาทปาฎิโมกข์ นี้มาเป็นจุดเริ่มต้น
แต่กระนั้น ก็ยังได้ยินพระเถระผู้ใหญ่อื่นๆพูดถึงหลักการที่ถือ
เป็นหัวใจพระพุทธศาสนาต่างออกไปอีก คือ ท่านบอกว่า
“อริยสัจ ๔” เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา  เพราะคำสอนทั้งหมดรวมลงอยู่ในอริยสัจ๔
ใน พระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร กล่าวว่า ญาณที่ รู้ อริยสัจ๔ ด้วยอาการ ๑๒ คือ
รู้ว่าแต่ละอย่างคืออะไร รู้กิจที่ต้องกระทำต่ออริยสัจ๔อย่างไร
รู้ว่ากิจนั้นได้ทำแล้ว เมื่อรู้ได้ครบแล้วจึงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ดังนี้ อริยสัจ๔ จึงถือเป็น หัวใจของพระพุทธศาสนา


บางท่านได้จับประเด็นในพระไตรปิฎก ตรงคำสอนที่ว่า
“ภิกขุทั้งหลาย ทั้งในกาลก่อนแลบัดนี้ เราบัญญัติแต่ทุกข์และความดับทุกข์เท่านั้น”
ก็แสดงว่า หลักการของพระพุทธศาสนาก็มีเท่านี้ คือ
“ทุกข์และความดับทุกข์”

ยังมีพระเถระกล่าวถึงอีกข้อหนึ่งว่า

“สพฺเพ  ธมฺมา  นาลํ  อภินิเวสาย”

แปลว่า ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่น คือ หัวใจพระพุทธศาสนา
หมายถึงธรรมทั้งปวงเราไม่อาจเข้าไปยึดมั่นมันได้
เพราะมันจะไม่เป็นไปตามใจเราแน่นอน


เมื่อได้ฟังอย่างนี้  ก็ทำให้เราสงสัยว่าจะเอาหลักไหนดีเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา
ก็เลยขอให้ความเห็นว่า อันไหนก็ได้ เพราะเหตุว่า คืออันเดียวกัน

บันทึกการเข้า
น้ำใส
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 16 ต.ค. 06, 09:18


.  
บันทึกการเข้า
น้ำใส
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 16 ต.ค. 06, 09:20


.  
บันทึกการเข้า
กงกง
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 16 ต.ค. 06, 22:07

 ...ต่างจังหวัด บ้านผมหาซื้อไม่มีเลยอ่ะครับ
ออกไปหาเมื่อตอนเย็นนี่เอง .. เห็นทีต้องฝากเพื่อนหาให้ซะแล้ว
...แล้วฉบับเต็มนี้หาอ่านได้ที่ไหนครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 19 คำสั่ง