Package
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ใคร มีตำนาน ประจำจังหวัดอะไรมาเล่าสู่กันฟังนะครับ
ตำนานเมืองอุบล โดยชาวบ้าน
มีชายคนหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่เสลภูมิ ได้พบคุณพ่อบำเพ็ญ ณ อุบล และได้เล่าตำนานเกี่ยวกับเมืองอุบลว่าตนเองได้เป็นทหารในวิกฤตการณ์ สยาม – ฝรั่งเศส และขณะนั้นเจ้านายเมืองอุบลซึ่งเป็นเชื้อของพระพรหมราชวงศา เพราะมีตำแหน่งเจ้าเมืองเป็นที่พระพรหมราชวงศาหลายท่าน โดยเรื่องเดิมมีว่า เมื่อท้าวศรีโคตรพระตะบองเสียทีแก่เมืองเวียงจันทร์ (คือ มีช้าง 100 ตัวมาบุกรุกทำลายพืชกล้าในนาของเมืองเวียงจันทร์ เจ้าเมืองเวียงจันท์จึงประกาศหาคนดีมาปราบช้าง ท้าวศรีโคตรพระตะบองรับอาสาปราบช้าง ปราบช้างได้สำเร็จพระเจ้าแผ่นดินจึงพระราชทาน “เจ้าเทวี” พระราชธิดาให้แก่ท้าวศรีโคตร แล้วสร้างเรือนหิน (ปราสาท) ให้อยู่ ) ต่อมาพระเจ้าเวียงจันท์เกรงว่าท้าวศรีโคตรจะแย่งราชบัลลังก์ จึงใช้อุบายต่างๆ เพื่อที่ฆ่าท้าวศรีโคตร แต่ไม่สำเร็จ เพราะท้าวศรีโคตร ฟัน แทงก็ไม่ตาย จึงคิดอุบายขึ้นโดยหลอกถามจากธิดาของตนว่า “ทำไมท้าวศรีโคตรจึงเป็นคนเก่ง และทำยังไงก็ฆ่าไม่ตาย” ธิดาไม่รู้กลในวันนั้นจึงถามท้าวศรีโคตรว่า “เจ้าพี่เป็นคนเก่ง ใครฆ่าก็ไม่ตาย น้องอยากรู้ว่าเจ้าพี่มีดีอันใด” ท้าวศรีศรีโคตรไม่รู้ถึงภัยจึงตอบว่า “เข้าทางรูเก่า (ทวาร) ก็ตายดอก” พระธิดาจึงไปเล่าให้พระบิดาฟัง พระบิดาทราบจึงทำอุบายที่จะฆ่าท้าวศรีโคตร โดยเชิญท้าวศรีศรีโคตรไปร่วมเสวยอาหารที่ท้องพระโรง และใกล้ ๆ บริเวณท้องพระโรงได้ทำห้องบังคลหนัก(ห้องถ่ายทุกข์) โดยได้วางกลคือทำยนต์หอกไว้ (คล้ายหอกอัตโนมัติ)พอเสวยเสร็จและท้าวศรีโคตรเข้าห้องบังคลหนัก ยนต์ทำงาน เมื่อเป็นไปตามแผนการที่วาง แต่ท้าวศรีโคตรไม่ตาย และท้าวศรีโคตรทราบว่าเสียรู้ผู้หญิงแล้ว จึงเหาะกลับเมืองศรีโคตร ต่อมานางเขียวค้อม (พระธิดาเจ้าเมืองพระตะบอง)คิดถึงสามีจึงตามหาสามี จนกระทั่งมาถึงแม่น้ำมูล บริเวณดงอู่ผึ้ง (ปัจจุบันคือบริเวณอนามัย 7 )จึงหยุดพัก และประชวรพระครรภ์ เมื่อประสูตรแล้วไม่สามารถนำลูกไปด้วย จึงอธิษฐานขอฝากลูกกับเทพยดา โดยขอให้ปกปักรักษาลูก ต้นยางที่ขอได้โอนอ่อนลงมา จึงผูกอู่ไว้ที่ปลายยาง แล้วเอาแขวนทองใส่ไว้ จากนั้นต้นยางก็ตั้งขึ้นเหมือนเดิม กาลต่อมาพระเจ้าแผ่นดินเมืองจำปาสักมาล่าสัตว์ จนกระทั่งมาถึงดงอู่ผึ้ง ได้ยินเสียงเด็กร้องไห้ที่ปลายต้นยาง ด้วยความไม่แน่ใจจึงอธิษฐานจิตว่าถ้าเป็นผีให้หนีไป ถ้าเป็นคนขอให้กิ่งต้นยางโอนลงมาจะนำไปเลี้ยงเป็นบุตร พออธิษฐานเสร็จ ต้นยางก็โอนอ่อนลงมา เห็นแหวน ผ้า เด็ก จึงนำไปเลี้ยงที่เมืองจำปาสัก เมื่อกุมารโตเป็นหนุ่ม จึงพามาตั้งเมืองให้อยู่ตรงที่พบอู่ เรียกว่า เมือง”อู่บน” กุมารนั้นให้นามว่า “เจ้าปทุม” เจ้าปทุมเป็นลูกเจ้าศรีโคตร (เมืองพระตะบอง)และนางเขียวค้อม มีอาวุธคือไม้ค้อนตระกูลเมืองอุบล เจ้าเมืองต่อมาจึงชื่อว่า พระพรหมราชวงศา ปัจจุบันในจังหวัดอุบลราชธานี ยังมีนางเทียม (คนทรงเจ้า) ของท้าวศรีโคตร และนางเขียวค้อม นางเทียมจะจัดการบวงสรวงทุกปี ที่บ้านนางเทียม ผู้ที่เป็นนางเทียมชื่อคุณยายขุม บ้านอยู่หน้าวัดพลาเพล โดยจะมีการทำบุญประมาณเดือน 6 ตรงกับ วันที่ 12 เม.ย. ของทุกปี จะมีการเข้าทรงบวงสรวงเจ้าบ่าวจำปาที่บ้านคุณยายทองม้วน ณ อุบล (แสงอร่าม) บ้านบุ่งกระแทว (เจ้าบ่าวจำปาเป็นมเหศักดิ์ตระกูลของคุณยายทองม้วน)
