เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 5914 ทาสหายไปไหนหมด
thawankesmala
อสุรผัด
*
ตอบ: 46

Khon Kaen University


 เมื่อ 11 ก.ย. 06, 12:08

 ทาสในประเทศไทยเพิ่งเลิกไปสมัย ร 5 ก็ไม่นานนัก น่าจะมีร่องรอยให้สืบสาวอยู่บ้าง อยากทราบว่าทาสหายไปไหนหมดครับ
บันทึกการเข้า
tuka007
พาลี
****
ตอบ: 291


คนจับจอบจับเสียม


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 11 ก.ย. 06, 12:21

 เมื่อเลิกไปหมดแล้ว ก็แสดงว่า ไม่มีแล้วสิคะ
บันทึกการเข้า

จงยิ้มให้โลก...แล้วโลกจะยิ้มให้เรา
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 11 ก.ย. 06, 12:37

 กลายเป็นไทไปหมดแล้วค่ะ
บันทึกการเข้า
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 175

ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 12 ก.ย. 06, 10:25

 ผู้สืบเชื้อสายทาสก็คือประชาชนคนไทยเดินดินกินขนมจีนน้ำยาที่เห็นๆ กันอยู่ที่แหละครับ แต่พอเลิกทาสแล้วก็หลายเป็นไทกันหมด
จะเหลือแต่พวก ทาสเงิน ทาสยาเสพติด ทาสความชั่ว ต่อให้เลิกทาสยังไงพวกนี้ก็เป็นไทไปไม่ได้ เรียกสั้นๆว่า "ตัวเป็นไทแต่ใจทาส"
แต่พูดถึงคำว่าทาส ก็ให้นึกถึงท่านพระพุทธทาส ผมคิดว่าท่านเป็นทาสที่น่ายกย่องที่สุด เพราะ ท่านเป็นทาสผู้ที่อุทิศตนแก่สิ่งที่เลื่อมใสศรัทธาคือพระบวรพุทธศาสนา
ดังนั้นคำว่าทาสในความคิดผม ก็ไม่ถือว่าเป็ฯคำดูถูกเหยียมหยาม เพราะตัวผมเองตอนนี้ก็เป็นทาส แต่เป็น ทาสรัก ทาสผู้อุทิศชีวิตนี้แก่ใครคนนั้น....อายจัง
บันทึกการเข้า
thawankesmala
อสุรผัด
*
ตอบ: 46

Khon Kaen University


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 13 ก.ย. 06, 08:55

 อยากรู้เรี่งทาสมาก ๆ เราคิดว่าไม่มีแล้ว แต่ความจริงมี ทาสมีความหมายทั้งทางบวก และทางลบ มันมีความเป็นมาอย่างไร ทั้งเรื่องราวทางตะวันตก ตะวันออก อยากให้ทุกท่าน แสดงความคิดเห็น เพื่อเราจะได้รู้เท่าทันเรื่อง ทาส และไม่เป็นทาส เมื่อทาสเลิกไปแล้วก็ขอให้เลิกจริง ๆ เถอะครับ อย่าได้มีทาสแอบบแฝงเลย คำถามแรกดูจะเป็นคำถามปลายปิด ก็เลยถามใหม่ครับ น้อง ๆ มัธยมมาอ่านอาจเอาไปทำรายงานด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 13 ก.ย. 06, 09:13

 คุณ thawankesmala ลองเริ่มด้วยการค้นกูเกิ้ล พิมพ์คำว่า slavery ก็ได้ จะรู้เรื่องทาสของตะวันตก พอเป็นจุดเริ่มต้นให้ค้นคว้าต่อไปได้
มาขอความรู้ในนี้แบบให้คนอื่นป้อนให้กิน   ไม่สนุกเท่าหาด้วยตัวเองหรอกค่ะ  หาเองจะจำได้แม่นกว่าด้วย
เอาไว้ติดขัดตรงไหนค่อยมาถามอีกทีดีกว่า
บันทึกการเข้า
ทามะ
อสุรผัด
*
ตอบ: 23

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 13 ก.ย. 06, 12:03

 ไม่ใครอยากเป็นทาสอีกแล้วคับผม
บันทึกการเข้า
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 29 ก.ย. 06, 16:38

 ทาสที่อยู่กับเจ้าขุนมูลนายเดิม หมดเป็นไท ไปหมดแล้ว และไม่เหลือร่อยรอยให้เห็นอีกแล้ว

