ศรีปิงเวียง
|
ขออนุญาตตั้งกระทู้สอบถามนะครับ เหตุใด เราจึงเรียก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่า มอ. ทั้งที่ดูจากตัวย่อแล้ว น่าจะเรียกว่า มส. หรือ มสน.ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ไม่เห็นใครแน่นอน
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 27 ส.ค. 06, 12:52
|
|
ได้ยินมาว่า มาจากพระนามย่อ มหิดล อดุลยเดช ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ค่ะ ขอศิษย์เก่า มอ. มายืนยันอีกที
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เอ้อระเหย
อสุรผัด

ตอบ: 32
เอกเขนก
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 27 ส.ค. 06, 12:53
|
|
ดีใจจังที่คุณศรีเวียงปิงมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอักษรย่อของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ผมได้กำลังศึกษาอยู่ในตอนนี้ ม.อ. คือ อักษรย่อพระนามเดิมสมเด็จพระบรมราชชนก เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช สงขลานครินทร์ คือ พระนามฐานันดรศักดิ์ที่พระบรมราชชนก (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) โปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช ดำรงพระนามอิสริยยศฐานันดรศักดิ์เป็นเจ้ากรม โดยพระราชทานชื่อเมืองสงขลาเป็นพระนามทรงกรม เพื่อเป็นเกียรติแก่เมืองสงขลา เมื่อ พ.ศ. 2446 เสมือนเป็นเจ้าแห่งนครสงขลา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานชื่อเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2510 เป็นชื่อมหาวิทยาลัย ส่วนตราสัญลักษณ์ขอให้ความหมายว่า มหาพิชัยมงกุฏ คือ ศิราภรณ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญแสดงว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ จักรกับตรีศูล คือ ตราเครื่องหมายประจำราชวงศ์จักรี จากพระมหากรุณาธิคุณนี้ มหาวิทยาลัยจึงถือว่าวันที่ 22 กันยายน ของทุกปีเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของมหาวิทยาลัย โดยกำหนดเป็น "วันสงขลานครินทร์" ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยคือ ดอกศรีตรัง "เป็นลูกพระบิดา ข้าฯภูมิใจ" ยังมีข้อสังเกตอีกประการหนึ่ง คือว่า ตราประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และมหาวิทยาลัยมหิดลค้ายคลึงกันมากครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เอ้อระเหย
อสุรผัด

ตอบ: 32
เอกเขนก
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 27 ส.ค. 06, 12:56
|
|
อีกอย่างหนึ่งครับสำหรับปีนี้ วันที่ ๒๒ กันยายน เป็นวันพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาประจำปี๒๕๔๘ อีกด้วยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CVT
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 28 ส.ค. 06, 12:10
|
|
ผมเป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งแต่เป็นนักเรียนชั้น ม.ศ.๔ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี เดิมทีผมก็เข้าใจจากการอ่านประวัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่า อักษรย่อ เอามาจากพระนามเดิมของสมเด็จพระราชบิดา คือ "มหิดลอดุลยเดช" เลยเป็น ม.อ.
แต่ทำไมมหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งเป็นแฝดผู้พี่จึงใช้ ม. ไม่เป็น ม.อ. เพราะถ้าบอกว่าเอาจากอักษรย่อของมหิดล เลยกลายเป็น ม. ผมก็ยิ่งงงหนักว่าคนที่ตั้งตัวอักษรย่อของชื่อมหาวิทยาลัยเอาอะไรเป็นกฏเกณฑ์กันแน่ เพราะถ้าเอาชื่อมหาวิทยาลัยเป็นเกณฑ์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ก็ควรจะย่อว่า ส.น. และตลกหนักก็คือตอนผมสอบเข้ามหาวิทยาลัย รหัสของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์คือ สน. ไม่ยักจะเป็น ม.อ.
ต่อมามีการตั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ดันเป็น ม.ส.ธ. ทำไม่ไม่เป็น ป.ป. เพราะพระนามเดิมคือ ประชาธิปก
และถ้าไปดูสถาบันพระปกเกล้า ภาคภาษาอังกฤษดันเป็น King Prajadhipok's Institue ได้แต่ปลงกับการไร้กฏเกณฑ์ของผู้มีบารมีครับ ฮิๆๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
error
อสุรผัด

