เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 16137 ดนตรีสี่ภาค
จิตแผ้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 169


 เมื่อ 10 ก.ย. 06, 17:31

 ทุกคนที่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ชาติไทยก็คงพอจะรู้ว่า แดนดินไทย เป็นแหล่งอาศัยทำมาหากินของชนหลายเผ่า ดนตรีใครๆก็มักจะพูดว่าเป็นภาษาสากลหากใช้ดนตรีเป็นการสร้าง สมานฉันท์ ของคนไทย ในแต่ละภาค มีการแลกเปลี่ยน วัฒนธรรม ผ่านเยาวชน หรือ บุคลากรที่ผ่า่นการเลือกสรรแล้ว ไทย ในแต่ละภาคจะเข้าใจกันมากยิ่งขึ้น ระหว่างประเทศ มีนักเรียน AFS ระหว่างภาคในประเทศไทย น่าจะมี องค์กรอะไรสักอย่างปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องนี้ เรียนเชิญทุกท่านแสดง้ความคิดเห็น
บันทึกการเข้า
จิตแผ้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 169


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 10 ก.ย. 06, 17:40

 หากชนทุกภาค ซาบซึ้งและเข้าถึงลำนำบทเพลงที่สะท้อนความรู้สึก วิถีชีวิตของคนอีสานจากเสียงแคน มีจิตมั่นร่ำเรียน การเป่าแคนจาก ตัวแทนทูตทางวัฒนธรรม แห่งอีสานจนบรรเลงเพลงแคนลายต่างๆก็จะเข้าใจชาวอีสานมากขึ้น ทำนองเดียวกันกับ สะล้อ ซอ ซึง จากภาคเหนือ โนราห์จากแดนใต้
บันทึกการเข้า
จิตแผ้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 169


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 10 ก.ย. 06, 18:25

 มีตำนานเล่าขานว่า เมื่ครั้งที่มีการต่อสู้กันของ ไทย ณ.เทือกภูสูงชายแดนภาคหนือ ทหารหาญเลือดที่ราบสูงนำแคนออกมาเป่าในคืนที่จันทร์ไร้แสง เพียงแสงดาวนับแสนมีหรือจะแจ่มกระจ่างบรรยากาศที่สลัวซึมเซาเคล้าเสียงแคนหวานปนเศร้าบรรยายควานยากจนข้น
แค้น ความห่วงอาลัยผืนดินถิ่นเกิด เสียงแคนลอยตามลมเอื่อยไหลไปในราวไพร
กระทบโสตพี่น้องต่างอุดมการณ์ที่หมายจ้องยิงมนต์แห่งเสียงแคนและสายเลือดอีสานอันเดียวกัน ทำเอามือไม้อ่อนทิ้งปืื้นซบหน้าร้องไห้น้ำตาไหลนองแผ่นดินแทนเลือดไทย ต่างฝ่ายก็ไม่ต้องเกิดการสูญเสียฆ่าแกงกัน น่าศึกษามนต์ขลังแห่งดนตรีการเป็นอย่างยิ่ง
นะครับท่าน
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 10 ก.ย. 06, 22:53

 ก่อนนั้นเคยเล่นเครื่องดนตรีไทยอยู่บ้างครับ เจ้าเครื่องดนตรีชนิดนี้ เรียกว่า " ซึง" ครับ

ซึง จะคล้ายกับกระจับปี่ของภาคอีสาน มีสาย4สาย การเล่นก็จะดีดพร้อมกันทีละ2สาย
ไม่ดีดทุกสายพร้อมกันเหมือนกีตาร์ หรือดีดทีละสายเหมือนเครื่องดนตรีอีกหลายชนิด

พอเล่นได้ครับ แต่เล่นไม่เก่งนัก แถมร้างลามานับ10ปี แต่ก็จำมนต์ขลังของเสียงมันได้ดีครับ

