เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 23570 ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม
thawankesmala
อสุรผัด
*
ตอบ: 46

Khon Kaen University


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 08 ก.ย. 06, 14:36

 ฟังชื่อปืนใหญ่แต่ละกระบอกแล้วล้วนน่ากลัวทั้งนั้น
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 08 ก.ย. 06, 14:41


"ปืนพญาตานี" หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ เป็นปืนใหญ่วิถีราบ บรรจุกระสุนทางปากกระบอกปืน มีความยาว ๖.๘๙ เมตร ลำกล้องใหญ่ ๒๕ เซนติเมตร มีอำนาจการยิงสูง
 ปืนพญาตานีนั้นเจ้าเมืองปัตตานี ได้สั่งให้ หลิมโต๊ะเคียม(เคียม แซ่หลิม) นายช่างชาวจีนฮกเกี้ยน เป็นผู้สร้างขึ้น ที่ ตำบล บ้านกะเสะ อำเภอ เมือง จังหวัด ปัตตานี วันเดือนปีที่หล่อไม่ปรากฏ
  ในปีพ.ศ.๒๓๒๙ เป็นเวลาที่ไทยรบกับพม่าในสงครามเก้าทัพ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จจกรมพระราชวังบวรสถานมงคล มหาสุรสิงหนาทวังหน้า ในรัชกาลที่๑ ยกทัพไปปราบปรามพม่าที่มาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ ในขณะนั้น เมืองปัตตานีเอาใจออกห่าง เมื่อกองทัพหลวงมีชัยชนะสามารถปราบปรามพม่าได้สำเร็จ สมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคลฯ จึงสั่งให้พระยากลาโหมนำทัพเข้าปราบปรามพระยาปัตตานี เมื่อกองทัพหลวงมีชัยชนะ สมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคลฯ จึงได้สั่งให้นำปืนใหญ่ของเมืองปัตตานี ๓ กระบอก ที่หล่อโดย หลิมโต๊ะเคียม ซึ่งหล่อตามคำสั่งของพระยาปัตตานีนั้น นำมาถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แต่ปืนใหญ่ ศรีนัครี จมน้ำหายไป จึงนำมาถึงเมืองหลวงได้เพียง ๒ กระบอก คือ พญาตานี และ มหาหล่าหลอ เมื่อเดือน ตุลาคม ๒๓๒๙ และทรงโปรดเกล้าฯ ให้เก็บรักษาไว้ที่พระบรมมหาราชวัง  
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 08 ก.ย. 06, 15:01


"ปืนนารายน์สังหาญ" เป็นปืนวิถีราบลำกล้องเรียบ บรรจุกระสุนทางปากกระบอกปืน มีความยาว ๔.๕ เมตร ลำกล้อง กว้าง ๒๙.๓ เซนติเมตร  
 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นปืนคู่กับ ปืนพญาตานี
 แต่เดิมในสมัยกรุงศรีอยุธยามีปืนใหญ่ชื่อ นารายน์สังหาญ ใช้ในการทำสงครามเมื่อครั้งพระเจ้าหงสาวดียกกองทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ กองทัพกรุงศรีอยุธยาได้ใช้ปืน นารายน์สังหาญ ยิงโต้ตอบกับกองทัพพม่า ทำให้กองทัพพม่าไม่สามารถเข้ามาประชิดกรุงศรีอยุธยาได้ และปืน นารายน์สังหาญกระบอกนั้นก็ได้ยิงกระสุนตกใส่ค่ายของเจ้ากรุงหงสาวดี ทำให้กองทัพพม่าต้องย้ายค่ายเพื่อให้พ้นวิถีกระสุน ในระยะ ๓๐ เส้น หรือ ๑๒๐๐ เมตร ดังปรากฏในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสันนิษฐานว่าปืน นารายน์สังหาญ กระบอกเดิมอาจถูกพม่ายึดเอาไปหรือถูกทำลาย ส่วนปืนใหญ่ นารายน์สังหาญ ที่สร้างตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ไม่ปรากฏว่าใช้ในราชการสงครามครั้งใดบ้าง  
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 08 ก.ย. 06, 15:05

 สวัสดีค่ะคุณ thawankesmala แต่บัวชอบชื่อปืนใหญ่นะค๊ะเพราะว่าตั้งได้คล้องจองกันดี  และก็แสดงถึงความน่าเกรงขามดีด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 08 ก.ย. 06, 15:17


"ปืนมารประไลย"  หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ เป็นปืนใหญ่วิถีราบ ลำตัวผูกลวดลายแบบยุโรป เป็นปืนที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก ความยาว ๕.๕ เมตร ลำกล้อง กว้าง ๑๗ เซนติเมตร เป็นปืนที่มีอำนาจการยิงสูง และเป็นปืนใหญ่ที่มีลำกล้องยาวที่สุด ในบรรดาปืนใหญ่ทั้งหมดที่สร้างขึ้นในประเทศไทย
  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงมีพระราชประสงค์ ให้ ปืนมารประไลยนี้ เป็นปืนใหญ่ประจำป้อม หรือ บรรทุกใส่สำเภาเรือ ไม่เหมาะแก่การเคลื่อนย้าย
  พระองค์ทรงสร้าง ปืนมารประไลย ไว้คู่กับ ปืนไหวอรนพ  ซึ่งสร้างในรุ่นเดียวกันเพื่อไว้ใช้ในการป้องกันพระนคร  
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 08 ก.ย. 06, 15:22


