เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 44040 บทกลอนแห่งความรัก
OBORO
ชมพูพาน
***
ตอบ: 158

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมเจอร์ฟิสิกส์


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 27 ก.ย. 06, 17:10


ตบท้ายด้วยกลอนอมตะนิรันดร์กาลครับ

ถึงม้วยดิน สิ้นฟ้า มหาสมุทร
ไม่สิ้นสุด ความรัก สมัครสมาน
แม้เกิดใน ใต้ฟ้า สุธาธาร
ขอพบพาน พิศวาส ไม่คลาดคลา

แม้เนื้อเย็น เป็นห้วง มหรรณพ
พี่ขอพบ ศรีสวัส ดิ์เป็นมัจฉา
แม่เป็นบัว ตัวพี่ เป็นกุมรา
เชยผกา โกสุม ประทุมทอง

เจ้าเป็นถ้ำ อำไพ ขอให้พี่
เป็นราชสีห์ สิงสู่ เป็นคู่สอง
จะติดตาม ทรามสงวน นวลละออง
เป็นคู่ครอง พิศวาส ทุกชาติไป…………

พระอภัยมณี…ท่านสุนทรภู่

รูปประกอบโหดไปไหมครับ อิอิ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 27 ก.ย. 06, 17:23


.
Love: a temporary insanity, curable by marriage...
~ by Ambrose Bierce ~

ความรัก: อาการวิกลจริตชั่วคราว  บำบัดให้หายได้ด้วยการสมรส
แปลโดย เทาชมพู  
บันทึกการเข้า
OBORO
ชมพูพาน
***
ตอบ: 158

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมเจอร์ฟิสิกส์


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 27 ก.ย. 06, 17:30

บางบทผมนำมาจากเว็บไซต์อื่น ไม่ทันได้ตรวจสอบเช่นกัน อาจเพราะด้อยความรู้

ท่านใด เห็นกลอนบทใดข้อผิดพลาดหรือบกพร่อง สามารถแก้ไขได้เลยครับ
บันทึกการเข้า
OBORO
ชมพูพาน
***
ตอบ: 158

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมเจอร์ฟิสิกส์


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 27 ก.ย. 06, 17:31

 อิอิ เห้นนิยามความรักที่คุณเทาชมพูนำมาแล้ว ให้รู้สึกขำจนหยุดแทบไม่ได้
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 27 ก.ย. 06, 17:53

 ความเห็น ๘  -  โอ้ว่าอนิจจาความรัก  จากอิเหนาเป็นพระราชนิพนธ์ในล้นเกล้ารัชกาลที่ ๒  ครับ  และ

ความเห็น ๒๕  -  น้องเคลียแก้มฝากไว้ก่อนให้พี่
                       เป็นเนื้อร้องจากเพลง  ฝากหมอน  ที่คุ้นเคยจากเสียงร้องของคุณ บุษยา รังสี
บันทึกการเข้า
Peking Man
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 27 ก.ย. 06, 19:05

 ไม่มีกลอนใด
ไม่มีความรัก
หากไม่มีเธอ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 27 ก.ย. 06, 21:13

 หายใจหายคอแทบไม่ทันเลยพ่อคุณ

ชุดใหญ่จริงๆ    
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
OBORO
ชมพูพาน
***
ตอบ: 158

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมเจอร์ฟิสิกส์


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 27 ก.ย. 06, 21:24

 เรียนคุณศิลา ครับ

น้องเคลียแก้มเกลือกไว้ก่อนให้พี่
ซ้ำกราบที่กลางหมอนเคยนอนหนุน
ยามพี่แนบหน้านอนหมอนละมุน
จงหอมกรุ่นแก้มและกราบกำซาบทรวง

บทกวีนี้ถูกแต่งขึ้นโดย คุณ สวัสดิ์  ธงศรีเจริญ ครับ
แล้วถูกนำไปใช้แต่งเป็นเพลงสุนทราภรณ์
ในภายหลังครับ อย่างที่คุณกล่าวมา


ส่วนกลอนนี้เป็นตอนที่ จินตหรารำพันถึงอิเหนาว่า
โอ้ว่าอนิจจาความรัก                    เพิ่งประจักษ์ดังสายน้ำไหล
ตั้งแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป            ที่ไหนจะไหลคืนมา