.
บันทึกการเข้า
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 175

ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 10 ก.ย. 06, 23:51

 ดนตรีเป็นภาษา สากลก็จริง แต่ก็มีคามแตกต่างทางวัฒนธรรมอยู่พอสมควร ครั้งหนึ่งผมไปสีสะล้อสามสาย ที่บ้านพ่อครูวิเทพ ที่เชียงใหม่ โดยเทียบเสียงเป็นซอสามสายแบบภาคกลาง แล้วสีบุกลันลอยเลื่อน แบบซอสามสาย พอครูฟังแล้วท่านก็บอกว่า เพลงอะไร ทำไมฟังแล้วเศร้า ผมก็แปลกใจเพราะเพลงนี้ผมสีซอสามสายทีไร ก็มีแต่คนบอกว่าหวาน(บางคนยังติว่าสีออกสำเนียงดุไปเสียด้วยซ้ำ) ดังนั้นแม้ดนตรีจะเป็นภาษาสากล แต่เราก็ต้องยอมรับควาแตกต่างทางวัฒนธรรมของแต่ละภาคพอสมควร
กลับมาเรื่องการสร้างองค์กรที่จะมีหน้าที่เป็นตัวแทนแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ผมคิดว่าเรื่องนี้ไม่น่ามีปัญหาเพราะแท้จริงแล้ว เรามีวิทยาลัยนาฏศิลป์ และสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง ที่มีการสอนดนตรีทั้งของพื้นเมือง และของภาคอื่นๆ ดูอย่างที่ ม.เชียงใหม่ ก็มีการสอนทั้ง ดนตรีพื้นเมืองภาคพายัพ และดนตรีไทยภาคกลาง(มีการเชิญครูผู้ใหญ่จากกรุงเทพฯขึ้นไปสอนอย่างเป็นล่ำเป็นสัน) ความจริงแล้วการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมไม่ว่าทางดนตรี นาฏศิลป์ ฯลฯ ในสมัยนี้ออกจะแพร่หลายมากกว่าสมัยก่อนเสียด้วยซ้ำ จนถึงขนาดครูผู้ใหญ่ในกรมศิลป์หลายๆท่านก็กล่าวว่า สมัยนี้การดนตรีนาฏศิลป์นั้นเฟื่องฟูมาก เด็กใต้ก็สามารถฟ้อนเล็บ ฟ้อนเจิง ได้งาม เด็กเหนือก็รำโนราห์ชาตรี ได้ไม่แพ้ใคร  การใช้ดนตรีและศิลปสร้างความสามัคคีในชาติก็ดี แต่จะปัญหาหลักมันอยู่ที่ว่า มันเป็นเรื่องของคนกลุ่มน้อย คนสมัยนี้พอเห็นอะไรเป็นของเก่าของโบราณ ก็ร้องยี้ ดูถูกดูแคลน แม้แต่ในงานเวทีใหญ่ๆ ขอแฉเลยว่าเป็นงานที่จัดโดย กทม. (งานระดับจังหวัด) จัดเวทีให้มีการแสดงทั้งดนตรีไทย และ ดนตรีสมัยใหม่ พอดนตรีไทยขึ้นเวที พรมปูนั่งซักผืนก็ไม่มี พอถามหาเจ้าหน้าที่ก็ตอบมาอย่างหน้าตาเฉย ว่า"ดนตรีไทยต้องนั่งกับพื้นด้วยหรอ" ผมก็อึ้ง ทึ้ง เสียว สุดแสนจะงุงงงสงกาว่า เดี๋ยวนี้คนไทยมันไม่รู้จักดนตรีไทยขนาดว่า ดนตรีไทยเค้านั่งเล่นบนพื้น หรือเวที ไม่ใช่ยืนสีซอ ดีดจะเข้ แบบ วง 12 สาวชาวจีน ทำให้นักดนตรีไทยต้องวิ่งหาเศษกระดาษหนังสือพิมพ์ มาปูบนเวทีน่าสมเพชยิ่งว่า วนิพกข้างถนน แต่ด้วยจรรยาบรรณ เมื่อรับปากว่าจะเล่นให้แล้วก็ต้องเล่น ไอ้เรามันแค่เด็ก เกียรติยศอะไรก็ไม่มี ใครจะเหยียบจะย่ำก็ช่างมันเถิด สงสารก็แต่ครูผู้ใหญ่ ร้องเล่นถวายเจ้านายมาค่อนชีวิต เคยเล่นแต่บนพรม จะหมอบราบกราบกรานก็แต่พระและเจ้านาย ต้องมานั่งร้องเล่นบนกระดาษหนังสือพิมพ์ แถมเล่นไปซักพักโหมโรงจบไปไม่นาน เจ้าหน้าที่ก็มาเชิญลงจากเวที เพราะดนตรีสากลมาพร้อมแล้ว  จะให้วงดนตรีไทยเล่นเพลงลาซักเพลงก็ไม่มี  
จากนั้นข้าพเจ้าก็ตัดสินใจ ไม่ขอคบค้าสมาคม งานที่จัดโดย กทม ขอไม่รับ ให้เอาวอทองมาเชิญก็ไม่ไป ไม่ใช่ว่าผมถือตัวนะ แต่สงสารครูชั้นผู้ใหญ่ที่ต้องมาอัปยศ กับความไม่ใส่ใจ+ความไม่เห็นคุณค่าของคนไทยสมัยนี้
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 11 ก.ย. 06, 00:07

