เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 18804 ตลาด 100 ปี สามชุก
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 18 ส.ค. 06, 16:19

 ขอแย่งกันนำเที่ยวก็แล้วกันครับ  ประโยชน์ตกอยู่กับคนอ่านทั้งนั้นแล  เหมือนกันมั่งต่างกันมั่งนิดหน่อยก็ค่อยๆ เฉลยที่ถูกต้องออกมาก็แล้วกัน  คราวนี้ขอเวอร์ชั่นของนิคกี้  ผียังกลัวอีกคนนะ


ลืมบอกไป  ว่าตอนรื้อทำอำเภอใหม่เมื่อคราวนั้น  ก็ได้สร้างอนุสาวรีย์รัชกาลที่ ๕ ประดิษฐานอยู่หน้าที่ว่าการอำเภอ  หันหน้าไปทางแม่น้ำด้วยครับ

คราวนี้เราเริ่มเข้ามาในเขตศูนย์กลางของตลาดร้อยปีสามชุกแล้วครับ

จากที่ว่าการอำเภอ  หันหน้าขึ้นไปทางเหนือ  ข้างขวามือจะเจอ  "สะพานพรประชา"  ข้ามแม่น้ำสุพรรณ (ท่าจีน) เดิมเป็นสะพานไม้  คนเดินข้ามได้  รถมอเตอร์ไซค์ข้ามได้  สร้างสมัยนายอำเภอสมพร  กลิ่นพงษา (๒๕๐๔-๙)  ครับ  ร่วมมือกันดีระหว่างราชการกับชาวบ้าน  จึงนำเอา  "สมพร+ประชาชน"  จึงกลายเป็น "พรประชา" ครับ  สร้างใช้ได้ตั้งแต่ปี ๒๕๐๗  แต่ฉลองสะพานเมื่อ ๒๕๐๘

นายอำเภอสมพรเป็นเขยสุพรรณด้วยครับ  ภริยาของท่านก็เป็นเครือญาติของท่านเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)

สะพานนี้ปัจจุบันรื้อแล้ว   ก่อนรื้ออำเภอนิดหน่อย  เพราะมันเริ่มจะซวนเซ   สร้างเป็นสะพานคอนกรีตเล็กๆ เท่าเดิมแทน  ยังทำป้ายจารึก ๒๕๐๘ ประดับเป็นประวัติศาสตร์อยู่เลย  ตอนที่รื้อยังเป็นสุขาภิบาลอยู่  เทศบาลเพิ่งมายกฐานะตอนประกาศ พรฎ.ยกฐานะสุขาเป็นเทศบาลทั่วประเทศเมื่อปี ๒๕๔๒ นี้เองครับ   หลังรื้อ  อยากบอกว่าเสียดายหรือไม่  ก็ม่ายรู้เหมือนกัน  คนบอกไม่เสียดายสะพาน  แต่เสียดายไม้  ไม้เนื้อดีแผ่นใหญ่ๆ ทั้งนั้นเลย

จากตีนสะพานพรประชาฟากตะวันตก  ก็จะมีถนนซอยลงมาต่อจากสะพาน  เรียกว่าซอย๑  ติดข้างอำเภอด้านเหนือแหละครับ  แล้วมองขึ้นเหนือไปเรื่อยๆ ขนานกันก็จะมีซอย๒  - ซอย๓ - ซอย๔  -  ซอยสุดท้ายไม่ใช่ซอย๕  แต่เรียกเป็นซอย "ท่าถ่าน"  แทนดั่งคุณ guru พรรณนา  ตรงนี้เดิมมีโกดังถ่าน  แล้วก็ขนถ่านลงเรือได้ครับ  แล้วก็ "ซอยโรงหนัง" ดังที่กล่าว