จากข้อมูลที่หาได้ลองดูตามนี้นะครับ ผมไม่แน่ใจว่าส่วนนี้จะมาจากอิเหนาเล็กหรือไม่

ขออนุญาตยกข้อความมาจาก สกุลไทย
 http://www.sakulthai.com/dsakulcolumnDetail.asp?stcolumnid=1623&stissueid=2497&stcolcatid=2&stauthorid=13

ประวัติเรื่องที่มาแพร่หลายในเมืองไทยปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกษัตริย์พระองค์ที่ ๓๑ เป็นที่รู้กันอยู่ว่าพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศนั้น ทรงมีพระมเหสี พระสนม และพระราชโอรสธิดามากมายกว่ากษัตริย์พระองค์ใด พระมเหสีองค์หนึ่งคือเจ้าฟ้าสังวาลย์ (เจ้าฟ้าสังวาลย์ซึ่งนัยว่ามีความสัมพันธ์ชู้สาวกับเจ้าฟ้ากุ้งหรือเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และพระอัครมเหสีนั่นแหละ) เจ้าฟ้าสังวาลย์มีพระราชธิดาสององค์ คือเจ้าฟ้ากุณฑลกับเจ้าฟ้ามงกุฎ ทั้งสองพระองค์มีพระพี่เลี้ยงเป็นแขกมลายู พระพี่เลี้ยงได้เล่าเรื่องอิเหนาให้ฟังแต่เล่ากันเป็นทำนองนิทานหลายอย่าง บ้างก็ว่าอิเหนาไปหลงนางชาวป่า บ้างก็ว่าอิเหนาไปหลงธิดาเมืองอื่น ดังนั้น สองพระองค์จึงทรงพระนิพนธ์บทละครกันพระองค์ละเรื่อง เจ้าฟ้ากุณฑลทรงพระนิพนธ์เรื่อง “ดาหลัง” หรืออิเหนาใหญ่ เจ้าฟ้ามงกุฎทรงพระนิพนธ์เรื่อง “อิเหนา” หรือ อิเหนาเล็ก

           ปรากฏว่าคนชอบเรื่องอิเหนามากกว่าเรื่องดาหลัง เรื่องอิเหนาเล็กจึงแพร่หลายมากกว่า

           เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาบทละครเรื่องอิเหนากระจัดพลัดพราย แต่มีผู้จำเอาไว้ได้บ้างต้นฉบับเหลืออยู่บ้าง ถึงสมัยกรุงธนบุรี ระยะนั้นมิได้มีการชำระหรือนิพนธ์ขึ้นใหม่ มีแต่เจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่ครั้งยังเป็นหลวงสรวิชิตแต่งเป็นอิเหนาคำฉันท์ไว้เพียงบางตอน

           จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้ทรงพระราชนิพนธ์ เข้าใจว่าคงจะทรงพระราชนิพนธ์จากที่จำๆ กันมาบ้างจากต้นฉบับเดิมสมัยกรุงศรีอยุธยาบ้าง ทว่าไม่จบเรื่อง ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เพียงบางตอนเท่านั้น

           ถึงรัชกาลที่ ๒ จึงทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่ทั้งหมดแต่ต้นจนจบเรื่อง ทว่าบางตอนนั้นก็มีที่คัดมาจากของเก่าอันเป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑ บ้าง บางตอนซึ่งมักเป็นตอนที่ไม่สู้สำคัญนักก็มีที่โปรดฯให้ผู้อื่นช่วยแต่งบ้าง เช่น ตอนบุษบาเล่นธารที่ทำให้เป็นเหตุเล่ากันมาว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวครั้งยังเป็นพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงมีเรื่องขัดเคืองกับสุนทรภู่ เรื่องสุนทรภู่ “หักหน้า” หน้าพระที่นั่ง เรื่องนี้เคยเล่าไว้แล้วในเวียงวัง

 http://www.nuanphun.com/no102.html

คืออย่างนี้นะครับ ถูกแล้วครับที่ท่านผู้รู้กล่าวว่าเป็นของรัชกาลที่ 2 เพียงแต่จากแหล่งข้อมูลข้างบนกล่าวว่ารัชกาลที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ทั้งหมดเป็นส่วนใหญ่ บางส่วนเอาจากของร.1 บางส่วนโปรดให้ผู้อื่นแต่งขึ้น

