เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 6876 เจอคำเหล่านี้มา เเล้วเเปลไทยเป็นไทยไม่ออกเลยค่ะ
นางพญาไร้รัก
อสุรผัด
*
ตอบ: 6

ม.เกษตร เเละสอนพิเศษฝรั่งเศส


 เมื่อ 24 ก.ย. 06, 23:45

 เจอคำเหล่านี้มา ไม่เข้าใจความหมายก็มี ไม่รู้ว่าต่างกันยังไงเยอะเเยะเต็มไปหมด พยายามค้นคว้าหาทาง internet แล้ว เเต่ก็ไม่เจออยู่ดี พอจะทราบบ้างไหมคะ ว่าคำไหนเเปลว่าอะไร หรือไม่ก็ต่างกันยังไงก็ได้ค่ะ (อยากรู้มากๆเลย)

นิทาน
นิยาย
นวนิยาย
เรื่องเล่า

มายาคติ
จินตคดี

วรรณคดี
วรรณกรรม
วรรณศิลป์
วรรณรูป

วอนผู้รู้ช่วยสั่งสอนหน่อยนะคะ ขอบคุณมากๆเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 25 ก.ย. 06, 07:39

 มองไปข้างๆช่องแสดงความคิดเห็น  เห็นคำว่าตัวช่วย พจนานุกรมไทย ออนไลน์ ไหมคะ
คลิกตรงคำว่า พจนานุกรมไทย  จะเข้าไปที่เว็บพจนานุกรมของราชบัณฑิตยสถาน
พิมพ์คำข้างบนนี้ลงไป    เว็บนี้จะหาความหมายให้
เหลือคำไหนที่ไม่มีในพจนานุกรม  
search ด้วย http://www.google.co.th   อาจจะมีคำตอบให้ค่ะ
บันทึกการเข้า
นางพญาไร้รัก
อสุรผัด
*
ตอบ: 6

ม.เกษตร เเละสอนพิเศษฝรั่งเศส


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 25 ก.ย. 06, 10:00

 ขอบคุณค่ะ ยังไม่เคยใช้พจนานุกรมออนไลน์เลย เเต่ google นี่...ไม่เจอค่ะ ไม่รู้ว่ามีศาสตร์ลึกซึ้งในการหา google อีกรึเปล่า
บันทึกการเข้า
นางพญาไร้รัก
อสุรผัด
*
ตอบ: 6

ม.เกษตร เเละสอนพิเศษฝรั่งเศส


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 25 ก.ย. 06, 10:02

 อ๊อ นี่พจนานุกรมของราบัณฑิตยสถานใช่ไหมคะ เคยใช้เเล้ว เเต่ไม่เจอค่ะ...เเต่ยืoยันนะคะว่าคำเหล่านี้มีอยู่จริงๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 25 ก.ย. 06, 10:11

 เอางี้นะคะ
คลิกที่พจนานุกรมไทย  
พิมพ์คำว่า นิทาน ลงไป คลิกคำว่า ค้น
รับรองเจอแน่ค่ะ ดิฉันพิสูจน์แล้ว  
บันทึกการเข้า
OBORO
ชมพูพาน
***
ตอบ: 158

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมเจอร์ฟิสิกส์


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 25 ก.ย. 06, 16:54

 เอ๋..ผมแปลกใจจังครับ ในเมื่อคำเหล่านี้ก็เป็นคำทั่วๆ อย่างนิทาน นิยาย วรรณคดี หรือคำอื่นๆที่คุณกล่าวมา  คำพวกนี้เราใช้ในชีวิตประจำวันอยู่แล้วนะครับ ด้านการศึกษาวรรณคดี
ด้วยวิธีของคุณเทาชมพู ผมลองหาด้วยพจนานุกรมข้างล่าง
ผลออกมาว่า

1. ค้น :  นิทาน

คำ :  นิทาน
เสียง :  นิ-ทาน
คำตั้ง :  นิทาน
ชนิด :  น.
ที่ใช้ :  
ที่มา :  (ป.)
นิยาม :  เรื่องที่เล่ากันมา เช่น นิทานชาดก นิทานอีสป.
ภาพ :  
อ้างอิง :  
ปรับปรุง :  98/4/2

