เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 29923 สำนวน
[-Constantine-]
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


 เมื่อ 30 ส.ค. 06, 21:29

 อยากทราบว่าสำนวน "กินน้ำใต้ศอก", "ไก่แก่ แม่ปลาช่อน(หรือ พ่อไก่แก่ แม่ปลาช่อน ผมก็ไม่ทราบว่าอันไหนถูก)",
"ไกลปืนเที่ยง" และ "ขมิ้นกับปูน" สำนวนทั้งหลายเหล่านี้มีที่มาอย่างไรครับ

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 02 ก.ย. 06, 11:26

 ดิฉันขอสันนิษฐานสำนวน"กินน้ำใต้ศอก"  ตามที่ ขุนเศรษฐบุตรสิริสาร (แช เศรษฐบุตร) อธิบายไว้ในรัชกาลที่ ๗  
ว่าเมื่อสมัยก่อน เวลากินน้ำ  คนเขาอาจกินด้วยมือ  ไม่มีถ้วยหรือแก้วน้ำ  ด้วยเอามือทั้งสองกอบน้ำขึ้นมาดื่มในอุ้งมือ   น้ำที่ล้นจากอุ้งมือไหลลงไปตามศอก  
ใครที่กินน้ำจากใต้ศอก ก็คือรอน้ำส่วนน้อยที่เหลือจากคนแรกกินแล้ว   นอกจากได้น้อยแล้วยังขลุกขลักและไม่เต็มที่อีกด้วย  
ก็เลยเอามาเปรียบเทียบผู้หญิงที่เป็นเมียน้อยเขา   ว่ายังไงก็ประดักประเดิดอยู่ดี  ไม่มีสิทธิ์เต็มที่เท่าเมียหลวง

ไก่แก่แม่ปลาช่อน   คำว่า "ไก่" เพี้ยนมาจาก "กระต่าย" เป็นคำเปรียบเทียบผู้หญิงที่มีเล่ห์กลชั้นเชิงมาก
ในพระอภัยมณี  ตอนแก่ตัวลงไป เกิดเบื่อเมียทั้งสองคนคือนางสุวรรณมาลีและนางละเวง ก็ค่อนแคะเอาว่า
กระต่ายแก่แต่ละคนล้วนกลมาก
ทั้งฝีปากเปรื่องปราดฉลาดเฉลียว

ส่วนแม่ปลาช่อน เชื่อกันว่าปลาช่อนตอนวางไข่ ดุมาก กัดคนถึงตาย  ทั้งที่ปกติธรรมดา ปลาช่อนไม่มีพิษสงอะไร

แค่นี้ก่อนนะคะ
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 02 ก.ย. 06, 23:23

 ไม่เคยคิดมาก่อนเลยครับว่า " ไก่แก่" มีที่มาจากคำว่า "กระต่ายแก่"
ขอบคุณเทาชมพูแทนเจ้าของกระทู้ด้วยครับ

"ไกลปืนเที่ยง" มีที่มาจาก สมัยก่อนในเขตเมืองหลวงจะบอกเวลาเที่ยง ด้วยการยิงปืนขึ้นฟ้า ชาวบ้านที่อยู่ใกล้นครก็จะได้ยินเสียงปืนก็รู้ได้ว่าเที่ยงแล้ว ส่วนคนที่อยู่ไกลๆก็จะไม่ได้ยินจึงไม่ทราบเวลาชัดเจนนัก คำนี้น่าจะถูกใช้เปรียบเทียบความอยู่ใกล้ไกลเมืองของคนเมืองและชนบท จึงเป็นที่มาของสำนวนนี้ที่แปลว่าอยู่ห่างไกลความเจริญนั่นเองครับ
มีอีก2คำที่น่าสนใจ (แต่ไม่ใช่สำนวน) นั้นคือคำว่า "ทุ่ม" กับคำว่า "โมง" ซึ่งมีที่มาในการบอกเวลาคล้ายๆกับสำนวน ไกลปืนเที่ยง
บันทึกการเข้า
[-Constantine-]
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 04 ก.ย. 06, 21:33

