รงค์
บุคคลทั่วไป
|
อยากทราบว่าสงครามเก้าทัพในสมัยต้นรัชกาลที่๑ นั้นพม่ายกมาทางใดบ้างแล้วไทยมีกี่ทัพไปรับครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
รงค์
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 10 ธ.ค. 00, 11:30
|
|
พยายามแล้วครับแต่จะอ่านได้บน Acrobat reader ต้องมีตัวอักษรเฉพาะอะไรไม่ทราบ ถ้ายังไงคุณเทาชมพูช่วยเล่าคร่าวๆก็ได้ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 10 ธ.ค. 00, 12:59
|
|
บทความของพลโทรวมศักดิ์ ดิฉันไม่สามารถ save ลง file หรือว่าลากเม้าส์ copy มา paste ได้ค่ะ ไม่ทราบว่าต้องทำยังไง ใครทราบช่วยบอกด้วย มันไม่เหมือนในเว็บทั่วไป ต้องใช้วิธีเปิดอ่านแล้วพิมพ์ข้อความมาตอบทีละประโยค
ขอตอบสั้นๆว่า กองทัพที่ ๑ เป็นทัพเรือ ยกเข้ามาทางใต้ ตั้งแต่ชุมพรถึงสงขลา กองทัพที่ ๒ ยกเข้าทางด่านบ้องตี้ ตีเมืองราชบุรี เพชรบุรี ไปบรรจบกันที่ชุมพร กองทัพที่ ๓ เข้าทางเขียงแสนและหัวเมืองริมแม่น้ำน่าน แม่น้ำยม ตั้งแต่สวรรคโลก สุโขทัย พิษณุโลก อีกส่วนหนึ่งแยกไปตีเชียงใหม่และลำปาง พอได้ทางเหนือแล้วมาชุมนุมที่นครสวรรค์เพื่อเข้ามาถึงกรุงเทพ กองทัพที่ ๔ ผ่านเข้าเจดีย์สามองค์ เข้ามาถึงกรุงเทพ กองทัพที่ ๕ ชุมพลที่เมาะตะมะ เป็นกองหนุนกองทัพที่ ๔ กองทัพที่ ๖และ ๗ เป็นกองหน้าของกองทัพหลวง ชุมพลที่เมาะตะมะ กองทัพที่ ๘ กองทัพหลวง ชุมพลที่เมาะตะมะ กองทัพที่ ๙ เข้าทางด่านแม่ละเมาเพื่อเข้าตีตากและกำแพงเพชร แล้วตรงเข้ากรุงเทพ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 10 ธ.ค. 00, 13:10
|
|
ไทยส่งทัพไปรับนอกกรุงเทพ แทนที่จะตั้งรับในเมืองหลวงแบบที่อยุธยาเคยทำ เพราะถ้าปล่อยให้ข้าศึกเข้ามาถึงเมือง จะลำบาก เรามีกำลังน้อยกว่าเขาครึ่งต่อครึ่ง ร. ๑ ทรงใช้ยุทธวิธีทุกรูปแบบ เช่นการลวงข้าศึก การรบแบบกองโจร การตัดกำลังข้าศึก ไม่ใช้การรบแบบกองทัพหลวงประจัญหน้าโดยตรง ทรงแบ่งทัพ ๑ ยกไปนครสวรรค์ ตรึงกำลังพม่าไว้ไม่ให้ลงมาถึงเมืองหลวง ๒ ยกไปด่านเจดีย์สามองค์เพื่อตรึงพม่าไว้ในพื้นที่นั้น ๓ แบ่งกำลังรักษาพระนคร และเป็นกองหนุน ๔ แจ้งเจ้าเมืองทางใต้ให้ช่วยตัวเอง รักษาเมืองไว้ก่อนทัพหลวงจะไปช่วย ๖ ส่งกำลังย่อยไปทำการรบแบบกองโจร ตีชิง ตัดเสบียงข้าศึกแถวแควน้อย ส่วนกองทัพ มีเพียง ๔ ทัพ ทัพที่ ๑ กรมพระราชวังหลังยกไปสกัดพม่าที่นครสวรรค์ ทัพที่ ๒ วังหน้ากรมพระราชวังบวรฯ ยกไปยันพม่าไว้ทางกาญจนบุรี ทัพที่ ๓ เป็นกองรักษาเส้นทางลำเลียง ไปสกัดพม่าที่ราชบุรีเพื่อไม่ให้พม่าลงไปถึงชุมพร