เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 17159 เพลงเถากับเพลงตับ
ดาหาชาดา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 07 ธ.ค. 00, 13:45

เขามีระบบการเทียบเสียงจากเครื่องดนตรีที่มีเสียงแน่นอนที่สุด เคยเล่นซออู้อยู่ในวงมโหรีของโรงเรียน  ตอนแรกก็หัดตั้งเสียงซอให้เทียบกับเสียงขลุ่ยก่อนค่ะ สายสองสายซออู้ถ้าสีสายเปล่าจะต้องได้เสียง โด่  ซ้อล   ระบบที่เรียนเป็นระบบเจ็ดเสียงแบบดนตรีสากลค่ะ  

เครื่องดนตรีแต่ล่ะชนิดก็จะมีคีย์โน้ตของตัวเองที่จะใช้ตั้งเสียงเมื่อเริ่มต้นให้เสียงของเครื่องดนตรีต่างชนิดไปทางเดียวกันทั้งหมดน่ะค่ะ ถ้าจับคีย์โน้ตตัวนี้ได้แล้วก็สามารถเล่นเข้าขากันได้ทั้งวงค่ะ...

เพลงไทยจะฟังแล้วเพราะ(บวกมันตอนลูกหมด) ที่สุดต้องนั่งกลางวงค่ะ ได้ยินเสียงต่าง ๆครบวงเครื่องสายส่วนมากจะใช้อุปกรณ์บอกจังหวะอย่างฉิ่งฉับกรับโทนรำมะนา พอถึงจังหวะเร่งทั้งหมดให้เสียงที่สนุกสนานเหลือเกิน...

ตอนนั้นที่เรียนอาจารย์มนตรี ตราโมทท่านยังไม่เสียชีวิต แต่แก่มากแล้วเป็นปูชนียบุคคลของวงการดนตรีไทยเลย ครั้งหนึ่งเพื่อนคุณพ่อซึ่งรู้จักมักคุ้นกับท่านพาท่านมาที่บ้าน  โอ้โฮดีใจแทบตายแน่ะค่ะที่ได้พบกับท่าน แต่ไม่ได้คุยอะไรเพราะฝีมือซออู้นั้นเลวร้ายเกินกว่าจะไปบอกอาจารย์ท่านว่าเล่นดนตรีไทยอยู่...
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 07 ธ.ค. 00, 14:02

สวัสดีค่ะ  คุณดาหาฯ

ดีใจจังที่แวะมาค่ะ   ดิฉันก็อู้มาเหมือนกันค่ะ แหะๆ แต่ลืมเกลี้ยง  น่าอิจฉาคุณจัง   ที่สงสัยก็เพราะซอทั้งสองอย่างนี่  ถ้าสมมตินะคะ  ว่าเรามีหกนิ้ว
นอกเหนือไปจากหัวแม่มือ  แล้วจะขึ้นสายให้ได้โน้ต บนเจ็ด ล่างเจ็ด ก็คงจะได้นะคะ   คงไม่ว่ากันว่าคิดอะไรพิเรณทร์ๆนะคะ   อิิอิอิ

ที่ต่างเครื่องต่างมีฐานโน้ตคนระบบ เป็น ห้าเสียงเจ็ดเสียง หรือเก้าเสียงนี่  เป็นไปได้ไหมคะว่า  
เพราะเรารับเครื่องดนตรีต่างชาติต่างภาษาเอามาประสมกัน
บันทึกการเข้า
ดาหาชาดา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 07 ธ.ค. 00, 17:17

คิดว่าสมัยก่อนเวลาหัดเล่นเพลงใหม่ ๆเขาไม่มีโน้ตค่ะ   เรียกกันว่า ต่อเพลง คือครูทำเสียงทำนองให้ฟังแล้วนักเรียนก็จับเอาและดีดสีตีเป่าไปตามเสียงที่ครูบอกน่ะค่ะ คือใช้จำเอาเคยเห็นโน้ตเพลงไทยเดิมหลายลักษณะเหลือเกินมีทั้งโน้ตเจ็ดตัวแบบฝาหรั่ง  โน้ตแบบที่คุณหน่องอธิบายไว้ แต่คิดว่าเป็นแบบที่ค่อนข้างใหม่ ที่ปรับเอาของต่างประเทศเข้ามาใช้

