เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 29950 สำนวน
thawankesmala
อสุรผัด
*
ตอบ: 46

Khon Kaen University


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 27 ก.ย. 06, 17:16

 เบี้ยข้างกระดาน= คนที่ไม่ค่อยจะมีความสำคัญ
วางหมาก = กำหนดแผนการ

หมดหรือยังครับ อ้อ ยังมีชื่อเรียกกลยุทธ์ต่าง ๆ อีกครับ เช่นพระรามเข้าโกฐ (เขียนถูกไหมครับ) ปลาดุกยักเงี่ยง ม้าขโมย โคนก้าวร้าว
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 27 ก.ย. 06, 21:16

 อับจน ก็น่าจะมาจากหมากรุกนะครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 27 ก.ย. 06, 21:20

 ล้มกระดาน  ด้วยหรือเปล่าคะ
บันทึกการเข้า
[-Constantine-]
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 28 ก.ย. 06, 00:34

 สำนวนและคำพังเพยต่างกันอย่างไร? ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 28 ก.ย. 06, 08:39

 คลิกที่พจนานุกรมออนไลน์
พิมพ์คำว่า สำนวน
และ
พังเพย
จะพบคำจำกัดความ ค่ะ  
บันทึกการเข้า
[-Constantine-]
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 28 ก.ย. 06, 17:55

 รายงาน : จากการแนะนำของคุณเทาชมพู

คำ :  สำนวน
เสียง :  สำ-นวน
นิยาม1 :  ถ้อยคำที่เรียบเรียง, โวหาร, บางทีก็ใช้ว่า สำนวนโวหาร เช่น สารคดีเรื่องนี้สำนวนโวหารดี ความเรียงเรื่องนี้สำนวนโวหารลุ่มๆ ดอนๆ.
นิยาม2 :  ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง,
ถ้อยคำที่แสดงออกมาเป็นข้อความพิเศษเฉพาะภาษาหนึ่งๆ เช่น สำนวนฝรั่ง สำนวนบาลี, ชั้นเชิงหรือท่วงทำนองในการแต่งหนังสือหรือพูด เช่น สำนวนเจ้าพระยาพระคลัง
(หน) สำนวนยาขอบ สำนวนไม้เมืองเดิม.
นิยาม3 :  ลักษณนามใช้เรียกข้อความหรือบทประพันธ์หนึ่งๆ เช่น อิเหนา มีหลายสำนวน บทความ ๒ สำนวน.

คำ :  พังเพย
เสียง :  พัง-เพย
นิยาม :  ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว โดยกล่าวเป็นกลางๆ เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง เช่น กระต่ายตื่นตูม.

สรุป : คำพังเพยเป็นสำนวน(นิยาม2)แต่สำนวนไม่จำเป็นต้องเป็นคำพังเพย
จบข่าว
อ้างอิง : http://rirs3.royin.go.th/riThdict/lookup.html  
บันทึกการเข้า
กงกง
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 15 ต.ค. 06, 22:49

 เข้ามาอ่าด้วยคนครับ

..เพิ่งรู้เหมือนกันครับว่า...ไก่แก่...มาจาก ..กระต่ายแก่..

แล้วก้อเพิ่งรู้ความหมายที่แท้จริงของ...ใช้เงินเป็นเบี้ย...ก็วันนี้แหละครับ

จากค.ห.ที่ 5
...จัดเครื่องกระยาบวชสังเวยก็แล้ว เสียงกลองนั้นก็ไม่หายไป...

แล้ว...เครื่องกระยาบวชสังเวย...นี่เป็นยังไงครับ
บันทึกการเข้า
[-Constantine-]
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 29 ต.ค. 06, 20:01

 สำนวนไทย ที่เกี่ยวกับเงินๆทองๆมีอะไรบ้าง เอามาแชร์กันหน่อยครับ
ขอบคุณมากๆ
บันทึกการเข้า
thawankesmala
อสุรผัด
*
ตอบ: 46

Khon Kaen University


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 17 ธ.ค. 06, 09:08

 มีเงินเรียกว่าน้อง มีทองเรียกว่าพี่
เมื่อเงินพูด ความจริงก็เงียบ
เงินใช้ผีให้โม่แป้งได้
เสียทองเท่าหัว ไม่ยอมเสียผัวให้ใคร
ทองแท้ ไม่กลัวถูกลนไฟ
ค่าของเงินขึ้น ค่าของความรักก็ลด (อันนี้ผมพูดเอง ฮ่า ๆ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 21 ก.ค. 07, 10:21