 อ่านความเห็นของคุณลำดวนฯแล้วเข้าใจความรู้สึกและให้นึกแค้นเคืองตามไปด้วยเลยครับ

ครูจิตฯและท่านอื่นๆล่ะครับมีเรื่องราวดนตรีอะไรนำเสนออีกไหม ?
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 11 ก.ย. 06, 11:59

 อนิจจาครานี้นะตัวกู



มาอ้างว้างค้างอยู่ในป่าใหญ่



จะเป็นเหยื่อเสือสางที่กลางไพร



เอาป่าไม้เป็นเรือนเหมือนป่าช้า"...



"แต่ทุกข์ยากอย่างนี้ยังมิเคย



อกเอ๋ยเกิดมาพึ่งจะพบ



ไม่เคยเห็นก็มาเห็นอนาถนัก



ไม่รู้จักก็มารู้อยู่เจนจบ



ร่านริ้นบินต่ายระคายครบ



ไม่เคยพบก็มาพบทุกสิ่งอัน



ยังพรุ่งนี้จะเห็นกระไรเล่า



จะลำบากยิ่งกว่าเก่าอะไรนั่น"


ใครจำเนื้อเพลงนี้ได้ช่วยกันต่อหน่อยนะครับ หรือใครที่มีเนื้ออีกทางหนึ่งก็ช่วยกันลงหน่อยนะครับ ผมหาไม่ได้
บันทึกการเข้า
tuka007
พาลี
****
ตอบ: 291


คนจับจอบจับเสียม


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 11 ก.ย. 06, 12:42

 เห็นด้วยกับคุณหมูน้อยค่ะ  

เมื่อลูกชายมาบอกว่า โรงเรียนให้เรียนวิชาดนตรีไทยควบคู่กับดนตรีสากล ด้วยจึงดีใจมาก  เคยเห็นพี่ๆในวงฟองน้ำและอ.บรูซ เล่นเพลงไทย แล้วชอบมาก ตอนที่หนังเรื่องโหมโรงเข้าฉาย  ก็เกี่ยวก้อยลูกชายดูกันหลายรอบเลย  
บันทึกการเข้า

จงยิ้มให้โลก...แล้วโลกจะยิ้มให้เรา
จิตแผ้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 169