ตอบ: 4
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 30 ส.ค. 06, 11:40
|
|
เป็นศิษย์เก่า ม.อ. เหมือนกันค่ะ เอกบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ (ปัจจุบันเป็นเอกการจัดการสารสนเทศ) คณะมนุษยศาสตร์ รหัส 44 ภูมิใจในสถาบันมาก ถึงจะไม่ยิ่งใหญ่เท่ามหาวิทยาลัยดังๆ ที่ไหน แต่ที่นี่ก็สอนให้เรียนรู้อะไรมากมายไม่แพ้กัน
คุณเอ้อระเหยคะ นอกจากวันสงขลานครินทร์แล้ว ยังมีวัน "รูสะมิแล" ด้วยนะคะ
"มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้เริ่มดำเนินการก่อตั้งที่ ต. รูสะมิแล อ. เมือง จ. ปัตตานี เมื่อปี พ.ศ. 2509 ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 มหาวิทยาลัยได้เปิดรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นคณะแรก และในปี พ.ศ. 2511 ก็เปิดรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ บุคลากรมหาวิทยาลัยได้ย้ายมาอยู่ที่วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่ ต. รูสะมิแล อ. เมือง จ. ปัตตานี พร้อมกันเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 ดังนั้นจึงเรียกวันที่ 9 พฤศจิกายน ของทุกปี ว่า “วันรูสะมิแล” ซึ่งมีความหมายว่า “สนเก้าต้น” ตามชื่อตำบลที่ตั้งของมหาวิทยาลัย เพื่อระลึกถึงการมาอยู่ที่ตำบลรูสะมิแลวันแรก"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Scopian Kung
อสุรผัด

ตอบ: 17
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 04 ก.ย. 06, 02:13
|
|
"สถาบันพระปกเกล้า ภาคภาษาอังกฤษดันเป็น King Prajadhipok's Institue"
เข้าใจว่า ถ้าเขียนเป็นภาษาอังกฤษ จะเขียนพระบรมนามาภิไธยในแต่ละพระองค์ เช่น
รัชการที่ 4 เขียนว่า King Mongkut
รัชกาลที่ 5 เขียนว่า King Chulalongkorn
รัชกาลที่ 6 เขียนว่า King Vajiravudh
รัชกาลที่ 7 เขียนว่า King Prajadhipok
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Scopian Kung
อสุรผัด

ตอบ: 17
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 04 ก.ย. 06, 02:15
|
|
สงสัยว่า ที่บอกว่า "มหาพิชัยมงกุฏ คือ ศิราภรณ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญแสดงว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ "
สัญลักษณ์สำคัญแสดงว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ คือ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ทั้ง 5 ไม่ใช่หรือครับ จะต้องมีทั้ง 5 หรือเปล่า ถึงจะสมบูรณ์ หรือเพียง "มหาพิชัยมงกุฏ" ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ก็สามารถใช้เป็นสัญลักษณ์สำคัญแสดงว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ได้แล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นางมารน้อย
พาลี
   
ตอบ: 306
ทำงานแล้วค่ะ
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 05 ก.ย. 06, 09:02
|
|
 ดูสับสนวุ่นวายจังเลยนะคะกับมหาวิทยาลัยที่ใช้พระนามพระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์มาเป็นชื่อมหาวิทยาลัย เพราะเห็นสับสนกันตั้งแต่จุฬาลงกรณ์ลงมาแล้ว ยังสับสนทั้งชื่อย่อ ชื่อภาษาอังกฤษ สู้ตั้งตามชื่อจังหวัดอย่างมหาวิทยาลัยเราไม่ได้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชื่อย่อ ม.ช ชื่อภาษาอังกฤษ Chiangmai University ไม่สับสนดี อิอิ ขอมาโฆษณามหาวิทยาลัยเราหน่อยนะคะ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
|
|
|
NickyNick
พาลี
   