 ถามครูที่สอนมาว่าสมัยก่อนโน้นทำกันอย่างไร- (ท่านชื่อเจ้าโสภา ณ.เชียงใหม่ค่ะ เข้าใจว่าเป็นนักเรียนรุ่นเล็กในวงของเจ้าดารารัศมีริเริ่มขึ้น แต่ไม่ทราบว่าท่านทันเจ้าดาราหรือเปล่า)- ท่านบอกว่าแต่ก่อนก็ต่อเพลงแบบใช้จำเอา แต่ไม่ทราบว่าที่อื่นทำกันอย่างไรนะคะ...
บันทึกการเข้า
ภูมิ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 07 ธ.ค. 00, 22:35

รู้สึกคุณพวงร้อยจะเข้าใจผิดไปบ้างนะครับ
ซอเล่นโดยปรกติสายละ๕เสียงก็จริง
(จริงๆเเล้วสายในเล่น๔เสียงสายนอกเล่น๕เสียง  แต่ไม่๗ํากัดเเค่นั้น นอกจากนั้นยังมีการ รูดมือลง เพิ่มเสียงอีก)
แต่ระบบเสียงเป็นเจ็ดเสียงครับ
ที่ว่าระบบ๕เสียงหรือ๗เสียงคือระหว่างเสียงที่เท่ากัน( เช่น โด ตํ่ากับ โดสูง ความถี่เป็นเท่าตัว) จะซอยเป็นกี่เสียง
ซึ่งเครื่องดนตรีไทย วงปีพาทย์  วงมโหรี ส่วนใหญ่จะเป็น๗เสียงทั้งนั้น
เครื่อง๕เสียงจะยกตัวอย่างได้เช่นโปงลาง
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 07 ธ.ค. 00, 23:57

ขอบคุณมากค่ะ  ที่ช่วยอธิบายเพิ่มขึ้น  คุณ ภูมิคะ  ดิฉันก็ไม่ทราบว่าลืมไปหรือเป็นเพราะเคยเล่นไม่มาก  เลยยังไม่ได้ใช้วิธีรูดสายก็ไม่แน่ใจค่ะ  
เคยเล่นตอน ม ปลาย แล้วก็ทิ้งไปเลย  เสียดายเหมือนกันค่ะ

เคยเห็นเครื่องสายของจีน  เค้าก็ไม่มีโจ้ต  ใช้ต่อเพลงด้วยความจำเหมือนกันนะคะ  แล้วไม่ทราบว่าใครเอามาจากใคร  ทั้งซออู้
ซอด้วงนี่ของจีนเค้าก็มีที่หน้าตาเหมือนกันเลย  แต่ไม่เคยเข้าไปดูใกล้ๆ  เพื่อนฝรั่งก็บอกว่า  เวลาฟังวงเครื่องสายนี่  ฟังไม่ออกเลยว่า  
แตกต่างจากดนตรีของจีนอย่างไร
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 08 ธ.ค. 00, 00:45