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 11 ก.ย. 06, 15:02

 ก็เพราะความแตกต่างนี่แหละถึงจะต้องมาเรียนรู้ซึงกันและกันในความต่างอาจจะมีอะไรที่มันมาเชื่อมต่อกันได้
อย่างเช่นการตั้งสายซึงสายสะล้อให้เข้าวงต้องอาศัยเทียบเสียงจากปี่๊่จุมเป็นหลัก ถ้าจะมีวงดนตรีพื้นเมืองสักวงหนึ่งตั้งสาย สะล้อ ซึงถาคเหนือ พิณอีสาน ซออู้ ซอด้วง
จะเข้ ซออีสาน โดยใช้แคนเป็นหลักแล้วบรรเลง สะป๊ะเพลงไปด้วยกันมันจะเป็นยังไง
ทีนี้ถ้าจะทำจริงๆต้องอาศัยนักดนตรีที่มีความสามารถ เอกอุในแต่ละชนิดของเครื่องดนตรี
วงที่ว่านี้ ขอให้เป็นวงที่ยั่งยืนไม่ใช่ทำโชว์ใน รายการ คุณพระช่วย เท่านั้น
เพราะฉะนั้น แต่ละท้องถิ่นก็จะต้องมีบุคลากรที่แตกฉานดนตรีของ4ภาคนี้ ทุกท้องถิ่น จากการแลกเปลียนบุคลากร เยาวชนก็ได้ คนเฒ่าก็ดีถ้าพร้อมที่จะอุทิศคน เหนือไปอยู่อีสาน กลาง ใต้ ไปเอา และ ไปรับวัฒนธรรมของกันและกันนำไปประยุกต์ นำไป ประสม คละเคล้า ให้เ้ข้า้กัน ไปพัก อยู่กิน แบบโฮมสเตย์ ระยะเวลา อาจจะซัก3เดือนก่อนแล้วค่อยๆขยับขยายไปเป็นปี ปลูกฝังลงในชุมชนระดับหมู่บ้าน
บันทึกการเข้า
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 175

ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 11 ก.ย. 06, 21:22


คุณกุรุกุลา คงกล่างถึงเนื้อเพลงแสนคำนึง ที่ครูหลวงประดิษฐ์ฯ ท่านแต่ไว้ เพลงนี้โดยส่วนตัว ผมคิดว่าเป็นเพลงที่มีความโก้เก๋อยู่ไม่น้อย มีท่อนเกริ่นหรือลูกนำ (Intro) ที่รุกเร้า ได้ความรู้สึกอัดอั้นตันใจ พอเข้าทำนองเพลงก็ฟังแล้วหวานระคนเศร้า แถมตอนท้ายเพลงก็มีออกเดี่ยวรอบวง มีการใช้จังหวะเดินสวนสนามแบบฝรั่งฟังดูห้าวหาญดี
ส่วนเรื่องเนื้อร้องบทเดิมนั้น ครูหลวงประดิษฐ์ฯ ท่านใช้คำเสียดสีการเมืองในขณะนั้นพอสมควร ซึ่งพอคุณหญิงชิ้น (บุตรีของครู) เห็นก็ขอเปลี่ยนมาใช้บทเสภาตอนนางวันทองต้องไปอยู่กับขุนแผนที่กลางป่านอนกลางดินกินกลางทรายมาแทนบทเดิม แล้วก็ทำลายบทร้องดังกล่าวทิ้งไป เคยได้ยินครูเล่าให้ฟัง ครั้งหนึ่งสมเด็จพระเทพรัตนฯ สยามบรมราชกุมารี ตรัสถามถึงเรื่องบทร้องนี้เหมือนกัน ซึ่งคุณหญิงชิ้น ก็ทูลว่า"จำไม่ได้" สมเด็จพระเทพรัตนฯ สยามบรมราชกุมารี ก็แย้มพระสรวล ผมคิดว่าคิดว่า เรื่องบางเรื่องเมื่อครูบาอาจารย์ ไม่อยากให้จดให้จำไม่ว่าด้วยสาเหตุอันใดก็อย่าไปรื้อฟื้นเลย ความจริงเรื่องเนื้อร้องเพลงแสนคำนึงบทเก่านี้มีคนพูดถึงมาก แต่ผมเองก็ไม่เห็นใครจะตอบได้เป็นหลักแน่นอน ขนาดลองไปถามครูเลื่อน  สุนทรวาทิน (บุตรีพระยาเสนาะดุริยางค์ เจ้ากรมมหรสพ) ท่านก็พูดเพียงแต่ว่า เนื้อร้องนั้นเสียดสีท่านผู้นำในสมัยนั้น จริงๆโดยส่วนตัวผมคิดว่า บทร้องที่ร้องในปัจจุบันก็ไพเราะดีไม่เสียหายหยาบคายอะไร ก็ร้องไปเถอะครับผม
ส่วนบทร้องที่คุณกุรุกุลา โพสไว้ ผมคุ้นๆว่ายังไม่จบนะครับ
ต้องต่อว่า " คิดขึ้นมาน้ำตาตกอกใจพลัน(ไม่แน่ใจ?)  หวั่นหวั่นหวนคะนึงถึงขุนช้าง"
โดยส่วนตัว ก็ชอบเล่นเพลงแสนคำนึงอยู่พอสมควร ยิ่งเวลาโดนหลอกไปช่วยเล่นดนตรีที่ไกลๆเนี่ย พอโหมโรงแล้ว ก็ขึ้น"อนิจจาครานี้นะอกกู" ทันที
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 11 ก.ย. 06, 21:59

