ยินดีต้อนรับ
ท่านผู้มาเยือน
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
หน้าแรก
ตู้หนังสือ
ค้นหา
ข่าว
: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
เรือนไทย
>
General Category
>
ประวัติศาสตร์ไทย
>
ประวัติของพุทธศาสนา
หน้า:
1
[
2
]
พิมพ์
อ่าน: 8594
ประวัติของพุทธศาสนา
ชายองค์
อสุรผัด
ตอบ: 24
เป็นความลับ
ความคิดเห็นที่ 15
เมื่อ 22 ก.ย. 06, 22:21
ผมเคยคุยกับน้องคนหนึ่ง...เขาเอาลิงค์มาให้ผมอ่าน
ผมเลยถามเจ้าของเวปเกี่ยวกับ ระเบียบวิธีการทำงานวิจัยศึกษา เขาก็ตอบเสียอย่างเลี่ยงไป
ผมถามว่า หากพระพุทธศาสนาอุบัติในไทย ทำไมไม่มีคำว่า ปลาร้าในนั้นเป็นอาหารสำคัญ?
เหตุใดภาษาบาลีจึงต่างตระกูลกับภาษาในภูมิภาคนี้?
แล้วหากใช้การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม มันไม่มีทางย้อนกลับได้เด็ดขาด
สรุปคือ วิธีการศึกษา เขาอาศัยเอกสารชั้นรอง และเชื่อใน "ตำนาน" ไม่ได้พิจารณาถึงสิ่งที่แฝงอยู่ภายในตำนาน เช่นกล่าวว่าพระแท่นดงรัก (ถ้าจำไม่ผิด) เป็นสถานที่ปรินิพพาน มีหลักฐานต่างๆ ตรงกับในพระไตรฯ หากดูจากรูป เป็นศิลปะสมัยทวารวดีเท่านั้นไม่ได้เก่าถึงยุคที่อ้างเลย
คัมภีร์บางเล่มที่ยกมา ก็เป็นชั้นหลังมาก และเกิดขึ้นในเอเชียอาคเนย์ทั้งสิ้น...
ผมถามถึงมหากาพย์พุทธจริต ก็ตอบมิได้...
แล้วจะให้ผมเชื่อถือวิธีการศึกษาได้อย่างไร?
บันทึกการเข้า
thawankesmala
อสุรผัด
ตอบ: 46
Khon Kaen University
ความคิดเห็นที่ 16
เมื่อ 23 ก.ย. 06, 10:00
ผมเคยอ่านผ่าน ๆ ในเวปที่คุณ ชายองค์พูดถึง สถานที่ในสมัยพุทธกาลเจ้าของกระทู้ได้เทียบเคียงสถานที่ปัจจุบันแถมวัดระยะให้เสร็จกี่โยชน์มีหมด ชื่อต้นไม้ และสัตว์รวมทั้งปลาด้วย มีปรากฏครบทุกชื่อ ยกเว้น ปลาร้า (หรือปลาแดก) น่าแปลกนะ ผมไม่ทราบเหมือนกันว่าคำว่าปลาร้า (หรือปลาแดก) มีมาแต่สมัยไหน
จริง ๆ แล้วการแปลภาษาหนึ่งเป็นภาษาหนึ่งก็ต้องแปลเป็นชื่อที่คนรู้จักดี แปลเป็นไทยก็ต้องมีชื่อต้นไม้ไทย สัตว์ไทย จริง ๆ แล้วมันอาจไม่ใช่ก็ได้ แต่ต้องใส่ชื่อไว้เพื่อการสื่อความที่สมจริง ถ้าแปลเป็นภาษาจีน ปลาก่า อาจเป็นปลาหลีฮื้อ อะไรประมาณนี้
บันทึกการเข้า
knightcnx
อสุรผัด
ตอบ: 1
ความคิดเห็นที่ 17
เมื่อ 03 ต.ค. 06, 02:54
ใครไม่เชื่ออย่าพึ่งตัดสินว่า ถูกไม่ถูก
ลองอ่านนี่ก่อนครับ โดย งานวิจัยของ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ แล้วค่อยมาวิเคราะห์(ไม่ใช่วิจาร)
http://s6.quicksharing.com/v/4776815/buddhabirth.rar.html
กรุณาโหลดโหลดไปแล้วอ่านก่อนครับ ตามlink นี้เลย
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
ตอบ: 1802
ความคิดเห็นที่ 18
เมื่อ 03 ต.ค. 06, 09:15
กระทู้นี้เปลี่นจากตลกเป็นสยองเสียแล้ว
ข้อเสนอใหม่สรุปว่า
"กรุงพาราณสีห่างจากตักสิลา ๑๐ โยชน์(ประมาณ ๑๖๐ กิโลเมตร)
เทียบกับตักสิลาอยู่ห่างกรุงอิสลามบัดเกือบสองพันกิโิลเมตร ไ็ม่ตรงกับพระไตรปิฎก
หากเทียบเมืองตาก (อำเภอบ้านตาก ซึ่งคนไทยเคยเชื่อกันมาแต่เดิมว่าเป็นตักสิลา) กับเชิงเขาใหญ่ (บริเวณกลางดง ของอำเภอปากช่อง) ซึ่งเชื่อว่า เป็นที่ตั้งกรุงพาราณสี
มีความเป็นไปได้สูง
ตำบลสาวะถี น่าจะเป็นเมืองสาวัตถี
อำเภอโกสุมพิสัย น่าจะเป็นโกสัมพี
ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน โคราช น่าจะเป็นนครเวสาลี
ส่วนสาเกตเมืองร้อยเอ็ดประตู ก็คือจังหวัดร้อยเอ็ด
สาวัตถีถึงโกสัมพี 3 โยชน์ คือ ๔๘ กิโลเมตร ใกล้กับอำเภอโกสุมพิสัยถึงตำบลสาวะถี
สาเกตคือ ร้อยเอ็ด ห่างจากตำบลสาวะถีซึ่งพระไตรปิฎกไว้ ๗ โยชน์ คือ ๑๑๘ กิโลเมตร"
มันล้ำลึกเกินสติปัญญาต้อยต่ำของผมจะเข้าใจได้
บันทึกการเข้า
หน้า:
1
[
2
]
พิมพ์
กระโดดไป:
เลือกกระทู้:
-----------------------------
General Category
-----------------------------
=> ศิลปะวัฒนธรรม
=> ภาษาวรรณคดี
=> ระเบียงกวี
=> ชั้นเรียนวรรณกรรม
=> หน้าต่างโลก
=> ประวัติศาสตร์โลก
=> ประวัติศาสตร์ไทย
=> ทันกระแส
=> วิเสทนิยม
=> ห้องหนังสือ
=> ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย
Powered by SMF 1.1.21
|
SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder
XHTML
|
CSS
|
Aero79
design by
Bloc
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 19 คำสั่ง
Loading...