คือผมคิดว่ากลอนบทนี้อาจจะมีโอกาสที่รัชกาลที่2 ทรงนำมาจากของเก่าต้นซึ่งรัชกาลที่ 1 ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ แล้วรัชกาลที่ 1 ก็ทรงพระราชนิพนธ์จากที่จำๆ กันมาบ้างจากต้นฉบับเดิมสมัยกรุงศรีอยุธยาบ้าง  โดยส่วนที่จำมา(ก็คือกลอนบทนี้)อาจจะเป็นของเจ้าฟ้ามงกุฏ(จากอิเหนาเล็กเพราะอิเหนาเล็กได้รับความนิยมมากกว่าอิเหนาใหญ่ โอกาสที่คนจำกันได้น่าจะมีมากกว่า)ก็เป็นได้ ใช่ไหมครับ

คือผมไม่ยืนยันหรอกนะครับว่าเจ้าฟ้ามงกุฏเป็นผู้แต่ง เพราะผมเองก็ไม่ทราบเช่นกัน เพียงแต่แสดงความคิดเห็นว่าทำไมแหล่งของกลอนที่ผมนำมาจึงเขียนว่าเป็นของพระมงกุฏ ซึ่งก็อาจจะผิดก็เป็นได้ครับ

ท่านไหนพอจะมีแหล่งข้อมูลที่เท็จจริงมาช่วยยืนยันหรือแย้งอย่างไรโปรดมาแปะทีครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 27 ก.ย. 06, 21:46

อิเหนา เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ ค่ะ  ของเดิมคือพระนิพนธ์เจ้าฟ้ามงกุฎ (พระธิดาพระเจ้าบรมโกศ) ขาดหายไป จึงต้องมาแต่งขึ้นใหม่

เจ้าฟ้ามงกุฎ กับ พระมงกุฎเกล้า คนละพระองค์กันค่ะ ในค.ห. 8 เขียนผิด
บันทึกการเข้า
OBORO
ชมพูพาน
***
ตอบ: 158

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมเจอร์ฟิสิกส์


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 27 ก.ย. 06, 21:49

 จริงด้วยครับ ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยเปลี่ยนเป็น เจ้าฟ้ามงกุฏ
ให้ได้ไหมครับ

ขอขอบพระคุณ
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 28 ก.ย. 06, 20:19

 สวัสดีครับคุณโอโบโร กำลังพยายามตามอ่านให้ทันอยู่ครับ ขอเวลานิดนะครับ หุหุ
บันทึกการเข้า
OBORO
ชมพูพาน
***
ตอบ: 158

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมเจอร์ฟิสิกส์


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 29 ก.ย. 06, 13:47

 ดีใจครับ มีเหยื่อมาอ่าน อิอิ

เอ หรือว่าคุณกุรุกุลา กำลังอยู่ในห้วงแห่งความรักกันหนอ?    
บันทึกการเข้า
OBORO
ชมพูพาน
***
ตอบ: 158

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมเจอร์ฟิสิกส์


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 29 ก.ย. 06, 20:25

 เอ... ทำไมไม่มีใครมาช่วยแจมเลยน้า      

จะเป็นคำคมความรัก ก็ได้ครับ  ของต่างประเทศก็ไม่ว่ากัน

แปลให้ด้วยจะเป็นพระคุณมาก
ของเชค สเปียร์ก็ดีครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 29 ก.ย. 06, 20:59

โรครักนี้แรงหาน้อยไม่
ร้ายยิ่งกว่าโรคาอย่างใดๆ
ยิ่งกว่าไข้จับหนาวร้าวรานครัน

แม้มิได้ชื่นชมให้สมจิต
เหมือนเพลิงพิษเผาอุราแทบอาสัญ
ไม่เห็นหน้าคู่รักเพียงสักวัน
จิตพลันร้อนผ่าวราวอัคคี

ศกุนตลา
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 29 ก.ย. 06, 21:01

 แม้รักจริงหวานยิ่งบุหงาสวรรค์
ยิ่งกว่าแก่นจันทร์อันหอมโหย
รักร่วมชีวาไม่ราโรย
จะช่วยโชยกลิ่นสวาทไม่ขาดเอย

บทละคร ชิงนาง
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.102 วินาที กับ 19 คำสั่ง