แต่มีทาสอีกประเภทหนึ่ง ที่มีประเพณี และหน้าที่ ที่ยังคงสืบทอดมาอยู่จนถึงปัจจุบันครับผม

ก็คือ "ทาสวัด"  หรือเรียกได้หลายคำ เช่น "ข้าพระ", "ข้าวัด", "อารามิก", "คนทานพระกัลปนา" เป็นต้น

ซึ่งทางเหนือปัจจุบันก็กลายเป็นศรัทธาวัดไปหมดแล้ว แต่ก็มีประเพณีที่สืบทอดกันมาในกลุ่มของข้าวัดเหมือนกัน ซึ่งเห็นได้ในปัจจุบัน ผมไม่ทราบว่าทางภาคกลางจะเป็นเหมือนกันหรือไม่ ไว้มีโอกาส จะมาเล่าให้ฟังทีหลังนะครับ ถ้าหากสนใจ
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 29 ก.ย. 06, 18:13

 สนใจ อยากรู้ด้วยคนครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 29 ก.ย. 06, 18:14

 อยากทราบเช่นเดียวกันค่ะ
บันทึกการเข้า
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 29 ก.ย. 06, 19:02

 อย่างนั้น ขอเวลาไปเรียบเรียงและตัดทอนข้อมูลมาเล่าสู่กันฟัง โปรดอดใจรอหน่อยนะครับผม

แต่ก่อนอื่น เอาความหมายคร่าว ๆ มาฝากกันก่อนครับผม

คำว่า “ข้าวัด” หมายความว่า เลกวัด ซึ่งนอกจากคำว่า ข้าวัดแล้ว ยังมีคำอื่น ๆ ในเชิงที่มีความหมายเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น "ข้าพระ", "ข้าอยาดน้ำหมายทาน", "ข้าน้ำอยาด", "ข้าโอกาสอยาดน้ำ", "ข้าพระเจ้า" อันล้วนแล้วแต่หมายถึง เลกวัด หรือ บุคคลที่มีผู้กรวดน้ำอุทิศถวายไว้เพื่อให้ดูแลวัดเป็นต้น  

สำหรับจารึกบางหลักอาจใช้คำว่า “อารามิก”  อันหมายถึง ผู้ทำการในวัด หรือคนสำหรับประจำวัด ซึ่งก็คือ ข้าวัดเช่นเดียวกัน หรือในเอกสารทางอยุธยา จะเรียกว่า “คนทานพระกัลปนา”
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
thawankesmala
อสุรผัด
*
ตอบ: 46

Khon Kaen University


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 30 ก.ย. 06, 12:39

 ทำไมจึงมีทาสคล้าย ๆ กับของศาสนาบางศาสนาทางแอฟริกา ซึ่งทางการรณรงค์ให้เลิก แต่ยังมีแอบนับถือกันอยู่ เช่นที่ประเทศกานา ซึ่งชาวบ้านจะต้องมอบลูกสาวให้เป็นทาสรับใช้แก่พระผู้เป็นเจ้า โดยผ่านทางพระซึ่งเป็นสื่อกลาง ซึ่งเท่ากับเป็นทาสของพระนั่นเอง เดี๋ยวผมจะไปค้นรายละเอียดมาให้
บันทึกการเข้า
tuka007
พาลี
****
ตอบ: 291


คนจับจอบจับเสียม


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 02 ต.ค. 06, 19:11

 นั่งรอตอนต่อไปอย่างใจจดจ่อ
บันทึกการเข้า

จงยิ้มให้โลก...แล้วโลกจะยิ้มให้เรา
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 15 ต.ค. 06, 05:51

 การกัลปนาข้าพระ

   ในดินแดนล้านนาทั้งหมดนี้ ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินล้วนเป็นของกษัตริย์ทั้งสิ้น ฉะนั้นหากจะเอาไพร่มาเป็นข้าพระ กษัตริย์จะทำการกัลปนาเอง เมื่อเป็นวัดที่กษัตริย์ทรงสร้าง หากเป็นวัดที่เจ้าเมือง หรือขุนนางสร้างในที่ต่าง ๆ ก็จะต้องได้รับพระราชทานอนุญาตจากกษัตริย์ด้วยทุกครั้ง ดังเช่นการสร้างวัดดอนครามในปี พ.ศ. ๒๐๓๑ ของนางเมืองพะเยา ซึ่งเป็นเจ้าเมืองพะเยาตอนนั้น มีประสงค์จะสร้างวัดดอนคราม จึงมีฏีกาไปถวายกษัตริย์แห่งเชียงใหม่หรือมหาเทวี และในครั้งนี้ มหาเทวีได้ส่งตราหลาบคำหรือลานทองมากัลปนาข้าพระไว้ที่วัดนี้ ที่ว่า
   