จากตีนสะพานพรประชาฟากตะวันตกเช่นกัน  มีถนนขนานกับแม่น้ำแยกจากซอย๑ กับสะพาน ขึ้นไปทางเหนือ  ตรงนี้ไม่มีชื่อเรียกเป็นจริงเป็นจัง  บางคนเรียกกันง่ายๆ ว่า "ซอยริมน้ำ"  บางคนก็เรียก "ซอยริมนที"  ซึ่งจากซอยริมแม่น้ำนี้เองที่เป็นจุดแยกเริ่มต้นของทั้งซอย๑-๔  แล้วก็ซอยท่าถ่านด้วยครับ   ซอยโบราณของตลาดร้อยปีก็แบ่งง่ายๆ อย่างนี้ครับ

เข้าใจแผนที่อย่างนี้  คราวนี้ไม่หลงกันแล้วล่ะ  เที่ยวชมกันได้ตามสะดวกเลยครับ

คุณ guru นำเที่ยวต่อครับ  แล้วผมจะคอยเสริม  แต่หากช้า  นิคกี้ผีน่ารักขอออฟไซด์ไปมั่ง  มิเป็นไรนะขอรับ
บันทึกการเข้า
guru
อสุรผัด
*
ตอบ: 9

Adkinson Securities Public Company Limited 132 Sindthorn Bld.1, 2nd Fl., Wireless Rd., Lumpinee,Patumwan,Bangkok10330


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 18 ส.ค. 06, 17:21

 ดีครับคุณนิคกี้
งั้นก่อนจะเที่ยวต่อไปขอเล่าประวัติย่อๆให้ทราบก่อนนะครับ
ประวัติเมืองสามชุกตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2437 ในสมัยรัชกาลที่ 5
เดิมชื่ออำเภอนางบวช ไม่ได้ตั้งอยู่ตรงนี้แต่ตั้งที่ตำบลนางบวช ต่อมาในปี พ.ศ.2457 สมัยรัชกาลที่ 6 ย้ายที่ตั้งอำเภอมายังบ้านสามเพ็ง ซึ่งเป็นย่านการค้าสำคัญในสมัยนั้น จนปี พ.ศ. 2481 สมัยรัชกาลที่ 8 จึงเปลี่ยนชื่ออำเภอเป็นอำเภอสามชุก ย้ายมาตั้งที่ริมแม่น้ำสุพรรณ (ท่าจีน)
เดิมบริเวณอำเภอสามชุกเรียกว่า ท่ายาง ; ชาวบ้าน ชาวเรือ เหนือใต้ตก นำเกลือ นำข้าวของป่ามาขาย จึงเรียกบริเวณที่นำของมาชุมนุมขายกันนี้ว่า "สามแพร่ง" ต่อมาเพี้ยนเป็นสามเผ็ง และสำเพ็ง ตลาดนี้จึงเป็นแหล่งค้าขายของป่า ขายเกลือ ฝ้าย แร่ และสมุนไพร
ระหว่างที่รอขายสินค้าหมด ก็ใช้ไม้ไผ่ที่มีอยู่มากมายมาสานกระชุกใส่ของขาย นานไปชาวบ้านเลยเรียกว่า "สามชุก" ต่อมาตลาดนี้ก็เจริญกลายเป็นชุมชนที่หนาแน่นเป็นแหล่งทำนา มีโรงสีข้าว ตลาดค้าขายเรียกว่า ค้าขายกันคึกคักเลยทีเดียว จึงมีการเก็บภาษีและตั้งนายอากรคนแรกขึ้นมาคือ "ขุนจำนงจีนารักษ์" ซึ่งท่านขุนผู้นี้เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ.2517 อายุได้ 83 ปี และบ้านของท่านซึ่งเป็นบ้าน 3 ชั้น ทายาทได้ยกให้เป็นพิพิธภัณฑ์ของตลาดสามชุก ดังได้เล่าแล้ว
ถนนที่ขนานกับแม่น้ำที่เป็นตลาดนั้นเรียกว่าถนนเลียบนที มีของกินเยอะแยะ วานคุณนิคกี้ช่วยพาชิมหน่อย
อ้อ เมื่อก่อนมีร้านอาหารอยู่ร้านหนึ่งอยู่ริมน้ำชื่อร้าน "ซ้งอาหาร" มีปลาบู่ทอดกรอบ อร่อยมาก ขนาดคุณชายถนัดศรียังไปชิมมาแล้วยังติดใจให้เชลล์ชวนชิมเลยครับ ซึ่งเจ้าของร้านก็คือเฮียซ้ง เป็นลูกท่านขุนจำนงฯ นั่นแหละครับ แต่ปัจจุบันนี้ไม่มีแล้ว
ที่เหลือคุณนิคกี้ว่าไปเลยนะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 18 ส.ค. 06, 17:29