ทัพที่ ๔ คุมกำลังรักษาเมืองในกรุงเทพ มีร. ๑ เป็นจอมทัพ และเป็นกองหนุนคอยส่งไปช่วยทัพอีก ๓ ทัพ คราวนี้ไทยทำได้ผลสำเร็จดีมาก ส่วนสำคัญคือการรบแบบกองโจร ใช้คนน้อย แต่ตัดเสบียงพม่าลงได้ ตัดการติดต่อระหว่างทัพต่างๆของพม่าได้สำเร็จ สกัดและขับไล่พม่าให้ถอยกลับไปไม่เข้ามาถึงเมืองหลวง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
รงค์
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 10 ธ.ค. 00, 14:09
|
|
ขอบคุณมากครับ ที่ช่วยพิมพ์มาให้ ผมกำลังสงสัยว่าญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่สองใช้การบุกพม่าแบบสงครามเก้าทัพย้อนกลับรึเปล่า คือพอดีได้อ่านในข่าวเกี่ยวกับงานสะพานข้ามแม่นำ้แควว่าทหารผ่านศึกของญี่ปุ่นที่มาร่วมงานรู้สึกว่าการแสดงแสงสีเป็นการไม่ให้เกียรติกับผู้เสียชีวิตทั้งฝ่ายญี่ปุ่นและฝ่ายสัมพันธมิตร แล้วเอะใจขึ้นว่าที่อื่นที่เป็นทางทัพระหว่างไทยกับพม่าจะมีสิ่งหลงเหลือเหมือนสะพานข้ามแม่นำ้แควหรือไม่เช่นที่ตากหรือชุมพร ญี่ปุ่นอาจจะลืมไปว่าไทยยกทัพไปตีพม่าแทบนับครั้งได้ ถึงได้คิดสร้างทางติดต่อระหว่างพม่ากับไทยทางบก แทนที่จะใช้ทางเรือเหมือนทัพที่๑ หรือ อังกฤษ หรือไม่ก็ถูกคนไทยหลอกเพื่อช่วยทำทางไปนำ้ตกไทรโยค
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Tethys
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 11 ธ.ค. 00, 07:43
|
|
เคยแวะผ่านไปทุกจุด ทุกด่าน ประมาณตามรอยทัพน่ะคะ ขนาดขับรถเองยังประหลาดใจ
คิดเล่นๆ ว่าจะยกทัพมาทำไมหนอ เส้นทางก็ลำบากลำบน น่าจะท้อใจตั้งแต่ยกทัพมาแล้ว จากพม่ามาถึงเมืองไทยในสมัยโน้น เส้นทางส่วนใหญ่ก็ล้วนแต่เป็นภูเขาทั้งนั้น สงสารข้าง สงสารม้า เฮ้อ!!...สงสารคนเดินเท้าอีกต่างหาก
คิดตอน servey เมื่อหลายปีแล้วค่ะ ไม่ได้รวนกระทู้นะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ภูมิ
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 11 ธ.ค. 00, 20:47
|
|
ผมเเปลงเป็นtext เเละลงไว้ที่กระทู้๒๒๑เเล้วลองอ่านดูนะครับ ความเห็นต่างๆขอให้ลงไว้ที่นี่เพราะตัวข้อความยาวมาก(ทั้งสิ้น๒๗หน้า)
ผมไม่ใด้ยุ่งกับการจัดหน้า เพราะฉะนั้นอาจอ่านยากหน่อยและเลขหน้าและ หัวกระดาษ(ชื่อผู้เขียน)จะติดอยู่ทุกหน้า **เจ้าของคงไม่ว่ากันในการเอามาเผยเเพร่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ภูมิ
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 11 ธ.ค. 00, 20:52
|
|