* มีคนเล่าให้ฟัง ครับ*
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Package
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 04 ต.ค. 06, 14:54
|
|
แล้วตำนาน ของบ้านเกิดคุณละ เค้าเล่ากันว่าอย่างไร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 04 ต.ค. 06, 19:08
|
|
 เพิ่งทราบว่าคุณ package เป็นคนอุบล นำภาพนางเขียวค้อมแสนงามมาฝากครับ ท่าทางภาพนี้จะไปอยู่บ้านเศรษฐีสักคนแล้วล่ะ ถ้าจำไม่ผิดเมื่อก่อนน่าจะอยู่ในหอไตรวัดทุ่งศรีเมือง |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 04 ต.ค. 06, 19:14
|
|
ผมเกิดในกรุงเทพครับ ตั้งรกรากกันมาเท่าที่ทราบก็ 11 ชั่วคนแล้ว ตำนานเต็มไปหมด แต่ถ้าเล่าก็คงจะมีคนติงมากพอสมควรว่าน่าเบื่อ เพราะดูเหมือนมันจะเป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับบรรดาญาติๆมากกว่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 04 ต.ค. 06, 19:14
|
|
ทำไมนางเขียวค้อม หน้าตาเครื่องแต่งกายเป็นจีนเต็มตัวล่ะคะ เหมือนจะเป็นสาวจีนสมัยศตวรรษที่ 20 ด้วยมั้ง ช่างจีนวาดภาพนี้ แล้วมีใครอุทิศให้วัดงั้นหรือ?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 04 ต.ค. 06, 19:16
|
|
เพิ่งเห็นคำตอบคุณกุรุกุลา 11 ชั่วคน น่าจะย้อนไปถึงปลายอยุธยาหรือเปล่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Package
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 04 ต.ค. 06, 21:01
|
|
ไครบอกว่า ผมเป็นคนอุบล...เปล่าซะหน่อยย 55+
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Package
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 04 ต.ค. 06, 21:03
|
|
เล่ามาเถอะครับคุณ กุรุกุลา มันน่าสนใจดีออก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 05 ต.ค. 06, 16:17
|
|
อุ๊บส์ พลาดอีกแล้วครับ ภาพนี้เคยอยู่ในหอไตร วัดมหาธาตุ ยโสธร เห็นว่าน่าจะเข้ากับบรรยากาศของเรื่องดี เลยเอามาลงไว้
คงเป็นฝีมือช่างจีนที่เข้ามาอยู่ในอีสานสมัยนั้น เขียนไว้บนกระจก เหมือนกับภาพบนกระจกอีกมากมายที่มักแขวนไว้ในพระอุโบสถ
เสียดายครับ วาดได้งามเลิศขนาดนี้ ถ้านางเขียวค้อมมีตัวตนจริงก็คงไม่เกินจินตนาการของภาพนี้แน่ๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 05 ต.ค. 06, 16:19
|
|
ตอบอาจารย์เทาชมพูครับ
ไม่ถึงอยุธยาตอนปลายครับ แค่รัชกาลที่ 1 ก็ค่อนข้างเลือนรางแล้ว มาชัดอีกทีก็รัชกาลที่ 4 ลงมาถึงปัจจุบัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|