.
นี่ใช่ไหมคะ  ถนนเลียบนที   เลียบแม่น้ำท่าจีน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 18 ส.ค. 06, 17:30


.
อีกมุมหนึ่ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 18 ส.ค. 06, 17:31


.
ภาพนี้ หันกล้องไปทางทิศตรงข้าม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 18 ส.ค. 06, 17:34


.
ถ่ายรูปบางส่วนของพิพิธภัณฑ์บ้านท่านขุนจำนงจีนารักษ์ไว้ด้วย
นี่คือห้องบนชั้นสองของบ้าน น่าจะเป็นห้องรับแขกหรือไม่ก็ห้องนั่งเล่น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 18 ส.ค. 06, 17:35


.
ห้องนอนของท่านขุน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 18 ส.ค. 06, 17:42


.
โต๊ะเครื่องแป้งโบราณ  ลวดลายเป็นแบบฝรั่งแล้ว ไม่ใช่ไทย
แต่เป็นสมัยที่หญิงสาวยังนั่งพับเพียบแต่งโฉมอยู่  ตัวโต๊ะ ลิ้นชัก และกระจกเงาเตี้ยอยู่ในระดับเจ้าของต้องนั่งกับพื้นถึงจะส่องเห็นเงาหน้า และเปิดลิ้นชักหยิบของได้ถนัด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 18 ส.ค. 06, 17:52


.
บ้านนี้มี ๓ ชั้น นี่คือชั้นที่ ๓ เป็นทางเดินหน้าห้องลูกสาวท่านขุน    ที่จริงให้ลูกสาวอยู่ถึงชั้น ๓ ก็เป็นความรอบคอบของคุณพ่อ  เพราะพ่ออยู่ชั้น ๒  ย่อมไม่มีใครผ่านด่านขึ้นมาชมโฉมลูกสาวได้ง่ายนัก    
เดาว่าท่านขุนอาจจะหวงลูกสาว  ถ้าหวงก็ไม่แปลก ดูจากรูปถ่ายที่แขวนไว้ในห้องชั้นที่สอง  ลูกสาวท่านขุนสวยสะดุดตาน่าอัศจรรย์ทีเดียว   สวยไม่แพ้ดาราหรือนางงามคนไหนเลย

มีโอกาสพบตัวจริงด้วยค่ะ  เพราะอยู่ติดกับพิพิธภัณฑ์นี่เอง ท่านอยู่ในวัยย่ายายแล้ว แต่ก็ยังสวย ผิวขาวสะอาด พูดจาไพเราะ  เสียดายไม่มีเวลาคุยกันมากกว่านี้

ถ่ายรูปห้องที่เป็นทางเดินไว้ สวยมากทั้งประตู พื้นห้องและกระจกฝ้า  ตรงกระจกสีเขียว ออกแบบให้กระดกพลิกปิดเปิดรับลมได้ด้วยนะคะ โดยไม่ต้องเปิดประตูทั้งบาน
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 18 ส.ค. 06, 18:23

 เรทติ้งดีจัง  ไม่ทันอาจารย์เทาฯ แล้วครับ

สำหรับเนื้อหารวมๆ ของอำเภอนางบวชเดิม  หรืออำเภอสามชุกปัจจุบันก็เป็นดังที่ท่านเล่าครับ  แต่รายละเอียดปลีกย่อยหรือปี พ.ศ. ต่างกันบ้าง  ซึ่งประวัติที่เขียนในหนังสือเล่มเดียวกันแต่คนละบทยังไม่เหมือนกันเลยครับ  ผมค้นจากหลักฐานต้นๆ ก็จึงทราบความชัดเจนกว่านี้  ไว้มีโอกาสจะขยายให้ฟังอีกทีครับ

เรารู้ตำแหน่งแห่งหนของตลาดร้อยปีเรียบร้อยแล้ว  คราวนี้ก็แวะเข้าซอยกันเลยนะครับ

..................