เอาอีกสักตัวอย่างหนึ่ง ผมค้นหาด้วยเว็บ search engine ที่นิยมกันคือ google
ผม search ด้วยคำว่า "วรรณรูป คือ"
ผลที่ได้ออกมาพอจะรู้คร่าวๆว่า วรรณรูปหรือ เรียกอีกอย่างว่า กวีนิพนธ์รูปธรรม" (Concrete poetry)
ผมจึงลองใช้คำว่า กวีนิพนธ์รูปธรรม ซึ่งผลก็ยังเหมือนกับ ใช้คำว่า วรรณรูป
จึงเปลี่ยนไปใช้ คำว่า Concrete poetry กรรมจรึง คอมเริ่มรวนเดี๋ยวมาโพสต์ต่อครับ

--------------------------------------------------------------------------------
2. ค้น :  นิทาน
คำ :  นิทาน
เสียง :  นิ-ทาน
คำตั้ง :  นิทาน
ชนิด :  น.
ที่ใช้ :  
ที่มา :  (ป.)
นิยาม :  เหตุ เช่น โรคนิทาน.
ภาพ :  
อ้างอิง :  
ปรับปรุง :  98/4/2



--------------------------------------------------------------------------------
3. ค้น :  นิทาน
คำ :  นิทาน
เสียง :  นิ-ทาน
คำตั้ง :  นิทาน
ชนิด :  น.
ที่ใช้ :  
ที่มา :  (ป.)
นิยาม :  เรื่องเดิม เช่น วัตถุนิทาน.
ภาพ :  
อ้างอิง :  
ปรับปรุง :  98/4/2

นี่อย่างไรครับหลักฐาน ส่วนคำอื่นคุณต้องลองทำด้วยตัวเองแล้วล่ะครับ ไม่ใช่เรื่องยากอะไร
บันทึกการเข้า
OBORO
ชมพูพาน
***
ตอบ: 158

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมเจอร์ฟิสิกส์


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 25 ก.ย. 06, 17:01

 ขออภัยครับ ข้อความที่โพสต์ข้างบนรีบมาก ไม่ทันดูว่าเรียงลำดับผิด  ต่อนะครับ เมื่อผมเปลี่ยนมาใช้
คำว่า Concrete poetry
ผลที่ได้ออกมาส่วนใหญ่จะเป็นภาษาอังกฤษ ยกตัวอย่าง

Concrete poetry - Wikipedia, the free encyclopedia

Concrete poetry is poetry in which the typographical arrangement of words is as important in conveying the intended effect as the conventional elements of ...


en.wikipedia.org/wiki/Concrete_poetry - Similar pages

เนี่ยครับ จากนั้นคุณก็เว็บ ของวีกีพีเดียซึ่งเป็นสารานุกรมที่มีผู้ใช้หลายๆคนทั่วโลกร่วมกันจัดทำขึ้น ลองเข้าไปดูแล้วกันครับ

การใช้กูเกิล ในบางครั้งเราไม่สามารถ ค้นหาคำตรงๆที่เราต้องการได้หรอก จำต้องลดเลี้ยวลัดเลาะไปมาบ้าง บางทีอาจต้องยอมลำบากหน่อยไปใช้ ภาษาอังกฤษ  แต่ก็ไม่สาหัสหนักหนานัก พยายามเข้านะครับ คงช่วยได้เท่านี้


ปล.ว่าไปเมื่อยแขน +ปวดมือเหมือนกันครับคุณเทาชมพู

หุหุ
เอ้า ไหนๆก็ไหนๆละช่วยให้เสร็จไปสักคำนึง เว็บนี้นะครับสำหรับ ความหมายของวรรณรูป

 http://en.wikipedia.org/wiki/Concrete_poetry  
บันทึกการเข้า
OBORO
ชมพูพาน
***
ตอบ: 158

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมเจอร์ฟิสิกส์


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 25 ก.ย. 06, 17:08

 เพิ่มเติมนิดนะครับ เพราะส่วนตัวแล้วชอบเว็บวีกีพีเดียมาก มันมีของภาษาไทยไทยด้วยนะครับ

เว็บนี้ครับ
เข้าไปแล้วลองพิมพ์คำที่ต้องการหาลงในช่อง ค้นหานะครับ รับรองว่ามีหลายๆคำ ถ้าคุณอยากได้ความหมายที่ยาวกว่า พจนานุกรมข้างล่าง


 http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81  
บันทึกการเข้า
thawankesmala
อสุรผัด
*
ตอบ: 46