 ทุ่ม กับ โมง เป็นเสียงเคาะของเครื่องตีบางชนิดใช่มั้ยครับ

ขอขอบคุณทุกท่านที่ตอบคำถามของผม ช่วยให้ผมคลายความสงสัยได้มาก

โดยเฉพาะ "กินน้ำใต้ศอก" เนี่ยแหละครับ
บันทึกการเข้า
caeruleus
ชมพูพาน
***
ตอบ: 155


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 06 ก.ย. 06, 17:06

 เท่าที่จำได้นะคะ (แหม เรื่องทุ่ม-โมง นี่เรียนสมัย มานะ-มานี ยังเป็นหนังสือเรียน นี่คะ)
ทุ่มคือเสียงกลอง
โมงเป็นเสียงของระฆังค่ะ

ตอน 6 โมงเช้าและเย็น เค้าจะย่ำกลอง (คือตีรัวๆแหละค่ะ) เลยเรียกว่า ย่ำรุ่งและย่ำค่ำอีกต่างหาก

ใครยังพอจำหนังสือเรียนรุ่นนั้นได้ก็ทราบอายุดิฉันซะแล้วสิ
บันทึกการเข้า
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 175

ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 06 ก.ย. 06, 17:59

 พูดถึงเรื่องทุ่มโมง ขอนอกเรื่องสักหน่อยหนึ่ง เมื่อหลายปีก่อน มถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง จะเล่นมงครุ่ม ก็ทำเรื่องขอกลองมงครุ่มมาจากกรมศิลปากร เพื่อซักซ้อม แต่หลังจากเอากลองมาไม่นอนช่วงเย็นๆค่ำๆ ชาวบ้านร้านตลาดที่อยู่แถวนั้นก็ได้ยินเสียงกลองดังแว่วมาตลอดทุกวัน จนชาวบ้านต่างกล่าวกันเป้นเสียงเดียวกันว่า คงเป็นอาถรรรพ์กลองมงครุ่ม ที่สามารถจะดังได้เอง ทำให้คณะนักศึกษาและอาจารย์ที่เตรียมการแสดงไม่สบายใจเป็นอันมาก ทำพิธีบวงสรวงขอขมาก็แล้ว จัดละเม็งละครมาถวายก็แล้ว จัดเครื่องกระยาบวชสังเวยก็แล้ว เสียงกลองนั้นก็ไม่หายไป จนต่อมาเรื่องก็ได้ลืมไปหนาหูไปถึงท่านเจ้าอาวาสวัดแถวนั้น ท่านจึงบอกทางมหาวัทยาลัยว่าจะจัดการให้ หลังจากนั้นเสียงกลางที่ดังนั้นก็หายไป เป็นที่เลื่องลือเป็นอันมาก ชาวบ้านต่างไปหาท่านเจ้าอาวาสที่วัดมิไดขาด จนท่านไม่เวลาปฏิบัติศาสนกิจ ท่านจึงบอกว่า "เมื่อเดือนก่อนที่เจ้าศรัทธามาถวายกลองเพล 1 ลูก อาตมาก็ใช้ตีตอนเย็นๆ เพื่อเรียกพระเณรให้มาลงอุโบสถทำวัตร เสียงที่โยมได้ยินไม่ใช่เสียงจากกลองมงครุ่ม หากแต่เป็นเสียงจากกลองจากวัดนี้เอง"  เรื่องทั้งหมดก็เอวัง ด้วยประการฉะนี้
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 07 ก.ย. 06, 10:44