ซอย๑  เป็นซอยติดอำเภอ  คนเยอะสุด  เพราะมีตลาดสดหน้าอำเภอประจำ  อย่างที่คุณ guru เล่าไว้  ตรงนั้นถูกต้องครับ   แล้วก็มีคนมีรถข้ามสะพานพรประชากันตลอดเวลาด้วย  จึงคึกคักเป็นพิเศษทั้งวัน

ขอเริ่มนำเที่ยวจากใกล้แม่น้ำก่อน  มี ร้านกาแฟเจ๊ม่วยเล็ก ตรงหัวมุมปากซอยที่แยกเป็นซอยริมแม่น้ำด้วย  ร้านเจ๊ขายดีเป็นพิเศษ  กล่าวได้ว่าใครมาที่นี่แล้วไม่ได้กินกาแฟฝีมือเจ๊ม่วยเล็กแล้ว  นับได้ว่ายังไม่ถึงสามชุกโดยแท้  อาจารย์เทาถึงสามชุกรึยังครับ

จากร้านกาแฟ  ถัดไปทางตะวันตกก็เป็นร้านขายนาฬิกา – ร้านขายทองเพชรพลอยของเจ๊อ๋า  เป็นพี่สาวเจ๊ม่วยเล็กนั่นแหละครับ กินกาแฟน้องสาวเสร็จก็มาซื้อเพชรร้านพี่สาวได้เลย  รวยซะอย่าง  ใครจะทำไม – ร้านขายยา - แล้วก็ร้านซุปเปอร์มาเก็ต – แล้วจึงถึงร้านวิจิตรจักรยานของคุณ guru นี่แหละ  ร้านใหญ่ดีนี่ครับ
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 18 ส.ค. 06, 18:34

 ลืมบอกอาจารย์เทาฯ ไปครับ  ถนนที่โชว์ใน ๑๗-๑๙ นั้นเป็นถนนใหม่  ไม่รู้เขาเรียกกันยังไง  ถนนเลียบนทีคือถนนเก่าบนบกที่ขนานกับถนนสีขาวนี่แหละ  ส่วนถนนนี้อยู่เหนือน้ำ  อาจจะเรียกว่า "ถนนบนนที" ก็คงได้

ตั้งแต่ทำแล้วผมยังไม่เคยเข้าไปซักที  เข้าไปครั้งสุดท้ายราวปี ๔๐-๔๑ มั้งครับ  ที่พอรู้ๆ เรื่องเหล่านี้  และมาเขียนให้ท่านทราบได้  ก็มาจากความทรงจำเก่าๆ  กับผลจากที่ได้ไต่ถามทุกข์สุขของเพื่อนพ้องที่นั่น

มีความหลังฝังใจหลายอย่างที่นั่นครับ

ไม่อยากจำฝังใจให้เจ็บลึก
ไม่อยากนึกถึงค่ำคืนชื่นสดใส
วันเวลาห้วงหนึ่งถูกดึงไป
อยากหวนไห้ให้กลับเป็นเช่นดังเดิม


แปลงจากเพลง "จำฝังใจ" ของไมโครครับ
.