 ขอบคุณคุณลำดวนเอ๋ยมากครับ

ส่วนตัวแล้วก็อยากฟังอยากได้ยินความอัดอั้นตันใจของนักดนตรีไทยสมัยก่อนเสียเหลือเกิน แม้ว่าจะเป็นเนื้อใหม่แล้ว ความรู้สึกคั่งแค้นระทดท้อก็ยังคงเต็มเปี่ยมอยู่ในเนื้อเพลง

ถ้าใครได้ฟังก็คงรับรู้ได้ถึงความหวาน และความเศร้า สุดท้ายอาจจะเป็นเรี่ยวแรงของการดิ้นรนให้อยู่รอดต่อไป

นับว่าเป็นก้าวสูงสุดของดนตรีไทยเพลงหนึ่งทีเดียว เสียดายที่เหลือเวลาให้น้อยเต็มที
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 12 ก.ย. 06, 09:45

 คุณกุรุฯนั้น เท่าที่เคยเจอตัว รู้สึกว่าเขาจะเป็นคนที่รัก ชื่นชมเพลงไทยเดิม เพลงเก่าและดนตรีไทยมาก
เขารู้จักเพลงไทยเดิมเก่าๆหลากหลาย บางเพลงเกิดมาผมยังไม่เคยได้ยินได้ฟังสักครั้ง แต่เขากลับร้องคลอตามเพลงได้หน้าตาเฉย


หากจะคุยเรื่องเพลงไทยเดิมให้สนุกล่ะก็ จะขาดคุณกุรุฯไปไม่ได้เชียว !!
   
บันทึกการเข้า
จิตแผ้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 169


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 12 ก.ย. 06, 10:59

 และเมื่อ คุณ กุรุกุลา ให้เกียรติมา ให้วิทยาทานเกี่ยวกับเรื่องที่ถนัด
จัดเจนนี้จึงทำให้คึกคักเป็นอย่างยิ่ง
บันทึกการเข้า
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 175

ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 12 ก.ย. 06, 21:37

 เห็นว่าคุณกุรุกุลา อยากได้เนื้อเพลงแสนคำนึงของเก่า เลยไปถามบรรดาครูที่เป็นศิษย์สายคุณหญิงชิ้น มาแล้วก็ไม่มีครูท่านใดกล้ายืนยันเนื้อเพลงตั้งแต่ตนจนจบได้ แต่เท่าที่ทราบคือเนื้อร้องในทำนองสองชั้น (ทำนองเดียวกับเพลงพ่อแง่แม่งอน) นั้นเป็นมีถ้อยความที่ก่นด่าเลยทีเดียว
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 13 ก.ย. 06, 09:53

 ขอบคุณมากครับ คุณลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว ที่อุตส่าห์ลำบากไปถามครูผู้ใหญ่มาให้ ผมเองเคยได้ยินมานานแล้วเกี่ยวกับเนื้อเพลงนี้ แต่ก็คงไม่มีวาสนาได้ฟังจริงๆหรอกครับ

ผมเพียงแค่ชอบฟังเท่านั้นละครับ คุณจิตแผ้วกับพี่หมูน้อย พอจะล้วงลึกจริงๆก็ไปไม่เป็นเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.041 วินาที กับ 19 คำสั่ง