Khon Kaen University


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 25 ก.ย. 06, 18:22

 แต่ผมกลับชอบ answers.com นะ
บันทึกการเข้า
OBORO
ชมพูพาน
***
ตอบ: 158

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมเจอร์ฟิสิกส์


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 25 ก.ย. 06, 19:46

 www.answers.com ที่คุณ thawankesmala บอกมาก็ถือว่าเป็นเว็บที่ดีมากๆเว็บหนึ่งเลยครับ แต่มีข้อเสียอยู่นิดนึง ตรงที่ไม่มีภาษาไทย อาจเป็นข้อจำกัดสำหรับคนที่ไม่สันทัดภาษาอังกฤษอยู่บ้างครับ  และไม่ค่อยสะดวกนักหากต้องการหาข้อมูลภาษไทยอย่างเร่งด่วน

แต่ถ้าในเชิงภาษาอังกฤษก็ถือว่าดีมากๆครับ
บันทึกการเข้า
ติหลาอรสา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 60

เป็นนักเขียน นักแปล นักอ่าน นักนอนและนักกิน


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 25 ก.ย. 06, 21:17

 เราว่าคุณนางพญาไร้รักถามถึงความหมายเชิงลึกของคำพวกนั้นมากกว่าไม่ใช่ไม่เข้าใจความหมายโดยสิ้นเชิง
ความหมายเชิงลึก เมื่ออธิบายแล้วจะสามารถทำให้เข้ามากขึ้นแล้วสามารถจัดหมวดหมู่ได้เมื่อเห็นตัวอย่างจริง

คำแปลในพจนานุกรมไทยออนไลน์มันไม่ได้ให้ความเข้าใจมากขึ้นเท่าไรเลยนะคะ  

นิยาย -- เรื่องที่เล่ากัน
นวนิยาย -- เรื่องยาวที่แต่งขึ้นเป็นแบบร้อยแก้ว จากชีวิตจริง นิทาน พื้นบ้านพื้นเมือง จินตนาการ หรือประสบการณ์เป็นต้น
นิทาน -- เรื่องที่เล่ากันมา เช่น นิทานชาดก นิทานอีสป.

อย่างนั้น นิทานชาดกก็จัดเป็นเรื่องเล่าก็ได้  เป็นนิยายก็ได้ เพราะเล่ากันมา เพราะมีตัวร่วมของคำอธิบายแบบเดียวกัน  แต่ในความเป็นจริงก็คือไม่ใช่

ในบริบทของสังคมปัจจุบัน
ถ้าเราพูดถึงนิทาน เราจะนึกถึงรูปแบบอย่างหนึ่ง มีเจ้าหญิงเจ้าชาย มีกบ มียักษ์  มีโครงเรื่องเฉพาะทำนองหนึ่ง  
ถ้าเราพูดถึงเรื่องเล่า เราจะนึกถึงรูปแบบอีกแบบหนึ่ง มีโครงสร้างของ category ที่ถูกจัดว่าเป็นเรื่องเล่าอีกแบบหนึ่ง  
ถ้าเราพูดถึงนิยาย เราจะนึกถึงรูปแบบเฉพาะอีกแบบหนึ่ง  

ซึ่งทั้งในพจนานุกรมไม่ได้อธิบายไว้    เพราะพจนานุกรมไม่สามารถอธิบายความหมายในเชิงบริบทสังคมของคำคำนั้นได้หมด

เราเลยคิดว่าคำถามของคุณนางพญาฯก็น่าตอบอยู่นะคะ นอกเหนือจากการค้นพจนานุกรมทั้งออนไลน์ และไม่ออนไลน์แล้วก็น่าจะต้องค้นต่อไปอีกมาก กว่าจะเข้าใจว่าแตกต่างกันอย่างไร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 25 ก.ย. 06, 21:39

 อยากฟังเจ้าตัวมาอธิบายอีกทีค่ะ ที่คุณติหลาออกความเห็นมาก็น่าคิด
อันที่จริงถ้าเป็นนิสิต เรียนด้านภาษา  คงมีคำเหล่านี้อยู่ในตำราเรียนตั้งแต่ปี 1 แล้ว  ในนั้นน่าจะมีคำจำกัดความของศัพท์เหล่านี้ทั้งหมด
เลยแปลกใจที่บอกว่า "เจอคำเหล่านี้มา เเล้วเเปลไทยเป็นไทยไม่ออกเลยค่ะ เจอคำเหล่านี้มา ไม่เข้าใจความหมายก็มี ไม่รู้ว่าต่างกันยังไงเยอะเเยะเต็มไปหมด"
อย่างน้อย นิทาน กับ นวนิยาย ต่างกันยังไง น่าจะแปลออก

ถ้าค้นศัพท์ภาษาไทยไม่เจอ  ค้นเป็นฝรั่งเศส รับรองเจอแน่ๆ  
นิทาน = conte  
นิยาย  = fiction
นวนิยาย = roman
เรื่องเล่า = histoire
เอาตัวอย่างแค่นี้ก่อนนะคะ
บันทึกการเข้า
นางพญาไร้รัก
อสุรผัด
*
ตอบ: 6

ม.เกษตร เเละสอนพิเศษฝรั่งเศส


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 25 ก.ย. 06, 22:43

 ว๊าว มีคนมาช่วยไขความงงกันเต็มเลย (หรือว่าช่วยกันงง) ทรายมาเพิ่มเติมค่ะ คืออย่างคำว่านิทาน หรือนิยายเนี่ย เข้าใจอยู่นะคะ หาเจอในพจนานุกรมเหมือนกัน เเต่ว่าคำพวก นิยาย หรือนวนิยายเนี่ย เปรียบเทียบกันไม่ออกเลยค่ะ

คือ อยากรู้ข้อมูลเชิงลึกขึ้นมาอีกนิดน่ะค่ะ อยากรู้ว่าต่างกันยังไง

ดีใจจัง ทุกคนใจดี๊ ใจดี
บันทึกการเข้า
คิดไม่ออกบอกระเบียบรัตน์
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 26 ก.ย. 06, 00:09

 นิยาย = เรื่องเล่า
นว แปลว่า….ใหม่
นวนิยาย (novel)=เรื่องเล่าแบบใหม่ คำนี้ได้รับการบัญญัติขึ้นมาเพื่อเรียกวรรณกรรมชนิดใหม่ของอิตาลี (novella)
ของ “บอคคาจิโอ”  ชื่อเรื่อง “Decameron” (เสถียรโกเศศ แปลเป็นไทยชื่อเรื่อง “บันเทิงทศวาร”)

เรื่องเดคาเมรอน แตกต่างจากนิยายเดิมๆ ที่ผู้เขียนทำให้ดูเหมือนว่าเป็นเรื่องจริง โดยอาศัยการบรรยาย
เป็นการดำเนินเรื่อง เล่าเรื่องและเหตุการณ์ไปตามลำดับ บทเจรจาและเนื้อเรื่องสร้างจากจินตนาการ

ส่วนนวนิยายนั้น ผู้เขียนใช้กลวิธีให้ผู้อ่านเห็นว่าเป็นเรื่องโม้ ไม่ใช่เรื่องจริง แม้ว่าจะเขียนถึงเหตุการณ์หรือ
บุคคลจริงๆก็ตาม บทสนทนาก็พยายามเสกสรรปั้นแต่งให้เหมือนจริงตามเพศ วัยและฐานะของตัวละคร
มีวิธีการนำเสนอที่ยอกย้อนซ่อนเงื่อน หักมุม กลับตาลปัตร ชวนติดตามกว่าแบบเดิมๆ

จำมาจากหนังสือเรียนประวัติวรรณคดีนานมาแล้วค่ะ ผิดถูกโปรดสอบทานอีกครั้ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 26 ก.ย. 06, 08:23

 คำตอบของคุณระเบียบรัตน์ยังไม่ถูกต้องนะคะ  แต่ของจริงเป็นยังไง  คุณเจ้าของกระทู้หาอ่านได้จากคำจำกัดความภาษาฝรั่งเศสที่ดิฉันบอกไปค่ะ
อยากให้ศึกษาด้วยตัวเอง จะจำได้แม่นและเข้าใจดีกว่ามาขอคำอธิบายสำเร็จรูปในนี้

เอาอย่างนี้ดีกว่า   ถ้าคุณเจ้าของกระทู้อยากสนุก ไปค้นคำในภาษาต่างประเทศที่คุณถนัด   ลองอธิบายตามความเข้าใจของคุณ  ผิดถูกไม่ว่ากัน
แล้วดิฉันจะมาแจมด้วย  ถ้าคุณติหลาฯมาช่วยอีกคนก็ยิ่งสนุกใหญ่
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 19 คำสั่ง