ไปทีไร  แล้วหม่นหมองไหม้กลับมาทุกที
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 18 ส.ค. 06, 18:51

 ถึงซีคะ  
ได้ไกด์กิตติมศักดิ์ชื่อคุณพงษ์วิน ชัยวิรัตน์ ประธานกรรมการพัฒนาตลาดฯพาไปกินกาแฟร้านเจ๊ม่วยเล็ก  พรรคพวกกินกาแฟเย็น  ดิฉันสั่งโอเลี้ยง
อร่อยสมคำเล่าลือ  

มีขนมไข่ตรงซอย ๒ ก่อนถึงพิพิธภัณฑ์ท่านขุนจำนง  ที่อยากกินมาก   คนขายยิ้มย่องผ่องใสให้ชิมฟรีคนละอัน    รสชาติเหมือนของเดิมที่เคยกินแถวสำเพ็งตอนเด็กๆ  
ย้อนกลับไปซื้อหลังออกจากพิพิธภัณฑ์   เพราะขี้เกียจหิ้วไปตั้งแต่แรก  
ปรากฏว่าหมดร้านแล้ว  มีลูกค้าสั่งจองหมดไม่เหลือ  เลยคอตกกลับบ้าน
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 18 ส.ค. 06, 18:58

 ทราบว่าอาจารย์เทาฯ ถึงสามชุกแท้แน่นอน  ผมก็พลอยสบายใจไปด้วย

ก็ขอเล่าตามวิธีของผมต่อเลยครับ

เดินตามซอยริมแม่น้ำขึ้นไปเรื่อยๆ ก็เจอซอย๒
ซอย๒  จะนับเป็นหัวใจของตลาดร้อยปีก็อาจว่าได้  เข้าซอย๒ ไปเจอบ้านที่ ๒ ด้านขวามือ  เป็นบ้านขุนจำนงค์จีนารักษ์ครับ  ชาวบ้านที่นี่เรียกกันสั้นๆ ว่า "ท่านขุน"  ตอนนี้มีลูกสาวขุนจำนงค์อาศัยอยู่คนเดียว  จะจีบก็ได้ไม่มีใครว่า  ท่านเพิ่งพ้นวัย ๘๐ ในปีนี้เอง  ยังแรกรุ่นอยู่  คนแก่เรียกเจ๊ลั้ง  เด็กๆ เรียกป้าลั้ง  บนบ้านก็มีอะไรหลายอย่างให้ชม  คนคงจะพูดถึงบ้านหลังนี้กันเยอะ  ผมไม่พูดก็แล้วกัน  เดี๋ยวดังคนเดียว  อ้อ  บ้านหลังนี้เดินขึ้นไปชมฟรีได้เลย  เจ้าของบ้านใจดี  ไม่เก็บกะตังค์หรอก

โรงแรมอุดมโชค  ร้านบ้านโค้ก  ร้านเสริมสวย  ตามที่เสนอมาตั้งแต่รูปแรกจนถึง คหพต.๘  อยู่กลางๆ ซอย๒ ครับ
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 18 ส.ค. 06, 19:11

 เดินตามซอยริมแม่น้ำขึ้นไปอีกหน่อย  ระหว่างซอย๒  กับซอย๓  ทางซ้ายมือจะมี ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสามชุก ตั้งอยู่ครับ  ใครไปอย่าลืมแวะด้วยนะครับ  ตลาดร้อยปีที่ยังอยู่รอดปลอดภัยจากไฟไหม้ครั้งใหญ่ๆ ได้ก็เพราะความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อหลักเมืององค์นี้แหละครับ  ทำให้คนในชุมชนนี้อยู่กันอย่างมีความสุข