 สวัสดีครับ

สำหรับผมเคยได้ยินมาว่าคำว่า"ทุ่ม"นั้นมาจากเสียงกลองตีบอกเวลาค่ำและกลางคืน 19.00น. ตีกลอง 1 ที 20.00น.ตีกลอง 2 ที ฯลฯ ได้ยินเป็นเสียง ตุ้ม.. ต่อมาจึงเรียก19.00น.ว่า1 ทุ่ม 20.00น.ว่า 2 ทุ่ม ฯลฯ  

ส่วนคำว่า"โมง"ผมเคยได้ยินมาว่าเป็นเสียงของฆ้องครับ ไม่ตรงกับคุณ caeruleus ที่บอกว่าเป็นระฆัง (ไม่แน่ใจในข้อมูลนักหากใครทราบขอรบกวนแนะนำและแก้ไขให้ด้วยนะครับ) ฆ้องใช้ตีบอกเวลาตอนกลางวันในลักษณะเดียวกับกลอง เสียงฆ้องตีดัง โมง..... จึงเรียกเวลาตามเสียงฆ้องว่า เวลา 3 โมง ,เวลา 4 โมง ฯลฯ
บันทึกการเข้า
[-Constantine-]
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 22 ก.ย. 06, 20:44

 ถามเพิ่มครับ  "คร่ำหวอด" และ "ม้าดีดกะโหลก"
บันทึกการเข้า
thawankesmala
อสุรผัด
*
ตอบ: 46

Khon Kaen University


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 23 ก.ย. 06, 12:37

 แล้วคำว่า ก่อหวอด ล่ะครับ ขอเพิ่มอีกคำ
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 25 ก.ย. 06, 10:34

 เอ........ ก่อหวอดจะหมายถึงปลากัดหรือปลากระดี่ได้ไหมครับ
บันทึกการเข้า
[-Constantine-]
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 26 ก.ย. 06, 00:11

 หาพบแล้วครับ เด็ดมาก

ปลากัดเป็นที่นิยมเพาะเลี้ยงกันมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จึงได้มีการนำคำศัพท์เกี่ยวกับปลากัดและการกัดปลามาประยุกต์ใช้เป็นภาษาพูดติดปากกันในปัจจุบันนี้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
    - ก่อหวอด หมายถึง การพ่นน้ำที่ผสมกับน้ำลายหรือน้ำเมือกในปากจนเป็นฟองเกาะกันของปลากัดตัวผู้ เพื่อเตรียมผสมพันธุ์ สำนวนที่ใช้พูดกัน หมายถึง การเริ่มต้น หรือเริ่มก่อสร้างตัว หรือคิดก่อการมิดีมิร้ายขึ้น
    - คร่ำหวอด หมายถึง ปลากัดตัวผู้ที่ผ่านการก่อหวอดมาหลายครั้ง โดยเฉพาะปลาที่ต่อสู้ชนะคู่ต่อสู้มันก็จะก่อหวอดขึ้นเพื่อประกาศความมีชัยของมันในระยะต่อมาทันที สำนวนที่ใช้พูดกัน หมายถึง เชี่ยวชาญ หรือชำนาญ
    - ลูกหม้อ หมายถึง ปลากัดชนิดที่เกิดจากการคัดพันธุ์ โดยผสมพันธุ์กันหลายชั้นจนเป็นปลาชั้นดีที่สุด สำนวนที่ใช้พูดกัน หมายถึง ข้าราชการตามกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ที่ทำงานมานานและรู้งานดี
     - ลูกทุ่ง หมายถึง ปลาชนิดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อาศัยอยู่ตามลุ่มน้ำ หรือตามทุ่ง สำนวนที่ใช้พูดกัน หมายถึง ชาวชนบทที่มีความเป็นอยู่และมีขนบธรรมเนียมอย่างชาวชนบท
    - ลูกไล่ หมายถึง ปลากัดที่แพ้แล้ว ซึ่งจะนำมาให้ปลากัดที่เลี้ยงไว้ไล่หรือซ้อมกำลัง สำนวนที่ใช้พูดกัน หมายถึง คนที่ถูกผู้อื่นข่มเหงเล่นตามใจชอบ
    - ซ้ำสาม หมายถึง ปลากัดลูกผสมระหว่างปลาสังกะสีกับปลาลูกทุ่ง สำนวนที่ใช้พูดกัน หมายถึง คนเลวต่ำช้า หรือมีเชื้อสายต่ำ
    - ถอดสี หมายถึง กิริยาอาการของปลากัดตัวผู้แสดงอาการบอกลางแพ้ สำนวนที่ใช้พูดกัน หมายถึง ครั่นคร้ามเกรงกลัว
    - พอง หมายถึง กิริยาของปลากัดที่คลี่ครีบและหางออกตั้งท่าทางพร้อมที่จะกัด สำนวนที่ใช้พูดกัน หมายถึง อวดเบ่งจองหอง