เอากระทู้เก่ามาปัดฝุ่น เสียดายเนื้อหา

สำนวนไทยเกี่ยวกับเงินๆทองๆ มีอีกค่ะ
ทองไม่รู้ร้อน
เป็นทองแผ่นเดียวกัน
อย่าเอาทองไปรู่กระเบื้อง
ทองเสาชิงช้า   หมายถึงทองเหลือง



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 21 ก.ค. 07, 11:03

         จาก  นิราศเมืองแกลง 

             คำโบราณท่านผูกถูกทุกสิ่ง          เขาว่าลิงจองหองมันพองขน

         จาก    พระอภัยมณี

             อาบน้ำร้อนก่อนเจ้าข้าเข้าใจ             เมื่อไม่ได้ก็ว่าสารพัน

             เพราะปีเถาะเคราะห์กรรมเกิดน้ำมาก       น้ำท่วมปากท่วมลิ้นเสียสิ้นหนา

             พระน้องยิ้มพร้อมพักตร์พจนา                อุปมาเหมือนไก่อยู่ในมือ   


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 21 ก.ค. 07, 11:34

สำนวนเกี่ยวกับ ผี   ลังเล
ผีเข้าผีออก
ผีซ้ำด้ำพลอย
ผีถึงป่าช้า
ผีเรือนไม่ดี ผีอื่นพลอย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 26 ก.ค. 07, 18:04

สำนวนพวกนี้ไม่เคยได้ยิน  คงเลิกใช้กันแล้ว   อยู่ในหนังสือสำนวนไทยของกาญจนาคพันธุ์ ค่ะ

ฟ้าเคืองสันหลัง  = เคราะห์กรรมร้ายแรงมาถึงตัว
ลิดตีนปู  = หาประโยชน์จากผู้น้อย
ลิ้นกระด้างคางแข็ง  = พูดจาไม่สุภาพ ไม่อ่อนน้อม
ลูกเจ้ากะซุง = ลูกเศรษฐี
ลำหนัก  = แข็งแรง
ไม่เสียปีเสียเดือน = ปฏิบัติตามธรรมเนียมเมื่อถึงเวลา
เป็นดั้งหน้า  =  ออกนำหน้ามาคอยป้องกัน
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 27 ก.ค. 07, 00:56

สำนวนเกี่ยวกับน้ำใครมีอีกเอามาแชร์กันครับ

น้ำกลิ้งบนใบบอน
น้ำเชี่ยวขวางเรือ
น้ำท่วมทุ่ง  ผักบุ้งโหรงเหรง
น้ำลึกหยั่งได้  น้ำใจหยั่งยาก
น้ำขึ้นให้รีบตัก
น้ำมาปลากินมด  น้ำลดมดกินปลา
น้ำตาลใกล้มด
น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ
น้ำพึ่งเรือ  เสือพึ่งป่า
น้ำร้อนปลาเป็น  น้ำเย็นปลาตาย  .......... ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 27 ก.ค. 07, 11:23

        จากนิราศเมืองแกลง     จะกรวดน้ำคว่ำขันจนวันตาย แม้เจ้านายท่านไม่ใช้แล้วไม่มา

        จากมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์กุมาร ตอนที่ชูชกทูลขอชาลี กัณหา  ชักแม่น้ำทั้งห้า 
( คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู และ มหิ )

        ใน   Shakespeare:  Henry VI

        “Smooth runs the water where the brook is deep;
And in his simple show he harbours treason,
The fox barks not when he would steal the lamb;
No, no, my sovereign, Gloucester is a man
Unsounded yet, and full of deep deceit.”     

          น้ำนิ่ง ไหลลึก       still waters run deep 

ค้นพบว่า   เป็นคำกล่าวแต่เก่าก่อน พบตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 1400

             เป็นคำกล่าวของชนชาว Bactria ในอิหร่าน    the deepest rivers flow with least sound

              There the flode is deppist the water standis stillist.
              [c 1400 Cato's Morals in Cursor Mundi (EETS) 1672]

              Smothe waters ben ofte sithes [oftentimes] depe.
              [c 1410 J. Lydgate Minor Poems (EETS) 476]

              Where riuers runne most stilly, they are the deepest.
              [1616 T. Draxe Adages 178]

              Smooth Waters run deep.
              [1721 J. Kelly Scottish Proverbs 287]

              In maturer age the fullest, tenderest tide of which the loving heart is capable
may be described by those ‘still waters’ which ‘run deep’.
              [1858 D. M. Mulock Woman's Thoughts about Women xii.]
 
              As for her, still waters run deep, it seems. She always looked so solemn.
Fancy her shooting him!
              [1979 M. Underwood Victim of Circumstances ii. 86]

จาก Answers.com
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง