jumo
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
สวัสดีทุกท่านคร้าบ
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 14 เม.ย. 07, 09:32
|
|
เอาประวัติของบีโธเฟนไปแล้วกันครับ
ลุดวิก ฟาน บีโธเฟน นักประพันธ์เพลงคลาสสิกชื่อก้อง เกิดที่กรุงบอนน์ ประเทศเยอรมนี ในปีค.ศ. 1770 ก่อนที่ย้ายไปกรุงเวียนนาในปี 1792 และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นจนกระทั่งเสียชีวิตในปีค.ศ. 1827 โดยในช่วงต้นคริศต์ศตวรรษที่ 19 บีโธเฟนได้ผลิตผลงานที่ถือว่ามีรูปแบบแปลกใหม่ สำหรับยุคนั้นออกมา ซิมโฟนีหมายเลข 3 (Eroica) ,งานเปียโน โซนาตาAppassionataและงานสตริงควอเต็ท Razumoysky
แต่ในขณะที่บีโธเฟนกำลังสร้างสรรค์ผลงานต่างๆออกมา เขาเริ่มตระหนักว่าหูของเขามีปัญหาในการได้ยินเรื่อยๆมาและหมอคนไหนๆก็ไม่สามารถรักษาหายได้ นอกจากนี้บีโธเฟนก็ยังมีปัญหาสุขภาพอื่นๆรวมทั้งนั่งเผชิญปัญหาในด้านความยากจนอีกด้วย
แม้ในช่วงแรกเขาจะรู้สึกท้อแท้และสิ้นหวังจนกระทั่งเคยคิดที่ฆ่าตัวตายด้วย แต่สุดท้ายเขาตัดสินใจที่จะไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา และอดทนสร้างผลงานต่างๆออกมาเป็นจำนวนมาก รวมทั้งผลงานชิ้นเยี่ยมอย่าง เปียโน โซนาตา op. 106 Hammerklayier, และซิมโฟนีที่ยิ่งใหญ่อย่างซิมโฟนีหมายเลข 9 the choral
แม้เขาจะไม่เคยได้ยินเสียงเครื่องดนตรีบรรเลงเพลงที่เขาแต่งขึ้น แต่เขาก็คงประพันธ์เพลงเรื่อยไปจนถึงวันที่เขาเสียชีวิตบีโธเฟนได้รับการยอมรับว่าเป็นนักประพันธ์เพลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์คนหนึ่ง เขามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของดนตรีคลาสสิกจากยุคคลาสสิก (เช่นผลงานของโมซาร์ท และไฮเดิน) โดย บีโธเฟนได้ผสมผสานดัดแปลงรูปแบบการประพันธ์แบบดั้งเดิมเข้ากับวิธีการใหม่ๆ และใส่อารมณ์ ความรู้สึกของตนเข้าไปในผลงานซึ่งการสร้างสรรค์ผลงานที่เปี่ยมไปด้วยอารมณ์ของมนุษย์เป็นรูปแบบที่ทำให้ผลงานของเขาแตกต่างจากผลงานในยุคคลาสสิก และปฎิวัติเปลี่ยนแปลงดนตรีตะวันตกเข้าสู่ยุคโรแมนติก ผลงานของเขาได้สร้างแรงบัลดาลใจให้แก่นักประพันธ์ดนตรีรุ่นต่อๆมา รวมไปถึงนักดนตรี และผู้ที่ได้ฟังดนตรีของเขาอย่างมากมาย นอกจากผลงานประพันธ์ของเขาแล้ว บีโธเฟนยังเป็นที่ชื่นชมและจดจำในฐานะมนุษย์คนหนึ่งซึ่งต่อสู้อย่างไม่ย่อท้อต่อโชคชะตา และยังคงมองโลกในแง่ดีและเชื่อมั่นในมนุษยชาติเสมอ แม้ว่าชีวิตจะยากลำบากเพียงใด
|