พึ่งเห็นว่าpostลงไป๒ครั้ง ช่วยลบออกอันหนึ่งนะครับ>คุณเทาชมพู
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 12 ธ.ค. 00, 10:36
|
|
นักเรียนประวัติศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องสงครามเก้าทัพใหม่ๆ จะสงสัยว่าพม่าโง่หรือเปล่า กำลังพม่า 9 ทัพมาพลรวมประมาณหนึ่งแสนหนึ่งหมื่นเศษ ส่วนไทยมีเพียงเจ็ดหมื่นเศษ จะเห็นว่าพม่าแยกกำลังไป(เชียงใหม่ยันภูเก็ต)ทำให้ทัพหลวงเสียเปรียบทัพกรมพระราชวังบวรฯที่ไปตั้งรับที่กาญจนบุรี จนทำให้ทัพหลวงต้องถอยไป และทัพกรมพระราชวังบวรฯ ตามไปจัดการทัพอื่นๆที่ยกมาทางใต้จนราบคาบ ความเป็นจริงแล้วพม่าตั้งใจที่จะโจมตีหัวเมืองเพื่อป้องกันไม่ให้หัวเมืองเหล่านั้นยกมาช่วยกรุงเทพฯได้ แต่ไทยเชื่อว่าถ้าสามารถโจมตีทัพหลวงให้ถอยไปได้จะทำให้ทัพอื่นๆถอยไปเอง ซึ่งก็ได้ผลอย่างที่เห็นครับ ส่วนเรื่องยกทัพมาทำไม เดินทางลำบากเปล่าๆนั้นผมเห็นด้วย เหตุผลน่าจะเป็นเรื่องอุดมการณ์ของการแสดงบารมี คงไม่ใช่เพียงหวังผลประโยชน์จากทรัพย์และเชลยเพียงอย่างเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
รงค์
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 12 ธ.ค. 00, 10:36
|
|
ขอบคุณ คุณภูมิมากครับที่ทำให้ผมได้มีโอกาสอ่านบทความของท่านพลโทรวมศักดิ์ จะว่าไปแล้วสิ่งที่เป็นหลักฐานจากสงครามเก้าทัพก็อยู่ในกรุงเทพฯนี่เองหน้ากระทรวงกลาโหมเคยผ่านออกบ่อยแต่ไม่ทราบ ิ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 12 ธ.ค. 00, 10:45
|
|
สงครามโลกครั้งที่สองนั้นญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกทางใต้ของไทยด้วยเหตุผลที่ว่าต้องการโจมตีกองกำลังอังกฤษในพม่าเป็นสำคัญครับ การยกพลขึ้นบกที่พม่าในช่วงเวลานั้นเข้าใจว่าทำได้ยาก เพราะว่ามีกำลังอังกฤษประจำการอยู่ และช่องแคบมลายูเองก็อยู่ในอิทธิพลของอังกฤษด้วย ไทยเองเป็นพื้นที่เป็นกลาง ไม่มีกองกำลังอังกฤษตั้งอยู่ ดังนั้นการต้านทานจึงน้อยกว่าครับ ทางรถไฟสายมรณะนี้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ตัดประเด็นเรื่องที่ว่าไทยหลอกให้ญี่ปุ่นสร้างไปได้เลยครับ ถึงแม้ว่าจะได้ใช้งานเพียงช่วงสั้นๆราวปีครึ่ง แต่ก็ทำประโยชน์ให้กับทัพญี่ปุ่นมาก ในทางตรงกันข้ามหลังสงครามเลิก ทั้งไทยและอังกฤษต้องรื้อทางรถไฟสายนี้ออกไปมากเลยครับด้วยเหตุผลเรื่องความมั่นคง เพราะดินแดนที่ทางรถไฟวิ่งเข้าไปด้านพม่านั้นเป็นพื้นที่ปฏิบัติการของกองกำลังกะเหรี่ยงแบ่งแยกดินแดนครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|