เลยศาลเจ้าพ่อหลักเมืองขึ้นไปทางเหนืออีกนิดตามซอยริมแม่น้ำ  ทางขวามือเป็นร้านขนมหวาน  อร่อยซาบซ่านหวานใจยิ่งนัก  ใครดื่มกาแฟเจ๊ม่วยเล็กเสร็จ  แวะบ้านท่านขุนฯ  พร้อมกับไหว้เจ้าแล้ว  ก็มานั่งกินขนมหวานร้านนี้ได้  เห็นมีป้ายติดหน้าบ้านว่าเจ๊เข่งวีดีโอ  บอกว่าตอนนี้วีดีโอบ่มีให้เช่าแล้ว  ขายขนมรวยกว่าเป็นไหนๆ  จันทร์ถึงศุกร์จะขายขนมหวาน  เยอะแยะ  เช่น เต้าส่วน ลอดช่อง ข้าวเหนียวถั่วดำ  กล้วยบวชชี  บัวลอย  จำไม่หวาดไม่ไหว  พอเสาร์อาทิตย์คนมาเดินเที่ยวชมตลาดกันเยอะ  ก็เปลี่ยนสไตล์มั่ง  ขายขนมไข่แทน  ก็ขนมไข่ฟูๆ เล็กๆ หยอดใส่พิมพ์นั่นไง  แล้วก็รวบรวมพลพรรคในบ้านมาขายทุกอย่างกันสะบั้นหั่นแหลก  อีกคนหนึ่งขายยำแหนม  อีกคนปั่นน้ำฝรั่งคั้นสด  ฟังแล้วชื่นใจ  ร้านอื่นบ้านอื่นก็ขายของแตกต่างกันไปตามถนัด

ที่เล่ามาเยอะนี้  เพราะคุณ guru ขอร้องให้เล่าเรื่องขนมหวานนะครับ  แล้วอาจารย์เทาฯ ก็อดกินขนมไข่  คงเป็นของเจ๊เข่งนี่แหละ  ชัวร์  ของแท้แน่นอน

ส่วน  ตำนานซ้งอาหาร  อาจมีต่อวันหลัง  ที่นี่ก็เที่ยวจนปรุมาแล้วเหมือนกัน


ซอยต่อไป  ขอวันหลังครับ


กลอนบทต่อกันกับข้างบนโน้นน

เราสองคนใจเดียวกันเคยพันผูก
เคยสนุกเคยฉลองเคยเฉลิม
ฟังเพลงนี้สุดช้ำถูกซ้ำเติม
คอยเพียรเพิ่มแผลใหม่ให้ทรมาน


ต้องกลับไปฟังเพลง "จำฝังใจ" อีกซักรอบ  แล้วสมองถึงจะแล่น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 19 ส.ค. 06, 08:00


คราวหน้าถ้าชวนเพื่อนไปอีก   จะพริ้นท์ความเห็นคุณนิคไปด้วย  ได้อธิบายให้เพื่อนฝูงฟัง
ที่นี่มีร้านถ่ายรูปโบราณ ที่บริการถ่ายรูปแบบโบราณให้ลูกค้า   จะเอาสีขาวดำหรือสีซีเปียก็ได้     ห้องถ่ายรูปมีเสื้อผ้าสมัยรัชกาลที่๕ และ ๖ให้ยืมสวมใส่เข้าฉากด้วยค่ะ  สร้อย แหวน กระเป๋าหมาก  ไม้เท้า หมวกกะโล่  มีพร้อม
กล้องถ่ายรูปรุ่นคุณทวด รูปร่างเหมือนกล่องสี่เหลี่ยมใหญ่   คงจะเป็นรุ่นลูกของกล้องท่านฟะรันซิศ จิต   ถ้าคุณพิพัฒน์ไปเห็นคงจะอธิบายได้อีก ๑ กระทู้เป็นอย่างน้อย

ภาพนี้คือผนังของร้านที่พราวไปด้วยรูปถ่าย  ในจำนวนนี้มีรูปชายหนุ่มในชุดนายทหารประมาณรัชกาลที่ ๗    สง่างามมาก  ไม่ค่อยเคยเห็นคนรุ่นเก่าหน้าตาหล่อขนาดนี้
ถามคุณยายเจ้าของร้าน   บอกว่าชื่อพระยาเฉลิมอากาศ  ท่านเป็นชาวศรีประจันต์  เคยอ่านพบแต่ยังนึกไม่ออกว่าหนังสือเล่มไหน
น่าเสียดาย ภาพที่ถ่ายมาฝาก ออกมาพร่ามาก  ครั้งหน้าไปจะถ่ายออกมาให้ดีกว่านี้ค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง