เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 2965 ลำนำจากลำไม้ไผ่ มีวิวัฒนการไปตามสายลำน้ำของ(โขง)หรือเปล่าครับ
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
 เมื่อ 27 ก.ย. 06, 09:30


ลำนำจากลำไม้ไผ่ที่ว่าคือเสียงดนตรีที่มาจากเครื่องดนตรีที่ทำจากไม้ไผ่ ที่กระจายตามสองฝั่งลำน้ำของ จากเหนือจรดใต้

เริ่มจากดินแดนของไทลื้อ จากเมืองสิบสองปันนา มีเครื่องดนตรีที่ทำด้วยไม้ไผ่ ที่เรียกว่า “ปี่” (กรุณาลบภาพปี่ของพระอภัยออกจากหัวโดยบัดดล) ซึ่งเป็นไม้ไผ่ โดยปิดหัวนอกนั้นทะลุปล้อง โดยมีการเจาะรูตามตำแหน่งต่าง ๆ เพื่อไล่ลำดับเสียง และมีที่เป่าอยู่ด้านข้าง โดยมีทองเหลืองเป็นลิ้น

ปี่ของไทลื้อเท่าที่เห็นจะไม่ยาวมาก สั้น ๆ และมักจะเป่าพร้อมกับการ “ขับลื้อ” โดยทำนองที่เป่าก็ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน(แต่หาคนเป่าไม่ค่อยมี) ทำนองก็มีไม่กี่ทำนอง และการขับลื้อจะใช้ปี่เพียง ๑ เหล้ม  เท่านั้นเอง
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 27 ก.ย. 06, 09:32

 ถัดจากแดนสิบสองปันนาลงมา ก็มาถึงล้านนา

ล้านนาก็มีเครื่องเป่าที่ทำมาจากไม้ไผ่ และก็เรียกว่า “ปี่” เช่นเดียวกับไทลื้อ เพียงแต่ไม่ได้บรรเลงโดด ๆ แต่บรรเลงร่วมกันหลายเหล้ม ประกอบการ “ซอ”  และมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน คือ

“ปี่แม่” เป็นปี่ที่ยาวที่สุด เสียงทุ้มต่ำ , “ปี่กลาง” ความยามขนาดกลาง เสียงค่อนข้างทุ้ม, “ปี่ก้อย” ขนาดลดหลั่นลงมาตามลำดับ เสียงพอดี ไม่ทุ้มมากไปหรือแหลมมากไป, “ปี่เล็ก” ขนาดก็เล็กลงตามลำดับ และเสียงแหลมเล็ก และสุดท้าย “ปี่ตัด” จัดได้ว่าเป็นขนาดเล็กที่สุดในวงปี่จุม มีเสียงเล็กแหลม แต่จะไปกวนกับปี่ก้อย จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยม

เมื่อมารวมกันเป็นหนึ่งวง หรือเป็น ๑ “ชุม” หรือออกเสียกว่า “จุม” โดยแบ่งตามจำนวนปี่ ว่าจะเป็น จุมอะไร ซึ่งมักจะมีดังนี้

“ปี่จุมสาม” หมายถึงการใช้ปี่สามขนาด เป่าประสานเสียงกัน ได้แก่ ปี่แม่ ปี่กลาง และปี่ก้อย ซึ่งเป็นชุมที่เห็นได้บ่อยที่สุด และบรรเลงร่วมกับซึงในการขับซอ

“ปี่จุมสี่” หมายถึงการใช้ปี่สี่ขนาด เป่าประสานเสียงกัน ได้แก่ปี่แม่ ปี่กลาง ปี่ก้อย และปี่เล็ก

“ปี่จุมห้า” หมายถึง การใช้ปี่ห้าขนาด เป่าประสานเสียงกัน โดยเพิ่มจากปี่จุมสี่มาอีกหนึ่งเล่
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 27 ก.ย. 06, 09:34

 ถัดจากล้านนา ก็ไปยังล้านช้าง จำนวนลำไม้ไผ่ที่ประกอบเข้ามาเป็นเครื่องดนตรีก็ทวีจำนวนมากขึ้น โดยแบ่งเป็น แคน ๖, แคน ๗, แคน ๘ และ แคน ๙... [2] ตัวเลขแต่ละตัวนั้นหมายถึงจำนวนคู่ หากนับเป็นจำนวนลำไผ่แล้วก็คงได้เป็น ๑๒, ๑๔, ๑๖ และ ๑๘ ตามลำดับ

ถึงแม้จะบรรเลงเดี่ยว อย่างน้อยก็เท่ากับจำนวนปี่จุม ๒ จุม เลยทีเดียว และท่วงทำนอง หรือ ลายแคน ก็มีมากกว่าทำนองซอของล้านนา (ทั้ง ๆ ที่เมื่อครู่พยายามจะหาทำนองซอออกมาให้มากเท่าที่ปี่จะบรรเลงได้) ดังนี้ ลายสุดสายแนน, ลายอ่านหนังสือใหญ่, ลายอ่านหนังสือหน้อย, ลายเซ, ลายแมงภู่ตอมดอก, ลายโปงลางขึ้นภู, ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก, ลายลมพัดไผ่, ลายลมพัดพร้าว, ลายล่องของ, ลายโป้ซ้าย, ลายเต้ย และ ลายเซิ
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
thawankesmala
อสุรผัด
*
ตอบ: 46

Khon Kaen University


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 29 ก.ย. 06, 12:52

 คุณ ศศิศ ครับมีคำผญา เพลงกล่อมเด็ก หรืออะไรที่เป็นของเก่า ๆ เอามาแจมตรงนี้ได้ไหมครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.04 วินาที กับ 19 คำสั่ง