ตอบ: 290
ทำงานแล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 05 ก.ย. 06, 10:11
|
|
เรียน อ.เทาชมพู คุณ V_Mee หรือคุณ UP ครับ
ขอแสดงความคิดเห็นเป็นข้อสงสัยสักนิดหนึ่งครับ เกี่ยวกับพระนามสมเด็จมหิตลาธิเบศรฯ ไม่รู้จะแทรกตรงไหน เลยขอมาแปะไว้ในกระทู้นี้ครับ
พระนาม "มหิดลอดุลเดช" (ไม่มี "ย" ตรง "อดุลเดช") ใช้ตั้งแต่แรกประสูติ
เมื่อครั้งเฉลิมพระเกียรติยศในรัชกาลที่ ๘ ก็ยังใช้พระนามเป็น "สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์" (ไม่มี "ย")
ต่อเมื่อเฉลิมพระนามพระอัฐิในรัชกาลที่ ๙ เป็น "สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก" (มี "ย" เป็นครั้งแรก)
ไม่ทราบว่าความจริงที่ถูกต้องควรมี "ย" ตรงคำว่า "มหิดลอดุลเดช" แต่แรกเริ่มประสูติด้วยหรือไม่ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
katai
อสุรผัด

ตอบ: 1
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 05 ก.ย. 06, 10:30
|
|
ผมว่าในสัญลักษณ์นี้ คงเป็นมงกุฏในพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมราชชนก ที่เทียบเท่ากับพระมหาอุปราช คงไม่ใช่พระมหาพิชัยมงกุฏ เพราะใช้ได้กับพระมหากษัตริย์เท่านั้น และสัญลักษณ์ มอ. น่าจะมาจากพระนาม "มหิดลอดุล(ย? )เดช" แต่พระสัญลักษณ์ประจำพระองค์ที่ทรงใช้ เป็น ม. แบบตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยมหิดลครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NUT99
อสุรผัด

ตอบ: 4
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 11 ก.ย. 06, 15:08
|
|
แล้วสรุปว่า..ตัวย่อ ม.อ. เริ่มใช้มาตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ แล้วใคร? เป็นผู้ริเริ่มใช้คำนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เอ้อระเหย
อสุรผัด

ตอบ: 32
เอกเขนก
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 18 ก.ย. 06, 11:36
|
|
ลองเข้ามาที่web มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์http://www.psu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=30&Itemid=29 ส่วนเรื่องศิราภรณ์นั้น ทางสำนักพระราชวังได้ทำหนังสือมาตอนที่ขอพระราชทานชื่อมหาวิทยาลัย และทางสำนักพระราชวังได้ให้ความหมายของส่วนประกอบต่าง ๆ ในตรามหาวิทยาลัยด้วยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กะออม
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 05 ต.ค. 06, 15:12
|
|
พระนามเมื่อประสูติ คือ สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช ไม่มี ย เหมือนกันกับ พระนามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จพระราชสมภพ ภูมิพลอดุลเดช
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เซียงยอด
อสุรผัด

ตอบ: 13
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 06 ต.ค. 06, 17:36
|
|
 ขอตอบตามที่เข้าใจบ้างครับ ผมเคยค้นดูแล้ว สมเด็จพระราชบิดาทรงใช้พระนามาภิไธยย่อทั้ง มอ. กับ ม. ครับ มอ.=มหิดล อดุลเดช ม.=มหิดล แต่ดูเหมือนพระองค์จะโปรดใช้พระนามาภิไธยย่อ ม. มากกว่า เราก็เลยชินตากับพระนามาภิไธยย่อ ม. มากกว่าพระนามาภิไธยย่อ มอ. ครับ ส่วนทำไมถึงใช้พระมหามงกุฎนั้น เห็นจะเป็นเพราะว่าพระองค์เป็นพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์ชั้นเจ้าฟ้ากระมังครับ เพราะเจ้านายแต่องค์จะใช้ศิราภรณ์แตกต่างไปตามลำดับพระอิสริยยศครับ หลักเทียบที่ผมใช้ก็คือตราประจำราชสกุลสายรัชกาลที่ 5 ในหนังสือจุฬาลงกรณ์ราชสันตติวงศ์ ซึ่งแสดงไว้ชัดเจนว่า ราชสกุลที่สืบสายมาจากเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า รูปศิราภรณ์ที่ใช้ในตราจะเป็นรูปมงกุฎ ส่วนราชสกุลที่สืบสายมาจากเจ้านายชั้นพระองค์เจ้านั้น รูปศิราภรณ์ที่ใช้ในตราจะเป็นรูปจุลมงกุฎหรือพระเกี้ยวครับ
รูปที่นำมาลงเป็นตัวอย่านี้เป็นตราประจำราชสกุลอาภากร ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จะเห็นชัดเจนว่าศิราภรณ์ที่ใช้ในตราเป็นพระเกี้ยวครับ (credit : http://se-ed.net/piriyata/arms.html) |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|