ว่าด้วย "ลอมพอก"พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมาย "ลอมพอก" ว่า
คำ : ลอมพอก
เสียง : ลอม-พอก
นิยาม : เครื่องสวมศีรษะรูปยาวแหลมคล้ายชฎา.
ไม่ได้ระบุที่มาของคำเหมือนกันครับ
มีบทความเกี่ยวกับมุสลิมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ของ
คุณปิยศักดิ์ อู่ทรัพย์ กล่าวถึง "ลอมพอก" ดังนี้ครับ
“ลอมพอก” เครื่องแต่งกายสมานฉันท์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์อีกอย่างหนึ่งของการผสานกลมกลืนกันระหว่าง 2 วัฒนธรรม ก็คือ “ลอมพอก” อันได้แก่หมวกสำหรับขุนนางไทยที่นิยมใช้กันในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
โดย “ลอมพอก” นี้ทำจากผ้าขาว พันและผับเป็นทรงหมวก มียอดแหลม ประดิษฐ์ขึ้นอย่างประณีต ที่ขอบของ “ลอมพอก” จะมีเครื่องประดับแสดงชั้นยศ สันนิษฐานกันว่ารูปแบบนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากผ้าโพกศีรษะของมุสลิมเปอร์เซีย ผสมผสานกับรูปแบบชฎาของไทย
เมื่อครั้งที่คณะราชทูตในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2229 ได้สวมเครื่องแต่งกายดังกล่าวจนเป็นที่ดึงดูดความสนใจจากชาวฝรั่งเศสเป็นอย่างมากที่มา :
http://www.muslimcampus.com/wbreply.php?id=371แต่อย่างไรก็ตาม นายซิม็องต์ เดอ ลาลูแบร์ ได้อธิบายเกี่ยวกับความหมายของคำว่า ลอมพอก (Lom Pok) ไว้ว่า
"lom หมายถึง "หมวก" pok หมายถึง "สูง" ปกติจะมีสีขาว แต่ในการออกล่าสัตว์ หรือออกศึกสงคราม จะใช้สีแดงผมสงสัยว่า "ลอม" หมายถึง "หมวก" ? ก็เลยไปหาคำว่า "ลอม" มาได้ดังนี้ครับ
๑. ลอม (กริยา) : รวมตะล่อมกันขึ้นไปให้เป็นจอม.
๒. ลอม (นาม) : เรียกกองฟางกองข้าวเป็นต้นซึ่งมีลักษณะเช่นนั้นว่า ลอมฟาง ลอมข้าว.
(ตะล่อม ลอม ล้อม ห้อม รวม = มีรากเดียวกัน

)
-----------------------------------------
ส่วนคำว่า "พอก"
๑. พอก (กริยา) หุ้ม เช่น พอกไข่, พูน, โปะให้หนา
๒. พอก (วิเศษณ์) โป่งออกมา เช่น คอพอก.
๓. พอก (กริยา - กลอน) โพกผ้า.
๔. พอก (นาม - กลอน) ผ้าโพกคล้ายหมวก.
-------------------------------------------
สรุปว่า ลอมพอก แปลว่า ผ้าที่นำมาล้อมสุ่มไปให้สูงบนศีรษะ