พระมหาราชเทวีเจ้าแผ่นดิน หื้อล่ามบุญเด็กชาย กับพันคำคนแม่คิงพระ กับคนเจ้าหมื่นวาปาน หื้อเอาตราหลาบคำมาเถิงนางเมืองพะเยา นางเมืองพะเยาหื้อพันนาหลัง กับเถ้าเมืองกับพันเชิงคดีแคว้น กับพันเชิงคดีหลวง กับพันพอนกับนายหนังสือแคว้น กับคนพันหนังสือพื้นเมืองพิง กับคนเถ้าเมือง นำมาไว้กับวัดดอนครามและ พระมหาราชเทวีเจ้า หื้อไว้คน กับ ๒๐ ครัว รักษาพระพุทธเป็นเจ้า กับทั้งพระมหาเถรเจ้า ไผอย่ากลั้วเกล้าเขาข้าพระทังหลายฝูงนี้” [1]
   
ซึ่งบางครั้งกษัตริย์ก็จะทำการซื้อไพร่ให้มาเป็นข้าวัดด้วยเช่นกัน ดังที่ว่า “พระมังรายนราชเจ้า ก็ซื้อเอามิลักขุทั้งหลาย ๕๐๐ ครัว อันอชุตราชเจ้าซื้อเอากับปู่เจ้าลาวจก บริจาคไว้รักษาพระบรมธาตุเจ้านั้นเป็นราคา ๑,๐๐๐ ตำลึงทองแล้ว ก็เอามาโอกาสหยาดน้ำถวายให้เป็นทานกับพระมหาธาตุดั่งแต่ก่อน” [2]

นอกจากจะเป็นการกัลปนาคนของกษัตริย์โดยกษัตริย์แล้ว ในการทำบุญบางครั้งจะมีผู้ร่วมทำบุญด้วย ไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุหรือขุนนาง

   สำหรับพระภิกษุก็จะมีคนของตน ด้วยในสมัยก่อน พระสงฆ์จะมีเงินมาก ด้วยการกัลปนาแต่ละครั้ง จะมีเงินทอง ทรัพย์สินที่มูลค่ามหาศาล ส่วนส่วยสาอากรที่เข้ามาสู่วัดก็มีมากมาย จึงไม่แปลกเลยที่พระสงฆ์จะมีเงินที่จะปล่อยให้ชาวบ้านกู้ เพื่อเอาดอกเบี้ยที่ได้นั้นมาบูชาพระ เช่น “รอมทังมวล ๑๖๗๐ เงิน เงินจำนำไว้เป็นมูล ให้เอาดอกเป็นค่าหมากเมี่ยง บูชาพระธรรมพันร้อยเงิน บาตรเงินลูกหนึ่งหนัก ๑๘๖๓ เงิน เงิน ๕๗๐๐ ไว้เป็นมูล เอาดอกเป็นข้าวใส่บาตรบูชาพระธรรมเจ้า” [3]

   เมื่อมีการปล่อยเงินกู้ ก็มีผู้ที่กู้แล้วไม่สามารถที่จะคืนเงินได้ หรือยังไม่ได้คืน เรียกว่า “คนสินทาน” เมื่อมีการทำบุญ ก็มีการกัลปนาคนสินทานมาเป็นข้าวัด เพื่อเป็นการหักล้างหนี้ที่ยืมไป ที่ว่า “แลคนสินทาน (ที่) เจ้าหมื่นเจ็ดเชียงแสนไว้หื้ออุปฐากแก้ว ๓ จำพวก (มีจำนวน) ๑๐ ครอบครัว” [4] ซึ่งเป็นสมบัติของพระสงฆ์ที่เจ้าหมื่นเจ็ดเชียงแสนเป็นคนจัดการ และมีการบอกไว้ด้วยว่า ถึงแม้ว่าพระสงฆ์ที่เป็นเจ้าหนี้จะมรณภาพไป ก็จะตกเป็นคนสินทานของกษัตริย์ด้วย ที่ว่า “คนสินทานหมู่นี้ เมื่อบาสกเจ้ากูยัง (เขา) เป็นคนสินทานบาสกเจ้ากู และ บัดนี้บาสกเจ้ากูตาย(ไปแล้ว) เขาก็เปนคนสินทานมหาราชเจ้า เจ้าแผ่นดิน(ทั้ง)สิ้น” [5]