ผมมีความรู้สึกว่าว่า ดนตรีในภูมิภาคหนึ่งๆ มีลักษณะร่วมกันและเลื่อนไหลถ่ายเทกันไปมาได้ เส้นพรมแดนทางรัฐศาสตร์ใช้ไม่ค่อยได้กับดนตรีครับ ยกเว้นกรณีดนตรีพื้นเมืองที่มีลักษณะเฉพาะแท้ๆ เป็นของพื้นถิ่น แต่ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นของชาติอยู่ดี เพราะชาติหนึ่งอาจมีหลายพื้นถิ่น
ของไทยเราเองยิ่งชัด ครูแต่ก่อนท่านสนุกกับการเล่นเพลงสำเนียงต่างๆ คือรับเอาเพลงเขมร เพลงจีน เพลงลาว เพลงแขก กระทั่งเพลงฝรั่ง มาแต่งปรุงใหม่ และชาติเหล่านั้นก็รับเพลงไทยไปบ้างเหมือนกัน พวกละครโยเดียที่พม่าต้อนไปจากอยุธยาไปทำความบันเทิงแก่พม่ามาก ทางเขมรก็เคยรับเพลงดนตรีไทย ไทยรับเขมรถ่ายทอดกันไปมานัวเนีย
โธ่ คุณพวงร้อยครับ ฝากไปถามเพื่อนฝรั่งของคุณดูสิว่า เวลาเขาฟังดนตรีคลาสสิกยุโรปนั้น เขาแยกได้ไหมว่าเพลงไหนมีลักษณะเฉพาะของอิตาเลียน เยอรมัน ออสเตรียน ฯลฯ อะไรคือความเป็นอิตาเลียนหรือปรัสเซียน? ยกเว้นบางเพลงที่ครูเพลงฝรั่งท่านก็นึกสนุกจะหยิบลักษณะเฉพาะพื้นถิ่นมาเล่น ทำนองเดียวกับเพลงสำเนียงต่างๆ ของเราเหมือนกัน เช่น ฮังกาเรียนแรฟโซดีส์ ความเป็นดนตรีคลาสสิกฝรั่งที่ไพเราะ ก้าวล่วงพ้นเกินไปกว่าเส้นเขตแดนทางการเมืองครับ ทำให้เพลงนั้นๆ กลายเป็นมรดกร่วมของดนตรีคลาสสิกสายตะวันตกไป  
ถ้าว่าทางประวัติเครื่องดนตรี เราก็รับถ่ายทอดกันไปมาเหมือนกัน ซอสองสายที่จีนเรียกเอ้อร์หู เราก็มี ยิ่งขิม จะเข้ ยิ่งเห็นขัดว่าเรารับมาจากทางจีน แต่จีนรับขิมมาจากไหนรู้ไหมครับ ขิม เดิมแท้ๆ ก็ไม่ใช่ของจีนแต่เป็นของเปอร์เซียครับ โธ่ ก็วิธีที่มนุษย์ทำเสียงให้เกิดเป็นดนตรีมันก็มีหลักการง่ายๆ ซ้ำๆ กันอยู่ไม่กี่อย่าง ดีด สี ตี เป่า ก็เท่านั้น
บันทึกการเข้า
โรสา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 08 ธ.ค. 00, 02:33

ได้ยินมาว่าซอสามสายของไทยรับทอดมาจากเปอร์เซียเหมือนกัน ดัดแปลงมาจากรีแบบซึ่งฝรั่งตะวันตกก็นำไปดัดแปลงเป็นไวโอลบรรพบุรุษของไวโอลิน วิโอลา เชลโล
ไม่ทราบว่าจีนรับซอไปจากเปอร์เซียด้วยหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
แมงกาชอน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 08 ธ.ค. 00, 07:53