"ปืนไหวอรนพ"  หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ เป็นปืนใหญ่วิถีราบ ตัวปืนผูกลวดลายแบบยุโรป เป็นปืนขนาดใหญ่ มีความยาว ๔.๖๘ เมตร ลำกล้องกว้าง ๑๗ เซนติเมตร  
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 08 ก.ย. 06, 15:31


"ปืนพระพิรุณแสนห่า และ ปืนพลิกพสุธาหงาย" พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงมีพระราชประสงค์ให้สร้างขึ้นเป็นปืนคู่แฝด หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีห่วงสำหรับจับยก ๔ ห่วง มีลวดลายรูปร่างและอำนาจการยิงขนาดเดียวกัน เป็นปืนใหญ่โบราณขนาดใหญ่ ไว้ใช้ยิงทำลายข้าศึกตามชายฝั่งแม่น้ำ การเคลื่อนย้ายค่อนข้างลำบากต้องใช้ทหารหรือม้าจำนวานมากถึงจะทำการเคลื่อนย้ายได้ ในรูปคือ ปืนพระพิรุณแสนห่า  
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 08 ก.ย. 06, 15:36


ในรูปคือ ปืนพลิกพสุธาหงาย ลำกล้องของปืนใหญ่ทั้งสอง เป็นลำกล้องเรียบ มีรูปร่างและรังเพลิงเป็นแบบเฮาวิตเซอร์ บรรจุลูกกระสุนทางปากกระบอกปืน ลักษณะเด่นของปืนใหญ่ทั้งสองกระบอกนี้ คือ มีลวดลายเป็นศิลปะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 08 ก.ย. 06, 15:44


"ปืนพระอิศวรปราบจักรวาฬ และ ปืนพระกาลผลาญโลก" เป็นปืนใหญ่ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงมีพระราชประสงค์ให้สร้างขึ้นเป็นปืนคู่แฝดอีกคู่หนึ่ง มีรูปร่างลักษณะและลวดลายเป็นแบบยุโรป ปืนใหญ่คู่นี้เป็นปืนใหญ่วิถีกระสุนราบ ลำกล้องเรียบ บรรจุกระสุนทางปากกระบอกปืน มีความยาว ๓.๕๕ เมตร ลำกล้องกว้าง ๑๙ เซนติเมตร มีอำนาจการยิงระยะไกล ในรูปคือ ปืนพระอิศวรปราบจักรวาฬ  
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 08 ก.ย. 06, 15:45


ปืนพระกาลผลาญโลก  
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 08 ก.ย. 06, 16:39


อันเนื่องมาจากการที่ในอดีต คชสีห์ และราชสีห์ เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความจงรักภักดีของเสนาบดี  และข้าราชการฝ่ายสมุหนายกและสมุหกลาโหม ต่างถวายการปกป้องพระราวงศ์จักรี คชสีห์ และ ราชสีห์ ถูกนำมาประกอบอาคารหรือสถานที่สำคัญต่างๆ หรือ ซุ้มรับเสด็จ เช่นดังรูป คือซุ้มรับเสด็จของกระทรวงกลาโหม เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ กลับจากยุโรป เมื่อ ร.ศ.๑๒๖(พ.ศ.๒๔๕๐)ตั้งอยู่หน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน โดยซุ้มประตูแห่งนี้ทำเป็นรูปคชสีห์ยืนเชิญฉัตรอยู่ทั้ง ๒ ข้างซุ้มส่วนด้านบนสุดทำเป็นรูปพระเกี้ยว ภายในพระเกี้ยวทำเป็นรูปตรีอันหมายถึงราชวงศ์จักรี  
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 08 ก.ย. 06, 16:45


และเช่น ลายคชสีห์และราชสีห์ ปกป้องราชวงศ์จักรีที่ประกอบแท่นพระบรมรูปทรงม้า ดังนั้นกระทรวงกลาโหมจึงมีสิ่งสำคัญเกิดขึ้นใหม่ตั้งอยู่ที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม เพื่อเป็นสัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์การทหารไทย ซึ่งแสดงถึงความจงรักภักดี และถวายการปกป้องพระราชวงศ์จักรี  
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 08 ก.ย. 06, 16:54

 เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๔๙ ได้มีการเปิดผ้าแพร "พญาคชสีห์ราชเสนีพิทักษ์" และ "พญาคชสีห์สยามปฐพีพิทักษ์" ซึ่งพญาคชสีห์ทั้ง ๒ องค์นี้มีขนาดเท่ากันคือ ความสูงจากเท้าถึงหัวไหล่ ๑ เมตร ๒๐ เซนติเมตร ส่วนความสูงจากเท้าถึงปลายยอดมงกุฎ ๓ เมตร ๒๐ เซนติเมตร ความสูงของฐาน ๑ เมตร ๓๐ เซนติเมตร รวมความสูงจากฐานถึงยอดมงกุฎ ๔ เมตร ๕๐ เซนติเมตร
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 08 ก.ย. 06, 16:56


พญาคชสีห์ราชเสนีพิทักษ์  
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 08 ก.ย. 06, 16:59


ที่ฐานมีความว่า  
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 19 คำสั่ง