อ้างอิง : http://www.geocities.com/toostamps/stampt/2545/n687.html  
บันทึกการเข้า
thawankesmala
อสุรผัด
*
ตอบ: 46

Khon Kaen University


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 26 ก.ย. 06, 10:21

 ยอดมากเลยครับ เดี๋ยวผมจะเอาคำศัพท์หมากรุกไทยมาอวดขอค้นก่อน
บันทึกการเข้า
[-Constantine-]
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 26 ก.ย. 06, 22:49

 พูดถึงหมากรุก นึกขึ้นได้ เวลามีคนพูดว่า

ใช้เงินเป็นเบี้ย

ตอนแรกผมก็สงสัยว่าเงิน(ภาษาทางการ) กับเบี้ย(ภาษาชาวบ้าน) มันต่างกันตรงไหน
พอดีถามครู ครูได้ให้ข้อเสนอไว้ว่า เค้าหมายถึง ใช้แบบตัวเบี้ยของหมากรุกที่มักให้บุกไปก่อน
(และตายก่อนอย่างสิ้นเปลือง โดยที่บางตัวไร้ประโยชน์)
(อันนี้ไม่รับประกันความถูกต้องของที่มานะครับ)

ผมว่ามนุษย์ (โดยเฉพาะคนไทย) เก่งนะครับ รู้จักเอาของรอบตัวมาเปรียบเปรย
เพียงแต่เยาวชนรุ่นใหม่ไม่ได้ใกล้ชิดของใกล้ตัวเหล่านั้น ทำให้ไม่ทราบน่ะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 27 ก.ย. 06, 12:22

 ม้าดีดกระโหลก  
หมายถึงกิริยากระโดกกระเดกลุนลน ไม่เรียบร้อย ใช้ว่าผู้หญิง
ม้าพยศมัก "ดีด" กับ "โขก" หรือสะกดอีกอย่างว่า "โขลก" สองคำนี้ใช้คู่กัน  
นานๆก็เพี้ยนเป็น ม้าดีดกระโหลก

เรียบเรียงจาก สำนวนไทย ของ กาญจนาคพันธุ์
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 27 ก.ย. 06, 16:00

 ไม่ดูตาม้าตาเรือ = ไม่พิจารณาให้รอบคอบ เสมือนเดินหมากด้วยความไม่ระมัดระวังทำให้ตกไปอยู่ตาม้า ตาเรือ ของฝ่ายตรงข้ามให้เขากินหมากได้โดยง่าย(ม้า กับเรือ สามารถเดินตาได้ไกลกว่าหมากตัวอื่น ต้องคอยระวังรัศมีการกินของม้า และเรือให้รอบคอบกว่าหมากตัวอื่น)

พลิกกระดาน = พลิกจากการเป็นรอง กลับมาเป็นต่อได้ (ไม่ใช่เล่นแพ้แล้วพาลคว่ำกระดานซะอย่างนั้น :_D)


รุกไล่ , ต้อนเข้ามุม , เข้าตาจน , กลเม็ด , หมกเม็ด  ฯลฯ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.052 วินาที กับ 19 คำสั่ง