เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 13199 ผญา ภูมิปัญญาไทยอีสาน
จิตแผ้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 169


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 09 ก.ย. 07, 10:09

ดีใจหลายเด ที่เห็นคนเข่ามาส่อย พากันมาส่งยู้ ผญา เจ้า ให้ใหญ่สูง
เป็นของดีแท้ แท้ มาตั้งแต่โบราณ ภูมิปัญญาคนอีสาน จาึรึกจารเอาไว้
บันทึกการเข้า
จิตแผ้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 169


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 09 ก.ย. 07, 10:33

ภาษิตโบราณอีสานรวบรวมไว้ให้ลูกหลานโดย คุณพ่อปรีชา พิณทอง

สิถ่มน้ำลายให้เหลียวเบิ่งป่อง
สิกวมให้เหลียวเบิ่งหน้า
ของเพิ่นแพงอย่าเข้าใกล้    สิเต้นข้ามฮ่องให้เหลียวเบิ่งหนาม
พร้าเข้าอย่าฟันแฮง
ได้โชคแล้วอย่ามัวเมา

คนอีสานมีคำคม สุภาษิตสำหรับสั่งสอนลูกหลานให้ประพฤติตนอยู่ในฮีตคอง (จารีต- ประเพณี) ไม่ออกนอกลู่นอกทาง คำคมเหล่านี้รู้จักกันทั่วไป ในชื่อ "ผญา" หมายถึง ปัญญา, ปรัชญา, ความฉลาด, คำภาษิตที่มีความหมายลึกซึ้ง (wisdom, philosophy, maxim, aphorism.)

ผะหยา หรือ ผญา เป็นคำภาษาอีสาน สันนิษฐานกันว่าน่าจะมาจากคำว่า ปรัชญา เพราะภาษาอีสานออกเสียงควบ "ปร" ไปเป็น ผ เช่น คำว่า เปรต เป็น เผต โปรด เป็น โผด หมากปราง เป็น หมากผาง ดังนั้นคำว่า ปรัชญา อาจมาเป็น ผัชญา แล้วเป็น ผญา อีกต่อหนึ่ง
ปัญญา ปรัชญา หรือผญา เป็นกลุ่มภาษาเดียวกัน มีความหมายคล้ายคลึงกัน ใกล้ เคียงกันหรือบางครั้งใช้แทนกันได้ ซึ่งหมายถึง ปัญญา ความรู้ ไหวพริบ สติปัญญา ความเฉลียว ฉลาดปราชญ์เปรื่อง หรือบางท่านบอกว่า ผญา มาจากปัญญา โดยเอา ป เป็น ผ เหมือนกับ เปรต เป็น เผด โปรด เป็น โผด เป็นต้น ผญาเป็นลักษณะแห่งความคิดที่แสดงออกมาทางคำพูด ซึ่งอาจ จะมีสัมผัสหรือไม่ก็ได้

    * ผญา คือ คำคม สุภาษิต หรือคำพูดที่เป็นปริศนา คือฟังแล้วต้องนำมาคิด มาวิเคราะห์ เพื่อค้นหาคำตอบที่เป็นจริงและชัดเจนว่า หมายถึงอะไร
    * ผญา เป็นคำพูดที่คล้องจองกัน ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องมีสัมผัสเสมอไป แต่เวลาพูดจะ ไพเราะสละสลวย และในการพูดนั้นจะขึ้นอยู่กับจังหวะหนักเบาด้วย
    * ผญา เป็นการพูดที่ต้องใช้ไหวพริบ สติปัญญา มีเชาวน์ มีอารมณ์คมคาย พูดสั้นแต่กิน ใจความมาก

การพูดผญาเป็นการพูดที่กินใจ การพูดคุยด้วยคารมคมคาย ซึ่งเรียกว่า ผญา นั้น ทำให้ผู้ฟังได้ทั้งความรู้และความคิดสติปัญญา ความสนุกเพลิดเพลิน ยิ่งไปกว่านั้น ยังทำให้เกิด ความรักด้วย จึงทำให้หนุ่มสาวฝนสมัยก่อน นิยมพูดผญากันมาก และการโต้ตอบเชิงปัญญาที่ทำ ให้แต่ละฝ่ายเฟ้นหาคำตอบ เพื่อเอาชนะกันนั้นจึงก่อให้เกิดความซาบซึ้ง ล้ำลึกสามารถผูกมัด จิตใจของหนุ่มสาวไม่น้อย ดังนั้น ผญา จึงเป็นเมืองมนต์ขลัง ที่ตรึงจิตใจหนุ่มสาวให้แนบแน่น ลึกซึ้งลงไป
 ภาษิตโบราณอีสานแต่ละภาษิตมีความหมายลึกบ้าง ตื้นบ้าง หยาบก็มี ละเอียด ก็มี ถ้าท่านได้พบภาษิตที่หยาบ ๆ โปรดได้เข้าใจว่า คนโบราณชอบสอนแบบตาเห็น ภาษิตประจำ ชาติใด ก็เป็นคำไพเราะเหมาะสมแก่คนชาตินั้น คนในชาตินั้นนิยมชมชอบว่าเป็นของดี ส่วนคน ในชาติอื่น อาจเห็นว่าเป็นคำไม่ไพเราะเหมาะสมก็ได้ ความจริง "ภาษิต" คือรูปภาพของวัฒนธรรม แห่งชาติ นั่นเอง
การจ่ายผญา หรือการแก้ผญา

การจ่ายผญา แก้ผญา เว้าผญา หรือพูดผญา คือการตอบคำถาม ซึ่งมึผู้ถามมาแล้ว ก็ตอบไป เป็นการพูดธรรมดา ไม่มีการเอื้อนเสียง ไม่มีทำนอง แต่เป็นจังหวะ มีวรรคตอนเท่านั้น ผู้ถามส่วนใหญ่จะเป็นหมอลำฝ่ายชาย คือลำเป็นคำถาม ฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายตอบ หรือจ่ายผญา ด้วยเหตุนี้จึงมักจะเรียกว่า ลำผญา หรือลำผญาญ่อย เช่น
      (ชาย) ..... อ้ายนี้อยากถามข่าวน้ำ ถามข่าวถึงปลา อยากถามข่าวนา ถามข่าวถึงเข้า (ข้าว) อ้ายอยากถามข่าวน้อง ว่ามีผัวแล้วหรือบ่ หรือว่ามีแต่ชู้ ผัวสิซ้อนหากบ่มี
      (หญิง) ..... น้องนี้ปอดอ้อยซ้อยเสมอดังตองตัด พัดแต่เป็นหญิงมา บ่มีชายสิมาเกี้ยว พัดแต่สอนลอนขึ้น บ่มีเครือสิเกี้ยวพุ่ม พัดแต่เป็นพุ่มไม้เครือสิเกี้ยวกะบ่มี

หมอผญาที่ควรกล่าวถึงในที่นี้ คือ แม่ดา ซามงค์ แม่สำอางค์ อุณวงศ์ แม่เป๋อ พลเพ็ง แม่บุญเหลื่อม พลเพ็ง แห่งบ้านดอนตาล อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร เป็นต้น

การลำและจ่ายผญา ในสมัยโบราณนั้นจะนั่งกับพื้น คือ หมอลำ หมอผญาและหมอแคน จะนั่งเป็นวง ส่วนผู้ฟังอื่น ๆ ก็นั่งเป็นวงล้อมรอบ หมอลำบางครั้งจะมีการฟ้อนด้วย ส่วนผู้จ่ายผญา จะไม่มีการฟ้อน ในบางครั้งจะทำงานไปด้วยแก้ผญาไปด้วย เช่น เวลาลงข่วง หมอลำชายจะลำ เกี้ยว ฝ่ายหญิงจะเข็นฝ้ายไปแก้ผญาไป นอกจากหมอลำ หมอแคนแล้ว บางครั้งจะมีหมอสอยทำ การสอยสอดแทรกเป็นจังหวะไป ทำให้ผู้ฟังได้รับความสนุกสนาน การจ่ายผญาในครั้งแรก ๆ นั้น เป็นการพูดธรรมดา ไม่มีการเอื้อนเสียงยาว และนั่งพูดจ่ายตามธรรมดา ต่อมาได้มีการดัดแปลง ให้มีการเอื้อนเสียงยาว มีจังหวะและสัมผัสนอกสัมผัสในด้วย ทำให้เกิดความไพเราะ และมีการเป่า แคนประกอบจนกลายมาเป็น "หมอลำผญา" ซึ่งพึ่งมีขึ้นประมาณ 30-40 ปีมานี้

เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไปการพัฒนาของการจ่ายผญาจึงมีมากขึ้น จากการนั่งจ่ายผญา ซึ่งมองกันว่าไม่ค่อยถนัดและไม่ถึงอกถึงใจผู้ฟัง (ด้วยขาดการแสดงออกด้านท่าทางประกอบ) จึงมีการเปลี่ยนมาเป็นยืนลำ ทำให้มีการฟ้อนประกอบไปด้วย จากดนตรีประกอบที่มีเพียง แคน ก็ได้นำเอากลอง ฉิ่ง ฉาบ และดนตรีอื่น ๆ เข้ามาประกอบ จากผู้แสดงเพียง 2 คนก็ค่อย ๆ เพิ่มเป็น 3, 4 และ 5 คน จนมารวมกันเป็นคณะ เรียกว่า คณะหมอลำผญา บางคณะได้มีหางเครื่องเข้ามา ประกอบด้วย

 
ความทวย (ปริศนาคำทาย)