   นอกจากนี้ยังมีการซื้อคนที่แพ้ หรือคิดว่าจะแพ้จากในกว้านหรือในศาล มาเป็นข้าวัดด้วย เช่น “มหาสามีเจ้าญาณเทพพระคุณ วัดบ้านดอนหื้อทานข้าไว้กับวัดบ้านหนอง ๗ ครัว เก็บน้อย ร่ หนึ่ง เม้ ๑ ลูก ๖ หญิง ๒ ชาย ๔ ตนสามีเจ้าซื้อกลางกว้าน จาค่า ๑๒๐๐ เงิน ไว้กับปราสาทพระเจ้า” [6]

   ซึ่งการเอาคนที่มีหนี้สิน หรือกำลังจะแพ้ความ นี้เป็นสองในสี่ ที่ได้ตราเป็นกฎหมายไว้ว่าเป็นผุ้ที่ขุนไม่ควรนำมาเป็นข้า อันได้แก่ “๑. ผู้มีหนี้สินมาก ไม่มีทางชำระหนี้ จะหนีไปเป็นข้าขุนเพื่อให้พ้นหนี้ ๒. ผู้กำลังจะแพ้ความ ๓. ผู้เป็นโจรแย่งชิงฆ่าคนลักข้าวของท่าน ๔. ผู้ละทิ้งราชการ” [7] อาจจะเป็นว่า คนสองกลุ่มที่ทานให้วัด ถูกกำหนดไว้แล้วว่าไม่ควรที่จะอยู่ในอาณัติของใครทั้งสิ้น จึงมีการนำคนพวกนี้มาเป็นข้าวัด รับใช้ศาสนาในที่สุดก็เป็นได้

   บางครั้งไพร่ที่มั่งมีอาจจะเป็นสะค่วยเศรษฐีก็อาจจะหยาดน้ำหมายทานข้าของตนเองให้มาอุปัฏฐากพระพุทธศาสนาด้วยเหมือนกัน เช่นที่ว่า “ยังมีผู้ ๑ ชื่อพันจัน เมื่อจาตายมันหยาดน้ำไว้ข้ามัน หื้ออุปัฏฐากแก่พระพุทธเจ้า ๓ ครัว อ้ายเทาครัว ๑ ศีลวาครัว ๑ เมียเถรชิบครัว ๑” [8]

   การกัลปนา ไม่ว่าจะโดยผู้ใด ก็จะต้องมีพยานด้วยทุกครั้ง เพื่อที่จะได้รู้ว่า ใคร หรือ ครัวใด ที่เป็นข้าวัดบ้าง ซึ่งบางทีอาจจะเกิดปัญหาเช่นการนำข้าวัดออกไปเป็นต้น การที่มีพยานในการกัลปนา ดังเช่นที่ว่า “...เฒ่าเมืองสนรู้ ...ก็รู้ ล่ามหมอปากนาปรงรู้ ... ล่ามกำเพียนปากนาอางรู้” [9]

----------

[1] พย. ๒ จารึกวัดดอนคราม ใน ประชุมจารึกเมืองพะเยา = Inscriptional history of Phayao . หน้า ๑๐๗ - ๑๐๘
[2] ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๑, หน้า ๖๕
[3] หลักที่ ๗๑ ศิลาจารึกวัดพระธาตุ มุมตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดลำพูน ใน ประชุมจารึก ภาคที่ ๓ , หน้า ๑๘๘
[4] พย.๒๗ จารึกเจ้าสี่หมื่นพยาว (วัดลี) ใน ประชุมจารึกเมืองพะเยา = Inscriptional history of Phayao . หน้า ๑๕๗
[5] เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๖๒
[6] พย. ๑๐ จารึกมหาสามีเจ้าญาณเทพคุณ วัดบ้านดอน ใน เรื่องเดียวกัน . หน้า ๒๕๖
[7] ประเสริฐ ณ นคร เรียบเรียงเป็นภาษาปัจจุบัน. มังรายศาสตร์. (กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรต ประสานมิตร, ๒๕๒๑) หน้า ๖ – ๗
[8] หลักที่ ๖๘ ศิลาจารึกวัดหนองหนาม จังหวัดลำพูน ใน ประชุมจารึก ภาคที่ ๓ , หน้า ๑๖๗
[9] พย.๕ จารึกวัดป่าเหียง. หน้า ๑๐๓
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
กงกง
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 16 ต.ค. 06, 00:24

 ขอติดตามตอนต่อไปด้วยคนครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 19 คำสั่ง