ไปเก็บมาฝากจากดนตรีไทยดอทคอมค่ะ

 ซอสามสาย

โดย ไพศาล อินทวงศ์

ซอสามสาย เป็นเครื่องดนตรีโบราณชนิดหนึ่งของไทยเรา มีชื่อตามลักษณะรูปร่าง คือ มี 3 สาย เหมือนกับเครื่องดนตรีของ
จีนที่เรียกว่า สานเสียน (Sanhsien) และเครื่องดนตรีของญี่ปุ่นที่เรียกว่า ซามิเส็น (Shamisen) แต่ทั้งสานเสียนของจีน
และซามิเส็นของญี่ปุ้น เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด สานเสียนของจีน กะโหลกเป็นรูปสี่เหลี่ยมลบมุมจนเกือบเป็นรูปไข่ ขึ้นหน้า
ด้วยหนังงูเหลือม และดีดด้วยนิ้วมือ ส่วนซามิเส็น ของญี่ปุ่น รูปกะโหลกเกือบจะเป็นสี่เหลี่ยม ด้านข้างโค้งเล็กน้อยทั้งสี่ด้าน ขึ้น
หน้าด้วยไม้ และดีดด้วยไม้ดีดรูปร่างคล้ายๆขวาน แต่เครื่องดนตรีทั้งสองชนิดนี้ ก็มีสามสายเช่นเดียวกับซอสามสายเช่นเเดียวกัน

ซอสามสายมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ
เครื่องอุ้มเสียงให้เกิดกังวานทำด้วยกะลามะพร้าวตัดขวางลูก ให้เหลือพูทั้งสามไว้ด้านหลัง เรียกว่า “กะโหลก”กะลาสำหรับทำกะโหลก ซอสามสายนี้ จะต้องมีรูปร่างงดงามมีพูทั้งสามนูนขึ้นมาคล้ายลักษณะหัวช้าง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2
ทรงพระราชทาน “ตราภูมิคุ้มห้าม” ให้กับเจ้าของสวนมะพร้าวพันธุ์นี้ ไม่ต้องเสียภาษีอากรทำให้บรรดาเจ้าของสวนมะพร้าว ทั้งหลายมีกำลังใจที่จะทำนุบำรุงมะพร้าวพันธุ์พิเศษนี้ เพื่อไว้ทำซอสามสายได้ต่อๆมาไม่ให้สูญพันธุ์ กะโหลกตรงที่ตัดออกนั้น ต้องขึงหน้าด้วยหนังลูกวัว หรือ หนังแพะ แต่ที่นิยมและมีคุณภาพเสียงดี หนังแพะจะได้คุณภาพที่ดีกว่า ดังปรากฎตามจดหมายเหตุ
พ.ศ. 2357 ในรัชกาลที่ 2 เป็นหนังสือของเจ้าพระยาอัครมหาเสนาบดีที่สมุหพระกลาโหม ถึงพระยานครศรีธรรมราช ฉบับหนึ่งแจ้งว่า
“ต้องพระราช ประสงค์หนังแพะที่ดีสำหรับจะทำซอ และกลองแขกเป็นอันมาก จัดหาหนังแพะที่กรุงเทพมหานครได้ดีไม่ จึงเกณท์มาให้เมืองนครจัดซื้อหนังแพะ ที่ดีส่งเข้าไป … จะเป็นราคาผืนละเท่าใด ให้บอกเข้าไปให้แจ้ง จะได้พระราชทานเงินราคาให้ “ คันซอสามสายที่เรียกว่า ทวนนั้น มีลักษณะกลม ตอนกลางค่อนข้างเล็ก ตอนบนและตอนล่างค่อยๆโตขึ้นทีละน้อย ปักเสียบกะโหลกตั้งขึ้นไป ทำด้วยไม้หรืองาช้าง ทวนกลางหุ้มด้วยโลหะทำลวดลายสวยงาม เช่นถมหรือลงยา ทวนล่างต่อจากกะโหลกลงไป ใหญ่และค่อยๆเรียวเล็กลงไป กลึงเป็นปล้องๆอย่างงดงาม ต่อปลายด้วยโลหะแหลม สำหรับปักพื้นมิให้เลื่อนในเวลาสี ทวนบนเจาะรูสำหรับสอดลูกบิดเป็น 3 อัน ตรงท่อนล่างเจาะรูร้อยเส้นใหม 3 เส้นสั้นๆ สำหรับต่อสายซอ เรียกว่า “หนวดพราหมณ์” สายซอจะต่อกับหนวดพราหมณ์ จึงผ่านหน้าซอ แล้วร้อยเข้าไปในรูทวนตอนบน สอดเข้าผูกพันกับลูกบิดสายละอัน สายที่มีเสียงสูงเรียกว่า “สายเอก” สายรองลงมาเรียกว่า “สายกลาง” และสายที่มีเสียงต่ำเรียกว่า “สายทุ้ม” การเทียบเสียงให้เทียบเสียงห่างกันเป็นคู่สี่ทั้งสามสาย ( ซอล เร ลา ) ตรงกลางคันทวนมีเส้นใหม
หรือเอ็น พันสายทั้งสามรัดติดกับทวนหลายๆรอบ เรียกว่า “รัดอก” ตอนกลางหน้าซอค่อนขึ้นมาข้างบนมีไม้ทำเป็นรูปสะพาน
หนุนสายไม่ให้ติดกับหน้าซอ เรียกว่า “หย่อง” ด้านซ้ายของหน้าซอติด “ถ่วงหน้า” ซึ่งทำด้วยโลหะ มีน้ำหนักสมดุลกับหน้าซอ เพื่อเป็นเครื่องสำหรับลดความสั่นสะเทือนของหน้าซอทำให้เพิ่มความไพเราะมากยิ่งขึ้น ถ่วงหน้านี้อาจประดับลวดลายฝังเพชรพลอย
ให้งดงามก็ได้ คันชักซอสามสายทำเป็นรูปโค้ง ขึงด้วยหางม้าประมาณ 300 เส้น ตอนปลายของคันชักทำให้โค้งอ่อนปลับออกไป เพื่อให้จับได้สะดวก ไม้ที่ทำคันชักซอที่นิยมกันมากคือ ไม้แก้วที่มีลวดลายงดงาม คันชักซอสามสายนี้ มิได้สอดเข้าไปในระหว่างสาย
เหมือนซอด้วง ซออู้ เวลาจะสีจับเอาคันชักมีสีทาบบนสายซอ ประสงค์จะสีสายใหนก็ทาบบนสายนั้น ก่อนจะสีต้องเอา ยางสนถูให้หางม้ามีความฝืดเสียก่อน เพราะซอสามสายมิได้ติดยางสนไว้เหมือนซอด้วงหรือซออู้
          ซอสามสายนี้ มีผู้สร้างขึ้นมาอีกขนาดหนึ่งเป็นซอขนาดเล็กกว่าทั้งตัวซอและคันทวน มีความยาวประมาณ 1 เมตรเท่านี้น เข้าใจว่า จะสร้างขึ้นเพื่อให้เหมาะกับนักดนตรีหญิง เรียกซอคันนี้ว่า “ซอหลิบ” มีเสียงสูงกว่า ซอธรรมดา
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 08 ธ.ค. 00, 13:07

เห็นด้วยกัลคุณนิลกังขาค่ะว่า  มันเป็นศิลปะร่วม  แต่ที่ยกขึ้นมาก็ในแง่ที่ว่ายังไงๆก็ยังมีรสแบบตะวันออกไงคะ  
เพื่อฝรั่งที่ว่าอย่างนั้นก็ไม่ได้พูดในทางลบ  เพียงแต่ตั้งข้อสังเกตเองว่าหูของเค้ายังแยกไม่ออก  ที่เอามาเล่าก็เพราะว่า  
เคยได้ยินคนไทยเราต่อว่าเรื่องแอนนา  ทั้งละครบรอดเวย์ทั้งในหนังว่า  ดนตรีไทยออกมาเหมือนของจีน  ดิฉันก็คิดว่า  
เค้าคงไม่ได้เจตนาจะบิดเบือนอะไร  เพียงแต่เค้าไม่ชินเลยแยกไม่ออกเท่านั้นเอง   แต่เราใกล้ชิดกับมันมาก  ก็ฟังออก  
แยกแยะรายละเอียดเล็กๆน้อยๆออก  มันเป็นเพียง perspective ที่ต่างกันเท่านั้นเองน่ะค่ะ

เคยอ่านมาว่า  ดร อุทิศ นาคสวัสดิ์ เคยกล่าวว่า  แคนอีสานบ้านเรานี่ เป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดในโลก  ใครเคยได้ยินมาบ้างคะ  ดิฉันก็คิดว่า  
เครื่องดนตรีอย่างแรก  น่าจะเป็นไปได้ว่าจะเป็นเครื่องเป่าหรือเครื่องตี  อย่างการเคาะไม้  หรือเป่าใบไม้นี่  ทำได้ง่ายกว่าที่อื่นๆ  

ตอนเป็นเด็ก เคยเอากล่องกระดาษเปล่ามาเจาะรูออกหน่อย  แล้วรัดหนังสติ๊ก  มาเล่นเป็นพิณเป็นซึงน่ะค่ะ  คิดว่าคนเราสมัยก่อนก็คงเป็นอย่างนั้น  
ที่ชอบเสียงดนตรี  คว้าอะไรใกล้ตัวได้ก็เอามาเคาะ เสียดสีตีเป่า  สร้างความบันเทิงได้เหมือนกันนะคะ
ขอบคุณ คุณ แมงกาชอนมาค่ะ  ที่อุตส่าห์คะะดมาฝาก
บันทึกการเข้า
แก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 08 ธ.ค. 00, 19:23

ที่คุณพวงร้อยเขียนไว้ในวันทีี่๑๗ธ.ค.ตอน๙.๐๐เรื่องระบบเจ็ดเสียงที่คิดว่าเอามาจากฝรั่งนั้น ขออนุญาตอธิบายว่า ดนตรีคลาสิคของฝรั่งนั้นเค้ามี๑๒เสียงนะครับคือ
C C# D D# E F F# G G# A A# B
แต่ละเสียงที่ว่านี้มีระยะห่างเท่าๆกันหมดโดยทฤษฎี
แต่ของไทยเราน่ะมีแค่เจ็ด แต่ละเสียงก็ห่างเท่าๆกันเหมือนกัน (มีคนคิดทฤษฎีเสียงของไทยขึ้นมาใหม่เหมือนกัน แต่ผมยังไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่ คือ not convinced yetน่ะครับ) ระบบเสียงแบบเจ็ดเสียงเท่านี้ เป็นระบบที่ใช้กันทั่วไปในเอเชียอาคเนย์ครับ ของฝรั่งไม่มี!

เรื่องเพลงในละครบรอดเวย์The King and Iนั้น พอจะเข้าใจได้เพราะเป็นproductionเก่า ฝรั่งสมัยก่อนไม่เคยแคร์ความเป็นauthenticอยู่แล้ว เค้าแค่จะสื่อเนื้อเรื่องเท่านั้น คนแต่งเพลงคงจะเห็นว่าทำนองดนตรีแบบจีนๆจะสื่อความเป็นตะวันออกได้มากกว่า หรือไม่ก็ไม่มีความรู้ความเข้าใจในเสียงของดนตรีไทยมากพอ การศึกษาดนตรีไทยในสมัยก่อนก็ไม่สามารถเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้ฝรั่งเห็นความไพเราะได้ เดี๋ยวนี้เอามาเล่นใหม่ก็ใช้เพลงเดิมเป็นการเคารพภูมิปัญญา(อันเล็กน้อย)ของคนแต่งเพลง แต่หนังล่าสุดAnna and the Kingนี่ไม่น่าให้อภัยเลย ยุคสมัยนี้มีนักแต่งเพลงมากมายที่มีความรู้เรื่องดนตรีไทย ทั้งในอเมริกาเองและในยุโรป แต่ก็ยังปล่อยให้โขนไทยเต้นไปกับเพลงจีนอยู่ได้ อย่างว่าแหละ จะไปเอาอะไรมากมายกับหนังฮอลลิวู๊ด!
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.107 วินาที กับ 19 คำสั่ง