ความทวย ในภาษาอีสาน จะมีความหมายตรงกับ ปริศนาคำทาย ในภาษากลาง เป็นวิธีการสอนลูกหลานให้มีความคิด เชาว์ปัญญา ไหวพริบปฏิภาณเฉียบแหลม ประกอบกับการเล่านิทานที่มีคติสอนใจ ในสมัยก่อนนั้น คนบ้านนอกในภาคอีสานยังไม่มีวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งบันเทิงที่พอมีคือการเล่านิทานชาดกของคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน ในขณะที่คนแก่ก็จะได้ความสุขใจมาจากการฟังเทศน์ฟังธรรมจากวัด

ช่วงเย็นหลังอาหารค่ำก็จะเป็นช่วงเวลาของเด็กๆ หนุ่มสาว จะได้ฟังนิทานชาดก นิทานพื้นบ้านกัน หลังการเล่านิทานก็จะมีการถามปัญหา หรือ ความทวย ผู้ใดสามารถตอบได้ก็จะได้รับรางวัลเป็นผลไม้ กล้วย อ้อย ตามฤดูกาล ตัวอย่างความทวย เช่น

    * ความทวย สุกอยู่ดิน กากินบ่ได้ สุกอยู่ฟ้า กายื้อบ่เถิง ไผว่าแม่นหยัง?
    * ความแก้ ลูกหลานก็จะคิดหาความแก้ ถ้าใครแก้ได้ท่านก็ให้รางวัลดังกล่าว แล้วความแก้หรือคำตอบนี้ก็คือ "ดวงตะวัน" และ "กองไฟ"

ข้อสังเกต ความทวยหรือปริศนาปัญหานี้ ท่านจะผูกขึ้นจากลักษณะของสิ่งที่จะเอามาตั้งเป็นปัญหา เพื่อให้ลูกหลานใช้สมองเทียบเคียงดู เช่น สุกอยู่ดินคือ "กองไฟ" เพราะกองไฟมันจะมีสีแดง ปกติของสีแดงๆ มันจะเป็นสัญลักษณ์แห่งของสุก "สุกอยู่ฟ้า" คือดวงตะวันสีแดงๆ บนฟ้า ของสุกมันจะมีสีแดง ของดิบมันจะเป็นสีอื่นๆ และกากินไม่ได้ด้วย เด็กฉลาดก็จะเทียบเคียงได้เอง
บันทึกการเข้า
จิตแผ้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 169


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 09 ก.ย. 07, 10:37

ประเภทของผญา - สุภาษิต - ความทวย

ผญาเมื่อแบ่งแยกหมวดหมู่ออกไปตามลักษณะอย่างคร่าวๆ ก็สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทดังนี้
  1. ผญาคำสอน      2. ผญาปริศนา
  3. ผญาภาษิตสะกิดใจ      4. ผญาเกี้ยวพาราสีทั่วไป
  5. ผญาเกี้ยวพาราสีโต้ตอบหนุ่มสาว      6. หมวดภาษิตคำเปรียบเปรยต่างๆ
  7. ผญาปัญหาภาษิต      8. ความทวย
  9. ภาษิตโบราณอีสาน    10. คำกลอนโบราณอีสาน
11. วรรณกรรมคำสอย (ตอนที่ 1)    12. วรรณกรรมคำสอย (ตอนที่ 2)

ขอขอบพระคุณ    : ผศ.สุระ อุณวงศ์ เสริมข้อมูลการจ่ายผญา
: อาจารย์สวิง บุญเจิม ปธ.๙ M.A. เสริมข้อมูลความทวย
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 09 ก.ย. 07, 23:56

คือดั่งบักเค้าเม้า หมาเฒ่าเห่าแต่เขา 
คันเฮาทำดีแล้ว เขาซังก็ตามซ่าง   คันเฮาเฮ็ดแม่นแล้ว หยันหย่อก็ซ่างเขา
เขาสิพากันท้วง ทั้งเมืองก็บ่เงี่ยง   เขาสิติทั้งค่าย ขายหน้าก็บ่อาย
เกี้ยงแต่นอกทางในเป็นหมากเดื่อ หวานนอก เนื้อในส้มดั่งหมากนาว

บุ๋ย...มาเป็นแนววิชาการคือดีแท้คูบา  แปลว่าผญามีหลายแนว  เบิ่งซงอ้ายจิตแผ้วคือสิแต่งกลอนลำได้  ลองแต่งเบิ่งอ้าย  กลอนเกี่ยวกับเฮือนไทกะได้

ข้าขออะธิษฐานตั้งขอฝากพระไมตีมิตร พันธนังติดหมื่นปีบ่ไลน้อง
พี่นี้จงจิตข้องหมายตายเกิดฮ่วม ขออย่าคละคลาดแคล้วคำหมั้นขอดสาร น้องเอย........ ขยิบตา

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.038 วินาที กับ 19 คำสั่ง